Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2553
อาหารไทยยังขยายตัวได้ในญี่ปุ่น             
 


   
search resources

Import-Export
Food and Beverage




ญี่ปุ่นนับเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นรองเพียงสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปเท่านั้น แม้มูลค่าการส่งออกของไทยไปยังญี่ปุ่นจะชะลอตัวลงบ้างในปี 2552 จากผลของวิกฤติเศรษฐกิจโลกช่วงปลายปี 2551

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 มูลค่าการส่งออกของไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นมีการขยายตัวทุกเดือนเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่ารวม 14.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 32.03 (YoY)

สินค้าส่งออกที่สำคัญ นอกจากจะได้แก่สินค้าประเภทอุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนยานยนต์แล้ว สินค้าอีกประเภทหนึ่งของไทยที่มีความสำคัญในการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น คือสินค้าประเภทอาหาร ซึ่งมีทั้งกลุ่มอาหารแปรรูปเบื้องต้น เช่น ข้าว มันสำปะหลัง กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง และกลุ่มอาหารกระป๋องและแปรรูป เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย ผักผลไม้กระป๋องและแปรรูป

โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 สินค้าประเภทอาหาร ที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นมีมูลค่า 2.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น สัดส่วนประมาณร้อยละ 17.25 ของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทยไปยังญี่ปุ่น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอาหารที่สำคัญของไทย เนื่องจากญี่ปุ่นผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภค

ในขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารที่สำคัญของโลก โดยในระหว่างปี 2551-2552 การส่งออกอาหารของไทย ไปยังญี่ปุ่นมีการเติบโตในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับการส่งออกของไทย โดยรวมไปญี่ปุ่น ในปี 2551 การส่งออกอาหารจากไทยไปญี่ปุ่นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.35 (YoY) ซึ่งมากกว่าการเติบโตของ การส่งออกโดยรวมของไทยไปญี่ปุ่นซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 10.90 (YoY)

ส่วนในปี 2552 แม้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจจะทำให้การส่งออกอาหารจากไทยไปญี่ปุ่นหดตัวลงร้อยละ 1.96 (YoY) แต่ก็เป็นอัตราที่น้อยกว่าการหดตัวของการส่งออกโดยรวมจากไทยไปญี่ปุ่น ที่ติดลบร้อยละ 21.75 (YoY) ขณะที่ใน 9 เดือนแรกของปี 2553 มูลค่าการส่งออกอาหารจากไทยไปญี่ปุ่นเติบโตในอัตราสูง ร้อยละ 13.50 (YoY) เป็นอัตราการเติบโตที่ระดับเลข 2 หลัก แม้ว่าจะถูกกดดันจากความต้องการบริโภคในญี่ปุ่นที่ชะลอตัวก็ตาม โดยมูลค่าอยู่ที่ 2,559.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 ของการส่งออกอาหารของไทยทั้งหมด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า สินค้าส่งออกของไทยไปยังญี่ปุ่นในประเภทอาหารยังมีแนวโน้มเติบโตต่อไปได้ในญี่ปุ่นในปีหน้า เนื่องจากอาหารจัดว่าเป็นสินค้าจำเป็น อีกทั้งสินค้าไทยได้รับการยอมรับด้านคุณภาพในตลาดญี่ปุ่น

สำหรับปี 2553 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การส่งออกสินค้าอาหารไปยังตลาดญี่ปุ่นน่าจะเติบโตประมาณร้อยละ 13 (YoY) และอาจจะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงเล็กน้อยในระดับร้อยละ 10-12 (YoY) ในปีหน้า ด้วยผลของฐานที่สูงในปีนี้ประกอบ กับผลของภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ควรติดตามอย่างใกล้ชิด

ปัจจัยท้าทายจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการเปลี่ยนแปลง ด้านประชากรในญี่ปุ่น ทำให้ผู้ประกอบการไทยควรเร่งปรับตัวเพื่อรับมือและหาช่องทางในการบริหารจัดการสถานการณ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจ โดยการให้ความสำคัญมากขึ้นกับคุณภาพ ของสินค้าเพื่อสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดี อันจะนำไปสู่ความสามารถในการครองใจผู้บริโภคในยามที่ต้องเลือกซื้อภายใต้ งบประมาณที่จำกัดมากขึ้น

ขณะเดียวกัน การที่รายได้ผู้บริโภคถูกกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ กลับสามารถมองได้ว่าเป็นโอกาสของไทยในการพัฒนาสินค้าในรูปแบบที่สะดวกในการเตรียมรวมไปถึงอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานมากขึ้น

นอกจากนั้น การที่ญี่ปุ่นมีแนวโน้มประชากรลดลงและมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ก็อาจพลิกเป็นโอกาสของการส่งออกอาหารเพื่อสุขภาพมายังญี่ปุ่น ซึ่งในปัจจุบันยังมีสัดส่วนในตลาดไม่มากนักก็ได้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยอาจจะต้องสร้างสรรค์รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ง่ายต่อการเปิด เพื่ออำนวยความสะดวกมากขึ้นด้วย

นอกจากด้านผลิตภัณฑ์แล้ว ในส่วนของวิธีการทำธุรกิจ กับผู้นำเข้าชาวญี่ปุ่นก็มีความสำคัญเช่นกัน โดยชาวญี่ปุ่นนั้น ให้ความสำคัญกับความสม่ำเสมอและตรงต่อเวลาเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมปฏิบัติในการติดต่อธุรกิจที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวหลายประการ เช่น ระดับของการโค้งเพื่อแสดงความเคารพหรือทักทาย หรือความจำเป็นของการให้นามบัตร เป็นต้น ดังนั้น หากนักธุรกิจไทยสามารถปฏิบัติ ตัวได้ถูกต้องก็จะทำให้การติดต่อธุรกิจราบรื่น และช่วยในการรักษาความสัมพันธ์ทางธุรกิจให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

บางทีการให้ความสำคัญกับธรรมเนียมการติดต่อธุรกิจกับชาวญี่ปุ่น จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ส่งออกอาหารของไทยไปญี่ปุ่นสามารถทำการค้าได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

น่าจะเป็นผลดีต่อผู้ทำธุรกิจส่งออกอาหารไปญี่ปุ่นเองในท้ายที่สุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us