|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ซิตี้แบงก์เปิดให้บริการการเงินในประเทศไทยมากว่า 42 ปี เป็นธนาคารที่ไม่เคยมีสาขามาก่อน เพราะติดเงื่อนไขเป็นธนาคารต่างชาติ แต่นับจากนี้ไปจะเริ่มเห็นการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญ
พลันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติเมื่อกลางปีให้ธนาคารต่างชาติเปิดสาขาได้จำนวน 2 แห่ง ซึ่งเป็นไปตามกรอบข้อตกลงของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) ฉบับที่ 2 (ปี 2553-2557)
ทำให้ธนาคารซิตี้แบงก์ฉวยจังหวะเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน เปิดสาขาขึ้นเป็นแห่งแรก ณ อาคารอินเตอร์เชนจ์ 21 บนถนนสุขุมวิท
การขยายสาขามีนัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของซิตี้แบงก์และสถาบันการเงินแห่งนี้
เริ่มต้นเปิดสาขาใหม่ภายใต้แนวคิดเรียกว่า "สมาร์ท แบงกิ้ง" (smart banking) ให้บริการข้อมูลข่าวสาร บริการสมัครบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของบัญชี รวมไปถึงรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่
แนวคิดสมาร์ทแบงกิ้ง คือการให้ลูกค้าทำธุรกรรมด้านการเงินด้วนตนเองผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นระบบจอสัมผัส เพราะธนาคารอ้างว่าจากงานวิจัยภายในพบว่าลูกค้าต้องการเข้าถึงธุรกรรมทางด้านการเงินด้วยตัวเอง เพราะในประเทศไทยมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 69 ล้านเครื่อง และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ 18 ล้านคน
จุดเด่นของการเข้ามาใช้ระบบคอมพิวเตอร์ภายในสาขาจะแตกต่างจากการใช้โทรศัพท์มือถือหรืออินเทอร์เน็ตที่บ้าน
ตรงที่ข้อมูลมีความทันสมัย และได้รับการตอบรับทันที เช่น สมัครบัตรเครดิตจะได้รับอนุมัติทันทีเมื่อเอกสารครบถ้วน ส่วนเจ้าหน้าที่ จำนวน 6 คนจะให้คำแนะนำและช่วยเหลือกรณีลูกค้าต้องการ
สมาร์ทแบงกิ้งมีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศญี่ปุ่น และซิตี้แบงก์อ้างว่าค่อนข้างได้รับความสำเร็จ จึงกลายเป็นกลยุทธ์เปิดสาขาในย่านเอเชียในรูปแบบเดียวกัน เริ่มเปิดในฮ่องกง จีน ไต้หวัน เวียดนาม และไทย
ส่วนในประเทศไทย ซิตี้แบงก์มีแผนจะเปิดอีก 2 แห่งในกรุงเทพมหานคร ในเดือนมกราคมและมีนาคม 2554 ซึ่งได้เลือก ไว้แล้วไม่ไกลจากสำนักงานใหญ่ เน้นในพื้นที่ย่านธุรกิจ
สาขาของซิตี้แบงก์เปิดให้บริการ 7 วัน วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์เวลา 10.00-19.00 น.
ยุทธศาสตร์การเปิดสาขาของซิตี้แบงก์เป็นเพราะธนาคารมีเป้าหมายจะเข้าไปจับกลุ่มลูกค้ารายย่อยมากขึ้น แม้ในปัจจุบันจะมีกลุ่มลูกค้าบุคคลกว่า 1 ล้านรายก็ตาม ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าถือบัตรเครดิต การเปิดสาขาจึงเป็นหัวใจหลักที่จะเปิดโอกาสให้ลูกค้ากลุ่มนี้เข้าถึงธนาคารได้ง่ายขึ้น
การพุ่งเป้าไปยังกลุ่มลูกค้ารายย่อยของซิตี้แบงก์ อาจเป็น เพราะลูกค้ากลุ่มนี้มีขนาดใหญ่และการปล่อยสินเชื่อหรือบริการบัตรเครดิตสามารถสร้างรายได้ดอกเบี้ยให้กับองค์กรได้เป็นกอบเป็นกำในอนาคต
แต่ซิตี้แบงก์ไม่สามารถรีบเร่งเปิดสาขาได้รวดเร็วและจำนวนมาก เพราะการเปิดสาขาของธนาคารต่างชาติต้องเป็นไปตามแผนพัฒนาการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
อย่างไรก็ดี ในแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ฉบับที่ 2 เปิดโอกาสให้ธนาคารต่างชาติเปิดสาขาได้อีก 20 แห่ง และตู้เอที เอ็ม 20 ตู้ แต่มีเงื่อนไขว่าธนาคารต่างชาติจะต้องจดทะเบียนเป็น บริษัทไทยก่อนและขั้นตอนทั้งหมดอยู่ในกระบวนการดำเนินงาน ของซิตี้แบงก์
แผนการเปิดสาขาของธนาคารซิตี้แบงก์จะไม่เป็นรูปแบบสมาร์ทแบงกิ้งทั้งหมด แต่ขึ้นอยู่กับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย เพราะปัจจุบันธนาคารมีตู้เอทีเอ็ม 10 แห่ง และมีสาขาของซิตี้ แอดวานซ์ เป็นธุรกิจนอนแบงก์ด้านสินเชื่อบุคคลของซิตี้ใน ไทย จำนวน 42 สาขาทั่วประเทศ
|
|
|
|
|