Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์9 ธันวาคม 2553
หัวเฉียวย้ำอัตลักษณ์ผู้นำด้านจีน เปิด 3 หลักสูตร ป.โท รับตลาดโต             
 


   
search resources

Education
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ




หัวเฉียวเน้นอัตลักษณ์ความเข้มแข็งด้านจีน ยกระดับสาขาสู่ “คณะภาษาและวัฒนธรรมจีน” โชว์ศักยภาพเปิดหลักสูตรปริญญาโท 3 หลักสูตรรวด รองรับอัตราการขยายตัวของผู้เรียนภาษาจีนในไทยที่เปิดสอนกันตั้งแต่ระดับประถมยันมัธยมปลาย และสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดระดับปริญญาแต่ยังไม่ขยายปริญญาโท ด้านการแข่งขันระดับปริญญาตรียอมรับแข่งขันสูงแต่เน้นจุดแข็งปี 3 เรียนที่มหาวิทยาลัยชั้นนำในจีนดึงดูดผู้เรียน พร้อมปักธงเบอร์ 1 มหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญด้านจีนในภูมิภาคเอเชียรองจากจีนเจ้าของประเทศ

18 ปีของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 และสาขาภาษาและวัฒนธรรมจีน ที่ฝั่งตัวอยู่กับคณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้โชว์ศักยภาพความแข็งแกร่งด้านจีนในมิติต่างๆ โดยเฉพาะภาษาและวัฒนธรรม ล่าสุดจึงยกฐานะเป็น “คณะภาษและวัฒนธรรมจีน”

ผศ.ดร.อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ รองอธิการบดีและรักษาการคณบดีคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้เหตุผลว่า อัตราการขยายตัวของผู้สนใจศึกษาต่อภาษาจีนเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสาขาดังกล่าวระดับปริญญาตรีเฉลี่ยปีละ 200 คน จึงยกระดับจากสาขาขึ้นเป็นคณะเพื่อผลักดันความเข้มแข็งให้มากขึ้นขณะเดียวกันเพื่อย้ำถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยคือความแข็งแกร่งด้านภาษาจีนตลอดระยะ 18 ปีที่ผ่านมา

และในปีการศึกษา 2554 นี้ได้ขยายหลักสูตรปริญญาโท จากเดิมมี 1 หลักสูตรคือวรรณกรรมจีน ขยายอีก 3 หลักสูตรคือ 1.การสื่อสารภาษาจีนเชิงธุรกิจ เป็นหลักสูตรที่ต่อยอดจากปริญญาตรี 2.การสอนภาษาจีน รองรับนักศึกษาที่จบเอกภาษาจีนในระดับปริญญาตรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครูสอนภาษาจีนตั้งแต่ระดับประถม มัธยม อุดมศึกษา ซึ่งมองว่าเทคนิคการสอน กระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนให้นักศึกษาที่เป็นภาษาที่ 2 มีความสำคัญ

และ 3.จีนศึกษา ให้ความรู้เรื่องให้ความรู้เกี่ยวกับจีนทั้งหมดทั้งหมดศิลปวัฒนธรรม วรรณคดี การเมือง เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง การค้า เป้าหมายคือผู้มีพื้นความรู้ภาษาจีนเป็นอย่างดีหรือจบเอกภาษาจีน แต่ต้องการมีความรู้เกี่ยวกับประเทศจีนเป็นอย่างดี โดยสอนเป็นภาษาจีนทั้งหมด

ซึ่งทั้ง 3 หลักสูตรระดับปริญญาโทได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในจีน เช่น หลักสูตรจีนศึกษาร่วมมือกับมหาวิทยาลัยครุศาสตร์กว่างซี กุ้ยหลิน หลักสูตรการสอนภาษาจีนร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกว่างซี หลักสูตรการสื่อสารภาษาจีนเชิงธุรกิจร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และการค้ายูนาน ส่วนหลักสูตรวรรณคดีจีนเปิดไปแล้ว 1 รุ่น ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียว มณฑลฟูเฉี้ยน

“ปริญญาโททั้ง 4 หลักสูตรมีอาจารย์จากจีนมาร่วมสอนเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้ด้วย การเปิดหลักสูตรปริญญาโทเพื่อรองรับนักศึกษาที่จบปริญญาตรีปีละ 200 คน ส่วนใหญ่จะเรียนต่อโทจะไปที่ประเทศจีน ซึ่งอัตราค่าเล่าเรียนสูงกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับเรียนที่หัวเฉียวอยู่ที่ 1.8-2 แสนบาทตลอดหลักสูตรระยะเวลา 2 ปี ทำให้นักศึกษาบางรายไม่มีศักยภาพเพราะค่าใช้จ่ายสูง การมาเรียนต่อที่หัวเฉียวจึงประหยัดได้มาก ขณะหลักสูตรมีมาตรฐานเทียบเท่าเพราะเป็นหลักสูตรความร่วมมือ หัวเฉียวเปิดมาจึงเป็นทางเลือก หนึ่ง เพราะส่วนใหญ่ต่อโทเกือบทุกคนเพราะมองการแข่งขันในตลาดแรงงาน” ผศ.ดร.อุไรพรรณ กล่าว

และสำหรับการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปัจจุบันมี 2 สาขาวิชาคือ วรรณกรรมจีนและภาษาจีนเชิงธุรกิจ ในการเข้าศึกษาต่อนั้นสำหรับที่หัวเฉียวจะมีการดีไซน์หลักสูตรเฉพาะกลุ่มนักศึกษาโดยแยกระดับความรู้ด้านภาษาจีนของนักศึกษาก่อน ซึ่งแตกต่างจากสถาบันอุดมศึกษาที่อื่น ทำให้การพัฒนาความรู้ภาษาจีนของนักศึกษาในระดับต่างๆ ไม่ติดขัด ขณะเดียวกันนักศึกษาที่มีพื้นฐานด้านภาษาจีนที่ดีสามารถยกเว้นหรือการเรียนภาษาจีนในระดับพื้นฐานได้มากถึง 21 หน่วยกิต และให้ลงเรียนภาษาจีนในเชิงลึกแทน

ซึ่งกลยุทธ์การเจาะตลาดนักศึกษาระดับปริญญาตรี จากข้อมูล สกอ. ระบุว่ามีหลายสถาบันการศึกษาเปิดปริญญาตรีภาษาจีนจำนวนมาก ฉะนั้นกลุ่มเป้าหมายก็มีจำนวนมากเช่นกัน และปัจจุบันหัวเฉียวเป็นเบอร์ 1 ในตลาดที่สามารถรองรับจำนวนนักศึกษาที่ต้องการเรียนต่อด้านจีนปีละ 200 คน และมีแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 20-30%

ขณะเดียวกันในระดับมัธยมปลาย นักเรียนจำนวนมากเรียนเพิ่มเติมกับสถาบันภาษาจีน และหัวเฉียวได้ร่วมมือกับหอการค้าไทย จีน เปิดสอนภาษาจีนสำหรับเด็ก รวมถึงความร่วมมือกับโรงเรียนมัธยมที่เปิดสอนภาษาจีนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวม 10 แห่ง ในเขตภาคตะวันออกและจังหวัดสมุทรปราการ สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน หาครู หาสื่อการเรียนหนังสือ ตำรา และช่วยเหลือ จัดอบรมระยะสั้นให้กับนักเรียนหรือจัดภาคฤดูร้อนที่จีน และมีทุนการศึกษาโรงเรียนละ 1 ทุนเพื่อศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวตลอดหลักสูตร

ขณะเดียวกันด้วยองค์ประกอบของคุณภาพด้านภาษาจีน และหลักสูตรระดับปริญญาโทรองรับ ทำให้ปีการศึกษา 2554 นี้มหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรดับเบิลดีกรีหรือตรีควบโท ระยะเวลาเรียน 5 ปี เพื่อจูงใจนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่สนใจศึกษาต่อในปริญญาต่อโทด้านจีนตัดสินใจเลือกเรียนภาษาจีนที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียว

ผศ.ดร.อุไรพรรณ กล่าวถึงทิศทางการพัฒนาคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน ว่า 1.ใน2 ปีข้างหน้าระดับปริญญาตรีนั้นจะขยายสาขาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 2.ให้ความสำคัญกับคุณภาพอาจารย์ผู้สอนโดยประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่อยู่ในความร่วมมือแลกเปลี่ยนอาจารย์และพัฒนาคุณภาพอาจารย์ไทยควบคู่กันไป 3. พัฒนาทักษะภาษาจีนให้กับนักศึกษา โดยเพิ่มหลักสูตรระยะสั้นเรียน 1 ปีในจีนหรือจัดการสอนภาษาจีนในช่วงซัมเมอร์ในหลักสูตรอื่นๆ

4.บริการวิชาการกับสังคม เป็นแหล่งศึกษาวิจัย ฐานข้อมูลจีนในประเทศไทย ปัจจุบัน มีสถาบันในมหาวิทยาลัยบริการสังคม 2 สถาบันคือ 1. สถาบันไทยจีนศึกษา ศึกษาวิจัยขยายองค์ความรู้ให้กับสังคม2.สถาบันธุรกิจไทยจีนภิวัฒน์ ศึกษาค้นคว้าเผยแพร่เกี่ยวกับธุรกิจจีน ศูนย์การให้ความรู้ธุรกิจในจีน และแมทชิ่งนักธุรกิจไทยจีน และอีก 1 ศูนย์คือ ศูนย์แต้จิ๋ววิทยา เตรียมร่วมมือสถาบันแต้จิ๋วที่ซัวเถา ทำกิจกรรมศึกษาวิจัยเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับแต้จิ๋ว เพราะมีคนไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋วจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร.อุไรพรรณ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวมีเป้าหมายที่ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเข้มแข็งด้านจีนในภูมิภาคเอเชีย นอกจากจีนที่เป็นเจ้าของประเทศ โดยกลยุทธ์การขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนผ่านโครงการความร่วมมือมอบทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ทุกสาขาวิชา และครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านที่พักและค่าใช้จ่ายรายเดือนตลอดการศึกษาในไทย


วัชระ แซ่ตั้ง

จุดอ่อน-จุดแข็ง นศ.ไทย
จากใจ 'อาจารย์เฉิน'

กว่า 3 ปีที่ “อาจารย์เฉิน” หรือชื่อ-สกุลไทย ว่า “วัชระ แซ่ตั้ง” เป็นสอนอาจารย์สอนวิชาการแปล ที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวพร้อมรับทุนศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเดียวกันนี้

บอกกล่าวว่านักศึกษาไทยมีความแตกต่างจากนักศึกษาจีน แต่ภายใต้ระบบการศึกษาที่แตกต่างกันนั้นยังพบว่านักศึกษาไทยมีความพยายามศึกษาหาความรู้และค้นคว้าด้วยตนเอง แตกกต่างจากนักศึกษาจีนที่มักทำงานตามคำสั่งอาจารย์ผู้สอนมากกว่า ขณะเดียวกันนักศึกษาไทยยังมีความละเมียดละไมในการทำรูปเล่มรายงานที่สวยงามและน่าสนใจมากกว่า

จากการสอนวิชาการแปลให้กับนักศึกษาไทย พบว่าความสนใจต่อภาษาจีนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อนักศึกษาไทยได้มีโอกาสเดินทางไปยังประเทศจีนทั้งการท่องเที่ยวหรือศึกษาต่อในระยะสั้น เมื่อกลับมาต่างมาสอบถามความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับประเทศจีนมากขึ้นและสนใจที่จะเดินทางไปศึกษาต่อหรือทำธุรกิจระหว่างไทยจีน

และในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนวิชาการแปลยอมรับว่าวิชาดังกล่าวต้องกระตุ้นความสนใจผู้เรียนพอสมควร เทคนิคการสอนของตนนั้นจึงนำเรื่องราวต่างๆ รอบตัว หนัง ละคร เพลง มาให้นักศึกษาแปลเพื่อกระตุ้นความสนใจผู้เรียนมากขึ้น

และชี้ให้เห็นความสำคัญของภาษาจีน ณ ปัจจุบัน มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน ในอาเซียนภาษาจีนควรเป็นภาษาที่ 2 เพราะจีน เป็นประเทศใหญ่โต เศรษฐกิจขยายตัวมาก มูลค่ารวมมากกว่าประเทศญี่ปุ่นหรือเป็นอับดับ 2 ของโลก โดยเฉพาะการค้าระหว่างไทย จีน มีสินค้าแลกเปลี่ยนระหว่างกันจำนวนมาก ดังนั้นภาษาจีนจึงสำคัญในการติดต่อค้าขายกัน

รวมถึงการถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเองเมื่อครั้งที่เรียนภาษาไทยในระดับปริญญาตรีในจีน ที่ต้องอาศัยความรู้นอกตำราเช่นกัน ด้วยการฟังเพลง ดูหนัง ละคร จากประเทศไทยและเมื่อเดินทางมาไทยก็พยายามพูดคุยกับชาวไทยและอ่านป้ายโฆษณาตามสถานที่ต่างๆ ที่ไป ทำให้ปัจจุบันนี้ทักษะภาษาไทยด้านการฟัง-พูด ได้ดีกว่า 90% ส่วนด้านการเขียนยังอ่อนกว่านี้แต่ไม่มาก

อาจารย์เฉิน บอกถึงความสนใจในภาษาไทยโดยเลือกเรียนภาษาและวัฒนธรรมไทยในระดับปริญญาตีที่มหาวิทยาลัยในจีน มาจากปัจจัยเรื่องภูมิภาคที่อาศัยในมณฑลกว่างซี เมืองหนานหนิง ที่ติดกับชายแดนเวียดนาม ซึ่งเมืองหนานหนิงจะจัดงานเอ็กซ์โปร์ อาเซียน เป็นประจำทุกปี เห็นความสำคัญของภูมิภาคอาเซียนทั้งทางด้านการค้า กาลงทุนและเศรษฐกิจในอนาคต จึงเป็นแรงผลักดันที่เลือกเรียนภาษาในภูมิภาคอาเซีย ซึ่งขณะนั้นในมหาวิทยาลัยได้เปิดสอน 2 ภาษาคือภาษาไทยและภาษาเวียดนาม แต่ได้เลือกเรียนภาษาไทยเพราะความชอบในประเทศไทยเป็นการส่วนตัว

และกับเป้าหมายในอนาคตเมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทด้านเอ็มบีเอแล้วจะยังคงทำการสอนควบคู่กับการทำธุรกิจส่วนตัวในประเทศไทยเป็นการนำเข้า ส่งออกสินค้าของ 2 ประเทศคือระหว่างสินค้าไทยกับสินค้าจีน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us