Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์9 ธันวาคม 2553
“โออิชิที่ไร้ตัน ระวังอย่าทำเสียแบรนด์”             
 


   
search resources

โออิชิ กรุ๊ป, บมจ.
แมทธิว กิจโอธาน
ตัน ภาสกรนที
Food and Beverage




“ปัจจุบันบริษัทมีธุรกิจอาหารที่เน้นทำตลาดในช่วงเช้าและเย็นเท่านั้น”

ไพศาล อ่าวสถาพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผย

“บริษัทมีแผนที่จะขยายธุรกิจอาหารเข้าไปในส่วนของอาหารว่าง หรือขนมประเภทสแน็ก รวมไปถึงการทำอาหารกลุ่มแช่แข็ง ไอศกรีมและอาหารว่างระหว่างวัน”

“ตอนนี้เรากำลังศึกษาตลาดทั้งหมดที่เกี่ยวกับธุรกิจอาหารไม่ว่าจะเป็นกาแฟ หรือไอศกรีม รวมไปถึงขนมหวาน” เขากล่าวต่อ

คอนเซ็ปต์ของอาหารที่บริษัทจะนำเข้ามาทำตลาด บริษัทยังคงเน้นไปที่ความเป็นอาหารญี่ปุ่น เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจอาหารของบริษัท

“หากเราหาข้อสรุปได้ รูปแบบของการทำตลาดที่บริษัทวางไว้เบื้องต้น เราคงนำอาหารกลุ่มดังกล่าวเข้ามาจำหน่ายภายในร้านอาหารเครือโออิชิเพื่อเป็นการเสริมไลน์ของธุรกิจให้มีความครบวงจร” ไพศาล กล่าว

จากแผนการดำเนินธุรกิจดังกล่าว บริษัทอาจจะต้องเพิ่มงบประมาณการพัฒนาธุรกิจมากกว่า 300 ล้านบาทที่เตรียมไว้เบื้องต้น

นอกจากเพิ่มประเภทของสินค้า นั่นคือการขยายไปสู่พื้นที่ สู่ทำเลของลูกค้าใหม่ๆ

โออิชิ มีแผนที่จะขยายธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นไปยังตลาดต่างจังหวัด
เนื่องจากยังมี “ช่องว่าง” ให้เข้าไปทำตลาดอีกมาก

ปัจจุบัน ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นยังคงกระจุกตัวอยู่เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ จึงทำให้โออิชิเล็งเห็นช่องว่างที่จะเข้าไปทำตลาดดังกล่าว
โออิชิมองว่าธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นยังคงมีอัตราการเติบโตที่ดี เฉลี่ยต่อปีที่ประมาณ 15% เช่นเดียวกับปีนี้

ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่ดีกว่าธุรกิจร้านอาหารจีนและอิตาเลียน
ขณะที่ภาพรวมตลาดธุรกิจร้านอาหารในปีนี้คาดว่ามีอัตราการเติบโตไม่ถึง 10%

“ล่าสุดบริษัทได้ใช้งบ 300 ล้านบาท ในการสร้างครัวกลางแห่งใหม่ในบริเวณใกล้เคียงกับแห่งเก่าที่ย่านนวนคร เนื่องจากโรงงานแห่งเก่าเริ่มมีกำลังการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เนื่องจากบริษัทมีการขยายธุรกิจใหม่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในอนาคตอันใกล้นี้ บริษัทมีแผนที่จะเปิดตัวธุรกิจร้านอาหารเพิ่มขึ้น จึงทำให้ครัวกลางผลิตสินค้าไม่ทัน”

“อย่างไรก็ตาม คาดว่าปลายปีนี้จะเริ่มก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ได้ หลังจากนั้นคาดว่าอีกประมาณ 2 ปีการก่อสร้างจึงจะแล้วเสร็จ” เขากล่าวทิ้งท้าย

แมทธิว กิจโอธาน กรรมการผู้จัดการคนใหม่ บมจ.โออิชิ กรุ๊ป เข้ารับตำแหน่งต่อจากตัน ซึ่งลาออกไปอย่างเป็นทางการเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา

“ผมมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมทัพให้โออิชิ ก้าวต่อไปด้วยความแข็งแกร่งในระดับสากล เป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของคุณตัน ภาสกรนที ในฐานะผู้ก่อตั้ง เนื่องจากตลอด 11 ปีที่ผ่านมา ถือได้ว่าคุณตันได้ทำสิ่งที่ยากที่สุดแห่งการทำธุรกิจสำเร็จเรียบร้อยแล้ว นั่นคือการสร้าง “แบรนด์โออิชิ”ให้เป็นที่รู้จักและครองตลาดเป็นอันดับ 1 ทั้งธุรกิจอาหารและธุรกิจเครื่องดื่มชาเขียวมาอย่างต่อเนื่อง”

“เป้าหมายต่อไปในการบริหารของผมวันนี้ก็คือ มีหน้าที่สร้างความ “สดใหม่” ให้กับโออิชิ พร้อมขยายผลต่อยอดการเติบโต โดยใช้นวัตกรรมการตลาดและระบบการบริหารงานที่เป็นสากลเข้ามาเสริมทัพโออิชิให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น”

ก้าวต่อไปของโออิชิคือ การเตรียมสร้างความเป็นแบรนด์ระดับโลก (Global Brand) โดยอาศัยช่องทางที่มีประสิทธิภาพของกลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มาช่วยจัดวางระบบ และที่สำคัญต้องเตรียมพร้อมสำหรับการขยายตัวของจำนวนพนักงาน ด้วยการเพิ่มโอกาสทางด้านความก้าวหน้าของพนักงานในการเจริญเติบโตไปพร้อมกับองค์กร

“ช่วงแรกของการบริหารงานโออิชิ กรุ๊ป ผมให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการทำงาน และกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์กรให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและคล่องตัวเหมือนเดิม โดยจะรักษาวัฒน ธรรมเดิมของโออิชิ คือความใกล้ชิดเป็นกันเองและสนุกสนานกับงานไว้ ในขณะเดียวกันก็จะผสานวัฒนธรรมองค์กรดังกล่าวเข้ากับการบริหารอย่างมีระบบ เสริมสร้างความเป็นมืออาชีพให้กับพนักงานทุกระดับเพื่อเพิ่มความแม่นยำและถูกต้องมากขึ้น”

โออิชิที่ไร้ตัน จะสามารถเติบโตได้อย่างเคยหรือไม่?

จะก้าวขึ้นสู่โกลบอลแบรนด์อย่างไร?

อะไรจะเป็นหัวหอกแห่งการเติบโต?

บทวิเคราะห์

โออิชิที่ไร้ตันเป็นเรื่องน่าศึกษามาก ว่าจะอยู่อย่างไร นี่เป็นประเด็นที่พูดกันมานาน เพราะนี่เป็นบริษัทที่สร้างโดยตัน ภาสกนที ซึ่งถูกขนานนามว่า ตัน โออิชิ ไปแล้ว

ลักษณะเช่นนี้หมายความว่าโออิชิมีส่วนต่อความสำเร็จขององค์กรอย่างมาก เช่นเดียวกับ Apple ที่ขับเคลื่อนโดย สตีฟ จ๊อบส์ ตั้งแต่เป็นวุ้นกระทั่งนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อถูกไล่ออกไปโดยบอร์ดร่วมมือกับ จอห์น สกัลลี่ แม้แอปเปิลจะอยู่ได้ แต่ก็ชั่วเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อขาดซีอีโอที่เป็นเสมือนหนึ่งดีเอ็นเอ ก็ถึงกาลล่มสลายในเวลาต่อมา

กรณีโออิชิก็เช่นกัน คุณตันเปรียบเสมือนลมหายใจของบริษัท เขาเป็นคนคุมโทน กำหนดลมหายใจของบริษัท หลายอย่างเขาไม่ทำเพราะจะส่งผลต่อแบรนด์โออิชิทางลบ

แต่เมื่อไม่มีเขาอยู่เสียแล้ว ดูเหมือนว่าโออิชิจะทำทุกอย่างเพื่อบรรลุเป้าหมายในการเติบโต

John Sculley อดีตซีอีโอแอปเปิลบอกว่า สตีฟ จ๊อบส์ บอกว่าการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดบางครั้งไม่ใช่การตัดสินใจว่าจะทำอะไร แต่ตัดสินใจว่าจะไม่ทำอะไร

ขณะที่ตันอยู่นั้นเขาคัดง้างไม่ให้โออิชิทำอะไรหลายอย่างเพื่อรักษาแบรนด์โออิชิไว้ แต่วันนี้เมื่อไม่มีคุณตันแล้ว ใครจะเป็นคนคุม

วันนี้ผู้บริหารโออิชิควรโฟกัสในชาเขียวมากกว่า เพราะการที่ยูนิฟนำโฆษณาชุดเก่าเมื่อ 5 ปีที่แล้วมาอีกครั้ง ย่อมแสดงว่ายูนิฟพร้อมเปิดศึกเต็มตัว

ก่อนจะไปเปิดสมรภูมิใหม่ควรรักษาอู่ข้าวอู่น้ำของตนเองก่อนดีกว่า

นี่คือการรู้จักจัด Priority

หนึ่งในปัจจัยแห่งชัยชนะ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us