|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ในกระบวนการวัดผลความสำเร็จของการทำงานในช่วงการปรับเปลี่ยนเพื่อก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างโครงการใหม่ๆ เพื่อยืนอยู่บนยอดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกลยุทธ์ในการวัดผลเพื่อสร้างผลงานใหม่ๆ แทนที่จะเน้นการบริหารการแก้ปัญหาเดิมๆ ในกระบวนการทำงานปกติ
ผู้เขียนได้มีโอกาสจัดเสวนา APIC CEO Forum เพื่อแลกเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ในการวางกลยุทธ์เพื่อสร้างภาวะผู้นำในการเปลี่ยนแปลง (Strategic leadership in leading change) ผู้นำหลายองค์กรจะติดกับดักของความสำเร็จโดยมักจะทำงานในรูปแบบเดิมให้หนักขึ้นเพื่อสร้างการเจริญเติบโต แต่องค์กรชั้นนำที่ผู้นำได้วางรากฐานในการวัดผลการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดเห็นความสำคัญในการสร้างกลยุทธ์ 3 P เพื่อเป็นตัวชี้วัดในการสร้างแผนเติบโตในระยะสั้น-ระยะกลาง-ระยะยาว
ได้แก่ P แรก-Problem Solving การแก้และบริหารปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน P ที่สอง – การป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดในอนาคต และ P ที่สาม Proactive ก็คือการมองล่วงหน้าถึงโอกาสใหม่ๆ ในวิกฤตที่อาจจะกำลังก่อตัวในอนาคต ทั้งสาม P นี้จะเป็นตัวที่วัดที่สำคัญว่าเราสามารถจะสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะสั้น กลาง หรือยาว ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
P-Problem solving การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
P แรกเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรากฐานในปัจจุบันให้แน่นด้วยการสร้างระบบการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เริ่มตั้งแต่การสร้างความสามารถในการมองรากแก้วของปัญหาไม่ใช่มองแค่อาการ การคิดนอกกรอบเพื่อหา Solution ที่หลุดจากมุมมองของการแก้ปัญหาเดิมการสร้างแนวทางในการสร้างแผนการปฎิบัติตลอดจนการสร้างคำมั่นสัญญาของทีมในการแก้ปัญหาร่วมกัน
หลายองค์กรมักจะใช้มุมมองและตรรกะเดิมๆในการแก้ปัญหาซึ่งหลายครั้งก็จะสร้างปัญหาใหม่จากแนวความคิดเดิม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานมุมมองและสะกิดความเก่งของความหลากหลายของทีมงานเพื่อช่วยกันมองทั้งในด้านเหตุและผลตลอดจนแนวความคิดสร้างสรรค์ที่นอกกรอบเดิม (Creative Problem Solving) รวมทั้ง กระบวนการเลือกแนวปฎิบัติในการแก้ปัญหา (Practical Implementation) เพราะถ้าเลือกแนวปฎิบัติโดยไม่มีคำมั่นสัญญา ความมุ่งมั่นในการนำแนวคิดใหม่ๆมาสร้างแนวปฎิบัติก็จะไม่เกิดขึ้น ถ้ามีโครงการในระดับนี้มากองค์กรจะมุ่งเน้นกลยุทธ์ในระยะสั้นที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้าเป็นหลัก
P-Prevention การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
P ที่สองจะสร้างแนวทางเพื่อที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาแทนที่จะรอให้ปัญหาเกิดก่อนแล้วค่อยมาแก้ ผู้นำหลายองค์กรมักจะสร้างกระบวนการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขกระบวนการทำงานเดิมเพื่อป้องกันปัญหาไม่ให้เกิด ด้วยการสร้างดึงเอาลูกค้าและคู่ค้าเข้ามาสร้างโซ่สายใยคุณภาพ หรือที่เรียกกันว่า Quality Value Chain โดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นต้นทางเพื่อสร้างกระบวนการสร้าง Solution ที่ตรงกับความต้องการด้วยทีมงานภายในองค์กรตลอดจนพันธมิตรและเครือข่ายที่อยู่นอกองค์กรแทนที่จะรอปัญหาวิ่งเข้ามาแล้วค่อยแก้ไข
ทีมของผู้เขียนเคยไปช่วยองค์กรชั้นนำหลายองค์กรเพื่อเข้าใจมุมมองของลูกค้าในกลุ่ม 20:80 ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มสำคัญที่ถ้าเราสามารถจะตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริงตลอดจนสามารถปรับความต้องการของลูกค้าให้สนใจความสามารถที่โดดเด่นและเป็นธรรมชาติ (Organization Strategic heartbeat) จะทำให้ทีมงานสามารถใช้ความเก่งและความชอบอย่างเป็นธรรมชาติตลอดจนเข้าใจมุมมองของลูกค้าต่อคู่แข่งคนสำคัญด้วยการเข้าถึงหัวใจของความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงจะช่วยป้องกันและวางกระบวนการตอบสนองอย่างมีคุณภาพเพื่อป้องกันก่อนที่ปัญหาจะเกิด
P-Proactive มองล่วงหน้าถึงโอกาสใหม่ๆในวิกฤต
P ที่สามเป็นการมองเชิงกลยุทธ์เชิงรุกด้วยปัญญาที่สามารถหยั่งรู้และเข้าใจธรรมชาติและวัฎจักรของการเปลี่ยนแปลง ผู้นำหลายองค์กรจะตัดสินการเลื่อนตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางเป็น
ระดับสูงด้วยคุณภาพของมุมมองใน P ที่สาม ความสามารถของทีมผู้บริหารที่สามารถจะสร้างโครงการใหม่ๆจาก P ที่สามจะทำให้องค์กรมีโอกาสสร้าง Innovation ใหม่ๆให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง
ถ้าองค์กรสามารถมองเห็นโครงการใหม่ๆที่เกิดขึ้นจาก P-Proactive และสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าถึงผลประกอบการที่จะเกิดขึ้นจากโครงการเหล่านี้รวมทั้งปริมาณของผู้นำและทักษะที่ต้องการเพื่อบริหารโอกาสให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมจะทำให้องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว
การสร้างดุลย์ภาพของปริมาณ 3P ในการเป็นดัชนีการวัดผลความสำเร็จของผู้บริหาร และผู้นำองค์กร เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการบริหารการเติบโตทั้งในระยะสั้นและระยะยาวและเป็นการสร้างความยั่งยืนด้วยการมองเท่าทัน และสามารถยืนอยู่บนยอดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและมั่นคง
|
|
|
|
|