Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์9 ธันวาคม 2553
“โลว์คอสต์” ยังหอมหวาน สายการบินทั่วเอเชียแห่ลงทุน             
 


   
search resources

Low Cost Airline




ว่ากันว่าความมหัศจรรย์ของเจ็ทสตาร์ และความยิ่งใหญ่ของแอร์เอเชีย ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจ และคู่แข่งสำคัญที่ทำให้สายการบินเต็มรูปแบบต้องเร่งปรับตัวกันยกใหญ่

นอกเหนือจากการขยับตัวของการบินไทยและสิงคโปร์แอร์ไลน์สแล้ว ก็ยังมีสายการบินยักษ์ใหญ่ในเอเชียอีกหลายสาย ที่ประกาศตัวว่าจะลงมาสู่สมรภูมินี้ โดยเฉพาะ 2 สายการบินยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นอย่าง เจแปน แอร์ไลน์ส (JAL) และแอร์นิปปอน แอร์เวย์ส (ANA) ที่ตัดสินใจเตรียมลงมาจับธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำด้วยตนเองภายในปีหน้า โดยจะให้บริการเที่ยวบินราคาต่ำกว่าที่เป็นอยู่ถึงเท่าตัว

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า แอร์นิปปอน แอร์เวย์ส ดูจะมีความเคลื่อนไหวชัดเจนมากกว่า เจแปนแอร์ไลน์ส ซึ่งกำลังวุ่นวายอยู่กับการปรับโครงสร้างบริษัทให้พ้นจากการล้มละลาย ล่าสุด ANAได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงกับ เฟิร์สท์ อีสเทิร์น อินเวสต์เมนท์กรุ๊ป ของฮ่องกง ซึ่งเป็นกลุ่มการลงทุนที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในฮ่องกง และมีสำนักงานสาขาในปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ดูไบ และลอนดอน เพื่อเปิดตัวสายการบินต้นทุนต่ำในปีหน้า

สื่อมวลชนในญี่ปุ่นต่างประโคมข่าวว่า การจัดตั้งบริษัทใหม่เพื่อบริหารสายการบินต้นทุนต่ำแห่งนี้จะเสร็จสิ้นในช่วงปลายปี 2553 โดยนักลงทุนญี่ปุ่นจะถือหุ้นในสัดส่วน 66.7% ซึ่งหุ้น 39% ในจำนวนดังกล่าวจะถือครองโดย ANA ขณะที่ เฟิร์สท์ อีสเทิร์น จะถือหุ้นที่เหลืออีก 33.3% ซึ่งเป็นเพดานการถือครองหุ้นของต่างชาติในสายการบินญี่ปุ่น

สายการบินต้นทุนต่ำดังกล่าวจะให้บริการเส้นทางบินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ จากท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ ซึ่งเป็นสนามบินหลักของ ANA ในราคาประมาณ 5,000 เยน (2,500 บาท) หรือหนึ่งในสามของค่าตั๋วรถไฟชินคันเซนที่วิ่งในเส้นทางเดียวกัน และคาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ภายใต้ชื่อแบรนด์อื่นที่ไม่ใช่ ANA

จากการเปิดเผยของแหล่งข่าว ราคาเที่ยวบินระหว่างประเทศของสายการบินใหม่นี้ก็จะให้บริการในราคาต่ำเช่นกัน โดยเฉพาะเที่ยวบินจากคันไซไปประเทศในอาเซียน เนื่องจากต้องการแข่งขันกับสายการบินโลว์คอสต์จากประเทศอื่น

ขณะเดียวกัน เวียดนามได้ปรากฏโฉมเครื่องบินโดยสารแบบ บอมบาเดียร์ ลำแรก จากทั้งหมด 4 ลำ มาถึงท่าอากาศยานเตินเซินเญิต นครโฮจิมินห์ รายงานข่าวแจ้งว่า เป็นการส่งมอบอย่างเป็นทางการ เพื่อทำให้ “สายการบินแอร์แม่โขง” ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนใหม่สายใหม่ของเวียดนามให้ขึ้นบินได้ตามกำหนดในวันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา

สายการบินใหม่ของเวียดนามจะใช้บอมบาเดียร์ CR J-900 แบบ 90 ที่นั่ง ให้บริการเชื่อมปลายทางต่างๆ ในประเทศ เป็นคู่แข่งโดยตรงกับเวียดนาม แอร์ไลน์ส ทั้ง 4 ลำ เช่าจากบริษัท สกาย เวสต์ลีสซิ่ง ในสหรัฐฯ อีก 3 ลำ ที่เหลือจะทยอยส่งมอบภายในปีนี้ ขณะที่ต้องใช้เวลาที่เหลืออยู่ในการฝึกฝนพนักงานบริการให้ชินกับเครื่องบินดังกล่าว

เครื่อง CR J-900 ใช้รันเวย์ความยาวเพียง 1,600 เมตร ในการบินขึ้น-ลง ทำให้สามารถใช้สนามบินได้เกือบจะทุกแห่งในเวียดนาม ซึ่งทำให้สายการบินใหม่มีตลาดอย่างกว้างขวาง

แอร์แม่โขง ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานการบินพลเรือนเวียดนาม ตั้งแต่ปี 2551 และก่อตั้งในปี 2552 แต่เพราะสภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงที่ผ่านมา แต่ในขณะนี้พร้อมเปิดให้บริการตามเงื่อนไขทั้งหมดแล้ว โดยได้การรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานของรัฐ

ตามแผนธุรกิจที่วางไว้นั้น แอร์แม่โขง จะเปิดบินเชื่อมฮานอยกับโฮจิมินห์ กระจายไปยังเกาะฟุก๊วก เกาะท่องเที่ยวในอ่าวไทย โฮจิมินห์-ดานัง-ดาลัด และญาจาง และโฮจิมินห์-เกาะกงด๋าว เมืองบวนแมะท๊วด นครหายฟ่อง และเมืองวีง เมืองท่าใน จ.เหงะอาน ในภาคกลางตอนบนติดชายแดนลาว โดยว่าจ้างนักบินกว่า 40 คน พนักงานประจำเครื่องอีก 50 คน ทั้งหมดได้รับการฝึกฝนฝึกอบรมจากสถาบันการบินแห่งชาติ

แอร์แม่โขง เป็นสายการบินเอกชนแห่งที่ 3 ถัดจากสายการบินต้นทุนต่ำ คือ เวียดเจ็ตแอร์ ที่ยังไม่พร้อม เนื่องจากแผนร่วมทุนกับแอร์เอเชียแห่งมาเลเซีย ไม่ได้รับอนุมัติ และอินโดไชน่า แอร์ไลน์ส ที่พับฐานไปแล้ว ปัจจุบันยังมีสายการบินวาสโก้แอร์ เป็นบริษัทลูกของสายการบินแห่งชาติ และเจ็ทสตาร์ แปซิฟิก ที่ร่วมทุนกับแควนตัส จากออสเตรเลีย เปิดให้บริการแบบโลว์คอสต์เช่นกัน

ตามแผนการดั้งเดิม ปีนี้รัฐบาลเวียดนาม จะออกใบอนุญาตให้จัดตั้งสายการบินเอกชนอีก 2-3 แห่ง แต่เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ทำให้แผนการต้องเปลี่ยนไป ตัวเลขของกระทรวงวางแผนการลงทุน สายการบินเวียดนาม เจอปัญหาตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปี คาดว่าปีนี้ผลประกอบการจะขยายตัวเพียงประมาณ 4.9% เทียบกับ 15.8% ในปี 2551

ทั้งนี้ เจ็ตสตาร์ แปซิฟิก เป็นสายการบินต้นทุนต่ำแห่งแรกของเวียดนาม โดยรัฐบาลถือหุ้นใหญ่ รายงานผลประกอบการขยายตัว 28.7% ในไตรมาส 1 ซึ่งลดลงอย่างมาก หากเทียบกับอัตราการเติบโตทั้งปี 54.6% เมื่อปีที่แล้ว

อินโดไชน่า แอร์ไลน์ส สายการบินต้นทุนต่ำอีกแห่ง ที่เปิดให้บริการมา 6 เดือน ต้องลดเที่ยวบินโฮจิมินห์ฮานอย ลงครึ่งหนึ่ง และได้เลิกสัญญาเช่าเครื่องบินเพิ่ม ปัจจุบันให้บริการได้เพียงวันละ 1 เที่ยวบิน ด้วยเครื่องบินเพียงลำเดียว

ส่วนเวียดเจ็ตแอร์ สายการบินเอกชนแห่งแรกของประเทศ ที่ได้รับในอนุญาตเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ต้องใช้ความกล้าหาญเป็นพิเศษ เพื่อขึ้นบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์ให้ได้ในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา หลังจากเลื่อนมาแล้ว 2 ครั้ง ไม่เช่นนั้นจะถูกยกเลิกใบอนุญาต

ในประเทศอินเดียก็ไม่น้อยหน้า เมื่อทางการอินเดียอนุมัติเงินจัดซื้อเครื่องบินใหม่ 46 ลำให้กับสายการบินต้นทุนต่ำ 3 สาย ได้แก่ สไปซ์เจ็ต, อินดิโก และเจ็ตไลต์ เนื่องจากการเดินทางฟื้นตัว การสั่งซื้อฝูงบินมูลค่า 190,000 ล้านรูปี หรือประมาณ 4,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการบินพลเรือนและเครื่องบินใหม่จะเริ่มรับมอบในเดือนพฤศจิกายนนี้

ภายใต้การอนุมัติครั้งนี้ โบอิ้งจะซัปพลายเครื่องบินให้ 32 ลำ และจากแอร์บัส 14 ลำ ซึ่งการสั่งซื้อเครื่องบินให้กับสายการบินต้นทุนต่ำครั้งนี้สะท้อนให้เห็นการขยายตัวที่สำคัญในตลาดอินเดีย โดยสายการบินต้นทุนต่ำรวมกันแล้วให้บริการขนผู้โดยสารในอินเดียประมาณ 50%

สาเหตุที่สายการบินของอินเดียขยายฝูงบินได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเศรษฐกิจฟื้นตัวจากวิกฤตการเงินโลก กระตุ้นการเดินทางทางอากาศเพิ่มขึ้น โดย อินเดียน แอร์ไลน์ ขนผู้โดยสารได้ 44 ล้านคนในปีที่ผ่านมา ซึ่งทางโบอิ้งคาดหมายจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นในปีนี้ 8-10%

ส่วนสไปซ์เจ็ตได้รับอนุมัติจากทางการอินเดียในการสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 737-800 รวม 30 ลำกำหนดเริ่มส่งมอบในปี 2557 ส่วน อินดิโก ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำรายใหญ่สุดมีส่วนแบ่งตลาด 16.9% ได้รับอนุมัติสั่งซื้อเครื่องบิน เอ-320 รวม 14 ลำ สำหรับปี 2554-2555

สำหรับสายการบินเจ็ตไลต์ ซึ่งเป็นสายการบินในเครือเจ็ตแอร์เวย์สได้รับอนุญาตให้ซื้อโบอิ้ง 737-800 รวม 2 ลำ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ การอนุมัติครั้งล่าสุดเกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลอนุมัติในหลักการให้อินดิโกซื้อเครื่องบินใหม่ 150 ลำในอีก 2-3 ปี เนื่องจากมองหาเส้นทางบินระหว่างประเทศ

นักวิเคราะห์จากอินเดีย ระบุว่า สายการบินต้นทุนต่ำที่บูมในอินเดีย บีบให้สายการบินปรกติอย่าง คิงฟิชเชอร์แอร์ไลน์ และเจ็ตแอร์เวย์สเริ่มหันมาเปิดสายการบินแบบประหยัด โดยปรับเปลี่ยนที่นั่ง 60-70% ไปให้กับสายการบินต้นทุนต่ำ อย่างเจ็ตไลต์และเจ็ต คอนเน็ค รวมทั้ง คิงฟิชเชอร์ เรด ส่วนแอร์อินเดียที่รัฐบาลเป็นเจ้าของก็กำลังมองหาลู่ทางเปิดสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศ ซึ่งที่นั่งที่เพิ่มขึ้นมาตั้งเป้าเป็นที่นั่งราคาถูกในเครือข่ายการบินในประเทศถึง 80%

สำหรับในประเทศมาเลเซียนั้น นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค แห่งมาเลเซีย เข้าร่วมในพิธีเพื่อก่อสร้างสนามบินขนาดใหญ่แห่งแรกของโลก ซึ่งถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อรองรับสายการบินต้นทุนต่ำโดยเฉพาะ โดยสนามบินแห่งใหม่นี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ เคแอลไอเอ 2 และตั้งอยู่ห่างจากสนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ไปทางตะวันตกราว 2 กิโลเมตร ซึ่งมีกำหนดก่อสร้างให้แล้วเสร็จในปี 2555 เพื่อแทนที่อาคารผู้โดยสาร “โลว์คอสต์ แคร์ริเออร์ เทอร์มินัล” ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2549

มูลค่าการก่อสร้างสำหรับโครงการนี้อยู่ที่ 2,500 ล้านริงกิต หรือกว่า 25,000 ล้านบาท และเคแอลไอเอ 2 สามารถรองรับผู้โดยสารในเบื้องต้นได้ถึง 30 ล้านคน พร้อมคาดการณ์ว่า ความต้องการเดินทางด้วยเครื่องบินของสายการบินต้นทุนต่ำของประชาชนยังจะคงดำเนินต่อไปในอีก 10 ถึง 15 ปีข้างหน้า

นักวิเคราะห์อีกรายชี้ว่า ในอนาคตอันใกล้อาจจะเห็นสายการบินเต็มรูปแบบออกมาขยับและปรับตัวกันอีกหลายสายการบิน เขาฟันธงว่าธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำยังจะเติบโตต่อไปอีก โดยคาดว่าจะสามารถชิงส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจการบินภายในภูมิภาคจากในปัจจุบัน 20% เพิ่มเป็น 35% ภายในปี 2015

ที่สำคัญไปกว่านั้น โมเดลการเติบโตของแอร์เอเชีย และเจ็ทสตาร์ จะกลายเป็นตัวอย่างให้กับสายการบินต้นทุนต่ำอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งจะสร้างแรงกดดันอันมหาศาลให้กับสายการบินเต็มรูปแบบอีกมากมายหลายสายการบินในอนาคต   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us