|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
การเปิดตัวโครงการอีโคคาร์ หรือรถยนต์ประหยัดพลังงานของนิสสัน มาร์ช สร้างความตื่นเต้นให้กับตลาดรถยนต์อย่างมากด้วยยอดขายเดือนละมากกว่า 2,000 คัน และมียอดจองค้างส่งอีกกว่า 3-4 เดือน ขณะที่ ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) เองก็เตรียมบุกตลาดอีโคคาร์จากโครงการเดียวกันในเดือนกันยายน 2554 โดยมีการเปิดตัวรถต้นแบบที่มีรูปทรงคล้ายกับรุ่นที่จะทำตลาดมากที่สุดในงาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 27 นี้
ทั้งนี้ ในเวลาเพียง 24 เดือนที่ออกมาเผยโฉม ภายใต้เงื่อนไขของอีโคคาร์ ที่กำหนด ประเด็นสำคัญไว้ คือเรื่องของอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมัน และอัตราการปล่อยมลพิษจากท่อไอเสียที่เข้มงวดที่สุดในโลก สำหรับรถเล็กรถยนต์นั้นถือเป็นภาคการผลิตอันดับต้นๆ ของอุตสาหกรรมหนักที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากมองทิศทางของภาคนโยบายของรัฐในแง่ของอุตสาหกรรม ถือว่านี่คือส่วนหนึ่งของการสร้างรถยนต์สีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรม
ในการสัมมนาหัวข้อ “ก้าวต่อไปของ อุตสาหกรรมไทย บนมิติของความไว้วางใจ” เมื่อเร็วๆ นี้ ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ย้ำถึงทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศว่า กระทรวงอุตสาหกรรมส่งเสริมให้โรงงานมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล มีการเปิดเผยข้อมูล พร้อมกับส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน ในการร่วมแก้ไขปัญหาและตรวจสอบมลพิษในสถานประกอบการ
ตั้งแต่ปี 2551-2553 มีโรงงานอุตสาหกรรมผ่านเกณฑ์ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมแล้ว 500 ราย จากเป้าหมายกำหนดไว้เพียง 233 ราย นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วม
ในการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อมได้แล้วถึง 58 เครือข่ายใน 7 จังหวัดในแถบภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ นอกจากนี้ ยังเป็นการสื่อสารถึงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสีเขียว GO GREEN สนับสนุนโรงงานสีเขียว การประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
เน้นหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล (ISO 14000) การใช้เทคโนโลยีสะอาด และการประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ส่วนมาตรการระยะยาว กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (ECO-industrial Town) โดยการพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมดภายใน 10 ปีนับจากนี้ไป โดยนำร่อง 3 แห่งคือ นิคมอุตสาหกรรมบางปู นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ และนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด นอกจากนี้ จะต้องสื่อสารทำความเข้าใจและอธิบายให้ชุมชน ประชาชน โดยเฉพาะระดับผู้นำชุมชน ท้องถิ่น ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจน โดยจะเน้นสื่อสารถึงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสีเขียวสู่ประชาชน ที่เห็นชัดเจนคือ การปลูกต้นไม้แนวป้องกัน (Buffer Zone) และแนวช่องลม (Protection Stript) ในมาบตาพุด ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวในนิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรมและเขตประกอบอุตสาหกรรมให้มากขึ้น
โดยสิ่งที่ดำเนินการไปแล้วคือ 1.การส่งเสริมการผลิตสินค้าสีเขียว ลดใช้ทรัพยากรพลังงาน ตลอดจนมลพิษตั้งแต่ต้นกำเนิด 2.ให้ความสำคัญกับธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม (CSR) 3.ภาครัฐกำหนดเกณฑ์จัดซื้อจัดจ้าง พิจารณาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก่อน 4. การส่งเสริมรถยนต์ประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากล (Eco Car)
จากนี้ไป ในทุกๆ ปี เรายังคงจะได้เห็นรถยนต์ใหม่ของโลกจากการส่งเสริมรถยนต์ประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากล ซึ่งปีต่อไปคือ รถจากซูซูกิ ถัดจากนั้นคือ มิตซูบิชิและโตโยต้า ยักษ์ใหญ่ โดยรถเหล่านี้ยังมีรุ่นย่อยอีกมากมายที่จะออกมาทำตลาด ทั้งหมดนั้นถือ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย กรีน คาร์ ที่นโยบายของภาครัฐมีส่วนช่วยสนับสนุน
|
|
 |
|
|