|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
จับกระแสแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2011 โดย บริษัท แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด แผนกคอนซูเมอร์ อินไซด์ คาดการณ์ว่าปีหน้าจะเป็นปีที่ผู้บริโภคมีความตื่นตัวมากขึ้น เริ่มหันมามองหาความจริงใจและความน่าเชื่อถือจากแบรนด์ พร้อมทั้งแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วยสร้างไลฟ์สไตล์ที่ง่ายขึ้นและฉีกตัวเองไปจากกฎเกณฑ์เดิมๆ
ในขณะที่กระแสความภูมิใจในวัฒนธรรมตนเองจากทั่วโลกก็จะเริ่มมีให้เห็นในวงกว้างจน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ หรือที่เรียกว่า Culture Exchange โดยแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคมและสิ่งรอบตัว จะเข้ามามีอิทธิพลสำคัญต่อ ไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมของผู้บริโภค และจากภาพรวมดังกล่าวแผนกคอนซูเมอร์ อินไซด์โดย บริษัท แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด นำไปสู่ 11 เทรนด์ผู้บริโภคที่น่าจับตามองอย่างยิ่งในปีหน้า
เทรนด์แรก- SLOW IS THE NEW FAST
จากกระแสออนไลน์ที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถรับรู้หรือค้นหาข้อมูลที่เป็นจริงได้มากขึ้น ได้ช่วยกระตุ้นให้คนเริ่มหันมาสนใจในเหตุและผลและรับรู้ถึงสิทธิในการบริโภคของตน ดังนั้นผู้บริโภคจึงเริ่มหันมาใส่ใจกับความเป็นมาของสิ่งที่ที่ตนเองบริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการการผลิตหรือที่มาของสินค้าต่างๆ และเพื่อตอบรับแนวโน้มพฤติกรรมดังกล่าว บรรดาแบรนด์ต่างๆจึงควรที่จะหันมาให้ความสำคัญกับการสื่อสารแบบ Two-Way Communication ซึ่งหมายถึง การที่แบรนด์แสดงความจริงใจต่อผู้บริโภคด้วยการรับฟังความเห็น ความต้องการของผู้บริโภค และพร้อมที่จะแก้ไขปรับปรุง แทนที่จะมุ่งเน้นแต่การสื่อสารออกไปยังผู้บริโภคเพียงทางเดียว
เทรนด์ที่สอง- THE COME BACK OF NOSTALGIC SIMPLICITY
ในปีที่ผ่านมาผู้บริโภคไทยได้ประสบกับภาวะที่ไม่แน่นอนอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจ การเมือง และภัยธรรมชาติ ล้วนก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยภายในจิตใจ จึงเป็นที่น่าสนใจว่าผู้บริโภคจะเริ่มมองหาความรู้สึกดีๆ และความเรียบง่ายที่ทำให้ย้อนนึกถึงความสุขในวัยเด็ก กระแสดังกล่าวเริ่มมีมาให้เห็นบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกระแสแฟชั่น Vintage กระแสการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมที่คุ้นเคยจากธรรมชาติ หรือแม้แต่การท่องเที่ยวไปตามที่ที่ยังคงมีวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตแบบเก่าๆ ให้เห็นอยู่ ดังนั้นแบรนด์ที่อยู่มานานอาจจะหันมาสื่อสารกับผู้บริโภคผ่านการใช้ Heritage Telling โดยเล่นกับจุดเด่นของแบรนด์ตนเองที่สามารถทำให้คนย้อนนึกถึงช่วงเวลาดีๆ ในอดีต
เทรนด์ที่สาม- MOBILE DEMOCRACY
จากกระแส Smartphone ทั้ง iPhone และ Blackberry ที่มาแรงมากในปีที่ผ่านมาและระบบ Androids ที่เริ่มแพร่หลายมากขึ้น จะเห็นได้ว่า Smartphone ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับคนไทย โดยบทบาทของมือถือไม่ได้มีไว้สำหรับโทรติดต่อเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยปลดปล่อยความมีอิสระในการเข้าถึง Content ต่างๆ ในรูปแบบ Real Time Real Location มือถือจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในทุกแง่มุมชีวิตของคนไทยยุคปัจจุบัน การเข้าถึงผู้บริโภคโดยสื่อ Smartphone จึงเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะ Smartphone จะเป็นตัวกลางที่ทำให้ แบรนด์สามารถใกล้ชิดกับผู้บริโภคได้ในทุกช่วงเวลาและสถานที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ Mobile Application เพื่อสร้างอรรถประโยชน์โดยตรงกับตัวผู้บริโภคผ่านรูปแบบที่น่าสนใจ ซึ่งปัจจุบัน Application ที่ดึงดูดความสนใจของคนไทยได้มากที่สุดจะอยู่ในประเภท Avatar หรือที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายรูป
เทรนด์ที่สี่- MEDIA GRAVITY
เนื่องจากผู้บริโภคไทยในยุคนี้อยู่ในสังคมที่แวดล้อมไปด้วยสื่อต่างๆ มากมาย ผู้บริโภคจึงขาดจุดสนใจในเลือกรับข้อมูลจากสื่อ ทั้งนี้การสร้างสื่อให้มีความน่าสนใจและน่าตื่นเต้นมากยิ่งขึ้นในอนาคต จึงต้องเน้นให้เกิด Interaction และ Participation กับตัวผู้บริโภค ในปีหน้าเทรนด์การใช้สื่อทั้ง Traditional Media และ New Media จะมีเรื่องของเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น Interactive Outdoor หรือ การใช้สื่อ Across Platform เช่น การใช้ QR Code เชื่อมต่อไปยัง Website หรือการสร้าง Augmented Reality ผ่านการใช้ Print Ad กับ Web Camera นอกจากนี้แบรนด์ต่างๆ ยังอาจนำสื่อต่างๆ มาเล่นกับเรื่องของช่วงเวลาที่แตกต่างกันในแต่ละวันของผู้บริโภค
เทรนด์ที่ห้า- LIFE IN A CLOUD
ด้วยรูปแบบชีวิตในเมืองที่มีลักษณะ On-the-go มากขึ้น ผู้บริโภคหันมาเรียนรู้และยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสร้างความสะดวกสบายในกับชีวิต ตัวอย่างเทคโนโลยีที่มีให้เห็นในเมืองไทยไม่ว่าจะเป็น Mobile Banking หรือ Movie Ticket Vending Machine ซึ่งแม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ ก็ได้ทำให้มุมมองการใช้ชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนไปและเริ่มแสวงหาชีวิตในฝัน ดังนั้นแบรนด์ที่ตั้งเป้าในการเป็นผู้นำตลาด จึงต้องมองหาการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่ซ้ำใครเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ซับซ้อนขึ้น
เทรนด์ที่หก- FRIEND AS A VERB
ชีวิต คือการ Share เป็นวัฒนธรรมใหม่ที่มาแรงในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับกระแส Social Network ทั้งจาก Facebook และ Twitter วัยรุ่นปัจจุบันยินดีที่จะเปิดเผยตัวตนส่วนตัวให้ผู้อื่นได้รับรู้มากขึ้น โดยมักเปิดกว้างที่จะรับเพื่อนใหม่ๆ ในรูปแบบการ Add friend หรือ Follow คนที่มีความสนใจและความชอบเคล้ายกับตัวเอง เพื่อนในสังคมออนไลน์นั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีปฎิสัมพันธ์กันโดยตรง หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นความสัมพันธ์แบบ Digital จากกระแสดังกล่าวทำให้เห็นถึงทิศทางโดยรวมว่าผู้บริโภควัยรุ่นในปัจจุบันชอบที่สื่อสารกันระหว่างบุคคลมากกว่าที่จะสื่อสารกับแบรนด์สินค้า ดังนั้นการสร้าง Brand Individual หรือ Brand Ambassador ขึ้นมาเป็นตัวแทนในการสื่อสารกับผู้บริโภคจึงเป็นอีกสิ่งที่น่าสนใจนอกเหนือไปจากการสร้าง Brand Fan Page ที่นิยมใช้ในกันในตอนนี้
เทรนด์ที่เจ็ด-FOR THE PEOPLE TO THE PEOPLE BY THE PEOPLE
ยุคนี้เป็นยุคที่ผู้บริโภคมีอำนาจสูงสุด อันเห็นได้ชัดจากเทรนด์ในเรื่องของ Consumer Co-Creation และ Crowdsource ที่ให้คนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ โดยกระแสที่น่าจับมองคือ Social Entrepreneur หรือการให้ผู้บริโภคได้แสดงออกความคิดในการช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือทำแผนธุรกิจเพื่อให้ แบรนด์นำไปใช้จริง
เทรนด์ที่แปด-SOCIAL COMPASS GAMING
เกมส์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ล้วนแต่มีความหลากหลายและนำเสนอประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่ผู้บริโภค รูปแบบเกมส์ที่ได้รับความที่นิยมจะอยู่ในรูปแบบ Casual Gaming ตาม Social Network ที่ผู้เล่นต้องเล่นผ่านความเป็นตัวตนของตัวเอง แต่ในปีหน้าผู้บริโภคจะเริ่มหันมาสนใจ Social Network ที่เล่นกับเรื่องของ Location Based Service อย่างเช่น Foursquare Gowalla ที่ผู้บริโภคสามารถเชื่อมโยงเข้ากับไลฟ์สไตล์ตัวเองได้มากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีที่หลายๆ แบรนด์จะเข้าไปสร้างความน่าตื่นเต้นและความสนุกให้กับผู้บริโภคโดยมีเกมส์ในรูปแบบดังกล่าวเป็นสื่อกลาง พร้อมไปกับการร่วมมือกับ Lifestyle Expert และ Lifestyle Source ต่างๆ
เทรนด์ที่เก้า-ECOSEXUAL
ในปีหน้ากระแสผู้บริโภคกลุ่ม Green จะเริ่มอิ่มตัว เพราะคนกลุ่มนี้จะหันมาสนใจกับเรื่องการพัฒนาแบบยั่งยืน หรือ Sustainability ในมุมมองที่กว้างขึ้นและชัดเจนขึ้น เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้โลกนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น จากเดิมที่คนกลุ่มนี้จะใส่ใจกับเรื่องต้นไม้และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ก็จะเริ่มหันมาสนใจกับเรื่องของสังคมและชุมชน การศึกษา ศิลปะวัฒธรรม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้ ดังนั้นผู้บริโภคกลุ่มนี้จะเลือกให้การตอบรับที่ดีต่อแบรนด์ที่มีนโยบายเรื่อง Sustainability ที่ชัดเจนและต่อเนื่อง
เทรนด์ที่สิบ- FEEL GOOD EFFECT
กระแสการทำความดีกลายมาเป็นเรื่องทันสมัยและน่ายกย่องสำหรับผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย อันเป็นผลมาจากสื่อและเหล่าดารา ที่เป็นการสร้างแรงบันดาลใจเชิงบวก ผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมการเลือกซื้อและใช้สินค้าโดยอาศัยการพิจารณาจากปัจจัยที่มีส่วนช่วยเหลือสังคม ดังนั้นการสื่อสารถึงกิจกรรมเพื่อสังคมผ่าน Packaging และ Point of Purchase จะช่วยให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคได้มากขึ้น
เทรนด์ที่สิบแอด- HEROIC BRAND PHILANTHROPY
เป็นที่น่าสังเกตว่าแบรนด์ระดับโลกไม่ว่าจะเป็น Starbuck, Pepsi และ P&G ต่างเริ่มที่จะหันมาสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับแบรนด์ตัวเองที่นอกเหนือการพัฒนาสินค้าของตนเอง แต่มุ่งเน้นการสร้างประโยชน์ให้กับสังคม เพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้บริโภค
|
|
|
|
|