Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2533
ความรู้สึกใหม่ของ ดร.ทะนง ลำใย หลังกลับจาก "ฮาร์วาร์ด"             
 


   
search resources

Education
ทนง ลำใย
HARWARD BUSINESS SCHOOL




"HARWARD BUSINESS SCHOOL" โรงเรียนธุรกิจที่มีชื่อเสียงโด่งดังแห่งยุค ใครๆ ก็ใฝ่ฝันว่าจะได้เข้าไปเรียนถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงหลักสูตรระยะสั้นก็ตาม

หลักสูตรระยะสั้นจัดให้สำหรับผู้บริหารหลายระดับโดยที่หลักสูตรระดับสูงสุดเรียกว่า "ADVANCE MANAGEMENT PROGRAM" หลักสูตรประเภทนี้ฮาร์วาร์ดมีประสบการณ์มากทำมานานถึง 75 ปี มีคนเรียนจบไปถึง 106 รุ่น ปีหนึ่งอบรมประมาณ 2 ครั้งจำนวนครั้งละประมาณ 160 คน ครึ่งหนึ่งมักจะมาจากบริษัทใหญ่ๆ ในอเมริกาที่ส่งผู้บริหารของตนมาเป็นประจำเมื่อต้องการเลื่อนตำแหน่งระดับสูงให้ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งมาจากทั่วโลกซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นชาวยุโรปและเอเชีย

ผู้บริหารของไทยที่ไปเรียนในหลักสูตรระดับนี้ยังไม่มากนัก คนแรกก็คือบรรยงค์ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกสิกรไทย ต่อมามีองค์กรใหญ่ๆ บางแห่งที่ให้ความสนใจ เช่นปูนซิเมนต์ไทยที่ผู้บริหารระดับสูงหลายคนผ่านหลักสูตรนี้แล้ว

การอบรมหลักสูตรขั้นสูงครั้งล่าสุดนี้ มีผู้บริหารคนไทยเพียงคนเดียวคือ ดร.ทนง ลำไย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารทหารไทย

แม้ว่า ดร.ทนงจะผ่านการศึกษาในระบบจนถึงขั้นสูงสุดจนได้ปริญญาเอกด้านบริหารธุรกิจจาก NORTH WESTERN UNIVERSITY มีประสบการณ์จากธนาคารโลก 4 ปี นิด้า 4 ปี กลุ่มธุรกิจน้ำตาลมิตรผล 4 ปี ก่อนที่จะเข้าทำงานเต็มตัวที่ธนาคารทหารไทย เขาเชื่อว่าความรู้นั้นเรียนกันไม่จบ เมื่อทำงานไปถึงจุดหนึ่งก็ต้องขวนขวายหาความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความกระตือรือร้นในการทำงานให้กับตัวเอง

คำถามที่คนทั่วไปสนใจก็คือ "จริงๆแล้วคุณได้อะไรกลับมาจากฮาร์วาร์ด"

"ผู้จัดการ" ถามคำถามนี้ในวันแรกของการกลับเข้ามาทำงาน (28 พฤษภาคม 2533) ดร.ทนงหัวเราะก่อนจะตอบคำถามเพราะอาจารย์ที่ฮาร์วาร์ดบอกไว้ก่อนจบหลักสูตรว่าพวกคุณจะต้องตอบคำถามนี้นับครั้งไม่ถ้วน

"การไปใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันคน 160 คนที่ล้วนแต่เป็นผู้บริหารระดับสูงจากทุกสาขาอาชีพจากทั่วโลกซึ่งได้มีโอกาสรู้จักกันแทบทั้งหมดเพราะมีการสลับที่นั่งกันตลอด ภายใน 12 สัปดาห์ อ่านกรณีศึกษาไป 150 บริษัท บางกรณีมีการเชิญผู้บริหารบริษัทนั้นๆ มาให้ซักกันเลยว่าที่พลาดนี่เพราะอะไร เรียนวิชาต่างๆ ไป 8 วิชา แต่ละวิชาอาจารย์เป็นอิสระจากกันเลย หลายกรณีที่อาจารย์มีความเห็นไปคนละทาง ตลอดเวลามีการถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดกันตลอดเวลา มันเป็นการทดสอบตัวเองกับคนอื่นๆ กับทฤษฎีใหม่ๆ ว่าสิ่งที่เราคิดเราทำมานี้มันถูกไหม"

ในแปดวิชานั้นมีทั้งความรู้ในเชิงวิชาการของการจัดการสมัยใหม่ นโยบายของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ วิชาว่าด้วยความเป็นผู้นำ และอีกหลายวิชา กรณีศึกษาจากทั่วโลกทำให้เห็นภาพความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ ซึ่งมีทัศนะที่หลากหลายมากไม่มีสูตรสำเร็จขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความเชื่อ เช่นขณะที่กระแสทั่วไปของอเมริกาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้เชื่อว่าการระดมทุนโดยการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นการกระจายอำนาจการบริหาร ลดภาระหนี้และแก้ปัญหาเรื่องทุน แต่ปรากฏการณ์ใหม่ในระยะหลังก็คือ มีกลุ่มคนที่พยายามทำ LBO หรือ LEVERAGE BUY-OUT เพื่อดึงอำนาจในการบริหารงานกลับมาอยู่ในมือคนกลุ่มเดียว ซึ่ง ศจ.ปีเตอร์ เจนเซ่น แห่งฮาร์วาร์ดมองว่าการเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้นไม่คล่องตัวทางการบริหาร ซึ่งทำให้บริษัทตัดสินใจได้ล่าช้ามาก เพราะต้องฟังความเห็นจากคนหลายฝ่ายทำให้หลายบริษัทต้องประสบกับภาวะการขาดทุน นับว่าเป็นความเห็นที่ทวนกระแสมากทีเดียวไม่เฉพาะในอเมริกาเอง ประเทศไทยซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ปรารถนาที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ กันทั้งนั้นก็น่าจะสนใจถึงกระแสด้านกลับของอเมริกาที่เกิดขึ้นแล้วและอาจจะเกิดกับประเทศไทยในอีก 5-10 ปีข้างหน้าก็เป็นได้

ดร.ทนงเล่าถึงประสบการณ์มากมายที่คาดว่าจะได้และมีอีกหลายอย่างที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย

สิ่งที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายก็คือเวลาหนึ่งในสามของชั้นเรียนถูกใช้ไปกับการพูดถึงปัญหาของสังคมที่ผู้บริหารควรจะต้องมีส่วนช่วยแก้ปัญหา

"ผมคิดว่าเป็นความกล้าของฮาร์วาร์ด ที่นำเอาปัญหาสลัม ปัญหาเรื่องผิว ปัญหายาเสพติดขึ้นมาพูด พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหา โดยฉายสไลด์ประกอบการพูดด้วย การพูดว่าอเมริกากำลังจะตายเพราะปัญหาสังคมที่รายล้อม แล้วโยนคำถามไปว่าผู้บริหารอย่างพวกคุณไม่ทำอะไร แล้วใครจะทำ เล่นเอาผู้บริหารหลายคนงงไปเลย เขาเน้นเรื่อง SOCIAL ETHIC มากจริงๆ"

ดร.ทนงยอมรับว่าเวลาทำงานนั้นคิดแต่เรื่องงานที่ทำ มีเวลาคิดเรื่องอื่นๆ น้อยมากแต่ในช่วงสองเดือนครึ่งถูกกระตุ้นให้คิดเรื่องนี้มาก ทำให้มีความคิดอยากจะทำอะไรอีกหลายอย่าง สิ่งที่คิดว่าทำได้ก็คือจะให้เวลากับการสอนหนังสือให้มากขึ้น

จุดไคล์แม็กซ์ของคอร์สนี้อยู่ที่สัปดาห์สุดท้ายของการเรียน ซึ่งทางโรงเรียนเชิญภรรยาของผู้บริหารทุกคนมาเข้าห้องเรียน โดยให้ภรรยาได้แสดงความคิดเห็นว่าการมีสามีเป็นผู้บริหารระดับสูงนั้นรู้สึกเช่นไร ผลที่ออกมานั้นก็คือ

"ภรรยาส่วนใหญ่รู้สึกว่าสามีของตนเครียด บ้างานไม่ค่อยมีเวลาให้กับครอบครัว ซึ่งหลายกรณีทำให้เกิดปัญหาครอบครัว แล้วในด้านกลับก็คือเมื่อมีปัญหาครอบครัวก็จะไปลงกับลูกน้อง และอาจจะทำให้งานเกิดความผิดพลาด โดยมีการยกตัวอย่างรูปธรรมให้ดูหลายกรณี แล้วชี้ให้เห็นการขาดคุณสมบัติของการเป็นผู้นำที่ดี ซึ่งจะต้องรู้จักจัดสรรเวลาให้เป็น รักครอบครัวและรักคนอื่นให้เป็น"

นั่นทำให้เกิดความรู้สึกใหม่สำหรับ ดร.ทนงอีกประการหนึ่งหลังจากไปเรียนหนังสือก็คือ "ผมรู้สึกว่าผมรักเมียมากขึ้นนะ"

สำหรับสังคมในยุคปัจจุบันที่ขาดแคลนความรัก เงินประมาณหนึ่งล้านบาทที่ธนาคารทหารไทยจ่ายให้ผู้บริหารไปเข้าโรงเรียนแล้วเกิด "ความรัก" ให้มนุษย์คนอื่น "เป็น" แม้จะเริ่มจากคนใกล้ชิดก่อนมันก็คงจะคุ้ม!!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us