Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2531
ปูนนครหลวงใหญ่เงียบๆ กินลึกๆ             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปูนซีเมนต์นครหลวง, บมจ.
Cement
ชวน รัตนรักษ์




แม้จะเริ่มต้นด้วยครอบครัวรัตนรักษ์ แต่ปูนนครหลวงก็เปิดกว้างกับการยอมรับมือปืนรับจ้างและด้วยสูตรผสมที่พอเหมาะพอเจาะปูนนครหลวงจึงองอาจผงาดฟ้าด้วยความน่าอัศจรรย์ใจ วันนี้กับการบริหารแบบเบ็ดเสร็จของผู้นำเยี่ยง สมเกียรติ ลิมทรง ที่สวมหัวโขน 2 ใบในเวลาเดียวกัน เขาจะนำปูนนครหลวงฟันฝ่าผาชันที่กั้นขวางหน้าได้อย่างไร…..

ชวน รัตนรักษ์ …

ศุลี มหาสันทนะ …

สมเกียรติ ลิมทรง …

คน 3 คนนี้บอกไม่ได้ว่าใครเหนือกว่าใคร … แต่เมื่อผนึกศักยภาพเขาทั้งสามเข้ามารวมกัน มันก็เป็นเรื่องน่าทึ่งไปเสียแล้ว ที่ว่าเขาทั้งหมดสามารถบริหารบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ที่มีอายุอานามอ่อนวัยที่สุดอย่าง "ปูนซีเมนต์" ให้สามารถขยายกำลังการผลิต และมีผลกำไรสุทธิแต่ลปีได้ใกล้เคียงกับบริษัทปูนซิเทนต์ไทยที่ก่อตั้งมาก่อนร่วม 60 ปี

และเมื่อถึงวันนี้ที่อำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารงานอยู่ในมือของ สมเกียรติ ลิมทรง อินทรีผงาดฟ้าที่ทุ่มเทเวลางานทั้งหมดในปี 2531 ไปกับการหาแหล่งผลิตใหม่ๆ ขยายชัยภูมิการตลาดให้ครอบคลุมไปทั้งประเทศอย่างไม่รู้เหน็ดรู้เหนื่อย ยิ่งชี้ให้เห็นถึงความน่าเกรงกลัวของบริษัทนี้มากขึ้นเป็นลำดับ

การเป็น "หนึ่ง" ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไปสำหรับปูนซีเมนต์นครหลวง!!!

การกำเนิดของปูนซีเมนต์นครหลวงเป็นที่ถกเถียงกันมากว่า เกิดขึ้นเพราะการมองการณ์ไกลของ ชวน รัตนรักษ์ ที่เล็งเห็นว่าต่อไปในอนาคตเบื้องหน้า ปูนซีเมนต์จะมีบทบาทสูงต่อการพัฒนาประเทศ หรือว่าเป็นเรื่องของความบังเอิญกันแน่??

แต่ที่แน่ๆ ต้องยอมรับว่าชวน "เดินหมากเป็น" และ "อ่านใจ" คนได้ถูก เพราะ … "ที่จริงคุณชวนท่านคงไม่อยากทำหรอก แต่คิดว่าต่อไปใบอนุญาตตั้งโรงงานปูนคงขอลำบาก เลยอาศัยที่สนิทสนมกับพลเอกประภาส จารุเสถียร เลยขอไว้ รวมทั้งสัมปทานภูเขาหินที่ทับกวาง สระบุรี" แหล่งข่าวคนหนึ่งเคยบอกเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงที่มาของบริษัทนี้

หลี บักช้วน หรือ ชวน รัตนรักษ์ - เขาเป็นพ่อค้าจีนที่เข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินในประเทศไทยในฐานะคนต่างด้าวภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้เข้าร่วมหุ้นกับ หลุยส์ พนมยงค์ และกลุ่มพ่อค้าคนจีนกลุ่มหนึ่งก่อตั้งธนาคารกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาเมื่อปี 2488

การทำรัฐประหารปี 2490 ทำให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยาอยู่ในฐานะลำบาก เนื่องจากหลุยส์ พนมยงค์ หุ้นส่วนสำคัญเป็นไม้เบื่อไม้เมากับกลุ่มผู้ครองอำนาจขณะนั้นอย่าง จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ พล.อ. เผ่า ศรียานนท์ ซึ่งได้บีบให้หลุยส์ขายหุ้นทั้งหมดให้กับฝ่ายตน สำหรับตัวชวน เขาถูกคุกคามอย่างมากที่เป็นคนต่างด้าว ด้วย "บาดแผล" ดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ภาพของธนาคารกรุงศรีอยุธยาและของชวน จึงค่อนข้างจะเป็นคนเก็บตัว ไม่กระโตกกระตาก

ชวน กลับมาถือหุ้นใหญ่และมีอำนาจเต็มในธนาคารกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารในปี 2500 ซึ่งชวนถือเป็นหนี้บุญคุณอย่างสูง และก็ด้วยการยอมรับซึ่งกันและกัน ทำให้ชวนสามารถมีสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับกลุ่มสี่เสาเทเวศร์ของจอมพลสฤษดิ์ ที่ตกทอดมาจนถึงรุ่นของถนอม-ประภาส-ณรงค์

ธุรกิจของกลุ่มรัตนรักษ์ที่มี ชวน เป็นขุนพลเอกขยายตัวอย่างมากในช่วงที่กลุ่มสี่เสาเทเวศร์ขึ้นเถลิงอำนาจ และการก่อตั้งโรงงานปูนซีเมนต์นครหลวงก็เป็น 1 ในธุรกิจสำคัญของกลุ่มนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นด้วยความสัมพันธ์ดังที่กล่าวมา

ผู้ก่อตั้งคนสำคัญๆ ของปูนซีเมนต์นครหลวงเมื่อปี 2512 นอกจาก ชวน รัตนรักษ์ แล้วก็ยังมี มงคล กาญจนพาสน์ เอเยนต์ใหญ่นาฬิกาไซโก ดิเรก มหาดำรงกุล ยรรยง ตั้งจิตนบ ยงศักดิ์ คณะธณาวณิช แห่งแหลมทองสหการ เจ้าของธุรกิจปศุสัตว์ ชมพู อรรถจินดา ทนายความชื่อดัง นอกจากนี้ก็มีมือบริหารอาชีพชั้นแนวหน้าอย่าง ศุลี มหาสันทนะ กับ สมเกียรติ ลิมทรง เข้ามาร่วมบริหารและถือหุ้น

ชวน รัตนรักษ์ แม้จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และถ้าดูสัดส่วนหุ้นในระยะแรกแล้วแทบจะกล่าวได้ว่า ธุรกิจนี้ก็คือธุรกิจของ "รัตนรักษ์" ดีๆ นี่เอง แต่ก็เป็นที่น่าให้เครดิตชวนมากว่า เพราะรู้ตัวว่าไม่เก่งพอด้านนี้จึงมอบภาระทั้งหมดให้กับศุลีและสมเกียรติ

ศุลี มหาสันทนะ - เขาเป็นมือปืนรับจ้างแท้จริงเคยร่วมงานในฐานะนักบริารชั้นสูงกับบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) เขาได้ชื่อว่ามีความรอบรู้ในเรื่องปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมเคมีที่เยี่ยมยอด อีกทั้งยังเป็นนักการตลาดและนักวิเคราะห์โครงการที่แม่นราวกับจับวาง ศุลีคงเก่งจริงไม่งั้นแล้วคงไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมรัฐบาลเปรม 2 ที่ต้องรับหน้าที่ต่อรองราคาน้ำมันกับบริษัทต่างชาติจนพวกฝรั่งเจ็บปวดไปตามๆ กันมาแล้ว

ศุลีเป็นคนที่วางรากฐานการบริหารแบบมืออาชีพให้แทรกตัวขึ้นมาในอาณาจักรธุรกิจครอบครัวอย่าง "รัตนรักษ์" ยุคที่เขาเป็นผู้จัดการได้ไปดึงตัวมือดีๆ จากหน่วยราชการเข้ามาร่วมงานกับบริษัทมากคนอย่างเช่น ยุทธ ยุคแผน อดีตผู้จัดการโรงงานฯ ก็มาจากกรมทรัพยากรธรณี และก็ด้วยสายตาดังกล่าวนี้จึงทำให้ปูนซีเมนต์นครหลวงพุ่งแรงเกินคาดคิด

ความเฉียบฉลาดและกล้าตัดสินใจของศุลีที่มีผลต่อความก้าวหน้าของปูนซีเมนต์นครหลวงอย่างมากก็คือ หนึ่ง - ครั้งที่เขารีบไปขอเครื่องหมายคุณภาพแห่งชาติดักหน้าคู่แข่งที่ไม่เห็นความจำเป็นเรื่องนี้ ซึ่งเครื่องหมายนี้ทำให้ผู้ใช้ยอมรับคุณภาพสินค้ามากขึ้น สอง - คราวที่รัฐบาลต้องการให้ปูนซีเมนต์นครหลวงเข้าร่วมโครงการก๊าซธรรมชาติในปี 2522-23 แม้แต่ปูนซีเมนต์ไทยยังยินยอม ทว่าศุลีกลับเสนอบริษัทให้สร้างโรงงานเก็บและบดถ่านหินลิกไนต์ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตปูนฯ แทนก๊าซธรรมชาติ การตัดสินใจเที่ยวนั้นศุลีทำได้ดี เพราะราคาก๊าซธรรมชาติเมื่อเทียบกับลิกไนต์แล้วค่อนข้างจะสูงกว่า ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ต้นทุนการผลิตของปูนนครหลวงค่อนข้างต่ำ

โรงงานปูนซีเมนต์นครหลวงแห่งใหม่ที่สระบุรีที่มีกำลังการผลิตสูงถึง 4.6 ล้านตัน/ปี และได้เปิดเดินเครื่องไปแล้วเมื่อปลายปี 2530 ย่อมเป็นการตัดสินขั้นเด็ดขาดว่า ในสภาพที่ต้นทุนด้านพลังงานของปูนนครหลวงต่ำกว่าคู่แข่งย่อมทำให้สามารถขยายตลาดได้ง่ายและกว้างกว่า ยิ่งเมื่อมาเจอการวางหมากกลทางการตลาดที่แสนจะคมคายของสมเกียรติ ลิมทรง ในปัจจุบัน "สัดส่วนการตลาด 40% มีหรือจะวิ่งหนีไปไหน"!?

สมเกียรติ ลิมทรง - กรรมการ ผู้จัดการคนปัจจุบันที่ต้องสวมหัวโขนถึง 2 ใบ คือ เป็นทั้งตัวแทนธุรกิจครอบครัว "รัตนรักษ์" และเป็นนักบริหารอาชีพในเวลาเดียวกัน กล่าวกันว่าชวนเลือกสมเกียรติเข้ามาใหญ่ในปูนนครหลวง เพราะเหตุผลที่ความเชื่อมั่นตัวเองอย่ามาก ทำให้เขาชอบคำตอบสั้นๆ เพียงแค่ "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" ในความคิดเห็นของพนักงานบริษัทฯ เขาเป็นทั้งเทพเจ้าและจอมเผด็จการ ทว่าที่แน่นอนเหนืออื่นใดก็คือ ทุกคนยอมรับว่า "เขาเก่ง"

ในการประชุมกรรมการบริหารบริษัทคราวหนึ่ง กรรมการท่าหนึ่งเสนอแนวคิดว่า บริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้นน่าที่จะมีอาคารเป็นที่เชิดหน้าชูตาของตัวเอง กรรมการท่านนี้คาดคะเนในใจว่า สมเกียรติคงจะเห็นชอบด้วย แต่แล้วสมเกียรติกลับให้คำตอบว่า "สร้างไปทำไม ไม่จำเป็นอะไรเลย สิ้นเปลืองไปเปล่าๆ ยังมีความจำเป็นด้านอื่นที่ต้องใช้เงินอีกมาก" เล่นเอากรรมการท่านนั้นเจื่อนไปเลย

สมเกียรติเกิดมาในตระกูลค่อนข้างร่ำรวยโรงสี และบริษัทจิ้นหยู่เฮงค้าข้าวของพ่อเขาดังมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นอกจากนี้ยุ่ยเกา แซ่ลิ้ม พ่อของเขายังมีศักดิ์เป็นญาติผู้ใหญ่ของชวน รัตนรักษ์ ส่วนมารดาของเขา พยอม แซ่ลี้ มีศักดิ์เป็นพี่สาวของชาญชัย ลี้ถาวร อดีตปลัดกระทรวงการคลัง

เขาเรียนจบชั้นระดับมัธยมที่อัสสัมชัญศรีราชา แล้วไปเรียนต่อสาขาวิชาปรัชญาที่อ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ก่อนหลับมาทำงานที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมัยที่ทำงานราชการกล่าวกันว่า เขาเป็นคนหัวแข็งไม่ลงให้ใคร งานราชการสำหรับเขาจึงไม่ก้าวหน้าที่สุดจึงตัดสินใจไปเรียนต่อเอ็มบีเอ. ที่ฮาร์วาร์ด แล้วจบมาร่วมงานในบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงโดยรับตำแหน่งรองกรรมการ ผู้จัดการทั่วไป เป็นหมายเลข 2 รองจาก ศุลี มหาสันทนะ

เหตุผลที่ชวนยอมรับญาติคนนี้ก็เพราะเชื่อมือในเรื่องความเชี่ยวชาญด้านไฟแนนซ์ คิดดูก็แล้วกันว่า ด้วยทุนจดทะเบียนบริษัท 100 ล้านบาท เรียกเก็บครั้งแรก 25% แต่สมเกียรติกลับสามารถหาแหล่งทุนจากต่างประเทสที่ยอมให้กู้เงินมาสร้างโรงงานมูลค่ากว่า 400 ล้านบาทได้ไม่ยากเย็น

ความเก่งฉกาจในเรื่องนี้แม้แต่คราวที่มีการแก้ไขปัญหาสภาพง่อนแง่นของแบงก์นครหลวงไทย สมเกียรติยังได้รับการทาบทามจากแบงก์ชาติให้เข้าไปเป็นกรรมการแบงก์ในฐานะผู้ถือหุ้น ทว่าเขาไม่ยอมรับคงสนใจที่จะสละเวลาทั้งหมดให้กับการขยายฐานะของปูนซีเมนต์นครหลวงไทยเพียงถ่ายเดียว

มีคนเปรียบเทียบกันว่า ถ้า ชวน รัตนรักษ์ จะบริหารกิจการปูนนครหลวงเยี่ยงเดียวกับที่กลุ่มธารวณิชกุล กระทำกับชลประทานซีเมนต์ ด้วยการถือว่าเป็นธุรกิจของครอบครัวที่คนอื่นจะเข้าไปแตะต้องมิได้แล้วไซร้ ฐานะความยิ่งใหญ่ของปูนนครหลวงคงมาได้ไม่ถึงขั้นนี้เป็นแน่

"ผมว่าเป็นธุรกิจครอบครัวที่น่าศึกษามาก สมัยที่คุณศุลีอยู่ คุณชวนแกก็ให้อำนาจตัดสินใจเต็มที่ ยิ่งเมื่อมาเจอคุณศุลีซึ่งไม่ค่อยอ่อนข้อให้ใคร ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นเจ้าของทุน ถ้าหากเห็นว่าความคิดของคนเองถูกแล้วเป็นต้องทำ เมื่อคุณชวนไม่ขัดและคุณศุลีไม่พลาด ปูนนครหลวงเลยไปโลด ถึงยุคคุณสมเกียรติก็ตามทีเถอะ แกก็ยังให้อำนาจเต็มที่จนบางทีดูเหมือนกับว่า ปูนนครหลวงฯ เป็นของลิมทรงไปแล้ว" แหล่งข่าวคนหนึ่งกล่าว

ความยิ่งใหญ่ของปูนนครหลวง สาระสำคัญจึงอยู่ที่การกล้าตัดสินใจละจากหลังเสือตั้งแต่วินาทีแรกของผู้นำการก่อตั้งอย่ง ชวน รัตนรักษ์ และตอกย้ำความสำเร็จแท้จริงด้วยระบบการบริหารแบบมืออาชีพของ ศุลี มหาสันทนะ กับ สมเกียรติ ลิมทรง

การบริหารงานของสมเกียรติในปัจจุบัน แหล่งข่าวกล่าวว่า เขาจะลงไปควบคุมด้วยตนเองแทบทุกจุดยกเว้นแต่เพียงงานด้านโรงงานเท่านั้น ที่ไม่เข้าไปก้าวก่าย เนื่องจากยังรู้ไม่ลึกซึ้ง จุดเด่นอย่างมากของบริษัทนี้คือการคัดเลือกคนเข้ามาร่วมงานที่ทำกันอย่างรัดกุม รอบคอบ ไม่มีเส้นสายมากมายนัก จึงทำให้ได้พนักงานที่ค่อนข้างมีคุณภาพ โดยเปรียบเทียบได้จากจำนวนพนักงานกับกำลังการผลิตของปูนนครหลวง กำลังการผลิตเดิม 2.8 ล้านตันใช้พนักงานทุกแผนกเพียง 1,040 คน ขณะที่ปูนซีเมนต์ไทยกำลังผลิต 6.3 ล้านตันใช้พนักงานถึง 4,000 คน และชลประทานซีเมนต์ กำลังผลิต 0.85 ล้านตันใช้พนักงาน 1,100 คน

กลุ่มบริษัทปูนนครหลวงของตระกูล "รัตนรักษ์" กับ "ลิมทรง" ณ เวลานี้ ได้ขยายตัวออกไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่เป็นผลพวงต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เช่น ก่อตั้งบริษัทนครหลวงคอนกรีต บริษัทนครหลวงกระเบื้อและท่อ บริษัททีจี. เซรามิคส์ บริษัท ทีจี. สุขภัณฑ์ บริษัทเซ็นทรัล-เซรามิคส์ โดยเฉพาะบริษัท ทีจี.เซรามิคส์ กับบริษัท ทีจี. สุขภัณฑ์ เป็นการขยายตัวที่น่าครั่นคร้ามและน่าภุมิใจมากของกลุ่มนี้

บริษัททีจี. เซรามิคส์เป็นบริษัทที่ชวนกับสมเกียรติประกาศกร้าวว่าจะต้องผลักดันขึ้นมาเป็นผู้นำยุทธจักรถ้วยชามให้จงได้ ซึ่งในปัจจุบันหลังจากที่อุตสาหกรรมเสถียรภาพกับบัวหลวงเซรามิคของตระกูล "จุลไพบูลย์" ถูกกลบฝังไปแล้วนั้น โอกาสทองของทีจี. เซรามิคส์จึงอยู่ไม่ไกลเกินคิดแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ทีจี. เซรามิคส์ผลิตออกมานั้น เป็นเครื่องถ้วยชามเกรดสูงซึ่งกลุ่มนี้ต้องการเน้นตลาดบนเป็นหลัก

ส่วนบริษัททีจี.สุขภัณฑ์ ผู้ผลิตกระเบื้องปูพื้น "คัมพานา" นั้นเดิมทีเป็นที่รู้กันว่าสมเกียรติได้แอบไปจดทะเบียนการค้า "คอตโต้" เอาไว้ครั้นบริษัทปูนซีเมนต์ไทยร่วมกับคอตโต้ผลิตผลิตภัณฑ์สุขภัณฑ์คอตโต้ออกมาเลยเป็นเรื่องเป็นราวที่ต้องมีการประนีประนอมกัน แต่ก็รู้กันอีกว่างานนี้สมเกียรติเป็นฝ่ายได้เปรียบเอามากๆ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของทีจี.สุขภัณฑ์ทำตลาดร่วมกับอเมริกันสแตนดาร์ด ซึ่งถือเป็นยุทธวิธีจู่โจมตลาดแบบเกื้อกูลกันของ 2 ยักษ์ใหญ่

"แต่ก่อนนั้นสินค้าของปูนนครหลวงทั้ง WIDTH และ LENGTH ใน PRODUCT LINE ของปูนนครหลวงมีน้อยตัวจึงทำให้อำนาจต่อรองกับตัวแทนจำหน่ายมีไม่สูงนัก แต่ปัจจุบันนี้สถานภาพนั้นเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วเมื่อสมเกียรติพยายามผลักดันสินค้าในทุกๆ ไลน์ออกมาให้มากที่สุด" แหล่งข่าวกล่าว

ทว่าในความสำเร็จของปูนซีเมนต์นครหลวงที่ผสมผสานการดำเนินธุรกิจครอบครัวควบกับการทำงานแบบมืออาชีพก็ยังเผลอไผลให้มี "จุดบอด" ที่น่าหวาดหวั่นอยู่มากเหมือนกัน โดยเฉพาะในเรื่องโครงสร้างบุคลากร

ปูนนครหลวงฯ เป็นองค์กรที่รวบรวมคนมีคุณภาพอยู่อย่างไม่ขาดระยะ แต่ก็น่าแปลกเหมือนกันที่ว่า พนักงานระดับบริหารเช่นผู้จัดการฝ่าย แม้จะร่วมงานก่อร่างสร้างตัวมาพร้อมกับบริษัท แต่จะหาคนที่จะอยู่จนอายุเกิน 50 ปีได้น้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นชัยยะ อุดมประเสริฐ ผู้จัดการฝ่ายขายที่ลาออกไปเมื่ออายุ 45 ปี สมชาย สาโรวาท ผู้บริหารฝ่ายขายลาออกไปเป็นผู้จัดการทั่วไป อิมพีเรียล ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ เมื่ออายุ 40 กว่าปี จำลอง นิมบุญจาช ลาออกไปเมื่ออายุไม่ถึง 50 ปีเพื่อทำธุรกิจส่วนตัว แล้วก็มาถึง ยุทธ ยุคแผน ผู้จัดการฝ่ายโรงงาน

ทุกคนเข้ามาแล้วก็จากไปอาจจะด้วยสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป แต่มองลงลึกๆ มันก็ให้น่าสงสัยอยู่ไม่น้อย และหากคิดในมุมที่ต่อเนื่องสมมติว่าคนดีมีฝีมือเหล่านั้นยังสมัครใจที่จะยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับบริษัทดาวรุ่งพุ่งแรงอย่างปูนนครหลวง บางทีวันนี้ของปูนนครหลวงอาจไปไกลกว่านี้แล้วก็เป็นได้

ก็ไม่รู้ว่า สมเกียรติ ลิมทรง จะคิดอย่างไร!?

แต่ก็ยังมีกระแสเสียงยืนยันกับ "ผู้จัดการ" มาโดยตลอดปี 2530-2531 ว่า พนักงานระดับบริหารรุ่นปัจจุบันที่มีอยู่นั้นมีหลายคนทีเดียวที่ "อึดอัด" บางคนอยากจะลาดออกแต่ติดขัดเรื่องรายได้ ซึ่งไม่แน่ใจว่าที่อื่นๆ จะให้สูงกว่าที่ได้รับกับปูนนครหลวงหรือเปล่า!?

ปูนนครหลวงฯ มองย้อนกลับไปในอดีตบางทีอาจต้องยอมรับเหมือนกันว่าที่เติบโตพรวดพราดนั้น ความเฮงของตลาดมีส่วนช่วยเหลือไม่น้อย โดยเฉพาะในช่วงปี 29-30 ที่อุตสาหกรรมก่อสร้างขยายตัวเป็นทวีคูณ แต่หากมองไปยังอนาคตข้างหน้าที่อุตสาหกรรมก่อสร้างยังต้องปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่งกันสุดเหวี่ยง แนวโน้มความต้องการใช้ปูนซีเมนต์มีอัตราเพิ่มขึ้นในระดับที่ลดลง ก็คราวนี้ล่ะจะได้พิสูจน์ให้รู้แน่ชัดกันเสียทีว่า ปูนนครหลวงเก่งหรือเฮงกันแน่!?

ปี 2531 เป็นปีที่น่าจับตามองทิศทางของปูนนครหลวงอย่างมาก ไม่เพียงแต่เรื่องการก้าวขึ้นไปแย่งชิงตำแหน่งผู้นำตลาดปูนซีเมนต์ หากยังมีแนวโน้มการลงทุนใหม่ที่กลุ่มนี้ได้ให้ความสนใจอย่างเงียบๆ นั่นก็คือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีข่าวว่า สมเกียรติได้ทาบทามที่จะเข้าร่วมทุนกับผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ที่ได้รับการส่งเสริมเรียบร้อยแล้ว เช่น ไอซีไอ.

ก็ในเมื่อปูนซิเมนต์ไทยยังไทได้ แล้วทำไมปูนนครหลวงจะขอมีเอี่ยวไม่ได้บ้างหรือกระไรกัน!?

ใหญ่เงียบๆ กินลึกๆ ของปูนนครหลวง นี่น่ามองดูกันต่อไป!!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us