|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ปีนี้เป็นปีที่ตุ๊กตาบาร์บี้ซึ่งเป็นตุ๊กตาของเล่นเด็กผู้หญิงจะมีอายุทางการตลาดครบ 50 ปีแล้ว นักการตลาดจึงอดไม่ได้ที่จะต้องตั้งคำถามว่าความเป็น “ไอคอน” ของตุ๊กตาบาร์บี้จะยังคงอยู่ต่อไปหรือไม่
ก่อนอื่นคงจะต้องวิเคราะห์ก่อนว่าอะไรคือความเป็น “ไอคอน” ของตุ๊กตาบาร์บี้สำหรับลูกค้า?
ถ้าตุ๊กตาบาร์บี้คือไอคอนของสาวสวยในอุดมคติ และหน้าตารูปร่างที่ใฝ่ฝันของหญิงสาวทั่วโลก ตุ๊กตาบาร์บี้ คือ ไอคอนของสาวสวยที่แต่งตัวล้ำ นำสมัยด้านแฟชั่น และตุ๊กตาบาร์บี้ คือ ตัวแทนของผู้หญิงเก่งที่สามารถทำอาชีพต่างๆ ได้ทุกอย่าง อย่างที่ผู้หญิงทั่วไปไม่คิดว่าผู้หญิงจะทำได้
เพราะฉะนั้นตุ๊กตาบาร์บี้จึงเป็นต้นแบบของสาวมั่นที่มีอาชีพ มีงานมีการทำ ไม่ใช่เพียงเจ้าหญิงในนวนิยายโบร่ำโบาณอีกต่อไป
คำอธิบายความเป็นไอคอนของตุ๊กตาบาร์บี้ที่ยกมาให้เห็นเป็นตัวอย่างข้างต้น ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า รสนิยมการเล่นตุ๊กตาของเด็กผู้หญิงสมัยนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก และมีความเป็นสาระและตัวแทนของความฝันของตนที่ไม่ใช่เจ้าหญิงในนิยาย
เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้อาจจะมาจากโลกของเด็กผู้หญิงสมัยนี้ไม่ได้ไร้เดียงสาและอ่อนเยาว์ต่อโลกเหมือนสมัยก่อน เพราะเด็กผู้หญิงสมัยนี้มีเครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปทอปเป็นของตนเอง เพื่อใช้เป็นช่องทางในการเข้าไปค้นหาสิ่งแปลกใหม่บนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะในส่วนของจินตนาการที่เด็กผู้หญิงอยากรู้ว่าตุ๊กตาบาร์บี้ของตนมีอาชีพอะไรกันแน่
จากจุดเริ่มต้นของตุ๊กตาบาร์บี้ในงาน ทอย แฟร์ ในนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 1959 ในฐานะของโมเดลแฟชั่นวัยทีนเอจ ตุ๊กตาบาร์บี้ซึ่งเป็นชื่อที่ย่อมาจาก Barbie Millicent Robert วางจำหน่ายในราคาตัวละ 3 ดอลลาร์
เพียงปีแรกที่บริษัท แมทเทล ครีเอชั่น เจ้าของตุ๊กตาบาร์บี้วางจำหน่ายสินค้า ก็สามารถจำหน่ายตุ๊กตาบาร์บี้ได้ถึง 300,000 ชิ้น และในปัจจุบันมูลค่าทางการตลาดของตุ๊กตาบาร์บี้ตกปีละ 3,000 ล้านดอลลาร์
แคมเปญโปรโมตตุ๊กตาบาร์บี้ในวันนี้จึงต้องเน้นความยิ่งใหญ่ อลังการ และทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าตุ๊กตาบาร์บี้ยังคงจะอยู่ในดวงใจของลูกค้าในอีก 50 ปีข้างหน้าต่อไป
ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา จุดโดดเด่นของตุ๊กตาบาร์บี้ที่ได้รับการยอมรับมาตลอดคือ เสื้อผ้าที่ออกแบบให้ตุ๊กตาบาร์บี้สวมใส่มาจากฝีมือการออกแบบของดีไซเนอร์มืออาชีพระดับโลก อย่าง กุชชี่ คาลวิน ไคลน์ แกลลิเอโน่ และเวอร์ซาเช่ ตุ๊กตาบาร์บี้จึงเป็นตุ๊กตาที่มีเสื้อผ้า แบบทรงผมที่สามารถใช้ได้จริงกับคนที่อยากจะเลียนแบบตุ๊กตาบาร์บี้
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าตุ๊กตาบาร์บี้จะไม่มีคู่แข่งทางธุรกิจเสียทีเดียว และคู่แข่งสำคัญในอนาคตอันใกล้นี้ ก็คือ โมซี่ เกิร์ลซ ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่บริษัท เอ็มจีเอ เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ คู่แค้นทางการตลาดของแมทเทลนำหวนคืนวงการเพื่อทวงส่วนแบ่งทางการตลาดคืนจากตุ๊กตาบาร์บี้
โมซี่ เกิร์ลซ เป็นตุ๊กตาที่เหมือนกับตุ๊กตาบาร์บี้ตรงจุดที่มีลักษณะของเด็กสาวที่เป็นตัวของตัวเอง ดูมีพลัง จึงอยู่ในตำแหน่งทางการตลาดที่พอจะแข่งขันกับตุ๊กตาบาร์บี้ได้
สิ่งที่เป็นความแตกต่างสำคัญของโมซี่ เกิร์ลซ อีกประการหนึ่งคือ หน้าตาของตุ๊กตาที่ออกเป็นเด็กวัยรุ่นมากกว่าหน้าของตุ๊กตาบาร์บี้ที่ดูเป็นสาวเต็มตัวกว่า ตาโตกว่าของตุ๊กตาโมซี่ เกิร์ลซ ทำให้เป็นตุ๊กตาในจินตนาการมากกว่าตุ๊กตาบาร์บี้ ที่เป็นดวงตาสวยแบบหญิงสาว และโมซี่เน้นผมสีเข้มมากกว่าตุ๊กตาบาร์บี้
ภาพลักษณ์ของความอ่อนเยาว์กว่าจึงน่าจะเป็นจุดขายที่โมซี่ เกิร์ลซ หวังว่าจะดึงดูดความสนใจของเด็กหญิงที่ต้องการตุ๊กตาที่ไม่แก่เกินวัยกว่าตัวเอง และสามารถเป็นเพื่อนได้สนิทใจกว่า
จุดสำคัญของการทำธุรกิจตุ๊กตาของเล่นเด็กก็คงไม่ได้แตกต่างจากธุรกิจสินค้าประเภทอื่นๆ คือ ต้องเน้นการออกแบบ การดีไซน์ โดยเฉพาะแนวของเสื้อผ้าแฟชั่นที่ต้องอาศัยแนวคิดของดีไซเนอร์โดยเฉพาะที่ไม่ไปออกแบบให้กับแบรนด์อื่นๆ
แถมหน้าของตุ๊กตาจะต้องอาศัยฝีมือของคนเขียนไม่ใช่การออกแบบจากเครื่องจักร ทั้งยังต้องมีทรงผมที่เสมือนจริงมากที่สุดและดกหนา เพื่อให้เจ้าของสามารถดัดแปลงทรงผมเป็นแบบต่างๆ ได้ และทนทานในการใช้งาน
สีผิวของตุ๊กตาสมัยนี้ก็ต้องออกแบบให้มีหลากหลายเฉดสี อย่างของตุ๊กตาบาร์บี้มี 12 เฉดสี และของ ลิฟ ดอลล์ มี 14 เฉดสี เพื่อให้รองรับความต้องการที่แตกต่างของลูกค้าจากทั่วโลกที่มีสีผิวไม่เท่ากัน
และที่สำคัญ ในช่วงหลังๆ ผู้ประกอบการชั้นนำจะต้องค้นคว้า สำรวจหาความต้องการของบรรดาลูกค้าตัวน้อยอายุ 6-8 ขวบ ให้เกิดความเข้าใจต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของความต้องการอย่างต่อเนื่อง
|
|
|
|
|