Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์29 พฤศจิกายน 2553
แฟชั่นออนไลน์ระอุ แข่งไม่ต่างห้างสรรพสินค้า             
 


   
search resources

E-Commerce
Garment, Textile and Fashion
eBay




*เว็บไซต์-มือถือเปลี่ยนรูปการชอปแฟชั่นไปอีกขั้น

* สร้างอารมณ์การซื้อขายไม่ต่างจากห้างสรรพสินค้า

* อีเบย์-กูเกิล ปั้นถนนแฟชั่นแห่งใหม่บนโลกออนไลน์

* การช่วงชิงผู้ขาย ผู้ซื้อยุคใหม่กำลังสร้างมูลค่ามหาศาล

จากตัวเลขมูลค่าการซื้อขายสินค้าแฟชั่นบนอีเบย์ในตลาดสหรัฐอเมริกา ที่สามารถขายรองเท้าได้ 1 คู่ทุก 7 วินาที เครื่องแต่งกายผู้หญิงขายได้ทุก 10 วินาที ชุดเดรสขายได้ทุก 10 วินาที เนกไทผู้ชายขายได้ทุก 43 วินาที และสินค้าแฟชั่นอื่นๆ อีกมากมายที่มีการขายในทุกๆ วินาที คือปรากฏการณ์การชอปที่เปลี่ยนแปลงไปจนผลักดันให้อีเบย์กลายเป็นตลาดแฟชั่นออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุด มีมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

“อีเบย์สร้างประสบการณ์การซื้อสินค้าแฟชั่นบนออนไลน์ให้เสมือนกับการซื้อบนห้างสรรพสินค้า”

เป็นคำกล่าวของ เอกชัย รุกขจันทรกุล หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ อีเบย์ ประเทศไทย และว่า “มูลค่าและโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มแฟชั่นนี้มีอย่างมหาศาล”

ในช่วงต้นปี 2553 อีเบย์ได้มีการเปิดเว็บไซต์อีเบย์แฟชั่น (http://fashion.ebay.com) เพื่อรองรับนักชอปสินค้าแฟชั่นโดยเฉพาะ โดยมีสินค้าทุกสไตล์การแต่งตัว ทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับที่เป็นของใหม่จากแบรนด์ดังระดับโลก ของมือสอง หรือของวินเทจจากนักขายอีเบย์ที่มีอยู่ทั่วโลก

โลกแฟชั่นออนไลน์นี้กำลังได้รับการติดตามจากบรรดาแบรนด์ชั้นนำของโลก ในการใช้เป็นช่องทางที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ยิ่งอีเบย์ได้ฉีกรูปแบบการนำเสนอใหม่ๆ สู่ผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการซื้อขายและกลายเป็นโอกาสทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Exclusive eBay lines การวางจำหน่ายแฟชั่นคอลเลกชั่นใหม่เฉพาะบนอีเบย์เท่านั้น, Branded store fronts การที่บรรดาร้านแบรนด์เนมระดับโลกเปิดร้านออนไลน์บนอีเบย์ และ Outlet stores for excess inventory การขายแบบมีส่วนลดจำนวนมาก

นอกจากนี้อีเบย์ยังเปลี่ยนรูปแบบการชอปปิ้งออนไลน์ให้ก้าวไปสู่การชอปปิ้งบนโทรศัพท์มือถือ ด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชั่นอีเบย์แฟชั่นบนไอโฟน ไอแพด และแอนดรอยด์โฟน โดยแอปพลิเคชั่นนี้ได้ถูกดาวน์โหลดไปแล้วมากกว่า 10 ล้านครั้ง การเปิดแอปนี้นับเป็นการสนองพฤติกรรมการชอป หลังจากที่มีตัวเลขยอดการจำหน่ายเสื้อผ้าบนโทรศัพท์มือถือมาเป็นอันดับ 1 ด้านปริมาณสินค้าที่ขายได้ และเป็นอันดับ 2 ด้านมูลค่าของยอดขาย ทั้งนี้ อีเบย์คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าการซื้อขายสินค้ารวมบนโทรศัพท์สูงถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2553

“เราต้องการให้ผู้ซื้อสินค้าแฟชั่นเลือกชอปได้ทุกที่ทุกเวลา”


มองโอกาสแฟชั่นไทย
สร้างมูลค่าบนออนไลน์

จากการที่ประเทศไทยมีสินค้าแฟชั่นที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มกว่า 2,500 ราย ทำให้อีเบย์มองว่าสินค้ากลุ่มนี้มีศักยภาพที่จะเข้ามาสร้างโอกาสทางธุรกิจบนช่องทางออนไลน์ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจากมูลค่าการซื้อขายสินค้ารวมบนอีเบย์ สินค้าประเภทแฟชั่นที่ขายโดยนักขายคนไทยเป็นสินค้าประเภทที่มีการเติบโตสูงเป็นอันดับสอง

“สินค้าแฟชั่นไทยน่าจะมาแรง เนื่องจากมีการแอกทีฟมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ”

เมื่อเห็นถึงโอกาสที่จะผลักดันธุรกิจแฟชั่นให้ก้าวไปบนอีเบย์ได้นั้น สินค้าในกลุ่มนี้จึงเป็น 1 ใน 4 กลุ่มธุรกิจที่อีเบย์ได้มีการจัดโครงการอีเบย์สำหรับธุรกิจขึ้น อีเบย์ได้จัดประเภทสินค้าที่จะสนับสนุน ประกอบด้วย กลุ่มเครื่องประดับอัญมณีและนาฬิกา กลุ่มเสื้อผ้า รองเท้าและเครื่องแต่งกาย กลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ กล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์ และสินค้าตกแต่งบ้าน

โครงการนี้ถือเป็นโครงการพิเศษที่อีเบย์จะผลักดันผู้ค้ารายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังตลาดหลัก อย่าง อเมริกา ออสเตรเลีย และยุโปร โดยอีเบย์จะให้การบริการสนับสนุนในการทำตลาด อาทิ การวิจัยทางการตลาด กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาด การวิเคราะห์การแข่งขัน การให้คำปรึกษาทางธุรกิจต่อเนื่อง รวมไปถึงการขนส่งสินค้า

การเข้ามาผลักดันโครงการในลักษณะของอีเบย์ มุ่งที่จะกำจัดความกลัวให้กับบรรดาผู้ประกอบการที่ไม่กล้าทำธุรกิจบนอี-คอมเมิร์ซ

Boutiques.com
สถานีชอปแห่งใหม่

กระแสของโลกแฟชั่นที่ดึงนักชอปไปสู่การชอปบนโลกออนไลน์ น่าจะเพิ่มความเข้มข้นด้านการแข่งขันไม่ต่างจากการที่ห้างสรรพสินค้าพยายามดึงนักชอปให้เข้ามอลล์ตนเอง ล่าสุดกูเกิลได้มีการเปิดตัวเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซสินค้าแฟชั่น www.boutiques.com การขยับเปิดตัวของกูเกิลครั้งนี้สอดคล้องกับการขยายตัวของตลาดสินค้าแฟชั่นออนไลน์ ซึ่งเป็นตลาดที่อะเมซอนดอทคอมและอีเบย์ประกาศรุกตลาดนี้

Boutiques.com จะไม่ได้มีการจำหน่ายสินค้าแฟชั่นโดยตรง แต่จะเป็นสื่อกลางนำบรรดานักชอปไปยังเว็บไซต์ที่จำหน่ายสินค้าโดนใจ เพื่ออำนวยความสะดวกให้การซื้อสินค้าแฟชั่นทำได้ง่าย ทั้งนี้ กูเกิลได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นกว่า 100 คน ไม่ว่าจะเป็นเซเลบ สไตลิสต์ และดีไซเนอร์

กูเกิลมีแผนที่จะดึงผู้ใช้ Google.com ให้หันไปใช้ Boutiques.com แทนเมื่อต้องการค้นหาสินค้าแฟชั่นออนไลน์ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกูเกิลที่เริ่มให้ความสำคัญกับการสร้างบริการค้นหาสินค้าโดยเฉพาะมากขึ้น เช่นบริการค้นหาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ บริการเหล่านี้ของกูเกิลได้รับอานิสงส์เต็มที่จากทราฟฟิกจำนวนมหาศาลที่กูเกิลมีอยู่แล้ว นำไปสู่อัตราการเติบโตต่อเนื่องตลอด 2 ปีที่ผ่านมา แต่ยังได้รับความนิยมไม่เท่า Amazon และ eBay ซึ่งครองใจนักชอปมาหลายยุคหลายสมัย

ผู้ใช้งาน Boutiques.com จะสามารถเรียกดูสินค้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นได้เลือกไว้แล้ว ทั้งชุดเดรสหลากสีและรองเท้าส้นสูงหลายแนว รวมถึงนานาสินค้าที่ระบบอัลกอริธึมของกูเกิลวิเคราะห์ให้จัดอยู่ในกลุ่มรสนิยมเดียวกัน จากนั้นนักชอปจะสามารถสร้างบูติกส่วนตัวและรับทราบข้อมูลสินค้าแนะนำได้

ส่วนการคิดค่าบริการของกูเกิลในบริการนี้นั้น ผู้ค้าจะจ่ายค่าบริการแก่กูเกิลเมื่อนักชอปคลิกเข้าไปชมหรือซื้อสินค้าผ่านลิงก์ของกูเกิล ซึ่งค่าใช้จ่ายที่กูเกิลเรียกเก็บในกรณีคลิกชมสินค้าจะต่ำกว่ากรณีมีการซื้อขายสินค้า ในเบื้องต้น Boutiques.com ยังเป็นเบต้าเวอร์ชั่นที่ทดลองให้บริการ โดยจะสามารถใช้งานกับผู้ประกอบการในสหรัฐฯเท่านั้น และรองรับสินค้าเฉพาะสำหรับสตรี ก่อนจะขยายบริการไปส่วนอื่นต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us