Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2531
กิตติภัทร์ รุ่งธนเกียรติ เส้นทางเข้ากรุงของนักสู้ภูธร             
 


   
www resources

โฮมเพจ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5

   
search resources

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
TV
กิตติภัทร์ รุ่งธนเกียรติ




เมื่อสถานีโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์ช่อง 11 ได้ฤกษ์แพร่ภาพได้อย่างเป็นทางการเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานั้น

นอกจากรายการประจำวันของแต่ละสถานีที่ฟาดฟันกันอยู่ เพื่อดึงดูดผู้ชมตลอดเวลาแล้ว ส่วนที่หลายคนให้ความสนใจไม่แพ้กันก็คือ "รายการข่าว" ทั้งภาค 19.30 น. และ 20.00 น. ของสถานที่โทรทัศน์ทั้ง 5 ช่อง

ตามความคาดหมายของคนทั้งในและนอกวงการต่างก็มีความรู้สึกไปในทางเดียวกันว่า ช่องที่ต้องรู้สึก "หนาวเหน็บเจ็บหัวใจ" มากที่สุดเห็นจะเป็นสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 หรือ ททบ. 5 ที่เรารู้จักกันดี

เพราะหลังจาก "ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล" ได้นำทีมข่าว 9 อ.ส.ม.ท. ปฏิวัติการนำเสนอข่าวประจำวันให้น่าสนใจ น่าติดตามมากขึ้นเรื่อยๆ ช่องอื่นๆ ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนจัดรูปขบวนกันใหม่ เรียกว่าสมรภูมินี้นับว่ามีแต่จะเข้มข้นขึ้น ยกเว้นก็แต่ช่อง 5 ที่ใครๆ ก็ทราบว่าเป็นสถานีของกองทัพบก จะทำอะไรหวือกวานักก็ไม่ได้ เดี๋ยว "นาย" ทั้งหลายจะหาว่าล้ำเส้นพาลหมั่นไส้เอาดื้อๆ

แต่ความคิดเช่นนี้กลับไม่เคยอยู่ในสมองของ "กิตติภัทร์ รุ่งธนเกียรติ" หรือที่บางคนจะรู้จักกันดีในชื่อของ "เสี่ยติ่ง" ซึ่งใครจะเรียกเขาว่าเป็น "ราชา" "จอมราชันย์" "เจ้าพ่อ" วิทยุภูธรก็แล้วแต่จะเรียกหากันอย่างไร

"เสี่ยติ่ง" ปัจจุบันอายุ 37 ปี เป็นคนจังหวัดสุรินทร์ ชีวิตในวัยเด็กของเขาแตกต่างจากผู้บริหารในองค์กรธุรกิจที่เรารู้จักกันดีมากมายราวฟ้ากับดิน เขาจบชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวาณิชนุกูล จากนั้นต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสุรวิทยาคาร ซึ่งทั้งสองแห่งอยู่ในตัวเมืองสุรินทร์

อาชีพแรกของเขาเป็นแค่คนขายปลาทู ขายเส้นก๋วยเตี๋ยว จากนั้นเขาก็ขยับขยายมาขายของชำ จนเมื่ออายุประมาณ 20 ปีเศษ พ่อของเขาได้ซื้อตึกแถวตรงถนนสนิทนิคมรัตน์ อำเภอเมืองสุรินทร์ เปิดเป็นร้านค้าชื่อ "ฮั่วฮวดเฮง" พร้อมกับเป็นตัวแทนจำหน่ายกางเกงในเมมโบ 555 ซึ่งขายได้ฉลุยในยุคนั้น

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สินค้าที่เขาดูแลอยู่ประสบความสำเร็จอย่างมากก็คือ การประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุของทหารสื่อสาร ซึ่งมีสถานีเดียวในตอนนั้น ความคิดที่ทำให้เขาก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจด้านมีเดียนี้ เกิดขึ้นจากตรงนี้เอง

"ผมคิดว่า สินค้าของเรา ถ้าไม่มีการประชาสัมพันธ์ ยอดขายของเราก็อาจจะตก ผมก็เลยไปเช่าช่วงเวลาโฆษณาจากสถานีราคา 4,000 บาท แต่ผมต้องเช่ามาจากคนอื่นอีกทีหนึ่ง 6,000 บาทเลยมาคิดว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจดี อยู่เฉยๆ ได้กำไรตั้งครึ่งต่อครึ่ง" กิตติภัทร์ บอกถึงความคิดที่เขาเข้ามาสู่วงการครั้งแรก

ตอนนั้นสถานีวิทยุท้องถิ่นมีสถานีเดียวดังที่กล่าวแล้ว และยังไม่มีใครคิดว่าจะเป็นธุรกิจที่ทำเงินเป็นกอบเป็นกำได้เลย ไม่มีใครสนใจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมองการณ์ไกล กล้าได้กล้าเสียที่เข้ามาทำธุรกิจนี้ตั้งแต่ช่วงนั้นของเขา

จนกระทั่งบัดนี้ กิตติภัทร์ หรือ "เสี่ยติ่ง" ได้กลายเป็นผู้กุมชะตาผู้ขายสินค้ามากมาย ที่ต้องประชาสัมพันธ์สินค้าของตนผ่านสื่อเล็กๆ ที่ไม่มีใครใส่ใจเมื่อสิบกว่าปีก่อนอย่างเต็มภาคภูมิ

ไม่ว่าจะเป็นสถานีวิทยุ เอ.เอ็ม และเอฟ.เอ็ม ในส่วนภูมิภาคซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ในความดูแลของกองทัพภาคที่ 2 "เสี่ยติ่ง" ก็เป็นผู้จัดหาโฆษณาให้กับสถานีเหล่านั้นมากกว่าสิบสถานี ยังไม่รวมถึงโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาค ในรายการข่าวท้องถิ่นอีกหลายช่อง

เส้นทางของ "เสี่ยติ่ง" ไม่ได้ มีเพียงด้านมีเดียเท่านั้น ด้วยความกว้างขวางและเอาจริงเอาจังยิ่งของเขา "เสี่ยติ่ง" ยังขยายกิจการออกไปเป็นห้างสรรพสินค้าอีกสองแห่ง และยังมีโครงการลงทุนสร้างโรงแรมและศูนย์การค้ามูลค่าประมาณ 200 บ้านบาทอีก รวมทั้งล่าสุดเขาได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานหอการค้าจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งสร้างความแปลกประหลาดใจ แกมยอมรับในฝีมือว่า "เสี่ยติ่ง" มีฝีมือชั้นเซียนเหยียบเมฆจริงๆ

และวัน "เสี่ยติ่ง" ไม่ได้จับเจ่าอยู่ในท้องถิ่นของตัวเองเท่านั้น เมื่อเขาเกิด "สนใจ" วงการโทรทัศน์เมืองกรุงขึ้นมาอย่างเต็มที่ เริ่มด้วยการจับมือกับนิวส์เน็ตเวิร์ค เป็นตัวแทนบริหารเวลาโฆษณาภาคข่าวของ ททบ. 5 เต็มตัว

"ช่อง 5 ได้เปรียบตรงที่จับกลุ่มคนดูต่างจังหวัดได้อย่างเหนียวแน่น และที่สำคัญราคาค่าโฆษณาของเราถูกกว่ามาก" กิตติภัทร์บอก "ผู้จัดการ" ถึงสิ่งที่เขาคิดว่าจะเหนือกว่าในการแข่งกับคู่แข่งขัน

ซึ่งความได้เปรียบนี้จริงๆ แล้วไม่อาจนับเป็นรูปธรรมมากนัก เพราะใครๆ ก็รู้ว่าสภาพของ "เสี่ยติ่ง" กับพีเคแอดเวอร์ไทซิ่ง และไอทีอินเตอร์เอเยนซี่ บนตึกชาญอิสสระ ที่เขาตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลให้ความสะดวกแก่ลูกค้านั้นไม่ได้แตกต่างจากแบรนเน็ตเวิร์คของฉลวย เรืองชาญ แม้แต่น้อยนิด ตรงที่เขาไม่มีส่วนใดๆ ที่จะกำหนดหรือชี้ความอยู่รอดของตัวเองได้ เพราะข่าวที่ออกมาผลิตโดยทีมข่าวช่อง 5 กับบริษัททำข่าวให้ช่อง 5 คัดเลือกในแต่ละวัน

เรียกว่าถ้าข่าวช่อง 5 ดีพีเคฯ ก็รุ่ง แต่ถ้าไม่ดี พีเคฯ ก็จอดสถานเดียว

แต่ "เสี่ยติ่ง" ไม่หวั่น … วางแผนรุกรับไว้แล้วเสร็จสรรพ

"ผมเชื่อว่าที่ผมประสบความสำเร็จทุกวันนี้เพราะลูกค้าเขาชอบสไตล์ของผม ผมเป็นคนพูดจริงทำจริง เป็นคนโผงผางแต่จริงใจ เขามาลงโฆษณากับผม เพราะเขาเชื่อถือผม "เสี่ยติ่ง" บอก "ผู้จัดการ" และยังอุบเงียบไม่บอกว่าเขากำลังวางแผนอะไรต่อไป

เสียงระฆังของการต่อสู้ในยกแรกของวงการโทรทัศน์ ได้ดังมานานแล้ว สัญญาณการร่วมมือขยายเครือข่ายของช่อง 3 กับช่อง 9 การปรับปรุงรายการไม่มีหยุดนิ่งของช่อง 7 ไฟแห่งความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตัวเองของช่อง 11 ทำให้คาดเดาได้เลยว่า นับแต่นี้การต่อสู้ในสนามนี้จะต้องรุนแรงขึ้นเป็นทับทวีอย่างแน่นอน

ก็ต้องดูต่อไปว่า "เสี่ยติ่ง" จะงัดเอากลยุทธ์ของราชสีห์จากภูธรมาใช้ในเมืองกรุงได้ดีแค่ไหน

และก็คงอีกไม่นานหรอกที่เราจะได้รู้จักเขามากกว่านี้ เมื่อเขาได้กลายเป็น "เจ้าพ่อ" ตัวจริงของมีเดียเมืองกรุงอีกคนหนึ่งเรียบร้อยแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us