|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธุรกิจการจัดการประชุม และนิทรรศการ หรือที่เรียกกันว่า “ไมซ์” ( mice- meeting , incentive, convention,exhibition) ทำรายได้เข้าประเทศปีหนึ่งๆ ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท เป็นกลไกหลักกลไกหนึ่ง ที่ จะช่วยดึง ภาคธุรกิจจากต่างประเทศ เข้ามาจัดการประชุม และนิทรรศการใหญ่ๆ ในไทย ซึ่งจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพได้ดีที่สุด
เมื่อวันที่ 24-27 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ เมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย มีการประชุมประจำปีของอุตสาหกรรมการจัดประชุมนานาชาติระดับโลกครั้งที่ 49 (49th ICCA Congress)
ที่จัดขึ้น โดยองค์กรการจัดประชุมนานาชาติระดับโลก ( International Congress & Convention Association )หรือ อิกก้า โดยมีประเทศต่างๆทั่วโลกประมาณ 70 ประเทศ ส่งตัวแทนรวมกันวก่า 900 คน เข้าร่วมการประชุม
การประชุมครั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ( สสปน. ) ซึ่งเป็นองค์การมหาชนที่เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาและส่งเสริมตลาดไมซ์ในประเทศไทย ได้รับเชิญเป็นหนึ่งในตัวแทนของประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และได้เป็นผู้นำเสนอแนวทางในการทำการตลาดเชิงรุกและการสื่อสารประชาสัมพันธ์อุตสาหกรรมไมซ์ ในหัวข้อ “ICCA Asia Pacific Chapter Meeting” และร่วมเสวนาให้ความรู้ในหัวข้อ “Asia’s Century” หรือศตวรรษของเอเซีย รวมกับตัวแทนจากจีน และอินเดีย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยได้รับการยอมรับอย่างสูงในฐานะบทบาทผู้นำอุตสาหกรรมไมซ์ในภูมิภาคเอเซีย และการเป็นเป้าหมายในการจัดประชุมนานาชาติระดับโลก
นายอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการสสปน.
ได้นำเสนอกลยุทธ์การส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์หลังวิกฤตเศรษฐกิจโลก และวิกฤตการเมืองไทย ด้วยแคมเปญ “Believe in Thailand” เพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กับอุตสาหกรรมไมซ์และประเทศไทย โดยขายจุดเด่นของประเทศ 3 แนวทางหลัก ได้แก่ การชู ‘โอกาสทางธุรกิจ’ ‘ความเป็นไทยโดยเฉพาะศักยภาพความพร้อมในด้านบริการ’ ความเป็นมืออาชีพ และ ‘ความหลากหลายของสถานที่การจัดงาน’ โดยเน้นจุดเด่นของการสื่อสารทางการตลาดด้วยการจัดกลุ่มพื้นที่เป้าหมาย (Cluster Marketing) นอกจากนี้ ยังมีประเด็น ‘ความคุ้มค่าในการลงทุน’ และ ‘การจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจ’ ให้เกิดการจัดงานที่โดดเด่น และดึงดูดให้ผู้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยของกลุ่มเป้าหมาย ยังช่วยเสริมสร้างและตอกย้ำความมั่นใจให้ธุรกิจไมซ์ไทย
สำหรับในเวทีการเสวนา ไทยในฐานะประธานสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติเอเชีย หรือ เอเอซีวีบี ได้เป็นผู้นำเสนอในหัวข้อ Asia’s Century หรือศตวรรษของเอเชีย ที่ทุกประเทศต่างยอมรับว่า เอเชียเป็นภูมิภาคดาวรุ่งที่มีศักยภาพสูงในการรักษาสถานภาพทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการจัดประชุม ท่ามกลางภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ที่คาดว่าในปี 2020 จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่า 5 % เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโลกประมาณ 4.1%
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสสปน. ในฐานะประธานเอเอซีวีบี ยังได้เผยข้อสรุปจากเวทีเสวนาเอเชียฟอร์เอเชีย ครั้งที่4 (4th Asia For Asia) ที่จัดขึ้น ณ ประเทศไทย จากการหารือร่วมกันในกลุ่มประเทศเอเชีย โดยนำเสนอข้อสรุปสำคัญ 4 แนวทาง ซึ่งถือเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จในอุตสาหกรรมไมซ์เอเชีย ได้แก่ 1) การพัฒนากรอบแนวคิดที่นำไปสู่ความร่วมมืออันแน่นแฟ้น และความแข็งแกร่งระดับภูมิภาค 2) การใช้สื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่ สร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารและเชื่อมโยงกับกลุ่มลูกค้าใหม่ 3) การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการประชุมที่จัดในประเทศด้วยการส่งเสริมการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ และ 4) การผลิตบุคลากรรุ่นใหม่ให้มีความเป็นมืออาชีพ และพัฒนาธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมไมซ์ในเอเชีย
|
|
|
|
|