Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์14 พฤศจิกายน 2553
“ล็อกซเล่ย์” ปรับกลยุทธ์ ลุยอินเตอร์แบบ “เข้มข้น”             
 


   
search resources

ล็อกซเล่ย์, บมจ.
Consumer Products




ล็อกซเล่ย์ดันกลุ่มธุรกิจเทรดดิ้งสยายปีกบุกตลาดอาเซียนและจีน เร่งผนึกพันธมิตรเสริมทัพ พร้อมขยายช่องทางเสริมแกร่ง ทั้งโชวห่วย คีออส หน่วยรถ ตั้งเป้าโกยยอดสิ้นปี 4,500 ล้านบาท

ด้วยเป้าหมายที่ต้องการเป็นผู้นำด้านการจัดจำหน่ายและซัปพลายเชนด้านเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ กอปรกับการปรับตัวเพื่อสร้างความพร้อมรับมือกับการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี 2558 “ล็อกซเล่ย์” หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 20 แบรนด์ จึงต้องเปิดเกมรุกพร้อมปรับยุทธศาสตร์การบุกให้เข้มข้นยิ่งขึ้น

ล่าสุด การเตรียมแผนนำสินค้าอุปโภคบริโภคที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายเข้าไปขยายในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบอาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะมีทั้งการเข้าไปตั้งสำนักงานด้วยตนเอง การแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย หรือการร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศนั้น โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสมและศักยภาพ เช่น การแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย ที่มณฑลกว่างโจว ประเทศจีน 1 ราย เพราะเป็นผู้ประกอบการที่มีช่องทางการจำหน่ายสินค้ากว่า 100 หน้าร้าน ส่วนประเทศกัมพูชา และพม่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดตั้งสำนักงาน เพื่อหาพันธมิตรมาร่วมทุนหรือแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย

“บริษัทเคยตั้งสำนักงานเพื่อทำตลาดใน 2 ประเทศ คือ ลาวและเวียดนาม แต่การขยายตลาดไปยัง 3 ประเทศล่าสุดนี้ ถือเป็นการนำร่องบุกตลาดต่างประเทศของล็อกซเล่ย์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะที่บางประเทศบริษัทยังต้องศึกษาสภาพตลาดเพื่อลดความเสี่ยง เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ แม้จะเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูง แต่ด้วยระบบการขนส่งของล็อกซเล่ย์ที่ยังไม่พร้อมรองรับในช่วง 1-2 ปีนี้ บริษัทจึงมุ่งสร้างและขยายตลาดในประเทศที่มีความพร้อมให้แข็งแกร่งก่อน โดยตอนนี้สัดส่วนการส่งสินค้าออกต่างประเทศอยู่ที่ 3% คาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 10% ในปีหน้า และเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต” เป็นคำกล่าวของ สุรพันธ์ ภาษิตนิรันดร์ กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจการค้า

สำหรับสินค้าที่ล็อกซเล่ย์นำเข้าไปบุกตลาดต่างประเทศนั้น จะมีทั้งสินค้าที่บริษัทจัดจำหน่ายและสินค้าของคู่ค้า ในรูปแบบพันธมิตรทางการค้า หนึ่งในกลยุทธ์การพัฒนาและเสริมแกร่งบริษัท ซึ่งแต่ละปีล็อกซเล่ย์ตั้งเป้าเพิ่มแบรนด์สินค้าหรือต้องมีพันธมิตรรายใหม่ในมือปีละประมาณ 5-6 แบรนด์ โดยปัจจุบันมีลูกค้าทั้งหมดรวมกว่า 20 แบรนด์ ทั้งนี้ น้ำอัดลมแบรนด์ไบเล่ย์ และผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวแบรนด์มันชี่ คือคู่ค้ารายล่าสุดที่ค่ายล็อกซเล่ย์ได้สิทธิ์เป็นตัวแทนจำหน่าย

ขณะเดียวกัน ค่ายนี้ยังเสริมแกร่งด้านช่องทางจำหน่าย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการกระจายสินค้าให้มากขึ้น ทั้งนี้ สุรพันธ์ บอกว่า บริษัทเตรียมขยายร้านคีออสเข้าไปตามสถาบันการศึกษาและชุมชน โดยตอนนี้ได้นำร่องโมเดลดังกล่าวไปแล้ว 7-8 แห่ง ใช้งบลงทุนแห่งละประมาณ 50,000 บาท ซึ่งบริษัทคาดว่าจะขยายให้ครบ 100 แห่งภายในสิ้นปีหน้า ไม่เพียงเท่านี้ ในช่องทางจำหน่ายรูปแบบอื่น เช่น ร้านโชวห่วย ก็มีแผนเตรียมขยายเพิ่มเป็น 2,800-3,000 แห่ง จากที่มีกว่า 2,500 แห่ง หรือการเพิ่มหน่วยรถแวน รถมอเตอร์ไซค์เพื่อนำสินค้าเข้าไปตามชุมชนหรือตามร้านค้าขนาดเล็กในหมู่บ้าน โดยเป็นรูปแบบการส่งสินค้าที่ล็อกซเล่ย์เริ่มดำเนินการกว่า 1 ปี ซึ่งปัจจุบันมีรถแวนราว 100 คัน และมอเตอร์ไซค์กว่า 30 คัน

สำหรับการเดินเกมรุกของล็อกซเล่ย์นับจากนี้ เป้าหมายอยู่ที่การดันกลุ่มธุรกิจเทรดดิ้งสยายปีกบุกตลาดต่างประเทศอย่างเต็มที่ โดยปีนี้ตั้งเป้าธุรกิจกลุ่มนี้เติบโตขึ้น 8-10% หรือปิดรายได้ที่ 4,500 ล้านบาท ขณะที่ภาพรวมบริษัทมีการขยายตัวราว 20% ซึ่งประกอบด้วย 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีการค้าภาครัฐ 2.ภาคการบริการ ปัจจุบันดำเนินงานบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 3.สายธุรกิจร่วมทุนกับพันธมิตร และ 4.ธุรกิจเทรดดิ้ง หรือธุรกิจการค้าตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยปัจจุบันสัดส่วนอุปโภคบริโภคทำรายได้ 60% ส่วนสินค้าในภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วน 40%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us