ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2521 โดยเดิมใช้ชื่อว่า"เจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์" ทำธุรกิจหลักในการผลิตอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ รวมถึงกิจการห้องเย็นเพื่อแปรรูปเนื้อกุ้งเป็นอาหารสำเร็จรูป
เมื่อธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มซี.พี.ตัดสินใจปรับทิศทางธุรกิจ มุ่งเน้นการเป็นผู้ผลิตอาหาร
ตามคอนเซ็ปต์ Kitchen of the World ธนินท์ได้เลือก CPF ให้เป็นแกนนำของธุรกิจนี้
โดยได้มีการปรับโครงสร้างบริษัทในกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องกับอาหารในเครือทั้งหมดที่อยู่ภายในและต่างประเทศ
โดยให้ CPF เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทเหล่านั้น
CPF ได้ประกาศเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1,200 ล้านบาท เป็น 6,223.50 ล้านบาท
แต่เรียกชำระก่อน 3,820.38 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปซื้อกิจการต่างๆ
เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2541 CPF ได้เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 100% บริษัทกรุงเทพโปรดิวซ์
บริษัทกรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร และบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อิสาน ซึ่งทั้ง
3 บริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้ถูกถอนออกมาในภายหลัง
ในปี 2542 CPF ได้เข้าซื้อกิจการบริษัทเจริญโภคภัณฑ์กรุ๊ป (CPG) โดยถือหุ้นเต็ม
100% รวมทั้งซื้อหุ้นในเครือ CPG ที่ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีก 6 บริษัท
และเข้าถือหุ้นในบริษัทในกลุ่มที่มีกิจการในลักษณะเดียวกันอีก 6 บริษัท โดยถือหุ้นไม่ถึง
50% ใช้เงินลงทุนไปทั้งสิ้น 4,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกันก็เข้าถือหุ้นบางส่วนในกิจการที่ไม่ใช่แกน (Non-core Business)
อีกประมาณ 7 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เป็น กิจการค้าปลีกและค้าส่งในประเทศไทย
และในสาธารณรัฐ ประชาชนจีน (7-Eleven, Lotus, Makro)
วันที่ 17 มกราคม 2543 CPF ได้เปลี่ยนชื่อจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์
เป็นเจริญโภคภัณฑ์อาหาร เพื่อ ตอกย้ำให้สาธารณชนมองเห็นความชัดเจนของธุรกิจ
หลังจากนั้น 1 เดือน ได้มีการปรับโครงสร้างคณะ ผู้บริหารใหม่ โดยธนินท์ขึ้นเป็นประธานกรรมการ
ประเสริฐ พุ่งกุมาร เป็นรองประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการบริหาร มิน
เธียรวร เป็นรองประธานกรรมการ ชิงชัย โลหะวัฒนะกุล เป็นรองประธานกรรมการ
กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร
ส่วนคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยชิงชัย โลหะ วัฒนะกุล, ธีรยุทธ พิทยาอิสรกุล,
พงษ์เทพ เจียรวนนท์, อาชว์ เตาลานนท์, วีรวัฒน์ กาญจนดุล, อดิเรก ศรีประทักษ์,
ทง โชติรัตน์, พงษ์ วิเศษไพฑูรย์ และอรุณี วัชรานันท์ เป็นกรรมการบริหาร
และเลขานุการ
ผลจากการปรับโครงสร้างของธุรกิจอาหารในเครือซี.พี. ส่งผลให้ยอดรายได้รวมของ
CPF เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยจากยอดรายได้รวม 27,975.6 ล้านบาท ณ
สิ้นเดือนธันวาคม 2540 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 54,030.68 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม
2542 ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2543 รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ 5 อันดับแรกของ CPF
ประกอบด้วย
1. บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ถือหุ้น 126,791,294 หุ้น คิดเป็น สัดส่วน 33.19%
ของทุนจดทะเบียน 2. DBS Securities Singapore ถือ 46,882,036 หุ้น คิดเป็น
สัดส่วน 12.27% 3. Littledown Nominees ถือ 15,119,616 หุ้น คิดเป็น สัดส่วน
3.96% 4. บริษัทกรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร ถือ 14,568,400 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน
3.81% 5. บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง ถือ 14,492,928 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน
3.79%