Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2531
บ่อน้ำ(มัน) นางนวลพังไปแล้ว 1,200 ล้านบาท แต่ยังอยากเสี่ยงต่อ             
 


   
search resources

ไทยเชลล์ เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ โปรดักชั่น
Oil and gas




ธุรกิจที่ทำมาหากินอยู่กับการขุดเจาะและสำรวจน้ำมันนั้น ใครๆ ก็รู้ว่าทำรายได้ให้เป็นกอบเป็นกำ ลองได้มีบ่อน้ำมันอยู่ในมือแล้ว สิ่งที่ไหลพุ่งขึ้นมาพร้อมกับของเหลวสีดำๆ จากใต้พื้นพิภพก็ไม่พ้นจากเงินๆ ทองๆ ไปได้

แม้สถานการณ์ด้านพลังงานของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่พยายามลดการพึ่งพาน้ำมันให้น้อยลง ราคาน้ำมันดิบก็ผันผวนและมีทีท่าว่าจะดิ่งลงไปเรื่อยๆ ถึงอย่างนั้นก็เถอะ น้ำมันก็ยังคงความเป็นชีพจรใหญ่ของพลโลกอยู่ บ่อน้ำมันก็คือบ่อเงินบ่อทองเราดีๆ นี่เอง

แต่ทว่าจะเห็นดอกเห็นผลก็ต้องผ่านการลงทุนอย่างมหาศาลสำหรับการสำรวจและขุดเจาะเบื้องต้น และใช่ว่าลงเงินกันไปแล้ว ผลตอบแทนจะกลับคืนมาอย่างแน่นอน สมการการลงทุนขุดเจาะน้ำมันไม่ใช่หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสองเสมอไป

หลายๆ ครั้งที่สมการการลงทุนในธุรกิจนี้ให้คำตอบที่ติดลบ เพราะอีกข้างหนึ่งของมันมีแต่ความว่างเปล่า

ความเสี่ยงเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เงินที่ลงทุนไปต้องสูญเปล่ามานักต่อนักแล้ว

ถึงแม้เทคโนโลยีกาสำรวจหาแหล่งน้ำมันจะก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ แต่ความซับซ้อนของธรรมชาติใต้ธรณีก็ยังอยู่เหนือวิทยาการของมนุษย์ ข้อมูลจากการสำรวจเป็นเพียงตัวบอกความน่าจะเป็นเท่านั้น อยากจะรู้กันให้แน่ๆ ก็ต้องลงมือขุดกันจริงๆ ซึ่งเป็นการลงทุนที่สูงเอาการ

ความเสี่ยงที่จะต้องเสียเงินฟรีๆ ก็อยู่ตรงนี้แหละ ที่ว่าเสี่ยงก็คือ ขุดลงไปแล้วจะมีน้ำมันหรือเปล่า ถ้ามีคุณภาพและปริมาณจะคุ้มต่อการผลิตหรือไม่

ไทยเชลส์ เอ็กซพลอเรชั่น เพิ่งจะผ่าน ประสบการณ์ความเสี่ยงนี้มาหมาดๆ จากบ่อน้ำมันนางนวลในอ่าวไทยเมื่อขุดลงไปแล้วเจอน้ำมันในปริมาณและคุณภาพที่ทำให้ตัดสินใจนำขึ้นจากก้นอ่าวมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูป

แต่สิ่งที่พุ่งขึ้นมาจากหลุมนางนวล มีของแถมพ่วงมาพร้อมกับน้ำมันด้วย คือน้ำ และแถมมาแบบใจกว้างในปริมาณที่เกินพอดีเสียด้วย ความโชติช่วงชัชวาลเหนือผืนน้ำสีครามจึงต้องดับวูบลงในชั่วเวลาเพียงหกเดือนเท่านั้น

แหล่งน้ำมันนางนวลอยู่ในแปลงสัมปทาน บี 6/27 บริเวณอ่าวไทยห่างจากฝั่งจังหวัดชุมพร 30 กิโลเมตร มีพื้นที่ 10,490 ตารางกิโลเมตร ลึกลงไปจากผิวน้ำ 50 เมตร ไทยเชลส์ได้รับสัมปทานสำรวจและขุดเจาะจากกรมทรัพยากรธรณีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2528

ตามข้อตกลงที่ทำกับกรมทรัพยากรธรณี ภายในสามปีแรกไทยเชลส์จะต้องทำการสำรวจโดยวิธีวัดความไหวสะเทือนของพื้นโลกเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 3,000 กิโลเมตร ขุดหลุมสำรวจอย่างน้อย 3 หลุม และใช้เงินลงทุนสำรวจไม่ต่ำกว่า 18 ล้านเหรียญสหรัฐ

แต่โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อนของ ประเทศไทย ทำให้ไทยเชลส์ต้องทำมากไปกว่าข้อตกลงเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากที่สุด ในช่วงสามปี ไทยเชลส์ทำการสำรวจเป็นระยะทางกว่า 6,000 กิโลเมตร ด้วยวิธีวัดความไหวสะเทือนของพื้นผิวโลกแบบสามมิติ ซึ่งเป็นวิทยาการการสำรวจที่ก้าวหน้าที่สุด ในปัจจุบันขุดหลุมสำรวจไป 4 หลุม และหมดเงินไป 35 ล้านเหรียญสหรัฐ

มีเพียงหลุมแรกเท่านั้นที่พบน้ำมันดิบในระดับลึก 3,000 เมตรจากผิวดิน โดยมีอัตราการไหลราว 3,400 บาร์เรลต่อวัน คุ้มต่อการที่จะทำการผลิต

ไทยเชลส์ให้ชื่อหลุมนี้ว่า นางนวล เอ-401 ตามวิธีการตั้งชื่อที่ใช้ชื่อนกเรียกบ่อน้ำมันในแปลงสัมปทานของตน

ข้อมูลเบื้องต้นจากการสำรวจที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วบอกว่า นอกจากน้ำมัน ในหลุมนางนวลยังมีน้ำอยู่ด้วยในชั้นหินลึกลงไปจากชั้นหินที่เก็บกักน้ำมันไว้ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าชั้นหินที่มีน้ำมันอยู่ต่อเนื่องกับชั้นหินที่อุ้มน้ำที่ความลึกระดับไหน หลังจากที่ทดลองอยู่ประมาณ 10 วันก็ยังไม่พอน้ำปนขึ้นมากับน้ำมัน

ไทยเชลส์จึงตัดสินใจทำการผลิต โดยขุดหลุมใหม่ห่างจากนางนวล เอ-401 ราว 40 เมตร เรียกกันว่า นางนวล เอ-402 เพราะนางนวล เอ-401 นั้น ไทยเชลส์วางแผนไว้สำหรับเป็นหลุมทดสอบไม่ใช่หลุมผลิต และใช้เวลาเพียงสามเดือนเท่านั้น นับตั้งแต่ลงมือขุดเจาะหลุมใหม่ในเดือนพฤศจิกายน 2530 จนผลิตน้ำมันขึ้นมาได้เมื่อเดือนมกราคมต้นปีนี้ เป็นการพัฒนาแหล่งน้ำมันที่เร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ระบบที่ใช้กับหลุมนางนวลเรียกกันว่า EARLY PRODUCTION SYSTEM (EPS) หรือระบบการพัฒนาการผลิตน้ำมันก่อนกำหนด ซึ่งมีความคล่องตัว อุปกรณ์ที่ใช้มีต้นทุนต่ำ จัดหามาโดยการเช่าและเป็นระบบการผลิตแบบชั่วคราว

"ถ้าใช้การพัฒนาแบบปกติต้องใช้เวลานาน 3- 4 ปี ที่เราต้องผลิตก่อนกำหนดเพราะต้องการผลิตไปทดสอบหาข้อมูลเพิ่มเติมไปพร้อมๆ กันด้วย ข้อมูลที่มีอยู่ไม่ชัดเจน และเราก็ไม่แน่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นในช่วงไหน จึงต้องใช้การผลิตแบบชั่วคราว" จอห์น บรุคส์ กรรมการผู้จัดการไทยเชลส์อธิบายเหตุผลที่เลือกใช้ระบบนี้

วันที่ 26 มกราคม 2531 น้ำมันดิบใต้อ่าวไทยก็ถูกนำขึ้นมา ถ่ายไปยังเรือขนถ่ายเพื่อนำไปกลั่นที่โรงกลั่นไทยออยส์ ศรีราชา นับเป็นแหล่งน้ำมันในทะเลแห่งแรกของไทย

ในระยะแรกๆ บ่อนางนวลให้น้ำมันดิบวันละ 6,000 บาร์เรลและเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงเดือนเมษายน ปัญหาที่หวั่นเกรงกันแต่แรกก็เริ่มปรากฏเมื่อน้ำมันดิบที่สูบขึ้นมามีน้ำปะปนมาด้วย

"ปริมาณน้ำที่ปนเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 30% ภายในเวลาเพียง 36 ชั่วโมง เราคาดกันมาก่อนแล้วว่าจะต้องเจอน้ำด้วย แต่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นเร็วถึงเพียงน้ำ" บรุคส์ เปิดเผย

การผลิตจึงต้องหยุดเป็นช่วงๆ เพื่อให้น้ำมันและน้ำในชั้นหินใต้ผิวโลกแยกตัวออกจากกัน พร้อมๆ กับการหาวิธีการแก้ไข แต่ปริมาณน้ำกลับเพิ่มขึ้นอีกจนถึง 50% น้ำมันดิบที่ได้ต้องผ่านการแยกเอาน้ำออกเสียก่อน ทำให้ปริมาณน้ำมันดิบลดน้องลงไปจนเหลือเพียง 1,000 กว่าบาร์เรลต่อวันเท่านั้น ซึ่งไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการผลิต

จึงถึงเวลาที่นางนวลตัวนี้จะต้องหยุดพักเสียที เพราะขืนปล่อยให้บินต่อไป เจ้าของคงจะต้องกระเป๋าฉีกเป็นแน่ ไทยเชลส์ตัดสินใจปิดหลุมนางนวลเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางข้อสังเกตว่า เป็นเพราะราคาน้ำมันดิบตกต่ำก็เลยถือโอกาสหยุดการผลิตเสียเลย

"ไม่จริงครับ ตอนที่เราตัดสินใจทำการผลิต ราคาน้ำมันก็มีแนวโน้มที่ลดลงอยู่แล้ว ถ้าเป็นเพราะเรื่องนี้ เราก็คงหยุดตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว" บรุคส์ ปฏิเสธพร้อมกับย้ำว่าสาเหตุจริงๆ คือปัญหาทางด้านเทคนิค

ไทยเชลส์ขายน้ำมันให้กับ ปตท. ได้เกือบครึ่งล้านบาร์เรลก่อนที่จะปิดหลุม คิดเป็นเงิน 5.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายในการสำรวจ 34.4 ล้านเหรียญ ต้นทุนในการพัฒนาแหล่งน้ำมันอีก 15 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมกับเงินค่าภาคหลวงและค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้กับรัฐบาลไทยไปแล้ว 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐ บวกลบกันแล้ว งานนี้ไทยเชลส์ควักเนื้อไปประมาณ 1,200 ล้านบาทไทย

ถึงจะดูเป็นเรื่องเล็กๆ สำหรับไทยเชลส์ แต่เห็นหรือยังว่าเสี่ยงแค่ไหน แม้แต่ยักษ์ใหญ่ในวงการน้ำมันของโลกยังต้องเพลี่ยงพล้ำ

แต่ไทยเชลส์ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาๆ สำหรับธุรกิจนี้และพร้อมที่จะเสี่ยงต่อไป เพราะเชื่อแน่ๆ ว่า แหล่งน้ำมันนางนวลมีน้ำมันดิบอยู่ถึง 16 ล้านบาร์เรลและยินดีที่จะควักกระเป๋าอีก 600 ล้านบาทเพื่อทำการสำรวจเพิ่มเติมอีกหนึ่งปีครึ่ง หาตำแหน่งที่ดีที่สุดสำหรับขุดเจาะหลุมใหม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us