Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2531
ลึกไม่ลับของคนเดียวโด่เด่วิโรจน์ อมตกุลชัย หมายมั่นปั้นให้เป็นจริงในไม่ช้า             
 


   
search resources

ทีบีไอกรุ๊ป
วิโรจน์ อมตกุลชัย
Garment, Textile and Fashion




ใต้ร่มเงาความยิ่งใหญ่ของ สุกรี โพธิรัตนังกูร กับ ทีบีไอ. กรุ๊ป ในโลกอุตสาหกรรมสิ่งทอ คนอย่าง วิโรจน์ อมตกุลชัย ได้พิสูจน์คุณค่าการเป็นมือบริหารอาชีพระดับเนื้อชินของเขาให้เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า มิเสียแรงเลยจริงๆ ที่เสี่ยสุกรีไว้เนื้อเชื่อใจให้เข้ามาร่วมชี้เป็นชี้ตายในหลายๆ กรณี

พูดถึงวิโรจน์แล้ว "ผู้จัดการ" ก็นึกเสียดายอยู่ไม่น้อยที่ไม่อาจหยิบยกเรื่องราวโดยละเอียดของเขาเสนอแก่ท่านผู้อ่านได้ในฉบับ "ผู้จัดการรุ่นใหม่" ขึ้นปีที่ 5 เมื่อปีที่ผ่านมา ด้วยเป็นเพราะอุปสรรคขัดข้องทางเทคนิคบางประการ

ทั้งๆ ที่หลืบลึกซับซ้อนทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับชีวิตของเขขา เราได้เก็บรวบรวมข้อมูลไว้พร้อมสรรพ!

วิโรจน์ อมตกุลชัย บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่หันมาเอาดีทางด้านการตลาดสิ่งทอ ชื่อเสียงของเขาเริ่มเป็นที่จับต้องส่งประกายวับวาวเมื่อราวปี2529 ในฐานะตัวแทนที่เร่าร้อนของ ทีบีไอ. กรุ๊ป ก็มีแรงคัดค้านที่โหมกระหน่ำอย่างหนักหน่วงจากคู่แข่งขัน โดยเฉพาะกรุ๊ปสิ่งทอของ พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร ที่ชิงดีชิงเด่นกันมานานปี

แรกทีเดียวเป็นที่เชื่อขนมกินกันได้เลยว่า คณะกรรมการนโยบายสิ่งทอแห่งชาติที่มีประมวล สภาวสุ คนของพรรคชาติไทย พรรคเดียวกับ พล.ต.ประมาณรั้งอยู่ในตำแหน่งประธานนั้นคงไม่เอออวยเห็นดีเห็นงามไปกับแนวความคิดของทีบีไอ. กรุ๊ปเป็นแน่แท้

แต่ที่ไหนได้ ราวกับอสนีบาตฟาดเปรี้ยงลงกลางใจของ พล.ต.ประมาณ เมื่อจู่ๆ ที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายสิ่งทอแห่งชาติเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2529 กลับมีมติเห็นชอบให้มีการส่งเสริมกิจการทอผ้าเพื่อการส่งออก 100% ตามที่ ทีบีไอ. กรุ๊ป เสนอมาโดยไร้ข้อคัดค้าดใดๆ

ชัยชนะของ ทีบีไอ. กรุ๊ป ครั้งนั้นที่สามารถขยายแกนปั่นด้ายเพิ่มได้อีก 240,000 แกนสำแดงความเป็นเจ้าพ่อสิ่งทอรายเดียวแท้จริงออกมาให้เห้นได้เกื้อหนุนจุนเจือให้ชื่อเสียงและเครดิตของวิโรจน์พวยพุ่งขึ้นสู่จุดที่ทุกๆ คนต้องสนใจในตัวเขา

คนในวงการสิ่งทอสรุปชัยชนะครั้งนั้นไว้สั้นๆ ว่า "นอกจากแรงอัดที่พร้อมทุกด้านของ ทีบีไอ. กรุ๊ป แล้วนั้น ความเฉียบฉลาดในการผสมผสานหมากกลทางธุรกิจเข้ากับกลเกมทางการเมืองของวิโรจน์ก็มีส่วนช่วยให้ความสำเร็จนั้นเป็นจริงและเร็วขึ้น"

หลังจากนั้นเป็นต้นมา ลุล่วงมาถึงปี 2531 บทบาทของวิโรจน์ก็เริ่มกระจายกินมุมกว้างมากขึ้น เขาไม่เป็นเพียงแค่คียแมนคนสำคัญของ ทีบีไอ. กรุ๊ป เท่านั้น ในส่วนรวมในฐานะของนายกสมาคมผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มไทย เขายังได้แสดงออกมาซึ่งความสามารถในอีกหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะกรณีการประกาศเอกสิทธิ์หน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่ให้สิทธิ์แก่บริษัทบางกอกเครนเนจผูกขาดตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเรื่องนี้วิโรจน์เป็นผู้นำคัดค้านอย่างถึงที่สุด กระทั่งบรรลุจุดประสงค์ได้สำเร็จ เมื่อรัฐบาลประกาศยับยั้งสิทธิ์ดังกล่าวของบางกอกเครนเนจ

วิโรจน์ก้าวมาไกลจากจุดเริ่มต้นมากเสียแล้ว!!!

ล่าสุดกับข่าวคราวที่ค่อนข้างแน่ชัดมากว่า คนหนุ่มอย่างวิโรจน์กำลังรอจังหวะที่จะก้าวขึ้นเป็นเถ้าแก่อย่างเต็มตัวเสียที แต่ก็ให้เป็นที่น่าแปลกใจเป็นอันมากว่า ธุรกิจที่เขากำลังกระโดดเข้าไปจับ หาได้เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับวงการสิ่งทอหรือส่งออกแต่อย่างใด

ธุรกิจที่วิโรจน์หมายมั่นสร้างเนื้อสร้างตัวกลับกลายเป็นเรื่องของการพัฒนาที่ดินและที่อยู่อาศัย โดยที่เขาได้ร่วมทุนกับพรรคพวกเพื่อนพ้องในวงการสิ่งทอ-ส่งออก อย่าง อนุศักดิ์ อินทรภูวศักดิ์ แห่งบริษัทไทยเดินเรือทะเล สันเดน วธากรณ์วิจิตรแห่งบริษัทไดนัสกี้ แฟบริคส์ ลงทุนในโครงการก่อสร้างออฟฟิศบิลดิ้ง ในชื่ที่ไพเราะเพาะพริ้งว่า "ซีทีไอ. ทาวเวอร์"

ซีทีไอ. ทาวเวอร์ ที่วิโรจน์กำลังจะเนรมิตให้เป็นจริงขึ้นมานั้นจะใช้เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 700 ล้านบาท โดยจะสร้างอยู่ตรงบริเวณปากซอยอโศกตัดใหม่กับคลองเตย ใกล้ๆ กับโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ซึ่งขณะนี้แผนการทุกอย่างที่ถูกกำหนดอย่างละเอียดสมบูรณ์แล้ว

วิโรจน์และพรรคพวกยังมีที่ดินผืนงามอีกหลายแห่ง พร้อมที่จะวาดความฝันให้เป็นจริง ซึ่งว่าไปแล้วฝันนี้ก็หาใช่ว่าจะอยู่ไกลเกินเอื้อมมากนัก เพราะทั้งวิโรจน์และพรรคพวกต่างก็มีพร้อมอยู่แล้ว ทั้งในเรื่องของเงินทุนและฝีมือ

เส้นทางสายใหม่ของวิโรจน์สายนี้ก็น่าจับตามองกันไม่น้อย!!!

แต่ถึงอย่างไรก็ตามความผูกพันที่เขามีต่อเสี่ยสุกรีก็ยังคงแนบแน่นดุจดังเดิม!!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us