Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2531
ดร.รณยุทธ จิตรดอน "เราเชื่อว่าในส่วนของเรานี่เราพร้อม"             
 


   
search resources

Stock Exchange
รณยุทธ จิตรดอน
อินเตอร์เครดิต แอนด์ ทรัสต์, บงล. (ไอซีที)




"คณะกรรมการก็คงจะพิจารณาความพร้อมของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่สมัครเข้ามาเป็นโบรกเกอร์ เราก็เชื่อว่าในส่วนของเรานี่ เราพร้อม ส่วนเรื่องการพิจารณาตัดสินก็เป็นเรื่องของ คณะกรรมการ

… ที่จริงเราก็มีมาตรฐานของเราอยู่แล้ว เรายึดมาตรฐานของเรามากกว่า ส่วนใครจะว่าเราเป็นตัวเก็ง เก็งไม่เก็งอย่างไร เราก็ต้องรู้ตัวเราเองเพราะว่าเรามีมาตรฐานของเราอยู่แล้ว

… มาตรฐานนั้นก็เป็นมาตรฐานของตลาดหลักทรัพย์ เขาควรจะพิจารณาอะไร ก็ควรจะดูความพร้อมและปริมาณการซื้อขาย เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าข่ายเข้าหลักเกณฑ์ แล้วถ้าเกิดมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน เขาก็ต้องพิจารณาว่ารายหนึ่งรายใดเหมาะสม …"

นั่นคือความเห็นของ ดร.รณยุทธ จิตรดอน กรรมการบริหารบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อินเตอร์เครดิต แอนด์ ทรัสต์ จำกัด (ไอซีที) ที่ได้ยื่นของเข้าเป็นบริษัทสมาชิก (โบรกเกอร์) ในตลาดหลักทรัพย์งวดล่าสุดนี้ด้วย

การเปิดรับโบรกเกอร์ครั้งนี้จะเปิดรับเพียง 3 ตำแหน่งจากจำนวนบริษัทหลักทรัพย์ที่ยื่นขอเข้ามารวม 15 บริษัท ทั้งนี้เป็นการเปิดรับต่อเนื่องจากเมื่อปลายปี 2530 ซึ่งเปิดรับเพิ่ม 5 บริษัท แต่บริษัทส่วนมากที่สมัครตอนนั้นมีคุณสมบัติไม่ครบ ยกเว้นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ศรีมิตรและธนสยาม ซึ่งก็ได้รับคัดเลือกให้เข้าเป็นบริษัทสมาชิกเมื่อธันวาคม 2530 ส่วนผลการพิจารณาครั้งนี้จะออกมาเป็นอย่างไรนั้น จะรู้ได้ก็ในเดือนกันยายน 2530 และโบรกเกอร์รายใหม่จะเริ่มซื้อขายหลักทรัพย์ได้ในต้นเดือน ตุลาคม

สำหรับตัว ดร.รณยุทธ นั้น หลังจากจบการศึกษาปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์สาขาการวางแผนเศรษฐกิจจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์คแล้ว ก็กลับมารับราชการสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี 2524 แต่ทว่าแทบจะไม่ได้สอนหนังสือหนังหาเลย เพราะถูกยืมตัวไปช่วยราชการที่โน่นที่นี่ตลอดเวลา

และจะว่าไปแล้ว ดร.รณยุทธ ก็ร่วมหัวจมท้ายกับคณะรัฐบาลของป๋าเปรมมาถึง 3 สมัย คือปี 2525 ไปอยู่ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในสมัยรัฐบาลเปรม 3 ต่อมาปี 2526-2529 ไปเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัยในสมัยเปรม 4 ครั้นยุบสภาฯ ในปี 2529 และเริ่มสมัยรัฐบาลเปรม 5 ก็ถูกขอให้มารับผิดชอบงานด้านนโยบายและกองทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เอสทีดีบี) ซึ่งขึ้นกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และพลังงาน

หลังจากที่ใช้ทุนรัฐบาลไป 6 ปีแล้ว ก็ออกจากราชการ แต่ยังทำงานที่เอสทีดีบีในเวลาราชการ และมานั่งเป็นกรรมบริหารของไอซีทีในเวลาเย็น

จริงๆ แล้ว ดร.รณยุทธเข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้แก่ไอซีทีตั้งแต่เมื่อปี 2527 แล้ว ซึ่งช่วงนั้นเป็นภาวะวิกฤติของสถาบันการเงิน แต่สำหรับไอซีทีอาจกลาวได้ว่า หลังจากช่วงวิกฤตินั้นผ่านพ้นไป บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งนี้ก้าวรุดหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสินทรัพย์เพียง 417 ล้านบาทเมื่อปี 2527 ก็เพิ่มพรวดมาเป็น 1,017 ล้านบาทในปี 2530 และปัจจุบันก็พุ่งขึ้นมาเป็นเกือบ 3 เท่าตัวคือประมาณ 1,500-1,600 ล้านบาท

แม้ว่าไอซีทีได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2515 ซึ่งนับรวมถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา 16 ปีแล้วก็ตาม แต่ยุคทองของไอซีทีเพิ่งเริ่มเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมานี่เองในเวลาประจวบเหมาะกับที่ ดร.รณยุทธก้าวเข้ามาร่วมงานด้วย

ส่วนกิจการค้าหลักทรัพย์ แม้จะรับซื้อขายมาตั้งแต่เมื่อปี 2522 ในฐานะซับโบรกเกอร์ แต่ก็เพิ่งจะเริ่มเปิดห้องค้าของตัวเองเมื่อเดือนมีนาคม 2531 พร้อมกับมีการปรับปรุงฝ่ายบริการค้าหลักทรัพย์อย่างมากมายมหาศาล ภายหลังจากที่ไม่ได้รับพิจารณาเข้าเป็นโบรกเกอร์เมื่อตุลาคม 2530

หากพิจารณาจากการสนทนาและสำรวจของ "ผู้จัดการ" ปรากฏว่า "ความพร้อมและมั่นใจ" ของ ดร.รณยุทธในการยื่นของเข้าเป็นโบรกเกอร์ครั้งนี้มีปัจจัยสนับสนุนหลายอย่าง กล่าวคือทางด้านจำนวนบัญชีลูกค้าที่ซื้อขายหุ้นผ่านไอซีทีเมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคม มีรวม 150 คน ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 250 คนและคาดว่าจะมีถึง 300 คนในเวลาอีกไม่ช้านี้

ก่อนหน้านี้ไอซีทีเคยประมาณเอาไว้ว่าเมื่อเป็นโบรกเกอร์แล้วจะมีบัญชีลูกค้า 300 คน แต่ในเวลานี้ซึ่งผลการพิจารณายังไม่ออกมาก็มีบัญชีลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว และคาดว่าปี 2532 จะเพิ่มขึ้นเป็น 700 คน

ทางด้านมูลค่าการซื้อขายหุ้นผ่านไอซีทีนั้นทำได้ 2% ของมูลค่าการซื้อขายในตลาด นอกจากนี้ในแง่ของผลการประกอบการ ดร.รณยุทธ ผู้ว่างเว้นจากการสอนหนังสือมานานและคงจะไม่ได้สอนหนังสืออีกแล้วก็กล่าวอย่างพออกพอใจว่า "เรากำไรแล้ว" โดยในปลายปี 2531 นี้ไอซีทีตั้งเป้าว่าจะมีกำไร 50 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะได้มากกว่านั้นเสียด้วยซ้ำ

ความพร้อมที่สำคัญของไอซีทีในการที่จะดินเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในฐานะโบรกเกอร์รายใหม่จากการพิจารณางวดนี้ มาจากการให้บริการด้านการวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่แม่นยำ โดยไอซีทีมีเจ้าหน้าที่ด้านวิเคราะห์หลักทรัพย์ 32 คนให้บริการวิเคราะห์ทั้งทางด้าน FUNDAMENTAL & TECHNICAL ANALYSIS มีข้อมูลเอกสารประกอบ มีแฟ้มข้อมูลหุ้นแต่ละตัวและสามารถให้บริการยืนยันการซื้อขายหุ้นได้อย่างรวดเร็วโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์

นอกจากนี้ยังมีการจัดพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ของตลาดหุ้นทั้งไทยและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ เช่นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคมก็เชิญ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญในวงการหุ้นที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีมาพูดเรื่อง "แนวโน้มตลาดหุ้นไทยและต่างประเทศ" ซึ่งปรากฏว่ามีลูกค้าและผู้สนใจมาฟังกันจนล้นห้องค้า และบางคนถึงกับโดดงานมาฟังก็มี

จากความพร้อมดังกล่าว ทำให้ไอซีทีเกิดความมั่นใจว่าจะได้เข้าเป็นโบรกเกอร์ในการพิจารณางวดนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติด้านเครื่องไม้เครื่องมือ บุคลากร การให้ข้อมูลวิเคราะห์หลักทรัพย์ มูลค่าการซื้อขาย และที่สำคัญการปรับตัวอย่างมาก ภายหลังจากที่ไม่ได้รับพิจารณาในคราวก่อน ซึ่งชี้ให้เห้นว่าไอซีทีมีความตั้งใจจริงที่จะร่วมขบวนพัฒนาธุรกิจการเงินของไทยด้วยนั้น ก็น่าที่จะทำให้ ดร.รณยุทธมั่นใจตนเองได้

อย่างไรก็ดี การพิจารณาตัดสินนั้นเป็นเรื่องของคณะกรรมการ แม้ไอซีทีจะเปิดตัวโปรโมทอย่างเต็มที่ เพื่อแสดงถึงภาพลักษณ์ที่ดี ทั้งต่อคณะกรรมการตลาด ลูกค้า และสาธารณชนทั่วไป ทว่าอะไรๆ ก็อาจจะมีการพลิกล็อคได้ทั้งนั้น

ก็คงต้องรอให้ผลการตัดสินออกมาก่อนนั่นแหละ จึงจะทราบได้ว่า "ความพร้อม" ของไอซีที ซึ่งตระเตรียมโดย ดร.รณยุทธและทีมงานนั้น เป็น "ความพร้อม" ในสายตาของกรรมการตลาดหลักทรัพย์ด้วยหรือไม่?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us