Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน9 พฤศจิกายน 2553
ปรับโฉมแอร์พอร์ตลิงก์หลังถูกด่ายับ “สุพจน์” แจงสารพัดปัญหาเกิดจากการออกแบบ             
 


   
search resources

การรถไฟแห่งประเทศไทย
Telecommunications




ร.ฟ.ท.ตั้งงบปี 54 จำนวน 646 ล้านบาท ปรับปรุงบริการแอร์พอร์ตลิงก์ หลังถูกผู้โดยสารบ่น บริหารห่วย ยกเครื่องใหม่ตั้งแต่ป้ายบอกทาง, ทางเข้าออกสถานี, ที่จอดรถ, Sky Walk สำหรับผู้โดยสาร และปรับภูมิทัศน์ภายนอกสถานี ส่วนบันไดเลื่อนต้องสำรวจเพิ่มเติมก่อนตั้งงบเพิ่ม “สุพจน์” ยอมรับปัญหาเกิดจากการออกแบบ ที่ทั้งผู้ออกแบบและคนตรวจรับแบบไม่มีความรู้เฉพาะด้าน ขณะที่แท็กซี่สุวรรณภูมิฉุนแอร์พอร์ตลิงก์แย่งผู้โดยสาร ดอดขโมยป้ายบอกทางทิ้ง


แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า จากปัญหาความไม่สะดวกในการใช้บริการโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารในเมือง (แอร์พอร์ตลิงก์) ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงหลายเรื่อง เช่น ที่จอดรถ, ทางเข้า-ออกสถานี, ทางเดินเชื่อมแบบลอยฟ้า, ถนนเชื่อมเข้าออกสถานี, ป้ายบอกทาง เป็นต้น ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้ตั้งงบประมาณปี 2554 จำนวน 646 ล้านบาท สำหรับการปรับปรุงต่างๆ โดยงานส่วนใหญ่จะแล้วเสร็จภายในปี 2554 เพื่อให้ผู้ใช้บริการแอร์พอร์ตลิ้งค์ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ในส่วนของสถานีมักกะสันนั้น คาดว่า จะต้องใช้เงินปรับปรุงรวมกว่า 250 ล้านบาท แบ่งเป็นการปรับปรุงในเรื่องความสะดวกภายในสถานีประมาณ 172 ล้านบาท เช่น ปรับภูมิทัศน์โดยรอบสถานีและทำป้ายบอกทางเพิ่มเติม, ทำถนนเชื่อมถนนกำแพงเพชร ถนนมิตรสัมพันธ์กับถนนเพชรบุรีตัดใหม่เพื่อเข้าสู่สถานีมักกะสันได้สะดวกมากขึ้น, ทำสะพานข้ามเป็นแลมป์เพื่อเชื่อมระหว่างถนนจตุรทิศกับตัวสถานี , ทำแลมป์จากบริเวณสี่แยกฟอร์จูนข้ามถนนอโศกเข้าชั้นสถานี (Concourse) ของแอร์พอร์ตลิงก์ เป็นต้น

นอกจากนี้ จะมีการก่อสร้างทางเดินแบบลอยฟ้า (Sky Walk) เชื่อมต่อกับสถานีมักกะสัน กับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีเพชรบุรี ความยาวประมาณ 130 เมตร เชื่อมจากชั้นสถานี (Concourse) ของแอร์พอร์ตลิงก์สู่ชั้นล่างของสถานีรถไฟใต้ดินเพชรบุรี (ฝั่งตะวันออก) งบประมาณ 80 ล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทำงานร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อปรับปรุงตำแหน่งทางลงให้เหมาะสม โดยจะประมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) คาดว่า จะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือน มี.ค.2554

ส่วนสถานีอื่นๆ ทั้ง สถานีพญาไท, ราชปรารถ, อโศก, รามคำแหง, หัวหมาก, บ้านทับช้าง, ลาดกระบัง จะมีทั้งการปรับปรุงป้ายบอกทาง ทำที่จอดรถ ปรับภูมิทัศน์ ทางเข้าออกขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ของแต่ละสถานี เช่น สถานีทับช้าง จะต้องมีการอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟ เพื่อเชื่อมเข้าสถานจากปัจจุบันที่ไม่สะดวก เพราะจะต้องใช้ถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ ซึ่งจะใช้งบประมาณ 35 ล้านบาท ระยะก่อสร้างประมาณ 1 ปี

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ปัญหาการไม่สะดวกในการเข้าออกสถานีแอร์พอร์ตลิงก์ เนื่องจากไม่มีการออกแบบไว้ตั้งแต่แรก ทำให้ไม่มีการตั้งงบสำรองเผื่อไว้ เมื่อก่อสร้างเสร็จเปิดให้บริการ จึงมีปัญหาค่อนข้างมาก ในขณะที่การดำเนินการแก้ไขล่าช้า เนื่องจากต้องรอให้มีการจัดตั้งบริษัทลูก แอร์พอร์ตลิงก์ก่อน ซึ่งยังอยู่ระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการขอเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 2,000 ล้านบาท โดยในระหว่างนี้ ร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการออกแบบและเริ่มปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่สามารถดำเนินการได้ก่อนแล้ว และในกรณีที่มีปัญหาการร้องเรียนว่า บางสถานีไม่มีบันไดเลื่อนนั้น ได้รับนโยบายจากกระทรวงคมนาคมแล้ว ซึ่งจะเร่งสำรวจในแต่ละสถานี และจะเร่งดำเนินการแก้ไขต่อไป

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ปัญหาที่ทำให้ผู้โดยสารโครงการ แอร์พอร์ตลิงก์ ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้บริการ ทั้งทางข้าออกสถานี การเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ที่จอดรถ การเดินลานจอดรถไปยังสถานีหลักๆ มาจากการออกแบบที่ผู้ออกแบบไม่มีประสบการณ์และไม่มีความเชี่ยวชาญจริง รวมถึงผู้ที่ตรวจสอบแบบไม่มีความรู้เฉพาะด้าน ซึ่งโครงการใหญ่ ผู้ตรวจสอบแบบควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะ ซึ่งอาจจะเป็นคนภายนอกองค์กรก็ได้ ขณะนี้ได้สั่งการให้ผู้บริหาร ร.ฟ.ท.เร่งปรับปรุงแก้ไขการให้บริการโครงการ แอร์พอร์ตลิงก์ ในส่วนที่มีการร้องเรียนจากผู้ใช้บริการจำนวนมาก เช่น การติดตั้งบันไดเลื่อนเพิ่ม การปรับปรุงป้ายบอกทางให้ชัดเจน รวมถึงปรับปรุงให้ภายในสถานีมีความโปร่งและมีอากาศไหลเวียนดี

“ผมเพิ่งไปตรวจที่สถานีสุวรรณภูมิ พบว่า ป้ายบอกทางที่จะบอกจากจุดรับกระเป๋าผู้โดยสารขาเข้าไปยังสถานีแอร์พอร์ตลิงก์ ไม่ชัดเจนและทำให้ผู้โดยสารสับสนระหว่างการเดินไปใช้ระบบ City Line กับ Express Line ส่วนบันไดเลื่อนนั้น ร.ฟ.ท.ต้องไปสำรวจดูว่า แต่ละสถานีเป็นอย่างไร สถานีที่ยังไม่มีบันไดเลื่อนจะติดตั้งที่จุดใด มีค่าใช้จ่ายเท่าไร ซึ่งการติดตั้งบันไดเลื่อนเพิ่มเติมน่าจะเริ่มภายใน 2-3 เดือนนี้ ส่วนตัวสถานีที่อากาศไม่ถ่ายเทนั้น ร.ฟ.ท.ก็ต้องหาทางแก้ไขด้วย เพราะเป้าหมายของระบบขนส่งมวลชนคือต้องให้มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก แต่เมื่อการมาใช้บริการไม่สะดวก ผู้ใช้บริการก็ไม่อยากเข้ามาใช้บริการ” นายสุพจน์ กล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 5 พ.ย.2553 กลุ่มผู้ประกอบการแท็กซี่ที่สนามบินสุวรรณภูมิได้ขนป้ายบอกทางของแอร์พอร์ตลิงก์ที่ตั้งอยู่ภายในอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิออกไปจำนวนมาก เนื่องจากไม่พอใจที่ถูกแอร์พอร์ตลิงก์แย่งผู้โดยสาร โดยมีรายงานว่า ตั้งแต่แอร์พอร์ตลิงก์เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 23 ส.ค.2553 ทำให้ผู้โดยสารแท็กซี่สนามบินสุวรรณภูมิลดลง และทำให้เที่ยววิ่งแท็กซี่ลดลง เฉลี่ย 2,000-3,000 เที่ยวต่อวัน โดยปัจจุบัน แอร์พอร์ตลิงก์เก็บค่าบริการรถ City Line 15 บาทตลอดสาย ส่วนรถ Express Line เก็บ 100 บาท

อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.แจ้งว่า จะเร่งประสานกับบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.เพื่อติดสติกเกอร์บอกทางไปสถานีแอร์พอร์ตลิงก์กับป้ายของสนามบินเป็นการชั่วคราว พร้อมกันนี้ จะเร่งทำป้ายบอกทางแอร์พอร์ตลิงก์ใหม่ โดยทำจากสแตเลสเพื่อให้มีน้ำหนักมากขึ้น และทำเป็นป้ายแขวนเพื่อไม่ให้ถูกขโมยได้ง่าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us