Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2531
ไต้หวันนักบุญหรือผู้รุกราน             
 


   
search resources

Real Estate
Agriculture
Taiwan




ไต้หวันเป็นประเทศหนึ่ง ที่จะมีบทบาทต่อการลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทยมากขึ้น กระแสการเคลื่อนย้ายทุนของไต้หวันในไทยนั้น สูงขึ้นเป็นอันดับที่สองแล้ว และจากสถานภาพการผลิตที่ใกล้เคียงกับนักลงทุนในไทย จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากว่า ความหวังใหม่จากไต้หวันนั้นเสมือนหนึ่งตวัดดาบเชือดคอหอยตัวเองหรือไม่!?

"คุณรู้ไหม… ต่อไปจะไม่เหลือที่ดินเป็นของคนไทยอีกแล้ว"

"ทุเรศสิ้นดีที่เจ้าหน้าที่รัฐบางคนร่วมมือกับนักลงทุนต่างชาติหลอกชาวบ้านที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ให้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับตน แล้วยังได้ นส.3 แสดงสิทธิโดยสมบูรณ์อีกด้วย"

"ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้น่ะหรือ… อย่าไปคิดฝันมันนักเลย ทุกวันนี้ที่ทำกันอยู่ชาวบ้านนับวันจะกลายสภาพเป็นลูกจ้างติดที่ดินกันมากขึ้น หลายคนที่หลงทำตามไม่อาจทำให้เป็นจริงเหมือนเขาได้ มันเป็นเรื่องของความได้เปรียบด้านเทคโนโลยีการผลิต เขาเพียงแต่ยืมแผ่นดินเราทำมาหากิน"

"ที่เลวร้ายไปกว่านั้นก็คือเครื่องมือทันสมัยต่างๆ กลายเป็นตัวทำลายธรรมชาติอย่างน่าเวทนา"

ทุกถ้อยประโยคเหล่านี้ล้วนเป็นความจริง… เป็นเสียงสะท้อนห่วงใยส่วนหนึ่งของชาวบ้านในเขต จ.สมุทรสาคร และจ.จันทบุรี ที่ปรากฏข่าวนักลงทุนไต้หวันพากันกว้านซื้อที่ดินเพื่อลงทุนเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลกันอย่างเอิกเกริก

สถานการณ์การเลี้ยงกุ้งทะเลที่ว่าสดใสนั้นอาจเป็นจริง… ทว่ามันอาจเป็นความหวังที่เป็นไปได้ของคนบางกลุ่มเท่านั้น แต่ที่สำคัญอนาคตของประเทศไทย ใครว่ามันจะจำกัดวงอยู่เพียงแค่ความหายนะของป่าชายเลน ระบบนิเวศวิทยาที่ทรงคุณค่าเท่านั้น…

การเปลี่ยนแปลงสภาพสิทธิในที่ดินเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง!!!

"คุณรู้ไหม… โรงเพาะเห็นที่เห็นเรียงรายสลอนจากเชียงใหม่ยันเชียงรายนั้น ล้วนเป็นของคนไต้หวัน พวกนี้ขึ้นมากว้านซื้อที่ดินแถวภาคเหนือตั้ง 2-3 ปีแล้ว และพวกเขายังซื้อไม่หยุดหย่อน"

"นิคมอุตสาหกรรมลำพูนที่กำลังจะตายซากพวกนักลงทุนไต้หวันก็สนใจไม่น้อย"

"และถ้าคุณเคยไปเชียงใหม่คงเคยเห็นเชียงใหม่อาเขต ศูนย์การค้าขนาดยักษ์ที่ยืนตายซากมาหลายปีดีดัก อีกไม่ช้าที่นั่นกำลังจะแปลงโฉมเป็นโครงการขนาดยักษ์ คิดแค่เสาก็ 2,000 ต้น โครงการนี้ก็เป็นของคนไต้หวันอีก"

นั่นก็เป็นความจริงในอีกเสี้ยวหนึ่งของประเทศไทยที่สะท้อนให้เห็นถึง การเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอย่างน่าจับตามองของกลุ่มนักลงทุนไต้หวัน โดยเฉพาะความเป็นไปได้สูงของภาคเหนือที่พร้อมต่อการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (AGRO INDUSTRY)

การลงทุนในลักษณะนี้นักลงทุนไต้หวันชอบดีนักล่ะ!!

………………………………

ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า กระแสการเคลื่อนย้ายทุนออกสู่ต่างประเทศของกลุ่มนักลงทุนไต้หวันในระยะปีสองปีมานี้มีปริมาณค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการอพยพมาลงทุนในประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไต้หวัน-ไทย ย่อมมีความแปรปรวนในระยะยาวที่น่ามอง….

จากตัวเลขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพบว่า มูลค่าทุนจดทะเบียนของไต้หวันในช่วงปี 2530 เพิ่มมากกว่าเท่าตัวของมูลค่าทุนจดทะเบียนในปี 2529 โดยเพิ่มจาก 291 ล้านบาท เป็น 1,515 ล้านบาท และเพียง 8 เดือนในปี 2531 ก็สูงกว่าปี 2530 ไปเสียแล้ว

ถ้านับจำนวนโครงการที่เข้ามาลงทุนใน 8 เดือนของปี 2531 กลุ่มนักลงทุนไต้หวันก็ดีดตัวเองสูงขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง และหากมองถึงมูลค่าทุนจดทะเบียนคงเป็นรองเพียงญี่ปุ่นเท่านั้นเอง!!!

ละครบทเดิม

คนเดือนร้อนรายใหม่

ไต้หวันน่ะเก่งเกินไป!!! เก่งเสียจนน่ากลัว???

คลื่นอพยพการลงทุนของไต้หวันที่ทะลักล้นเข้ามาในไทยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปรับตัวของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่ไม่อยู่ในภาวะสมดุลกับยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาเป็นหลัก โดยที่สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาขาดดุลการค้าจำนวนมหาศาลกับประเทศอุตสาหกรรมใหม่อย่างไต้หวันมากมายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

ปี 2523 ไต้หวันได้เปรียบดุลการค้าสหรัฐฯ เพียง 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่พอสิ้นปี 2529 กลับพุ่งพรวดเป็นเงินถึง 16,000 ล้านดอลลาร์ สภาวการณ์ล่อแหลมปางตายอย่างนี้ ยักษ์ใหญ่ก็ยักษ์ใหญ่เถอะ… ทนได้ก็เกินไป…

ความจำเป็นดังกล่าวนี้จึงทำให้สหรัฐอเมริกาจำต้องดิ้นรนหาทางออกด้วยมาตรการแข็งกร้าว 2 ประการคือ หนึ่ง - ออกกฎหมายบีบคั้นให้ประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้าจำนวนมากอย่างไต้หวัน จะต้องดำเนินการผ่อนปรนความได้เปรียบนั้นลงในระยะเวลา 3 ปี สอง - ใช้มาตรการทางการเงินตอบโต้ โดยใช้วิธีปล่อยให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง เพื่อบังคับให้ค่าเงินไต้หวันแข็งขึ้น ซึ่งมาตรการนี้ใช้ได้ผลมาก ดังจะเห็นว่านับจากปี 2528-2529 ค่าเงินเอ็นที.ของไต้หวันแข็งขึ้นถึง 23% โดนกำราบความเก่งด้วยวิธีนี้ไต้หวันถึงกับลมจับ หากดื้อดึงปล่อยให้ค่าเงินแข็งต่อไปแล้ว นั่นย่อมหมายถึง กาลอวสานของอุตสาหกรรมหลายอย่าง เนื่องจากจุดแข็งของอุตสาหกรรมไต้หวันก็คือ การอาศัยแรงงานมากเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ของเด็กเล่น สิ่งทอ

แรงกดดันดังกล่าวนี้เองที่มีผลทำให้รัฐบาลไต้หวันต้องปฏิรูประบบการเงินในประเทศเสียใหม่เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2530 โดยให้มีการยกเลิกการควบคุมการขนย้ายเงินตราออกนอกประเทศ ประชาชนคนหนึ่งสามารถแลกเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำออกได้ไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ปริมาณเงิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็เพียงพอแล้วที่จะกระตุ้นให้เอกชนหลายรายแสวงหาทางออกในการปรับตัวเองให้อยู่รอด ด้วยการเคลื่อนย้ายทุนออกสู่ต่างประเทศ และแน่นอนล่ะว่าในภูมิภาคเอเชียนี้ จะมีสวรรค์แห่งไหนเลอเลิศเทียมเท่าแผ่นดินไทยไม่มีอีกแล้ว….

กระแสการเคลื่อนย้ายทุนของไต้หวันมาสู่ประเทศไทยนั้นมองผิวเผินคงไม่มีอะไรต้องน่ากลัว ทว่าพิจารณาอย่างลุ่มลึก คำถามที่ต้องขบคิดกันมากคือว่า…

"เขาเข้ามาเพื่อเสริมสร้างหรือทำลายล้างศักยภาพการพัฒนาอุตสาหกรรมของนักลงทุนไทยกันแน่"

ประเด็นนี้มองจากโครงการลงทุนของไต้หวันที่ได้รับการส่งเสริมส่วนใหญ่จะเป็นโครงการตั้งแต่ระดับปานกลางลงมาหาขนาดย่อม มีโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนเกินพันล้านบาทเพียง 2 โครงการ คือ โครงการของบริษัทไทยแทฟฟิต้ากับกลุ่มทุนเทกซ์ ที่ลงทุนด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ สำหรับโครงการขนาดเล็กถึงปานกลางที่พบมากก็ได้แก่ ผักและผลไม้กระป๋อง รองเท้า ถุงมือยาง และของเด็กเล่น และเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้

โครงการลงทุนเหล่านี้ในส่วนของนักลงทุนไทยก็ทำกันมาก และมีอนาคตที่ไปได้สวยเสียด้วย เมื่อต้องมาเจอกับคู่แข่งอย่างไต้หวันที่ว่ากันไปแล้ว ได้เปรียบเราในด้านเทคโนโลยีการผลิตค่อนข้างมาก นี่หมายความว่า… เรากำลังจะฆาตกรรมตัวเองอย่างนั้นหรือ!!?

การพัฒนาของไต้หวันมีลักษณะพื้นฐานใกล้เคียงกับที่ประเทศไทยดำเนินการอยู่อย่างมากก็คือ อาศัยพื้นฐานจากภาคการค้าและพาณิชย์เป็นจุดของการพัฒนาอุตสาหกรรม รูปลักษณ์อุตสาหกรรมของไต้หวัน ส่วนใหญ่เน้นความสำคัญที่การใช้แรงงานมากและมีวัตถุดิบในประเทศสูง ไม่ได้ใส่ใจกับงาน R&D มากนัก ดังนั้นเรื่องที่จะหวังให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เอาเสียเลย

ก็ในเมื่อแกะออกมาจากพิมพ์เดียวกัน โครงการที่ขนเข้ามาลงทุนก็หาได้แตกต่างไปจากที่เคยทำกันมาแล้วในประเทศของเขา หนำซ้ำยังมาชนกับสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว จึงเป็นปุจฉาในหมู่นักลงทุนไทยมากว่า "เราคิดดีแล้วหรือ ที่ปล่อยให้ไต้หวันเติบโตโดยไม่จำกัดขอบเขตอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้"

กุ้งทะเล

ตัวอย่างอันตราย

กุ้งทะเลหรือกุ้งกุลาดำเลี้ยงกันมานมนานร่วมครึ่งศตวรรษแล้ว แต่ก็เงียบหงอย???

แต่ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา กับการอพยพทุนของไต้หวันมาในไทย อาชีพการเลี้ยงกุ้งทะเลกลับกลายเป็นอาชีพที่เฟื่องสุดขีด หลายคนละเมอเพ้อฝันว่า กุ้งทะเลจะทำให้ร่ำรวยในพริบตา ทั้งนี้ทั้งนั้นด้วยความเชื่อที่ว่า เดินตามรอยผู้เชี่ยวชาญอย่างไต้หวันที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้เลี้ยงและส่งออกกุ้งทะเลรายใหญ่ที่สุดของโลกแล้วย่อมไม่ผิดหวัง…

ข่าวคราวของการเลี้ยงกุ้งทะเลในระยะเวลาดังกล่าวจึงมีไม่เว้นวัน ทั้งในรูปแบบที่ชาวบ้านคนไทยทำกันเอง… บริษัทใหญ่อย่างเต็กเฮงหยู เบอร์ลี่ฯ ไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย กระโดดลงไปทำจนถึงการรุกเงียบของไต้หวัน

พื้นที่การเลี้ยงกุ้งทะเลนั้นนิยมเลี้ยงบริเวณป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารสำหรับสัตว์น้ำที่มีค่ามากที่สุด ทั้งยังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์นั้นที่ดี เดิมทีเดียวป่าชายเลนใน ประเทศไทยเคยมีถึง 2,299,375 ไร่ในปี 2504 แต่กลับเหลือเพียง 1,227,680 ไร่ในปี 2529 ซึ่งพบว่าสาเหตุหลักของการทำลายป่าชายเลนเกิดขึ้นจากการบุกรุกเพื่อใช้เป็นพี้นที่เลี้ยงกุ้งทะเล

ในปี 2528 ที่การบุกรุกส่วนใหญ่ยังเป็นชาวบ้านที่ไม่รู้ถึงโทษานุโทษของการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศวิทยาจากป่าชายเลน ยังมีพื้นที่เพียงแค่ 254,800 ไร่ ทว่าในปี 2530 พื้นที่ของการทำลายกลับสูงขึ้นถึง 404,878 ไร่ เรียกว่าเพิ่มขึ้นถึง 58% ในระยะเวลา 2 ปีเท่านั้น

อัตราการบุกรุกทำลายดังกล่าวนี้ ลำพังเพียงชาวบ้านธรรมดาๆ ย่อมทำไม่ได้แน่นอน นอกเสียจากจะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทุนอิทธิพลขนาดใหญ่หรือไม่ก็กลุ่มทุนต่างชาติ…

ตัวอย่างของป่าชายเลนที่ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับคือ ป่าชายเลนในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีพื้นที่ป่าชายเลนอยู่ประมาณ 176,181 ไร่ ปัจจุบันประมาณว่าป่าชายเลนของจังหวัดนี้ถูกทำลายลงไปแล้ว 80-90% และกำลังถูกทำลายลงไปอย่างรวดเร็ว

อย่าว่ายังงั้นยังงี้เลย แม้แต่ในเขตอนุรักษ์ซึ่งมีพื้นที่ป่าชายเลนเพียง 18,743 ไร่ ก็ไม่รอดพ้นจากการถูกทำลาย อย่างป่าชายเลนปากน้ำเวฬุ ซึ่งอยู่ในเขตอนุรักษ์ 1,668 ไร่ ได้ถูกทำลายลงไปแล้วกว่า 1,000 ไร่

หลับตานึกคิดกันเอาเถอะว่า ความหายนะของป่าชายเลน ป่าไม้ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของประเทศไทยกำลังจะคืบคลานมาถึงในไม่ช้านี้แล้ว!!!!

ที่น่ามองมากไปกว่านี้ก็คือ จากการระบุอย่างแน่ชัดของ ร.ต.ดำรง รัตนโสภณ ป่าไม้จังหวัดจันทบุรี เล่าถึงเบื้องหลังการทำลายป่าชายเลนว่า เกิดจากการเพาะเลี้ยงกุ้งโดยนายทุนรายใหญ่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนายทุนต่างประเทศอย่าง "ไต้หวัน" เป็นสำคัญ และนายทุนต่างชาติเหล่านี้ปัจจุบันได้ถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างถูกต้องแล้วหลายราย

นี่จึงเป็นความน่าห่วงใยประการหนึ่งเกี่ยว การเปลี่ยนแปลงของที่ดิน!!! นอกเหนือไปจากการปั่นราคาที่ดินบางแห่งให้สูงเกิดความเป็นจริงมาแล้ว

"เขามาติดต่อขอซื้อในราคาถูกๆ ชาวบ้านที่รู้เท่าไม่ทันก็เลยเฮโลขายกันไป บางทีสัญญาแม้จะซื้อขายกันไม่ได้ก็ขอทำสัญญาเช่ากันเป็นร้อยปี คิดดูเอาเถอะว่าหากรูปการณ์ยังเป็นอยู่อย่างนี้ ในอนาคตป่าชายเลนจะมีเหลืออีกหรือ และที่ดินของคนไทยจะมีให้ชื่นชมอีกไหม" ชาวนาจาก จ.จันทบุรีรายหนึ่งบอกเล่ากับ "ผู้จัดการ"

สำหรับสาเหตุใหญ่ที่ทำให้นักลงทุนไต้หวันพากันมาลงทุนเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในไทยนั้นก็เป็นเพราะว่า "อาชีพการเลี้ยงกุ้งทะเลกำลังจะกลายเป็นของต้องห้ามในไต้หวัน เนื่องมาจากผลกระทบจากการทำฟาร์มกุ้งก่อให้เกิดการทรุดตัวของแผ่นดินถึงปีละ 8 นิ้ว จนทำให้กลุ่มนักธุรกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ ต้องทำหนังสือบันทึกถึงรัฐบาลให้จำกัดพื้นที่เพราะเลี้ยงกุ้งทะเล

สถานการณ์บ้านเขามันเป็นอันตรายอย่างนี้ จึงต้องเบี่ยงเบนเป้าหมายมายัง ประเทศไทยที่มีสภาพความพร้อมทุกๆ ด้านรองรับ ไม่ว่าจะเป็น ที่ดินป่าชายเลนที่มีเหลือเฟือ แรงงานราคาถูก และยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยที่เห็นว่า ต้นแบบการเลี้ยงกุ้งทะเลของไต้หวันน่าจะเสริมสร้างความมั่งคั่งให้กับคนไทยได้

น่าเสียดายที่รัฐบาลคาดการณ์ผิดไปถนัดใจ… ทั้งนี้เพราะว่ากรรมวิธีการเลี้ยงระหว่างไทยกับไต้หวันนั้นแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน ขณะที่เราเลี้ยงกันได้โดยถัวเฉลี่ย 75 กก./ไร่ ของไต้หวันกลับเลี้ยงได้สูงถึง 1,000 กก./ไร่

เทคโนโลยีการเลี้ยงเหล่านี้เป็นเรื่องที่เขาไม่เคยแย้มพรายให้กับเกษตรกรไทยรับทราบสักนิดเลย… และอย่าว่าแต่เกษตรกรรายย่อยเลย แม้แต่นักลงทุนไทยรายใหญ่ๆ บางรายก็ไม่อาจซึมซัมเทคโนโลยีของไต้หวันได้เช่นกัน จนถึงกับทำให้หลายรายล้มคว่ำไม่เป็นท่ามาแล้ว

"เรื่องของการทำลายป่าชายเลนนั้น เราต้องคำนึงเป็นสำคัญ แต่ถ้ายับยั้งมันไม่ได้ ก็ต้องหาทางแก้ไขด้วยการพัฒนาการเลี้ยงให้ได้คุณภาพและปริมาณสูง/พื้นที่ที่ลดน้อยลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราต้องเรียนรู้จากไต้หวันที่มีชื่อ เราต้องเรียกร้องการลงทุนของเขาให้ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เราเป็นการตอบแทนบ้าง" พีรพงศ์ ถนอมพงศ์พันธ์ ส.ส. กทม. ผู้สนใจในเรื่องนี้กล่าวให้ฟัง

เป็นข้อเสนอแนะที่น่ารับฟัง และควรร่วมมือกันทำให้เป็นจริง!!!

เราจะปล่อยให้เขาตักตวงผลประโยชน์ไปแต่เพียงถ่ายเดียวได้ยังไง ???

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us