Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544
ภาพลักษณ์ใหม่ของ CPF             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF)

   
search resources

เจริญโภคภัณฑ์อาหาร, บมจ.
Food and Beverage




เดือนมีนาคม 2544 เป็นเดือนที่จะเริ่มมีภาพยนตร์โฆษณาของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ปรากฏออกมาในสื่อโทรทัศน์เป็นครั้งแรก หลังจากบริษัทแห่งนี้ได้ก่อตั้งมาแล้วเป็นเวลากว่า 40 ปี

ภาพยนตร์โฆษณาของ CPF ที่จะเริ่มยิงออกมาในเดือนนี้ มีทั้งสิ้น 7 เรื่อง สร้างสรรค์โดยบริษัทโลว ลินตาส แอนด์ พาร์ทเนอร์ส ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 50 ล้านบาท

ภาพยนตร์โฆษณาทั้ง 7 เรื่อง มี concept โดยรวมคือ การสร้าง corporate image ใหม่ให้กับ CPF นอกจากนี้แต่ละเรื่องยังสร้างตามวัตถุประสงค์ย่อยอีก 3 วัตถุประสงค์

4 เรื่องแรก จะเน้นเรื่องความปลอดภัย และปลอดสารพิษในอาหาร ซึ่งเป็นสินค้าหลักของ CPF ประกอบด้วยชุด "ห้องเย็น", ชุด "ปรุงมากับมือ", ชุด "ไก่แฮปปี้" และชุด "เช็ดแล้วเช็ดอีก"

อีก 2 เรื่อง เน้นเรื่องระบบการจัดการที่ดีของบริษัท ประกอบด้วยชุด "เด็กใหม่" และชุด "เพื่อ 1 คำ"

เรื่องสุดท้าย คือชุด "สิ่งแวดล้อม" เน้นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม

มีการวิเคราะห์กันว่า การยิงโฆษณาของ CPF ครั้งนี้ นอกจากเป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับบริษัทในสายตาผู้บริโภคแล้ว ยังถือเป็นการประกาศตัวเป็นผู้ผลิตสินค้าคอนซูเมอร์ อย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูป ซึ่งเป็นทิศทางใหม่ของ CPF จากธุรกิจดั้งเดิมที่ผลิตอาหารสัตว์

"เดิมเราขายอาหารสัตว์ให้กับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งไม่ใช่สินค้าคอนซูเมอร์ จึงไม่จำเป็นต้องมีโฆษณา แต่เมื่อเปลี่ยนชื่อ และมีการปรับธุรกิจใหม่ สินค้าจะมีเป้าหมายอยู่ที่ผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ เราจึงต้องโฆษณา" อดิเรก ศรีประทักษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส CPF กล่าว

เมื่อวันที่ 17 มกราคมปีที่แล้ว (2543) CPF ได้แจ้งเปลี่ยนชื่อกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์ เป็นเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของเครือซีพี ตามยุทธศาสตร์ใหม่ที่ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มได้กำหนดขึ้น หลังจากต้องประสบปัญหาจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ยุทธศาสตร์ใหม่ดังกล่าว คือ การสร้างบทบาทให้กับกลุ่มซีพีเป็นผู้ผลิตอาหารครบวงจรรายใหญ่ โดยมีเป้าหมายเป็นครัวของโลก (kitchen of the world) โดยมี CPF เป็นธงนำ

กระบวนการปรับโครงสร้างตามยุทธศาสตร์ใหม่ CPF ได้เข้าไปถือหุ้นใหญ่ในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับอาหารทุกแห่งที่กระจัดกระจายอยู่ในกลุ่ม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยได้เริ่มซื้อกิจการมาตั้งแต่ปลายปี 2541

ปัจจุบันยังเหลือบริษัทในเครืออีกเพียง 3 แห่ง ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยอยู่ในขั้นตอนของบริษัทหลักทรัพย์เจเอฟ ธนาคมประเมินมูลค่าหุ้น ได้แก่ บริษัท ซี.พี. เมจิ, บริษัท ซี.พี.อินเตอร์ฟู้ด และบริษัทไฟว์สตาร์ ผู้ผลิตและจำหน่ายไก่ย่าง 5 ดาว และคาดว่าจะเสร็จประมาณไตรมาส 2 ของปีนี้

การเปลี่ยนชื่อบริษัท ตลอดจนการรวมศูนย์ธุรกิจอาหารทั้งหมดมาไว้ใน CPF ได้ดำเนินมาจนเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้ผู้บริโภคเริ่มรู้จัก ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญ และได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว กับภาพยนตร์โฆษณาทั้ง 7 ชุด ที่จะเริ่มยิงในเดือนนี้

"เราต้องการสร้างภาพลักษณ์ของ CPF ให้ยิ่งใหญ่ติดอันดับโลก เหมือนคาร์กิลล์ ไทรสัน หรือคอนนากา" อดิเรกเคยกล่าวไว้เมื่อต้นเดือนตุลาคมปีก่อน

สิ้นปี 2543 CPF มีรายได้รวม 60,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นรายได้จากการส่งออก 25% และขายในประเทศ 75%

จากรายได้รวม 60,000 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนเป็นรายได้จากการขายอาหารสัตว์ 40% รายได้จากวัตถุดิบ ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ และไข่ไก่ 30% และรายได้จากผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป 30%

ตามแผนระยะยาวของบริษัท จะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นปีละ 5-10% โดยตั้งเป้าหมายว่าใน 5 ปีข้างหน้า รายได้จากอาหารสำเร็จรูปจะมีสัดส่วนสูงถึง 50% ของยอดรายได้รวมของบริษัท

"การมุ่งสู่การเป็นผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เพราะเราต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และกำไรจากอาหารสำเร็จรูปจะมีมากกว่ากำไรจากการขายในรูปวัตถุดิบ" อดิเรกกล่าวว่าสัดส่วนกำไรจากการขายอาหารสัตว์เฉลี่ยอยู่ในระดับ 10-15% ขณะนี้การขายผลิตภัณฑ์จากเนื้อมีกำไรเฉลี่ย 5-35% ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า แต่กำไรจากการขายอาหารสำเร็จรูปจะสูงถึง 15-25%

ปัจจุบันการขายอาหารสำเร็จรูปของ CPF ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยบริษัทซี.พี.อินเตอร์ฟู้ด ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยสินค้าหลักของซี.พี.อินเตอร์ฟู้ด มีอยู่ 9 ตัว ประกอบด้วยไส้กรอกและเบคอน, สินค้าพื้นเมือง เช่น แหนม, เครื่องปรุงรส ยี่ห้อช้อยส์, อาหารแช่แข็ง, ซุปไก่สกัด ตราเบสท์, เบเกอรี่, อาหารกระป๋อง, ธุรกิจขายตรง และอาหารขบเคี้ยว ประเภทสแน็ก ในปี 2543 ซี.พี.อินเตอร์ฟู้ดมียอดขายรวม 2,500 ล้านบาท แบ่งเป็นขายในประเทศ 60% และส่งออก 40% แต่ได้ตั้งเป้าหมายในอนาคตว่าจะเพิ่มยอดขายเป็น 10,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี และเพิ่มสัดส่วนการส่งออกเป็น 60% ของยอดขาย

ซึ่งหากในไตรมาส 2 กระบวนการเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในซี.พี. อินเตอร์ฟู้ด รวมถึง ซี.พี. เมจิ และไฟว์สตาร์ สามารถกระทำได้เสร็จตามกำหนดการ ดิเรกคาดว่าจะส่งผลให้ยอดขายรวมของ CPF เพิ่มสูงขึ้นถึง 70,000 ล้านบาท

ในวันนี้ ภาพยนตร์โฆษณาของ CPF ได้เริ่มปรากฏต่อสายตา ผู้บริโภคแล้ว แต่คนจะรับรู้ภาพลักษณ์ใหม่ของบริษัท ในฐานะผู้ผลิตสินค้าคอนซูเมอร์ โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปได้เมื่อใดนั้น คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us