กระแสความตื่นตัว และต่อต้านบริษัทค้าปลีกจากต่างประเทศ ที่ถาโถมเข้าใส่ผู้ประกอบหลายรายนั้น
การปรับเปลี่ยน ให้เกิดภาพลักษณ์สอดคล้องกับท้องถิ่นกำลังเกิดขึ้นอีกครั้งในวงการค้าปลีก ที่มีมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาทนี้
ในบรรดาบริษัทค้าปลีกจากต่างประเทศ ที่เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย ในชื่อเรียกขาน ที่หลากหลายนั้น
ดูเหมือนว่า CARREFOUR, MAKRO และ TESCO-LOTUS จะตกเป็นเป้าใหญ่ในการถูกโจมตี
เพราะมีลักษณะโครงสร้างการบริหาร และการถือครองหุ้นโดยต่างชาติค่อนข้างชัดเจน
ขณะที่ Big C และ TOPS ซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งแม้โดยข้อเท็จจริง จะมีต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และมีผู้บริหารเป็นชาวต่างชาติเช่นกัน
แต่ในการรับรู้ของประชาชนทั่วไปยังปรากฏเค้าลางของผู้ประกอบการชาวไทยอยู่
ปรากฏการณ์หนึ่งในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา นอกจาก MAKRO และ Big C ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
และมีความจำเป็นต้องเปิดเผยตัวเลขผลประกอบการรอบครึ่งปี ที่มีมูลค่าการจำหน่ายสูงมาก
จนเป็นเงื่อนไขของการตั้งข้อสังเกตนานาประการ เกี่ยวกับความอยู่รอดของผู้ประกอบการรายย่อยชาวไทยแล้ว
บริษัทค้าปลีกต่างชาติรายอื่นๆ กลับเก็บตัวเงียบ โดย ไม่พยายามเสนอเรื่องราวผ่านสื่อให้เป็นที่เกรียวกราวมากนัก
จุดที่น่าสนใจอีกประหนึ่งก็คือ นอกจากจะต้องลงทุน เพื่อขยายสาขาไว้แข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ
แล้ว บริษัทค้าปลีกจากต่างประเทศเหล่านี้ ยังต้องเร่งสร้างภาพ ลักษณ์ขององค์กรให้กลมกลืนกับสภาพ และความรู้สึกของท้องถิ่นยิ่งขึ้นไปพร้อมกัน
กรณีของเทสโก้ โลตัส ดูจะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความเคลื่อนไหวดังกล่าว
เพราะท่ามกลางกระแสการต่อต้านบริษัทค้าปลีกต่างชาติ ที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ในเดือนสิงหาคม
เทสโก้ โลตัส ได้แต่งตั้งให้ แชนด์วิค อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดูแลทิศทางในการนำเสนอข่าวสาร และการนำเสนอภาพลักษณ์ของบริษัทต่อสาธารณชนด้วย
ในห้วงเวลาไล่เรียงกัน คณะกรรมการบริษัท เทสโก้ โลตัส ยังได้แต่งตั้ง สุนทร
อรุณานนท์ชัย ผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มซีพีให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท
เทสโก้ โลตัส โดยในเอกสารข่าวเผยแพร่ความเคลื่อนไหวในระยะ ที่ผ่านมา จะปรากฏชื่อของสุนทร
ในฐานะ ที่เป็นผู้แถลงถึงความ เป็นไปต่างๆ แทนผู้บริหารชาวต่างชาติ ที่รับผิดชอบในการบริหาร และกำหนดทิศทางขององค์กรอย่างแท้จริง
เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า ชื่อของ บริษัทเอกชัย ดิสทริ บิวชั่น ซิสเต็มส์
จำกัด ซึ่งเดิมเป็นชื่อ ที่ใช้ในการเผยแพร่ข่าวความเป็นไปของ เทสโก้ โลตัส
ถูกแทน ที่โดยชื่อบริษัท เทสโก้ โลตัส อย่างถาวรในเอกสารเผยแพร่ข่าวระยะหลังนี้
แม้ว่าในปัจจุบัน กลุ่มซี.พี. จะมีสัดส่วนการถือครองหุ้น ในเทสโก้ โลตัส
เพียง 7% ขณะที่ เทสโก้ กรุ๊ป จากอังกฤษจะถือหุ้นส่วนใหญ่ถึง 93% แต่การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่จากซี.พี.
ให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในเทสโก้ โลตัสนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ ที่การยืนยันให้เห็นว่า
ซี.พี.ยังคงมีสถานะเป็นผู้ร่วมทุนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partner) ที่สำคัญของ
Tesco และเป็นความพยายามลดแรงเสียดทานทางสังคม ที่มีต่อบริษัทค้าปลีกจากต่างประเทศไปในคราวเดียว
สุนทร อรุณานนท์ชัย จัดเป็นผู้บริหารมืออาชีพ และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจ
ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญในหลาย ธุรกิจ เขาเริ่มเข้าสู่ธุรกิจในภาคการเงิน โดยเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบงล.สินเอเชีย
และกรรมการผู้จัดการธนาคาร มหานคร ก่อน ที่จะเข้าร่วมงานในธุรกิจของกลุ่มซี.พี.
โดยดำรง ตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี แลนด์ ซึ่งเป็นบริษัทด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่ม
ซี.พี. และยังมี ตำแหน่งเป็นประธานบริษัทในธุรกิจ ที่หลากหลายนับตั้งแต่ ธุรกิจการผลิต
ธุรกิจการลงทุนโฮลดิ้ง ธุรกิจก่อสร้าง โรงแรม สำนักงาน และอาคาร ที่พักอาศัย
นอกจากบทบาททางธุรกิจแล้ว สุนทร ยังเป็นอาจารย์พิเศษวิชาธุรกิจในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง
ตั้งแต่ปี 2512 และเป็นกำลังสำคัญในการก่อตั้งวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมกับการดำรงตำแหน่งทาง สังคม การศึกษาอีกหลายตำแหน่ง
ในฐานะคณะกรรมการการ เงิน และทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงตำแหน่งกรรมการของสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์อีกด้วย
แต่ทั้งหมดทั้งปวง อาจไม่สำคัญเท่ากับการที่เขามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในการเจรจาร่วมทุนระหว่างกลุ่ม
ซี.พี. ซึ่งเป็น ผู้ประกอบการ "โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์" กับกลุ่มเทสโก้
ก่อน ที่จะนำไปสู่การจัดตั้งบริษัท เทสโก้ โลตัส เมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา
และเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการในคณะกรรม การบริษัท ที่เกิดจากการร่วมทุนแห่งนี้
ไมเคิล เรย์คราฟ ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส กล่าวถึงการแต่งตั้งประธานกรรมการบริษัทครั้งนี้
ไว้อย่างน่าสนใจว่า สุนทรได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพ และความสามารถในการบริหารมาอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งความช่วยเหลือของสุนทรในการเจรจาร่วมทุนก็เป็นที่โดดเด่น และเป็นเรื่องน่ายินดี ที่สุนทรตอบรับตำแหน่งดังกล่าว
ซึ่งสะท้อนให้เห็นการ เติบโตทางธุรกิจของ เทสโก้ โลตัส ในประเทศไทยด้วย
ผลการดำเนินงานของ เทสโก้ โลตัส ในรอบปีที่ผ่านมา นับว่าเป็นตัวเลข ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
โดยมียอดรายได้จากการขายผ่านสาขา ที่มีอยู่ทั้ง 24 แห่งรวมถึง 21,740 ล้านบาท
หรือเติบโตขึ้น 96%
การเติบโตของเทสโก้ โลตัส ในปัจจุบันมิได้จำกัดอยู่เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล หากกำลังขยายไปสู่ชุมชนตามหัวเมืองขนาดใหญ่ในภูมิภาคหลายแห่ง
โดยในเดือน สิงหาคม ที่ผ่านมา เทสโก้ โลตัส ประกาศแผนการลงทุนมูลค่า กว่า
650 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสาขาใหม่ ที่พัทยาเหนือ และการ ปรับปรุงสาขาเดิม ที่มีอยู่แล้วบนถนนสุขุมวิท
ซึ่งทำให้การลงทุนของเทสโก้ โลตัส ในเขตเมืองพัทยามีมูลค่ามากถึง 1,300 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี การปรับปรุงสาขา ที่ถนนสุขุมวิท และการก่อสร้างสาขาใหม่ ที่พัทยาเหนือจะเริ่มขึ้นประมาณต้นปีหน้า
และมีกำหนดแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2544
นอกจากนี้ เทสโก้ โลตัส ยังประกาศลงทุนอีก 290 ล้านบาท สำหรับขยายสาขา ที่ภูเก็ต
แม้ว่าสาขาแห่งนี้จะเพิ่งเปิดให้บริการเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมาเท่านั้น
และทำให้การลงทุน ในภูเก็ตมีมูลค่ารวมกว่า 990 ล้านบาทโดยการขยายสาขา ที่ภูเก็ตนี้
ประกอบด้วยการก่อสร้างแหล่งบันเทิง เช่น โรงภาพ ยนตร์มัลติเพล็กซ์ และลานโบว์ลิ่ง
30 เลน รวมถึงการขยายมุมสันทนาการอื่นๆ สำหรับเด็ก และนักท่องเที่ยว โดยมีกำหนด
แล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2544 เช่นกัน
แผนการลงทุนเพิ่มเติมมูลค่ารวมกว่า 1,000 ล้านบาทดังกล่าว นอกจากจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับเทสโก้
โลตัส ในการเก็บเกี่ยวรายได้ในช่วงเวลานับจากนี้แล้ว สิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏ ในเอกสารเผยแพร่ข่าวอยู่ ที่ความพยายามของเทสโก้
โลตัส ใน การเน้นย้ำถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นให้ดีขึ้น
ทั้งในส่วนของการว่าจ้างแรงงานชาวไทย และการกระตุ้นบรรยากาศการลงทุนอีกด้วย
เทสโก้ โลตัส ได้ว่าจ้างพนักงานชาวไทยรวมกว่า 10,000 คน เพื่อทำงานใน 24
สาขา และในส่วนของสำนักงานใหญ่ โดย คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 12,000 คน ในปี
2544 ทั้งนี้นโยบายของเทสโก้ โลตัส ที่พยายามประชาสัมพันธ์ในเรื่องการจ้างงาน
อยู่ ที่การให้สิทธิพนักงาน ที่มีภูมิลำเนาใกล้สาขา ที่เปิดดำเนินการสามารถเลือกย้ายไปประจำการในสาขาดังกล่าวได้
โดยมีจุดเน้นของตรรกในเรื่องดังกล่าว อยู่ ที่การให้พนักงานมีเวลาอยู่กับครอบครัวเพิ่มขึ้น
นี่ย่อมไม่ใช่รูปธรรมครั้งแรก และครั้งสุดท้ายในความพยายามของบริษัทค้าปลีกต่างชาติ ที่มุ่งหมายจะสร้างเสริมมาตรการครองใจผู้บริโภคตลอดจนพนักงานชาวไทย
เพื่อลดทอนแรงเสียดทานทางสังคมจากกระแสต่อต้าน ที่เป็นเหมือนไฟลามทุ่ง หากแต่มาตรการของผู้ค้าปลีกต่างชาติรายใดจะกลมกลืนกับพฤติกรรม
และสามารถเปลี่ยนแปลงทัศนะของสังคมไทยได้ดีกว่ากันเท่านั้น