Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2531
เอทีแอนด์ที ละครฉากใหญ่ที่ยังจัดไม่เสร็จ             
 


   
www resources

โฮมเพจ เอทีแอนด์ที (AT&T)

   
search resources

เอทีแอนด์ที
Telecommunications
อเล็กซานเดอร์ แกรแฮม เบลล์




เอทีแอนด์ทีมาเมืองไทยอย่างฟอร์มโต แต่หลายคนสรุปให้เสร็จว่าไปๆ มาๆ ก็ "ตายน้ำตื้น" ทุกวันนี้ เอทีแอนด์ทีเก็บเนื้อเก็บตัวมากขึ้น เหมือนประหนึ่งจะรอบางสิ่งพร้อมสรรพสมบูรณ์เสียก่อน หรืออาจจะต้องทำตัวเงียบๆ ตลอดไปก็เป็นได้!

เอทีแอนด์ที AMERICAN TELEPHONE AND TELEGRAPH เชื่อมั่นตัวเองเสมอมาว่าเป็นบริษัทที่มีการบริหารดีที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นผู้ทำกำไรต่อเนื่องกันมาได้มากที่สุด

เอทีแอนด์ทีเริ่มก่อตั้งเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว โดยนักประดิษฐ์โทรศัพท์คนแรกของโลก อเล็กซานเดอร์ แกรแฮม เบลล์ นับแนั้นมาเอทีแอนด์ทีได้กลายเป็นผู้นำทางด้านการให้บริการการสื่อสารโทรคมนาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศทั่วโลก

เอทีแอนด์ทีตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ ณ กรุงนิวยอร์ก มีสินทรัพย์ทั้งสิ้นประมาณ 1,000,000 ล้านบาท มียอดจำหน่ายกว่า 825,000 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันเอทีแอนด์ทีมีสาขา กิจการร่วมทุน โรงงานผลิตใน 33 ประเทศ และธุรกิจผ่านตัวแทนจำหน่ายอีกกว่า 70 ประเทศ

เอทีแอนด์ทีเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ในเมืองไทยเอทีแอนด์ทีเริ่มเจาะแนวรบอย่างเด่นชัดในปี 2524 เมื่อเอทีแอนด์ทีให้บริษัท ADVANCE INFORMATION SYSTEMS บริษัทในเครือกลุ่มศรีกรุงวัฒนาที่มี สว่าง เลาหทัย เป็นประธาน เป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายและบริการของเอทีแอนด์ที ทางด้านระบบสำนักงานประเภท VOICE COMMUNICATION และอุปกรณ์สายตอนนอก (OUTSIDE PLANT APPARATUS)

ในสถานการณ์ช่วงนั้นมีแต่ผู้คนมองว่า เอทีแอนด์ทีช่างชาญฉลาดเสียนี่กระไร เพราะการเริ่มมีสัมพันธภาพกับ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลย ที่สำคัญขณะนั้นพลเอกอาทิตย์เป็นผู้บัญชาการทหารบกและเป็นประธานคณะกรรมการบริหารองค์การโทรศัพท์

ปี 2525 เอทีแอนด์ทีได้รับเลือกจากองค์การโทรศัพท์ ในฐานะเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญถึง 2 โครงการ

ถึงอย่างไรเอทีแอนด์ทีก็มีท่าทีเจียมเนื้อเจียมตัวอยู่บ้าง เมื่อเป็นสิงห์ข้ามแดน แต่มิได้ละเลยเสือเจ้าถิ่น ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2528 เจมส์ โอลสัน ประธานคณะกรรมการบริหารเอทีแอนด์ทีขณะนั้น อุตส่าห์เดินทางมาเมืองไทยเพื่อร่วมประชุมกับบุคคลสำคัญในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ที่โรงแรมโอเรียลเต็ล การประชุมครั้งนั้นถือว่าเป็นการประชุม คณะกรรมการที่ปรึกษาในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ซึ่งหลายคนเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในภาคธุรกิจเอกชน เช่น โยชิโซ อิเคด้า ที่ปรึกษาอาวุโสของคณะกรรมการบริษัทมิตซุย ท่านเซอร์ วาย เค เปา อภิมหาเศรษฐีทางการเดินเรือของฮ่องกง และ ดร.อำนวย วีรวรรณ ประธานคณะกรรมการบริหารของธนาคารกรุงเทพ

การประชุมครั้งนั้นเกิดขึ้นภายหลังจากที่เอทีแอนด์ทีประสบชัยชนะในศึกการประมูลสมุดโทรศัพท์ในเดือนมกราคม 2528 แล้ว

สิ่งที่เอทีแอนด์ทีมุ่งมั่นมานานสำหรับการลงทุนอย่างขนานใหญ่ในไทยนั้นก็คือ การลงทุนตั้งโรงงานผลิตและประกอบอุปกรณ์โทรศัพท์เพื่อใช้ในประเทศและการส่งออกมูลค่า 480 ล้านบาท มีการจ้างแรงงาน 595 คน กำลังการผลิต 250,000 เครื่องต่อปี

แต่โครงการนี้จบลงที่บีโอไอ เมื่อบีโอไอบอกปัดการให้สิทธิบัตรโครงการของเอทีแอนด์ที เช่นเดียวกับอีก 4 โครงการของกลุ่มอีริคสัน, เอ็นอีซี, เอเอส.อีเล็กทรอนิกส์ ของนอร์เวย์ และกลุ่มซาเทลโก ซึ่งล้วนคล้ายคลึงกัน เพราะบีโอไอให้เหตุผลว่าได้ให้การส่งเสริมแก่กลุ่มไอทีทีไปแล้ว และความต้องการใช้อุปกรณ์โทรศัพท์ในประเทศและลู่ทางส่งออกยังไม่สูงมากถึงขั้นต้องตั้งโรงงานเพิ่ม

อีกโครงการหนึ่งที่เอทีแอนด์ทีสนใจมากๆ ในห้วงเวลา 2528 คือ การเข้าร่วมประมูลโครงการขยายการติดตั้งคู่สายโทรศัพท์เพิ่มจาก 3 แสนเลขหมายเป็น 9 แสนเลขหมาย องค์การโทรศัพท์ตั้งงบประมาณไว้เกือบ 4 หมื่นล้านบาท

ผู้ใกล้ชิดกล่าวว่า ตอนนั้นเอทีแอนด์ทีค่อนข้างจะกระตือรือร้นมาก เพราะคาดว่าโครงการนี้จะมีความสำคัญในอนาคตของโลกสื่อสารโทรคมนมคมเมืองไทยมาก และมองว่าจะต้องเผชิญหน้ากับเจ้าถิ่นคือ อีริคสันแห่งสวีเดน กับเอ็นอีซีแห่งญี่ปุ่นเป็นแน่แท้

แต่งานนี้เอทีแอนด์ทีฝันค้าง เพราะกระทรวงการคลังไม่เห็นด้วยกับกรณีการกู้เงินจากธนาคารโลก โครงการนี้จึงเก็บพับไปในปลายปี 2528

เหนือกว่านั้น กลางเดือนพฤษภาคม 2528 บริษัทเบลล์ แคนาดา อินเตอร์เนชั่นแนล (บริษัทในเครือของเอทีแอนด์ทีที่แคนาดา) เสนอโครงการเทเลสตาร์ซึ่งเป็นโครงการสร้างโทรศัพท์สายเสริม 130,000 เลขหมาย รูปแบบเป็นการร่วมทุนระหว่างองค์การโทรศัพท์ การสื่อสาร และเอกชน เบลล์เสนอจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการดำเนินงานแก่รัฐถึง 2,300 ล้านบาทต่อสัญญา 5 ปี

แต่งงานนี้ก็พับไปอีก เมื่อลักษณะ "ร่วมทุน" นี้จะต้องนำไปสู่การแก้พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการสื่อสารที่ให้รัฐผูกขาดแต่ผู้เดียว ซึ่งไม่มีใครกระตือรืนร้นจะตามต่อ

ดูเหมือนว่าแนวรบทุกด้านที่เอทีแอนด์ทีพยายามจะลุยฝ่ามาให้ได้นั้น จะเจอทางตันไปเสียหมด โดยเฉพาะแนวรบการสื่อสารโทรคมนาคมของเมืองไทย

แม้แต่ "ศึกสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง" งานที่จัดว่าเล็กน้อยมากสำหรับยักษ์เช่นเอทีแอนด์ทีก็เถอะ งานนี้เล่นเอาเอทีแอนด์ทีหน้าเหลืองหน้าซีดมาจนเดี๋ยวนี้

สงคราม "สมุดโทรศัพท์" นั้นอีรุงตุงนังมาตั้งแต่ 2527 ซึ่งมีการเปิดประมูลหาผู้จัดทำรายใหม่ ความยุ่งเหยิงของเรื่องทั้งปวง "ผู้จัดการ" ได้เขียนถึงอย่างละเอียดมาโดยตลอด (ฉบับล่าสุดคือ "ผู้จัดการ" เดือนมกราคม 2531)

ผู้สังเกตการณ์ให้ความเห็นว่า ชัยชนะของเอทีแอนด์ทีในครั้งนี้มีนัยอยู่ 2 ประการ คือ หนึ่ง - การทุ่มเทอย่างสุดตัวของเอทีแอนด์ที โดยเฉพาะการให้สิทธิประโยชน์แก่องค์การโทรศัพท์สูงมากอย่างเหลือเชื่อ คือ ภายใน 5 ปี (2529-2533) เป็นเงิน 1,673 ล้านบาท สูงกว่ากลุ่มอื่นที่เป็นคู่แข่งถึง 200%

นั่นอาจหมายถึงการตีค่าให้แก่สมุดโทรศัพท์อย่างสูงมากจากเอทีแอนด์ทีเองว่า สมุดโทรศัพท์น่าจะเป็นหัวหอกในการบุกเข้าเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม แต่เอทีแอนด์ทีก็เจออุปสรรคในหลายๆ โครงการดังที่กล่าวข้างต้น

สอง - เอทีแอนด์ทีเข้าใจสถานการณ์และลักษณะพิเศษของสังคมไทยค่อนข้างมาก เอทีแอนด์ทีเข้าผูกติดกับผู้มีอำนาจทางทหารและนักธุรกิจบางคน โดยเฉพาะผู้มีอำนาจในองค์การโทรศัพท์ขณะนั้น ซึ่งกลับกลายเป็นภาพลบแก่เอทีแอนด์ทีต่อสาธารณชนอยู่เรื่อยๆ ในทำนองว่าผู้ใหญ่ในองค์การฯ มีความ "เห็นอกเห็นใจ" เอทีแอนด์ทีมากเป็นพิเศษ แม้กระทั่งปัจจุบัน

แม้เอทีแอนด์ทีจะพ้นขวากหนามครั้งนี้มาอย่างหืดขึ้นคอ แต่ทุกวันนี้เอทีแอนด์ทีก็ยังต้องมาพะวักพะวงกับการสูญค่าปรับ 30 ล้านบาท เนื่องจากจัดพิมพ์และแจกจ่ายสมุดโทรศัพท์ล่าช้า

ความล่าช้านี้เกิดขึ้นเพราะฤทธิ์เดชของจีทีดีซีที่ยังฟาดหางอยู่กว่าจะสงบก็ปลายปี 2530 รวมทั้งปัญหาการโฆษณาและปัญหาด้านเทคนิคการพิมพ์ที่ยังต้องอาศัยเวลาเพื่อสะสมประสบการณ์อีกสักระยะ

โครงการที่เอทีแอนด์ทีดำเนินไปได้ราบรื่นชัดเจนคือ การเทคโอเวอร์บริษัทฮันนี่เวลล์-ซินเนอร์เท็กซ์ (ไทย) เพื่อผลิตแผงวงจรไฟฟ้า (ไอซี) ซึ่งมีโรงงานที่นวนครปทุมธานี การเทคโอเวอร์นี้เป็นผลมาจากการกว้านซื้อหุ้นบริษัทซินเนอร์เท็กซ์ อันเป็นบริษัทในเครือกลุ่มฮันนี่เวลล์โดยเอทีแอนด์ทีในสหรัฐฯ

โครงการนี้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอต่อเนื่องมาจากผู้ลงทุนเก่า เป็นโรงงานผลิตไอซี (INTEGRATED CIRCUIT) กำลังการผลิต 208 ล้านชิ้นเพื่อส่งออกทั้งสิ้นมีคนงานประมาณ 700 คน ใช้เงินลงทุนครั้งแรกประมาณ 700 ล้านบาทหลังการเทคโอเวอร์

วัตถุดิบสั่งซื้อจากตางประเทศทั้งสิ้น ยกเว้นวัตถุดิบประเภทตะกั่ว ตัวบัดกรี บรรจุภัณฑ์ คอนเทนเนอร์ชิพ ซึ่งเป็นส่วนน้อยมากๆ โรงงานในเมืองไทยจึงเป็นเพียงฐานการประกอบชิ้นส่วนเท่านั้น และเป็นการผลิตเพื่อป้อนบริษัทแม่ที่สหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่

โครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เป็นการปัดฝุ่นโครงการที่เอทีแอนด์ทีเคยเสนอมาแล้ว แต่ไม่ผ่านบีโอไอ คือ โครงการผลิตโทรศัพท์มีสาย ใช้เงินทุน 1,140 ล้านบาท นับเป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนสูงที่สุดในไทยของเอทีแอนด์ที โรงงานผลิตเครื่องโทรศัพท์มีสายนี้ กว่าจะเริ่มการผลิตก็ราวปี 2533 มีกำลังการผลิต 5 ล้านเครื่องต่อปี เป็นการผลิตเพื่อส่งออก และใช้แรงงานทั้งสิ้น 1,100 คน

โครงการนี้โครงการของเอทีแอนด์ที ผ่านฉลุยเช่นเดียวกับโครงการของศรีไทยซุเปอร์แวร์ที่ร่วมทุนกับโกลด์สตาร์

นอกเหนือจากโครงการต่างๆ ที่เอทีแอนด์ทีพยายามจะลงมาลุยเองแล้ว เอทีแอนด์ทีก็เป็น SUPPLIER ผลิตภัณฑ์ชุมสายโทรศัพท์ อุปกรณ์สื่อสัญญาณและคอมพิวเตอร์ หลายคนบอกอีกว่าช่วงหลังมานี้ เอทีแอนด์ทีหันไปเป็น SUPPIER หรือ SUBCONTRACTOR ให้กับหลายเจ้า มักจะไม่ออกหน้าออกตามาประมูลด้วยตัวเอง เอทีแอนด์ทีก็ควรจะพลิกมาเป็น SUBCONTRACTOR เสียดีกว่า

ปลายปี 2530 มีการเปิดประมูลโครงการโทรศัพท์ทางไกลมูลค่า 2,000 ล้านบาท โครงการนี้เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังในการขยายเครือข่ายโทรศัพท์ทางไกลไปทั่วประเทศ ซึ่งเมื่อวางเครือข่ายเรียบร้อยแล้ว การเก็บเกี่ยวงานต่อเนื่องภายหลังย่อมตามมาอีกหลายพันล้าน อีกทั้งการใช้สายเคเบิ้ลใยแก้วก็เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่างมากๆ (รายละเอียดของความวุ่นวายในการประมูลครั้งนี้อ่านได้จาก "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ฉบับวันที่ 1-7 สิงหาคม 2531)

เอทีแอนด์ทีเข้าประมูลงานครั้งนี้ด้วยมีบริษัทเข้าประมูลทั้งสิ้น 14 บริษัท แต่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆ กลุ่มที่สำคัญมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มบริษัทญี่ปุ่น ประกอบด้วย โตโยเมนก้า, มิตซุย และมารุเบนนี กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มบริษัทฝรั่ง คือ บริติช เทเลคอม, อีริคสัน, เทเลททร้า และเอทีแอนด์ที

เอทีแอนด์ทีหลุดจากวงโคจรตั้งแต่การคัดเลือกขั้นที่ 1 คือการพิจารณา MANAGEMENT PROPOSAL และ TECHNICAL PROPOSAL ทั้งยังเป็นการหลุดไปด้วยเหตุผลที่ตลกมากๆ คือ ในขณะที่เอทีแอนด์ทีเป็นผู้ขายอะไหล่ให้บริษัทอื่นที่ยื่นซองประกวดราคาครั้งนี้ โดยกำหนดว่าจะสำรองอะไหล่สำหรับโครงการของตัวเองเพียง 10 ปี แม้ทางองค์การโทรศัพท์ฯ จะทักท้วงแล้ว เอทีแอนด์ทีก็ไม่ขอเปลี่ยนแปลง เอทีแอนด์ทีก็เลยปิ๋ว

หลังจากนั้น เอทีแอนด์ทีก็ยังทำตลกร้ายตามมาอีก ด้วยการทำบันทึกลงวันที่ 30 มิถุนายน 2531 ถึงมหิดล จันทรางกูร ประธานคณะกรรมการพิจารณา โดยอ้างว่า เอทีแอนด์ทีเป็น SUBCONTRACTOR ของเทเลททร้า มีความสงสัยเกี่ยวกับรายละเอียดของวัสดุอุปกรณ์และการกำหนดราคาที่ทางองค์การฯ ยังไม่ได้ระบุให้ชัดเจน ทั้งที่เหลือเวลาก่อนเปิดซองประมูลอีกเพียง 10 วัน

เท่านั้นก็ได้เรื่อง ทางองค์การโทรศัพท์ฯ ย้อนตอบกลับมาทันใจ ระบุรายละเอียดให้ชัดเจนขึ้น แถมเป็นข้อกำหนดที่ช่างสอดคล้องกับบริษัทญี่ปุ่นมากๆ และทางองค์การฯ ก็แจ้งไปยังบริษัทที่ผ่านการคัดเลือกขั้นที่ 1 ทั้งหมดด้วย กว่าทางบริษัทฝรั่งจะเปลี่ยนรายละเอียดของข้อเสนอให้สอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การโทรศัพท์ฯ ก็ฉิวเฉียดวันที่เปิดซองประมูล คือวันที่ 11 กรกฎาคม

ในวันนั้น โตโยเมนก้า บริษัทจากญี่ปุ่นชนะการประมูล (ก่อนการพลิกมติโดยรัฐมนตรีคมนาคมในภายหลัง) หลังจากวันนั้น คนที่เซ็งมาๆ คือ เทเลททร้า และไม่ได้เซ้งใครอื่น ก็เซ็งเอทีแอนด์ทีเพื่อนซี้ของตัวเองนั่นแหละ

กว่า 7 ปีที่เอทีแอนด์ทีมาลงหลักปักฐานในเมืองไทย เอทีแอนด์ทีอาจจะพบว่าเมืองไทยนั้นมีข้อยกเว้นมากมายเหลือเกิน และเอทีแอนด์ทีกำลังศึกษาบทเรียนเหล่านั้นอย่างใจเย็นมากขึ้นก็ได้ เอทีแอนด์ทีอาจเป็นพยัคฆ์รายฟอร์มโต แต่ก็มีวันจะมาตายน้ำตื้นในเมืองไทยได้ง่ายๆ เพราะความไม่รู้เหนือรู้ใต้ เข้ามาอย่างอหังการ ย่อมแพ้คนที่มาแต่เดิมที่มีกลยุทธ์พราวแพรวอย่างมิตซุย โตโยแมนก้า เอ็นอีซี บริษัทจากญี่ปุ่น หรืออีริคสันจากสวีเดน เป็นต้น

เอทีแอนด์ทีกำลังไตร่ตรองเวทีที่ตัวเองจะกระโจนขึ้นไปอย่างรอบคอบมากขึ้น

ทางด้านกิจการไอซี เอทีแอนด์ทีคงอิ่มอกอิ่มใจไม่น้อยสำหรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของไทย ดังจะเห็นได้จากการตัดสินใจสร้างโรงงานผลิตเครื่องโทรศัพท์มูลค่าพันล้านในเวลาต่อมา เหตุผลข้อหนึ่งที่เอทีแอนด์ทีให้สำหรับการสร้างโรงงานครั้งนี้คือ "…แรงงานที่ขยันขันแข็งและมีประสิทธิภาพ"

อีกด้านหนึ่งของโครงการผลิตไอซี เราอาจหลงใหลได้ปลื้มกับมูลค่าการลงทุนความใหญ่โตมโหฬารของตัวโรงงาน แต่บางทีเราก็ต้องถามตัวเองบ้างเหมือนกันว่า ที่เอทีแอนด์ทีลงทุนมโหฬารเช่นนี้เราได้อะไรบ้าง?

เอทีแอนด์ทีได้รับการส่งเสริมการลงทุน ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบ ยกเว้นภาษีเครื่องจักร ไม่เสียภาษีขาออก วัตถุดิบจากเมืองนอกเกือบ 100% ทั้งยังแพงจนเกินเหตุ

ที่ไทยได้ก็คือ ค่าจางแรงงาน 700 คน และ "หน่ออ่อน" สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านไอซี ซึ่งยังอีกไกลนักที่ไทยจะพัฒนาจนเป็นตัวของตัวเองได้ หรือต่อให้ผลิตเอง ถึงตอนนั้นอาจต้องถามว่า เราจะเอาไปขายให้ใคร ถ้าบริษัทแม่เขาไม่เอา เพราะไม่มีตลาดในเมืองไทย

สิ่งเดียวที่มีผลชัดเจนที่สุดที่เอทีแอนด์ทีกระทำต่อเมืองไทยคือ การแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิ์ผู้รับอนุมัติจัดทำ พิมพ์และเผยแพร่รายชื่อผู้ใช้โทรศัพท์ ซึ่งทำให้องค์การโทรศัพท์ฯ ได้รับผลประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย เบื้องหลังของ พ.ร.บ.ฉบับนี้คือ การผลักดันอย่างเต็มกำลังจากเอทีแอนด์ที หลังจากที่ไม่เคยมีการคุ้มครองลิขสิทธิ์เช่นนี้เลยตลอด 17 ปีที่จีทีดีซีดำเนินงาน

เป็นคณูปการของเอทีแอนด์ทีที่องค์การโทรศัพท์ฯ จักต้องจดจำ

ในอนาคตของเอทีแอนด์ทีในเมืองไทยเพียงสิ่งเดียวที่ย้ำได้คือ คำวิจารณ์จากบริษัทคู่แข่งที่เฝ้ามองเอทีแอนด์ทีก็คือว่า "เอทีแอนด์ทีอาจจะลงทุนสร้างโรงงาน แต่การตลาดและยุทธวิธีของเขาในด้านอื่นๆ ระยะหลังมานี้ไม่กระตือรือร้นเอาเลย แต่ภายหน้า … ไม่แน่"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us