|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่ที่มีจุดกำเนิดจากสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2551 จนกระทั่งลุกลามไปยุโรปมาจนถึงเอเชีย แต่ดูเหมือนว่าเอเชียจะฟื้นฟูได้เร็วกว่า เพราะมียักษ์ใหญ่อย่างจีน อินเดีย ฉุดให้ภูมิภาคนี้เติบโตไปด้วย จนทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเอเชียจะเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่นับจากนี้ไป
ธนาคารซีไอเอ็มบี สถาบันการเงินจากประเทศมาเลเซีย เป็นธนาคารที่มีเป้าหมายขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย ได้มองเห็นโอกาสจึงจัดสัมมนาเรื่อง “เจาะตลาด มาเลย์-อินโดฯ โอกาสโตของธุรกิจไทย” ได้ร่วมกับผู้บรรยาย 3 ราย คือ อดุลย์ โชตินิสากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักมาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้า อดีตทูตพาณิชย์ประจำประเทศมาเลเซีย กรมการค้าต่างประเทศ Mr.Yeap Swee Chuan ประธานหอการค้ามาเลเซีย-ไทย และผดุงเดช อินทรลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานการเงิน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) มาร่วมแสดงความเห็นและประสบการณ์ในทั้ง 2 ประเทศ
จากข้อมูลสำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) บอกว่ามาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของไทย และไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 5 ของมาเลเซีย
ในปี 2552 การค้าระหว่างไทยกับมาเลเซียมีมูลค่าเท่ากับ 16,239 ล้านเหรียญ สหรัฐ ลดลงจากปี 2551 ร้อยละ 17.3 โดยไทยส่งออกไปมาเลเซียมีมูลค่าเท่ากับ 7,664 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากมาเลเซียมูลค่า 8,576 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ไทยขาดดุลการค้า 912 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกปี 2553 การค้าระหว่างไทยกับมาเลเซียมีมูลค่าเท่ากับ 14,117.6 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น มากเมื่อเทียบกับช่วงปีก่อน มีมูลค่า 9,796.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลจากการเปิดการค้าเสรีในกรอบอาเซียน (AFTA) ที่ประเทศสมาชิกได้ปรับลดภาษีนำเข้าส่วนใหญ่เป็นร้อยละ 0 ในปี 2553
สินค้าส่งออกหลักของไทยไปมาเล เซีย ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ มอเตอร์และน้ำมันดิบ เป็นต้น
อดุลย์จากกรมการค้าเล่าประสบ การณ์การทำงานในมาเลเซียว่า ประเทศมาเลเซียมีอัตราการเจริญเติบโตก้าวหน้าปี 2552 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย 7,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ มีรายได้สูงกว่าประเทศไทย แต่มีประชากรน้อยกว่าเพียง 28 ล้านคน
ประชาชนของมาเลเซียมีเชื้อชาติหลักๆ อยู่ 3 เชื้อชาติคือมาเลเซีย ร้อยละ 60 จีนร้อยละ 20 ส่วนที่เหลือเป็นอินเดีย และอื่นๆ แต่ธุรกิจหลักของมาเลเซียจะเป็นของเชื้อชาติจีนเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่คนมาเลเซียทำธุรกิจไม่ค่อยเก่ง จึงทำให้ในยุคของมหาเธร์ โมฮัม หมัด อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อเปิดโอกาสให้คนมาเลเซียทำธุรกิจ เป็นเป้าหมายของรัฐบาลต้องการพัฒนาผู้ประกอบการ
จุดเด่นของมาเลเซียคือประชากรพูดภาษาอังกฤษได้ดี มีกฎระเบียบชัดเจน รวมถึงวางระบบฐานข้อมูล (data base) สมบูรณ์ ทำให้ข้อมูลของรัฐและเอกชนเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารระบบออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว
Mr.Yeap ประธานหอการค้ามาเลเซีย-ไทย แนะนำว่า สำหรับผู้ประกอบ การไทยจะไปลงทุนในมาเลเซียต้องมีเป้าหมายทำธุรกิจระยะยาว มองหาพันธมิตรที่ดี และการเข้าไปลงทุนในครั้งแรกต้องใช้จำนวนเงินไม่มากนัก สิ่งที่สำคัญการทำธุรกิจในมาเลเซียต้องคำนึงถึงแรงงาน และทักษะ เพราะเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรน้อย
อดุลย์บอกว่าธุรกิจของไทยที่ไปลงทุนในมาเลเซีย มีทั้งประสบความสำเร็จ และล้มเหลว เช่น บริษัท สามารถ ไอโมบาย จำกัด (มหาชน) ผู้จำหน่ายโทรศัพท์มือถือยี่ห้อไอ-โมบาย ปัจจุบันมีรายได้จากการขายโทรศัพท์ 4-5 พันล้านบาทในมาเลเซีย
บริษัท สามารถฯ เริ่มต้นทำธุรกิจในมาเลเซียโดยส่งคนเข้าไป 1 คน นำเงิน ไปลงทุน 20 ล้านบาท เปิดเคาน์เตอร์ขายโทรศัพท์มือถือนำเครื่องมาจากจีน
กลยุทธ์ของบริษัท สามารถนอกจากจะขายเครื่องใหม่แล้ว ยังรับซื้อเครื่องเก่า และนำเครื่องเก่าไปจำหน่ายในประเทศบังกลาเทศ และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย อย่างไรก็ดีความสำเร็จของบริษัทที่เกิดขึ้นนี้ อาจเป็นเพราะส่วนหนึ่งบริษัทมีพันธมิตร คือ บริษัท เทเลคอม มาเลเซีย เบอร์ฮัด เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของกลุ่มสามารถคอร์ป ในประเทศไทย จึงทำให้ขยายธุรกิจได้อย่าง รวดเร็ว
สำหรับธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จ คือเสื้อผ้าสำเร็จรูปยี่ห้อ Flynow เข้าไปขยายสาขาเป็นแห่งแรกในมาเลเซีย มีพันธมิตรท้องถิ่นร่วมทุน และได้พื้นที่จำหน่ายสินค้าในตึกแฝดเปโตรนาส เป็นทำเลที่ดีที่สุด แต่หลังจากเปิดได้เพียง 1 ปี กิจการก็ต้องปิดลงไป
สาเหตุเนื่องจากพันธมิตรท้องถิ่นไม่มีความเชี่ยวชาญเสื้อผ้าผู้หญิงบูติกและแบรนด์ไทยยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก และในส่วนของนักธุรกิจไทยยังไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการตลาดในการติดต่อสื่อสาร กับลูกค้า เช่น ไม่มีโฆษณาหรือป้ายโฆษณา
ทว่ายังมีธุรกิจของไทยที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน เช่น ร้านแบล็คแคนยอน คอฟฟี่มี 5-6 สาขา หรือตู้เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยี่ห้อ MAXIMA แต่ธุรกิจเหล่านี้ต้องมีการปรับตัว เพราะปัจจุบันเริ่มมีสินค้าที่คล้าย คลึงกันเข้ามาแข่งขันทำตลาด
อดุลย์มองว่าโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย คือสินค้าประเภทธุรกิจส่งออกอาหารและผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด แม้ว่ามาเลเซียจะมีผลไม้คล้ายคลึงกับไทยก็ตาม แต่รสชาติผลไม้ไทยดีกว่า
ในด้านความปลอดภัยโดยทั่วไปในมาเลเซียยังไม่ดีมากนัก เนื่องด้วยประชากร จำนวนน้อยทำให้แรงงานที่เข้ามาทำงานมีหลากหลาย อาทิ อินโดนีเซีย บังกลาเทศ เนปาล เป็นต้น
ส่วนโอกาสลงทุนในประเทศอินโด นีเซียด้วยจำนวนประชากร 231 ล้านคน จึงทำให้อินโดนีเซียน่าสนใจ เนื่องด้วยมีฐาน ประชากรจำนวนมากจึงทำให้เกิดการบริโภคภายในได้อย่างมหาศาล
ที่ผ่านมาจึงทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยเข้าไปลงทุน เช่น บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ฟาร์มเลี้ยงไก่) ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไก่ทุกชนิด บริษัทเหมืองบ้านปู (เหมืองถ่านหิน) บริษัทเครือ ปูนซิเมนต์ไทย ทำธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตร เคมี เซรามิก วัสดุก่อสร้าง
การลงทุนอย่างต่อเนื่องของอินโด นีเซีย ทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวร้อยละ 4.5 สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากประเทศจีน และอินเดีย ในปี 2552 ซึ่งในขณะนั้นประเทศต่างๆ ทั่วโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
เหตุผลหลักที่ทำให้อินโดนีเซียเติบโต อย่างน่าสนใจ เพราะมาจากการบริโภคภาย ในประเทศมีอัตราการขยายตัวสูงโดยเฉพาะ ในรอบระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมา
ประกอบกับใช้นโยบายการเงินการ คลังสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคทั้งด้านคมนาคม การขนส่ง และการสื่อสาร
ด้วยเหตุผลองค์รวมทั้งหมดนี้เองจึง ทำให้บริษัท ปูนซิเมนต์ไทยตัดสินใจจะสร้างโรงงานปูนซีเมนต์ในอินโดนีเซียเร็วๆ นี้ ในขณะที่ไม่มีแผนขยายโรงงานในประเทศไทย เพราะตลาดไทยมีการแข่งขันสูง และปริมาณปูนซีเมนต์ในไทยในปัจจุบันมีจำนวนมากกว่าความต้องการครึ่งหนึ่ง
ผดุงเดช อินทรลักษณ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานการเงิน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เล่าว่า บริษัทเข้าไปทำธุรกิจในอินโดนีเซียเมื่อปี 2539 ในช่วงแรก ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะทีมงานที่เข้า ไปทำงานจะมีความรู้สึกด้านลบกับประเทศ อินโดนีเซีย
บริษัทจึงแก้ปัญหาด้วยการฝึกพนักงานทุกคนก่อนให้เข้าใจภาษา และวัฒนธรรม ปรับตัวเพื่อสร้างความรู้สึกด้านบวกกับประเทศอินโดนีเซีย และฝึกให้เรียนภาษาอังกฤษ เพราะนักศึกษาของอินโดนีเซียที่จบมหาวิทยาลัยมีความรู้ภาษาอังกฤษดีกว่านักเรียนไทยเมื่อเทียบในระดับชั้นเดียวกัน
รูปแบบธุรกิจของนักธุรกิจในอินโด นีเซีย ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจครอบครัว เหมือน กับประเทศไทย แต่นักธุรกิจที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ประชาชนอินโดนีเซียเชื้อสายจีน มีประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร จึงทำให้การบริหารงานบางครั้งขาดความโปร่งใส
นอกจากนี้การเข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย จะต้องพิจารณากฎระเบียบที่ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก เช่น กฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรค ต่อการลงทุน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ที่ยังไม่มีความเข้มงวดและรักษาผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน
และแม้ว่าการเมืองจะมีเสถียรภาพ แต่การเมืองในยุคของซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโน หรือ (เอสบีวาย) ประธานาธิบดีของอินโด นีเซียในปัจจุบันได้กระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นมากขึ้น การทำงานของนักธุรกิจจึงไม่เป็นไปในรูปแบบของ one stop shop
แต่อินโดนีเซียพยายามรีบเร่งปฏิรูป กฎหมายและกฎระเบียบ เพื่อกระตุ้นให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุน โดยพยายาม ชี้ให้เห็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น น้ำมัน เหมืองแร่ ถ่านหิน นิกเกิล ป่าไม้ ประมง
สำหรับสินค้าไทยที่ส่งออกไปอินโด นีเซีย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
ในช่วง 8 เดือนแรก ปี 2553 การค้าระหว่างไทยกับอินโดนีเซียมีมูลค่าเท่ากับ 8,678.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจาก ปีก่อน ที่มีมูลค่า 5,158.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะการขยายตัวในระดับสูงของเศรษฐกิจ ไทยในปี 2553 ทำให้มีความต้องการสินค้า ประเภทพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย
แม้มาเลเซียและอินโดนีเซียจะมีโอกาสด้านการลงทุน แต่การเข้าใจลูกค้า พันธมิตร และกฎระเบียบต่างๆ ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่สามารถมองข้ามได้
|
|
|
|
|