|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ความเป็นไปของตลาดจีน ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่และกำลังเป็นที่สนใจของผู้คนทั่วโลก ที่พร้อมจะไขว่คว้าโอกาสแห่งความสำเร็จทางธุรกิจในทศวรรษนี้
ล่าสุด แม็กนัส มอนแทน ผู้อำนวยการและประธาน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการฝ่ายพาณิชย์ธนกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศจีน นำทีมเข้ามานำเสนอข้อมูลเศรษฐกิจให้กับบริษัทไทยระดับแถวหน้าถึงเมืองไทย ครอบคลุมทั้งเรื่องการดำเนินงานของเอชเอสบีซีในจีน สถานการณ์ล่าสุดของเศรษฐกิจจีน งานวิจัยระดับโลกที่โฟกัสในจีนประเทศจีน ธุรกิจธนาคารในจีน และเทรนด์ที่เอชเอสบีซีมองเห็นในตลาดจีน รวมทั้งเรื่องกฎหมายและความท้าทายทางธุรกิจที่น่าลงทุน
“สิ่งที่ผู้ลงทุนในจีนต้องรู้ สำหรับการลงทุนในตลาดจีน คือ ต้องเข้าใจตลาดท้องถิ่นของตัวเองในจีน ระบบโลจิสติกส์ว่าจะขนส่งอย่างไร กฎหมายการเงินและกฎข้อห้ามต่างๆ เพราะมีความเข้าใจยากและเปลี่ยนแปลงบ่อย อีกทั้งแรงงานที่มีความรู้ความสามารถในจีนก็หายาก”
แม้ธนาคารเอชเอสบีซีจะวางตัวว่าเป็นธนาคารต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในจีนและพยายามให้บริการลูกค้าด้วยข้อมูลทางเศรษฐกิจของประเทศจีนที่แม่นยำและลึก แต่แม็กนัสเองก็ยอมรับว่า แม้กระทั่งตอนนี้สถานะของธนาคารเองจะว่าไปแล้วก็ต้องเจอกับความท้าทายที่ไม่ต่างจากผู้ลงทุนจากทั่วโลกที่มองเห็นโอกาสแต่ก็ต้องพยายามคว้าความสำเร็จในตลาดจีนมาให้ได้เช่นกัน
ทีมงานของเอชเอสบีซีให้ความสำคัญกับตลาดจีนอย่างมาก เพราะมองว่าเงินหยวน (RMB) ของจีนจะกลายเป็น 1 ใน 3 ของเงินสกุลหลักของโลกเร็วกว่าที่ทุกคนคาดการณ์ แม้ว่า ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ วัย 49 ปี จะออกมายืนยันก่อนหน้านั้นไม่นานว่าอย่างไรก็ตามเขาเชื่อว่า เงินเหรียญสหรัฐจะเป็นเงินสกุลหลักของโลกที่ใช้กันต่อไปตลอดช่วงชีวิตของเขาก็ตาม
“ตอนนี้จีนเริ่มใช้เงินหยวนในการทำการค้าระหว่างประเทศ เอชเอสบีซีก็พยายามจูงใจให้ลูกค้าของเราที่เทรดกับผู้นำเข้าและจำหน่ายสินค้าในจีนหันมาใช้หยวนซื้อขายเช่นกัน”
การชักจูงให้ใช้เงินหยวน เพราะนอกจากจะเป็นเงินสกุลที่มีการอ่อนค่ามากกว่าความเป็นจริงแล้ว จะทำให้ผู้นำเข้าในจีนไม่ต้องยุ่งยากในการแปลงค่าเงินให้ยุ่งยาก เพราะอย่างไรเสียสินค้าที่นำเข้าก็ต้องจำหน่ายออกสู่ตลาดในรูปของเงินหยวนอยู่แล้ว
กรณีนี้ผู้บริหารเอชเอสบีซีประมาณว่าจะช่วยผู้ลงทุนลดค่าใช้จ่ายเรื่องต้นทุนการเงินจาก Transaction cost ลงได้ประมาณ 5-7% แต่ก็น่าแปลกว่าลูกค้าที่สนใจเปลี่ยนมาใช้บริการเทรดกันด้วยเงินหยวนยังถือว่ามีปริมาณน้อย
“ตอนนี้จีนกำลังอยู่ระหว่างการวางแผนเศรษฐกิจระยะ 5 ปี และเป็นประเทศเป้าหมายที่นักลงทุนจากต่างชาติมีแผนเข้ามาลงทุนมากกว่า 40% จากการลงทุนนอกประเทศตัวเองทั้งหมดภายใน 2 ปีต่อจากนี้ ตามมาติดๆ ด้วยเป้าหมายลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 32% และประเทศอื่นๆ ในเอเชียนอกเหนือจากอินเดียอีก 24% ขณะที่ในไทยเองจากตัวเลขของบีโอไอก็มีนักลงทุน จีนเข้ามาลงทุนเป็นอันดับหนึ่ง แต่สิ่งที่เป็นคีย์ที่จีนจะให้ความสำคัญอย่างมากในการวางแผนเศรษฐกิจรอบนี้คือ การบริโภคภายในประเทศของจีนเอง”
สิ่งที่แม็กนัสย้ำก็คือ จีนเป็นตลาดที่มีโอกาสสูงในการทำธุรกิจ แต่ก็ไม่มีใครจากชาติไหนที่ถือว่ามีข้อได้เปรียบจริง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าแต่ละรายจะมีความเข้าใจตลาดได้ดีเพียงใด และสำหรับอุตสาหกรรมที่เขาเชื่อว่า ไทยน่าจะมีโอกาสมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็คือ กลุ่มผักผลไม้แช่แข็งและอบแห้ง ซึ่งไทย มีวัตถุดิบและถ้าเปิดตลาดจีนได้ก็จะได้กลุ่มผู้บริโภคจำนวนมหาศาล แต่ทั้งนี้ประเด็นนี้ก็เป็นสิ่งที่นักลงทุนจากทุกประเทศมองไม่ต่างกันเลย
สำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีแนวโน้มการเติบโตสำหรับผู้ส่งออกไปยังตลาดจีน ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี มันสำปะหลัง ชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม้และอุปกรณ์ไม้ และกลุ่มผักและผลไม้สด อบแห้ง และแช่แข็ง
|
|
|
|
|