Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2553
ราคาที่ดินรอบรถไฟฟ้าพุ่ง 178%             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด

   
search resources

เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส
Real Estate




รถไฟฟ้าทำราคาที่ดินโดยรอบสถานีพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2541-2553 พุ่งขึ้นเกือบเท่าตัว โดยจากการสำรวจราคาที่ดินรอบสถานีรถไฟฟ้า 112 สถานีตามแนวรถไฟฟ้า 10 สายในเขตกรุงเทพมหานครพบว่าราคาพุ่งขึ้น 178% หรือเท่ากับปีละ 8.9% สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากโดยเก็บที่ดินไว้เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไรเลย บางแห่งราคาพุ่งขึ้นมากกว่าสองเท่าตัว เช่น บริเวณสถานีรถไฟฟ้านานาและสถานีรถไฟฟ้าเอกมัย ราคาพุ่งขึ้น 233% หรือเฉลี่ยปีละ 10.5%

โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหารศูนย์ข้อมูลวิจัย และประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอส เตท แอฟแฟร์ส ระบุว่า พิจารณาเฉพาะในช่วงปี 2548-2553 หรือ 5 ปีล่าสุด ยิ่งพบว่าอัตราการเพิ่มของราคาที่ดินรอบรถไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นถึง 104% หรือหนึ่งเท่าตัว เท่ากับปีหนึ่งราคาเพิ่มขึ้น 15.3% สูงยิ่งกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เสียอีก ที่เด่นชัดกว่านั้นก็คือในรอบปี 2552-2553 ราคาที่ดินรอบสถานีรถไฟฟ้าพุ่งขึ้นถึง 17.9% ภายในปีเดียว ขณะที่อัตราการเพิ่มเฉลี่ยทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพิ่มขึ้นเพียง 4.4% มีบางแห่งราคาที่ดินกลับตกต่ำลงด้วยเช่นกัน แม้ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำสุดขีดในช่วงปี 2540-2542 ราคาที่ดินในบริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้าก็ยังไม่ตกแต่กลับหยุดนิ่งไประยะหนึ่ง ในขณะที่ราคาโดยเฉลี่ยทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วง ดังกล่าวตกต่ำลงปีละประมาณ 10%

ผลการสำรวจของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหา ริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส พบว่า ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส มีราคา เฉลี่ยตารางวาละ 300,000-1,200,000 บาท สูงสุด สถานีสยาม สแควร์ เพลินจิต ชิดลม ตารางวาละ 1,200,000 บาท เพิ่ม 20% โดยราคาที่ดินขนาดนี้ต้องใช้ธนบัตรใบละ 1,000 บาท 3 ใบและใบละ 500 อีก 1 ใบ พร้อมเหรียญอีกจำนวนหนึ่งวางบนพื้นที่ 1 ตารางวา จึงจะมีค่าเป็นเงิน 1,200,00 บาท ในช่วงปี 2548-2552 แนวรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งสายเพิ่ม 104% หรือเฉลี่ยปีละ 20.8% ส่วนช่วงล่าสุดปี 2552-2553 อัตราการเพิ่มคือ 10.0-28.6% เฉลี่ย 17.9% โดยทำเลย่านสีลม สาทร มีราคาตารางวาละ 900,000-1,000,000 บาท (เพิ่ม 12.5-17.6%) ส่วนย่านสุขุมวิท ราคาเฉลี่ยคือ 600,000-900,000 บาท (เพิ่ม 20-25%) ขณะที่ราคาที่ดินบริเวณสถานีรถ ไฟฟ้าส่วนต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่ง ตากสิน-บางหว้า หมอชิต-สะพานใหม่ในรอบปี 2552-2553 ล่าสุดพบว่า บริเวณอ่อนนุช-แบริ่ง เพิ่ม 15.4-20.0% (เฉลี่ย 17.6%) สถานีที่มีอัตราการเพิ่มสูงสุดคือสถานี บางจาก มีราคาที่ดินตารางวาละ 260,000 บาท เพิ่มต่ำสุดคือสถานีแบริ่ง มีราคาตารางวาละ 150,000 บาท

สำหร้บเส้นตากสิน-บางหว้า เพิ่มขึ้น 10.5-14.3% (เฉลี่ย 12.6%) โดยอัตราการเพิ่มสูงสุดคือสถานีกรุงธนบุรี มีราคาตาราง วาละ 320,000 บาท ส่วนที่เพิ่มต่ำสุด บางหว้า มีราคาตารางวาละ 105,000 บาท เส้นหมอชิต-สะพานใหม่ เพิ่ม 5.0-15.4% (เฉลี่ย 8.5%) สถานีที่มีอัตราเพิ่มสูงสุดคือสถานีลาดพร้าว ราคาเฉลี่ย 230,000 บาทต่อตารางวา ส่วนที่เพิ่มในอัตราต่ำสุดสถานีบางบัว มีราคาตารางวาละ 105,000 บาท

สำหรับราคาที่ดินรอบสถานีรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ในอัตราที่ต่ำกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอส โดยราคาที่ดิน เฉลี่ยอยู่ระหว่างตารางวาละ 160,000-850,000 บาท สูงสุดอยู่ที่บริเวณสถานีสีลมเป็นเงินตารางวาละ 850,000 บาท เพิ่มขึ้น 13.3% ภายในเวลาปีเดียว แต่ในรอบปี 2548-2552 ทั้งสายเพิ่มขึ้นถึง 69% เทียบค่าเฉลี่ยทั้งกรุงเทพฯ 23% และปี 2553 เพิ่มช่วง 6.7-25.0% เฉลี่ย 15.2% เทียบค่าเฉลี่ยทั้งกรุงเทพฯ 4.4%

นอกจากนี้ในการศึกษาราคาที่ดินนี้ยังวิเคราะห์ในสายรถ ไฟฟ้าสายอื่นอีก 8 สาย รวม 112 สถานี ทั้งที่เตรียมการก่อสร้าง และยังอยู่ระหว่างในแผน ซึ่งพบว่าราคากระเตื้องขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยทั่วกรุงเทพมหานคร และเป็นราคาที่วิเคราะห์ตามศักยภาพจริง ราคาเรียกขายของผู้ขายหรือนายหน้าอาจจะสูงกว่าราคาประเมินตามราคาตลาดนี้

แต่ราคาที่ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ประเมินไว้นี้เป็นราคาที่น่าจะสามารถซื้อขายได้จริงในตลาดเปิด แต่ไม่ใช่ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมธนารักษ์ ซึ่งมักต่ำกว่าราคาตลาด แต่ไม่ระบุได้ชัดเจนว่ามีสัดส่วนต่ำกว่าราคาซื้อขายจริงกี่เปอร์เซ็นต์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us