Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2531
สงครามกระดาษชำระไม่ใช่ศึกสายเลือด             
 


   
search resources

อนามัยภัณฑ์, บจก.
สก๊อตต์เปเปอร์
เกษม ณรงค์เดช
ประสิทธิ์ ณรงค์เดช
Personal cares




สรรพสิ่งในใต้หล้าบางครั้งไม่เป็นไปตามที่คาด ยิ่งเรื่องราวบางเรื่องแล้วเบื้องหลังนั้นซับซ้อนกว่าที่คิด

เหตุการณ์ขัดแย้งระหว่างไทย-สก๊อตต์ เปเปอร์ ที่ประสิทธิ์เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ดังที่ "ผู้จัดการ" นำเสนอโดยพิสดารฉบับเดียวเดือนกุมภาพันธ์นั้น ดูตามรูปการณ์แล้วหลายคนคงสรุปว่ามันคือศึกสายเลือดระหว่างสองพี่น้องณรงค์เดชแน่ๆ เพราะเมื่อประสิทธิ์มีปัญหาแทนที่เกษมจะอยู่เคียงข้างพี่ชาย กลับถือหางฝ่ายตรงข้าม

ยิ่งการที่ประสิทธิ์ตัดสินใจฟ้องบริษัทไทย-สก๊อตต์ เปเปอร์ เรียกค่าเสียหาย 78 ล้านบาท อันเนื่องมาจากใช้ยุทธวิธีทุกรูปแบบ ทั้งโฆษณา แผ่นปลิว เพื่อพยายามให้ผู้ซื้อเชื่อว่ากระดาษชำระยี่ห้อสก๊อตต์นั้นสูญหายไปจากท้องตลาดแล้วอย่างสิ้นเชิงโดยบริษัทไทย-สก๊อตต์ เปเปอร์ ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การผลิตเอง ทั้งที่ความจริงอนามัยภัณฑ์เป็นเจ้าของที่แท้จริง

เกษม ณรงค์เดช ในฐานะประธานบริษัทไทย-สก๊อตต์ เปเปอร์ จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงจากการถูกฟ้องร้องในครั้งนี้ "จริงๆ แล้ว การฟ้องครั้งนี้เป็นการฟ้องไทย-สก๊อตต์ เปเปอร์ ไม่ใช่เรื่องที่นายประสิทธิ์ฟ้องน้องชาย ผมพยายามจะหลีกเลี่ยงด้วย แต่หนังสือพิมพ์ก็พยายามจะโยงว่าเป็นศึกสายเลือดให้ได้" ประสิทธิ์ ณรงค์เดชบอก "ผู้จัดการ" เย็นวันหนึ่งที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์

เหตุการณ์นั้นเกิดวันที่ 29 เมษายน 2531

ทางฝ่ายไทย-สก๊อตต์ เปเปอร์ ปิดปากเงียบไม่ว่า "ผู้จัดการ" จะพยายามสอบถามอยู่หลายครั้ง

แหล่งข่าวหลายคนรายงานตรงกันว่า ช่วงเวลานั้นสถานการณ์ไทย-สก๊อตต์ ไม่เป็นปกตินัก คนงานระดับฝีมือลาออกเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งเครื่องจักรต้องหยุดเดินหนึ่งเครื่อง หรือพนักงานแผนกอื่นๆ หลายคนที่อยู่มานานสมัยประสิทธิ์ หลายคนอึดอัดใจและเตรียมพร้อมที่จะอยู่กับฝ่ายประสิทธิ์ ทันทีที่โรงงานเสร็จ

ทุกอย่างตรงตามที่ "ผู้จัดการ" พยากรณ์ไว้

คนในวงการคาดกันว่าฝ่ายไทย-สก๊อตต์ จะต้องตอบโต้อย่างรุนแรงแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน แต่นักวิเคราะห์บางคนบอกว่า การฟ้องร้องครั้งนี้น่าจะจบลงด้วยการประนีประนอมมากกว่าอย่างอื่น

เรื่องนี้สงบไปได้พักใหญ่จนหลายฝ่ายคาดว่าคงจะตกลงกันเรียบร้อยแล้ว แต่แล้วจู่ๆ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา ไทย-สก๊อตต์ เปเปอร์ ก็เปิดฉากฟ้องกลับโดยกล่าวหาว่า อนามัยภัณฑ์และประสิทธิ์ ณรงค์เดช ละเมิดเครื่องหมายการค้า เรียกค่าเสียหายถึง 83 ล้านบาท

ปรากฏการณ์ครั้งนี้คนนอกวงการมักจะคิดว่า "ศึกสายเลือดภาค 2" อุบัติแล้วอะไรเทือกนั้น แต่จริงๆ แล้วการฟ้องกลับครั้งนี้ ไม่ใช่การตัดสินใจที่มาจากเกษม ณรงค์เดชโดยตรง" เกษมเขามีหุ้นแค่ 10% เท่านั้น จะไปมีอำนาจการตัดสินใจอะไร" ประสิทธิ์บอก "ผู้จัดการ"

เมื่อฟังประสิทธิ์แบบนี้ บางคนอาจจะบอกว่าประสิทธิ์อาจจะไม่ยอมเผยความจริงและอาจจะยังมีเยื่อใยอยู่ระหว่างพี่กับน้อง แต่จริงๆ แล้วการตัดสินใจฟ้องกลับครั้งนี้เป็นคำสั่งที่มาจากสก๊อตต์ เปเปอร์ โดยตรง

ประจักษ์พยานสำคัญเห็นได้จากการทอดระยะเวลาการฟ้องร้องระหว่างคดีแรกและคดีสองนานถึง 4 เดือน "ถ้าเป็นศึกสายเลือดแล้ว เกษมต้องฟ้องกลับในทันที อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ควรเกินหนึ่งเดือน" คนที่ติดตามเรื่องนี้วิเคราะห์

ก่อนการฟ้องกลับของไทย-สก๊อตต์ เปเปอร์นั้น ได้มีความพยายามประนีประนอมกันระหว่างไทย-สก๊อตต์ เปเปอร์ และประสิทธิ์ ณรงค์เดช แต่เรื่องยังไม่เป็นที่ตกลงกัน ฝ่ายแรกก็ฟ้องกลับในทันที

หากลองหวนกลับไปดูไทย-สก๊อตต์ เปเปอร์ ในช่วงก่อนการฟ้องกลับไม่นานนัก เกษม ณรงค์เดช และคุณพรทิพย์ ผู้ภริยา ได้มีโอกาสต้อนรับนายจอห์น บัทเลอร์ รองประธานฝ่ายปฏิบัติการภาคพื้นแปซิฟิกของสก๊อตต์ เปเปอร์

นายบัทเลอร์คนนี้ หากผู้อ่านยังจำได้ เขาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญมากกับการกำหนดกลยุทธ์ใหม่ของสก๊อตต์ เปเปอร์ในภูมิภาคนี้

หลังจากนายคนนี้เข้ามาไม่นาน ก็มีการฟ้องร้องในทันทีทันควัน

สงครามที่แท้จริงเพิ่งจะเริ่มกันตรงนี้ มันเป็นการต่อสู้ระหว่างบริษัทท้องถิ่นกับบริษัทข้ามชาติ "เขาประกาศว่าจะเอาเราให้ตาย" ประสิทธิ์เผยเบื้องหลัง

ภารกิจของนายประสิทธิ์ และอนามัยภัณฑ์ จึงหนักหน่วงกว่าปกติหลายเท่า

"มันเป็นกรณีแรกที่บริษัทต่างชาติต้องการจะเข่นบริษัทท้องถิ่นชนิดที่เรียกว่าใครดีใครอยู่" ประสิทธิ์ ณรงค์เดช กล่าวเสียงเครียด

จากนี้ไปการต่อสู้ระหว่างประสิทธิ์และไทย-สก๊อตต์ เปเปอร์จะทวีดีกรีกว่าเดิมหลายขุม

ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างประสิทธิ์ ณรงค์เดช และเกษม ณรงค์เดช หรือศึกสายเลือดอย่างที่เข้าใจแต่ประการใด "เกษมเขาไม่สนใจด้วยว่าไทยสก๊อตต์เขาจะเอาอย่างไร เดี๋ยวนี้เขาเป็นประธานสยามยามาฮา ยอดขายมากกว่าไทยสก๊อตต์ไม่รู้สักกี่เท่า ที่เขาลงมาดูแลไทย-สก๊อตต์มาหน่อย ก็เพราะตอนนั้นทางพรประภาเขามีปัญหาหรอก แต่ตอนนี้เขาไปฉิวแล้ว" วงในสรุป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us