Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2531
รอล์ฟ แบ๊คสตรอม ความเป็นหนึ่งที่จะยังคงเป็นหนึ่งที่อีริคสัน             
 


   
www resources

Ericsson Homepage

   
search resources

อีริคสัน (Ericsson)
Mobile Phone
รอล์ฟ แบ๊คสตรอม




"เป็นแชมป์ยาก แต่รักษาแชมป์ยิ่งยาก (กว่า)" ใครบางคนเคยพูดไว้นานมาแล้ว และนั่นดูเหมือนจะเป็น "สัจธรรม" ที่ทุกคนยอมรับ

เช่นเดียวกับที่อีริคสัน เทเลโฟน คอร์ปอเรชั่น ฟาร์อิสท์ที่เราคุ้นเคยและเรียกกันสั้นๆ ว่า อีริคสันฯ ผู้บุกเบิกและเป็น "ผู้นำ" บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นคนแรกในเมืองไทย และหวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป

"เราเป็นผู้นำด้านสื่อสารโทรคมนาคมของโลกที่มีอายุกว่าหนึ่งร้อยปี ถึงแม้ในเมืองไทยเราจะตั้งขึ้นมาได้เพียงยี่สิบกว่าปีก็ตาม แต่เราคิดว่าเราก็จะยังคงเป็นหนึ่งในตลาดนี้" รอล์ฟ แบ๊คสตรอม (POLF BACKSTROM) ผู้จัดการทั่วไปคนใหม่ของอีริคสันฯ ที่เพิ่งเข้ามารับงานต่อจากสุปรีดิ์ ศรีผดุง ที่เลื่อนขึ้นไปเป็นประธานกรรมการเมื่อเร็วๆ นี้บอกกับ "ผู้จัดการ" ในงานแนะนำ "ฮอตไลน์ คอมบิ" โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ล่าสุดที่ห้องแกรนด์บอลรูมโรงแรมแชงกรี-ลา

ก่อนเข้ามารับหน้าที่ที่เมืองไทย รอล์ฟเป็นผู้จัดการทั่วไปอยู่ที่สำนักงานใหญ่อีริคสันในสวีเดน และสี่ปีก่อนหน้านั้น เขาเป็น MARKETING COOPDINATION ดูแล U.S.MARKET ที่โคลัมเบีย

กว่าสิบห้าปีที่สุปรีดิ์คลุกคลีกับพนักงานบริษัท ร่วมทุกข์ร่วมสุขขยับขยายสร้างผลงาน และความสำเร็จให้แก่อีริคสันฯ ในฐานะ "คนไทย" คนแรกที่เป็นผู้บริหารระดับสูงนั้น ได้สร้างความผูกพันกับพนักงานทุกระดับอย่างลึกซึ้ง

ซึ่งใครๆ อาจมองว่า รอล์ฟ แบ๊คสตรอมจะมีปัญหาหรือไม่ที่จะทำงานร่วมกับทีมงานคนไทย

"ผมคิดว่าไม่มีปัญหาอะไร ผมเคยเข้ามาทำงานเมืองแล้วครั้งหนึ่งช่วงปี 2515-2516 และทำงานกับอีริคสันฯ ทั่วโลก มาแล้วกว่ายี่สิบปี" รอล์ฟชี้แจง

"และอีกอย่างภรรยาของผมก็เป็นคนไทยด้วย" รอล์ฟเผยความลับของเขากับ "ผู้จัดการ" พร้อมกับฉีกยิ้มกว้าง

เท่าที่ผ่านมา หลังจากอีริคสันฯ เข้ามาลุยตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตั้งแต่การจัดวางระบบแม่ข่ายในโครงการระยะแรกเป็นระบบ NMT 450 (NORDIC MOBILE TELEPHONE ย่านความถี่ 450 MHz) ตั้งแต่ 8 กรกฎาคม 2529 ใช้งบลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท และได้สิทธิ์ในการจำหน่ายเครื่องลูกข่ายได้เป็นบริษัทแรก

อีริคสันฯ ในฐานะที่เข้าตลาดก่อนเป็นเวลานาน อาศัยช่วงจังหวะ "ทอง" นี้ก้าวพรวดๆ ล้ำหน้าคู่แข่งไปก่อนหลายช่วงตัว

แต่เป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่าช่วงเวลาแห่งความสุขสันต์นั้นมักจะสั้นนัก

หลังจากอีริคสันฯ กอบโกยขายเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ผู้เดียวเป็นเวลาไม่กี่เดือน ทศท.ก็อนุญาตให้บริษัทอื่นเข้ามาแบ่งตลาดนี้ เข้าตลาดมาเป็น "เพื่อน" อีริคสันฯ อีกหลายราย ทั้ง "เดนคอล" "โมบีร่า" และ "ฟิลิปส์" ในย่านความถี่เดียวกัน

สองสามเดือนที่ผ่านมานับเป็นช่วง "มรสุม" กับอีริคสันฯ ไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข่าวความเสียหาย (เล็กๆ) ที่เกิดขึ้นกับฮอตไลน์ คอมบิที่อีริคสันฯ คุยนักคุยหนาว่ายอดเยี่ยมในต่างประเทศ อีริคสันฯ ก็แก้เกมได้อย่างสวยงาม แทนที่จะเป็นผลเสียกลับสร้างภาพพจน์ที่ดีทำให้ลูกค้ายิ่งเชื่อมั่นกับความรับผิดชอบที่อีริคสันฯ มีต่อลูกค้าของตน

เพราะรายงานจากต่างประเทศที่ว่าเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฮอตไลน์ คอมบิมี "ปัญหา" แบตเตอรี่ภายในเกิด "ลัดวงจร" นั้น อีริคสันฯ ถึงกับให้ผู้ใช้บริการส่งเครื่องจำนวนถึง 30,000 เครื่องกลับไปตรวจสอบและส่งคืนให้กับลูกค้าได้ภายในเวลาเพียง 30 นาที

โครงการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระยะที่สองประมาณ 21 สถานี หรือ 10,000 เลขหมายในต้นปีหน้านั้น คงทำให้ตลาดและการแข่งขันที่ระอุกรุ่นอยู่แล้วเร่าร้อนขึ้นอีกเป็นทับทวี อีริคสันฯ เองก็วางแผนรองรับการขยายเครือข่ายครั้งใหม่นี้ออกไปโดยคาดว่าจะลงทุนเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

รวมทั้งงบประมาณในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ตระกูล "ฮอตไลน์" ในปีหน้าที่วางไว้ถึง 12 ล้านบาทด้วย

"ผมคิดว่าตลาดเมืองไทยจะต้องโตขึ้นไปอีกมาก ดูอย่างเกาหลีใต้ ไต้หวันต่างก็รุกเข้ามาเมืองไทยอย่างมาก ซึ่งเราก็เตรียมงานและวางแผนรับมือไว้แล้ว รอล์ฟทิ้งท้ายกับ "ผู้จัดการ" แสดงความมั่นใจของเขา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us