Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2531
ศูนย์โรคหัวใจ ธุรกิจขายบริการทางการแพทย์ ด้วย HIGH-TECT             
 


   
www resources

โฮมเพจ โรงพยาบาลกรุงเทพ

   
search resources

สถาบันโรคหัวใจกรุงเทพ
โรงพยาบาลกรุงเทพ
Hospital




โรคภัยไข้เจ็บที่หนักหนารุ่นแรงถึงกับชีวิตนั้น สถิติทางการแพทย์บ้านเรายกให้โรคหัวใจ มะเร็ง และอุบัติเหตุ หรือการได้รับการสารพิษ เป็นมัจจุราชที่ยืนอยู่หัวแถว

ว่ากันเฉพาะโรคหัวใจที่มักจะเกิดกับนักธุรกิจด้วยเหตุแห่งความเครียด ปีหนึ่ง ๆ นอกจากชีวิตที่ต้องสูญเสียไปแล้ว ยังเป็นรูรั่วให้เงินทองต้องไหลออกนอกประเทศไปเป็นจำนวนไม่น้อย

คิดกันอย่างต่ำ ๆ แล้ว เป็นเงินหย่อนหนึ่งร้อยล้านไปไม่กี่บาทในแต่ละปี

แม้ว่าหมอไทยจะมีฝีไม้ลายมือเข้าขั้นระดับโลกในการเยียวยารักษา แต่เรื่องของหัวใจ ใคร ๆ ก็รู้ว่าเป็นเรื่องลึกซึ้ง ละเอียดอ่อน มีผลถึงความเป็นความตายกันทีเดียว ลำพังความรู้ความสามารถเฉพาะตัวของหมอไม่ทำให้ความเสี่ยงลดลงไปได้ทั้งหมด

เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มีความสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ไม่ว่าจะในแง่ของการวินิจฉัย การบำบัดรักษา การผ่าตัวหรือแม้กระทั่งการผ่อนหนักให้เป็นเบาในยามฉุกเฉิน

คนไทยที่พอมีสตางค์จึงชอบที่จะบินไปรักษาตัวกันที่เมืองนอกมากกว่า เพราะไม่มั่นใจในเครื่องมือที่หมดบ้านเราใช้กันอยู่ ถึงจะยุ่งยากและสิ้นเปลืองก็อุ่นใจกว่ากันเยอะ

หมอผ่าตัดหัวใจคนไทยเก่ง ๆ หลายคนที่ไปทำมาหากินอยู่ไกลบ้านนั้น นอกเหนือจากเหตุผลในเรื่องของรายได้แล้ว ก็เพราะว่าอยู่เมืองไทยไม่มีเครื่องมือจะให้ใช้ด้วย

ศูนย์ตรวจโรคหัวใจของโรงพยาบาลกรุงเทพที่เกิดขึ้นมาก็เพราะมองเห็นปัญหาสองข้อนี้

"นอกจากจะสร้างความมั่นใจให้คนไข้ไม่ต้องไปรักษากันที่ต่างประเทศแล้ว เครื่องมือที่เรามีอยู่ที่ศูนย์ฯ นี่ ยังจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาวิชาชีพในการรักษาโรคหัวใจของบ้านเราด้วย เพราะหมอสามารมาใช้เครื่องมือที่นี่ได้ ไม่ต้องไปทำผ่าตัดที่เมืองนอก" ศจ.นพ.สมชาติ โลจายะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ สรุปสั้น ๆ ถึงแนวความคิดในการตั้งศูนย์นี้ขึ้นมา

ศูนย์ตรวจโรคหัวใจนี้เป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลกรุงเทพ การดำเนินการตั้งศูนย์ฯ เริ่มเมื่อสามีปีก่อนหน้านี้แล้ว ในระยะแรกเป็นการเตรียมจัดหาบุคลากรและเครื่องมือ เริ่มบริการการตรวจรักษาเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว การผ่าตัดครั้งแรกเริ่มขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดจากที่นี่ 30 คน มีชีวิตอยู่เป็นปกติสบายดี

นอกจากเครื่องมือในการตรวจ วินิจฉัยและรักษาซึ่งลงทุนกันในวงเงิน 40 ล้านบาท และเป็นเครื่องมือประเภท ระบบเดียวกับที่ใช้อยู่ในโรงพยาบาลชั้นนำในอเมริกาแล้ว ทางศูนย์ฯ ยังมีระบบการดูแลคนไข้หลังการผ่าตัดที่เรียกว่า หออภิบาลคนไข้ หรือ C.C.U.

"หลังการผ่าตัดเป็นระยะที่สำคัญมาก คนไข้จะอยู่หรือไปก็อยู่ตอนนี้แหละครับ ต้องดูแลกันอย่างใกล้ชิดตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง โดยหมอและพยาบาลที่ผ่านการอบรมมาโดยเฉพาะ มีเครื่องมือที่จะบอกอาการผิดปกติได้ในทันที ในเมืองไทยมีโรงพยาบาลศิริราชแห่งเดียวที่มี หออภิบาลซึ่งมีตั้งแต่ปี 2510 แต่เป็นหออภิบาลทางสมอง" หมอกัมพล ประจวบเหมาะ หัวหน้าแผนกศัลยกรรมของศูนย์ฯ ว่าให้ฟัง

หออภิบาลคนไข้โรคหัวใจของที่นี่จะเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และทำให้การตรวจรักษาเป็นไปแบบครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา และการติดตามดูแลหลังจากการรักษาหรือผ่าตัดแล้ว

บุคลากรที่ประจำอยู่ที่ศูนย์ฯ นี้มีหมอโรคหัวใจสำหรับผู้ใหญ่ 4 คน หมอโรคหัวใจเด็ก 1 คน หมอผ่าตัด 2 คน และพยาบาลที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรการดูแลคนไข้โรคหัวใจเป็นเวลาสามเดือนอีก 27 คน

"พวกนี้เป็นบุคลากรหลัก เวลาจะทำการผ่าตัดเราจะมีทีมผ่าตัดซึ่งเชิญหมอจากที่อื่นมาร่วมด้วยในทีม หรือในคนไข้บางรายเราอาจต้องเชิญหมอที่เก่ง ๆ มาเป็นที่ปรึกษาด้วย"

นอกจากจะเป็นศูนย์ที่ทำการตรวจรักษาเองแล้ว ศูนย์ตรวจโรคหัวใจยังเป็นเหมือนศูนย์เครื่องมือที่หมอจากโรงพยาบาลอื่นใช้เป็นที่ผ่าตัดรักษาคนไข้ของตน โดยใช้เครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกและพยาบาลของที่นี่

ค่าใช้จ่ายเฉพาะการผ่าตัดแต่ละครั้งนั้นตกประมาณ 200,000-300,000 บาท ซึ่งถ้าไปผ่าตัดที่อเมริกา จะมากกว่านี้อีก 4 เท่าตัว

ยังไม่รวมค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายของคนที่ต้องติดตามไปดูแลอีกต่างหาก

ใช่ว่าจะทำแต่เรื่องการผ่าตัดอย่างเดียว การรักษาโรคหัวใจโดยการผ่าตัดนั้นมีเพียง 10% เท่านั้นที่ต้องลงมีดผ่ากัน ที่เหลือเป็นการรักษาด้วยยาเสียมากกว่า คนไข้ที่เข้ามาตรวจรักษาในทุกวันนี้หมุนเวียนกันอยู่ในอัตรา 300 คนต่อเดือน

"เราคาดว่าจะคืนทุนกันใน 5-7 ปี และในปีที่สามจะดึงคนที่ไปรักษาที่เมืองนอกมากได้สัก 70 เปอร์เซ็นต์" หมอสมชาติพูดถึงความเติบโตของศูนย์ฯ ที่คาดหวังกันเอาไว้

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมาก็คือ ศูนย์ตรวจโรคหัวใจจะทำให้ภาพพจน์ของโรงพยาบาลกรุงเทพกลายเป็นโรงพยาบาลชั้นหนึ่งที่เล่นกันด้วยเทคโนโลยีสูง ๆ ขึ้นมาทันที

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us