Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน22 ตุลาคม 2553
เตือนรับมือสึนามิการเงินระลอกใหม่ เดือนหน้า นิด้าคาด กนง.คง ดบ.นโยบาย             

 


   
search resources

Economics




อ.นิด้า เตือนสึนามิการเงินระลอกใหม่ เดือนหน้า สหรัฐฯ ปั๊มดอลลาร์ถล่ม ศก.โลก เอกชนระทึก! ลุ้น กนง.ประชุม วันนี้ กำหนดทิศทาง ดบ.นโยบาย ชี้ชะตาค่าเงินบาท-ส่งออก 3 กลุ่มอุตฯ ไม่กล้ารับออร์เดอร์ใหม่แล้ว เตรียมเสนอมาตรการให้รัฐช่วยด่วน

นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เพื่อพิจารณากำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันนี้ (20 ต.ค.) โดยคาดว่า กนง.น่าจะคงอัตราดอกเบี้ย หรืออาจลดดอกเบี้ยนโยบายลงก็เป็นไปได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นประโยชน์กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ

นายมนตรี กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นการตอบรับกับความกังวลเรื่องเงินเฟ้อเร็วที่เกิดขึ้น จนส่งผลกระทบต่อค่าเงินสกุลเงินในประเทศเป็นอย่างมาก เพราะนักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาเก็งกำไรจากส่วนต่างที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ คาดว่า ในเดือนหน้า สหรัฐอเมริกา อาจจะดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณเพิ่มเติม (Quantitative Easing 2 หรือ QE2 ) โดยพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาอีกเพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะไทยย่อมได้รับผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินอีกระลอก

รายงานเพิ่มเติมระบุว่า การประชุมร่วมกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์และผู้ประกอบการส่งออกในอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย ไม้ยางพารา กาแฟ และอาหารกระป๋อง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งกลุ่มนี้ มีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องเรือนไม้ยางพารา และกาแฟ ที่ใช้วัตถุดิบในประเทศถึง 100% ทำให้ได้รับผลกระทบมากจากเงินบาทแข็งค่า

ผู้ประกอบการดังกล่าว ยืนยันว่า จนถึงขณะนี้ ยังไม่สามารถรับคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้ หรือหากจะรับ ก็จะกำหนดราคากันเป็นล็อตๆ เท่านั้น และคงไม่ทำสัญญาระยะยาว

ด้านผู้ประกอบการเครื่องเรือนชี้แจงว่าในภาวะปกติก็แข่งขันลำบากอยู่แล้ว โดยเฉพาะกับคู่แข่งจากจีนและเวียดนาม เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก ทำให้ทำให้ราคาสินค้าที่เสนอขายแพงขึ้นจากปกติอีก 15%

อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนมองว่า เงินบาทที่แข็งค่าเป็นปัญหาเฉพาะหน้า ความผันผวนของค่าเงินที่เกิดขึ้น ทำให้บริการจัดการลำบาก จึงเสนอให้ภาครัฐเข้ามาช่วยลดต้นทุน ด้วยการลดค่าเบี้ยประกันสังคม ,การจ่ายเงินชดเชยค่าภาษีอากร หรือภาษีมุมน้ำเงิน นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอการขยายระยะเวลาการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐฯให้นานขั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us