Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน22 ตุลาคม 2553
เงินบาทแข็งค่าจีดีพีหาย0.7% ปล่อยยืดเยื้อเจอวิกฤตแห่ปิด รง.แน่             
 


   
search resources

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
Economics




ม.หอการค้าไทย ระบุเงินบาทแข็งค่า ฉุดเศรษฐกิจไทยปีนี้ทรุด 0.5-0.7% แต่ได้อานิสงส์ส่งออกโต ดันจีดีพีปีนี้โตได้ 7-7.5% จี้รัฐเร่งแก้ค่าเงิน หากยังปล่อยยืดเยื้อ ผู้ประกอบการจะอยู่ต่อได้อีก 2-3 เดือน จากนั้นวิกฤตถึงขั้นปิดโรงงานแน่ แถมลามปี 54 คาดจีดีพีโตได้แค่ 3-4% เท่านั้น ขณะที่ปัญหาน้ำท่วมแม้เสียหายเฉียดหมื่นล้าน แต่จะกระทบจีดีพีแค่ 0.08%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลกระทบของค่าเงินบาท และน้ำท่วม ที่มีต่อเศรษฐกิจไทยว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นตั้งแต่ต้นปี มีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยแล้ว 0.5-0.7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) แต่ยังมีแรงหนุนจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวในอัตราสูง ทำให้ปีนี้เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะขยายตัวได้ที่ 7-7.5% ตามที่ศูนย์ฯ คาดการณ์ไว้ แต่ใกล้เคียงกับ 7% มากกว่า

“เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แม้จะเริ่มมีผลกระทบต่อภาคการส่งออก แต่ปีนี้ยังเชื่อว่า จะเติบโตได้ 20-25% เพราะผู้ส่งออกมียอดคำสั่งซื้อแล้วจนถึงสิ้นปี และไม่ลดลงมากนัก แต่รายได้จากการส่งออกเมื่อทอนเป็นเงินบาทลดลงมาก ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกขาดสภาพคล่อง ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจในประเทศรับรู้ว่า กำลังซื้อในประเทศ และยอดขายสินค้าลดลง ส่งผลให้ภาคธุรกิจขาดทุนอย่างมาก ดังนั้น หากค่าเงินบาทยังแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ภาคธุรกิจสามารถยืนอยู่ได้อีกเพียง 2-3 เดือนเท่านั้น” นายธนวรรธน์กล่าว

ทั้งนี้ หากในไตรมาส 4 ปัญหาเงินบาทแข็งค่ายังไม่ได้รับการแก้ไข จะเห็นภาพผู้ประกอบการแต่ละรายหยุดรับคนงานเพิ่ม ลดค่าทำงานล่วงเวลา (โอที) ปลดพนักงานออก และปิดโรงงานในที่สุด ดังนั้น ในปี 2554 พนักงานที่ยังมีงานทำ จะไม่มีโบนัส และไม่ได้ขึ้นเงินเดือน ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าว ทำให้คาดว่า ในปี 2554 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ประมาณ 3-4% เท่านั้น แม้ธนาคารโลกจะคาดว่า เศรษฐกิจไทยปีหน้าจะโตได้ถึง 7.2%

“ต้องการให้รัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการเพิ่มเติมในการดูแลค่าเงินบาท เพราะมาตรการที่ออกไปก่อนหน้านี้ยังไม่เพียงพอที่จะชะลอการแข็งค่าของค่าเงินได้ แต่ต้องขอชมธปท.ที่สามารถทำให้ค่าเงินหยุดการแข็งค่าอยู่ที่ไม่เกิน 29.8 บาท/เหรียญสหรัฐ”

ส่วนการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น ยังไม่ชัดเจนว่า จะมีผลชะลอการแข็งค่าของค่าเงินบาทหรือไม่ เพียงแต่เป็นแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกที่ต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ สำหรับการที่รัฐบาลจีนประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น เห็นว่า จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจจีน ที่จะเติบโตได้อย่างยั่งยืน และแข็งแกร่ง

เพราะจะมีเงินไหลเข้าไปลงทุนในจีนมากจากการขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งจะมีส่วนช่วยค้ำยันเศรษฐกิจเอเชียให้ขยายตัวได้ตาม แต่การขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวจะมีผลกดดันให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้น และส่งผลต่อเนื่องให้ค่าเงินสกุลต่างๆ ในเอเชีย รวมถึงเงินบาท ต้องแข็งค่าขึ้นตาม

นายธนวรรธน์กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ในขณะนี้ เชื่อว่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น และจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมน้อยมาก ส่วนใหญ่กระทบกับเศรษฐกิจในพื้นที่ที่น้ำท่วมมากกว่า โดยคาดว่า สถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้จะคิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 7,700 ล้านบาท แบ่งเป็น ความเสียหายของภาคเกษตรกรรม (พืชไร่ พืชสวน และปศุสัตว์) 2,600 ล้านบาท ภาคการผลิตและอุตสาหกรรม 600

ล้านบาท ภาคบริการและการท่องเที่ยว 1,200 ล้านบาท ทรัพย์สินราชการ 2,000 ล้านบาท ทรัพย์สินเอกชน 1,000 ล้านบาท อื่นๆ 300 ล้านบาท ซึ่งมีผลทำให้จีดีพี ลดลง 0.08% เท่านั้น

ด้านนางยาใจ ชูวิชา ประธานโครงการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ : การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ที่สำรวจผู้ประกอบการทั้งจากภาคการค้าระหว่างประเทศ และธุรกิจในประเทศ 820 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 17-19 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า ผู้ประกอบการ 58.4% ระบุว่า มาตรการของธปท.ที่ดูแลค่าเงินบาทในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ และต้องมีมาตรการเพิ่มเติมอีกมาก ขณะนี้ 26% ระบุไม่เพียงพอเช่นกันแต่ต้องมีมาตรการเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่ระบุได้รับผลกระทบมาก ขณะที่ธุรกิจในประเทศ ส่วนใหญ่ระบุได้รับผลกระทบน้อย

สำหรับผลกระทบที่ได้รับนั้น ทำให้ยอดการส่งออกสินค้า ลดลง 14.4% ยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้น 6.1% ต้นทุนการขนส่งสินค้า เพิ่มขึ้น 13.5% ต้นทุนการผลิต เพิ่มขึ้น 13.1% ยอดรับคำสั่งซื้อ ลดลง 9.5% สินค้าคงคลัง เพิ่มขึ้น 10.8% และกำไร ลดลง 18.9% อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการระบุว่า ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่กระทบต่อการส่งออกอยู่ที่ 32.4 บาท/เหรียญฯ ส่วนระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมในปีหน้าอยู่ที่ 31.9 บาท/เหรียญฯ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าที่สุดที่ยอมรับได้ในปีนี้อยู่ที่ 30.4 บาท/เหรียญฯ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าที่สุดที่ยอมรับได้ในปีหน้า 29.5 บาท/เหรียญฯ และหากค่าเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่องอย่างในปัจจุบัน หรือมากกว่า จะสามารถแบกรับภาระได้อีกเพียง 3 เดือนเท่านั้น

ส่วนอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 65.5% ระบุให้คงไว้เท่าเดิม ส่วน 20.7% ระบุให้ลดดอกเบี้ย และ 13.8% ให้เพิ่มขึ้น สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในปีนี้ควรอยู่ที่ 6% ต่อปี ส่วนปีหน้าอยู่ที่ 6.2% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดที่รับภาระได้ในปีนี้อยู่ที่ 6.2% ส่วนปีหน้าอยู่ที่ 6.7%% นอกจากนี้ เมื่อถามถึงราคาน้ำมันดีเซลที่ไม่กระทบต่อธุรกิจจะอยู่ที่ 26.81 บาท/ลิตร ส่วนระดับราคาสูงสุดที่สามารถแบกรับภาระต้นทุนได้อยู่ที่ 27.57 บาท/ลิตร ขณะที่ในปีหน้าระดับราคาที่ไม่กระทบต่อธุรกิจ 27.49 บาท/ลิตร และระดับราคาสูงสุดที่สามารถแบกรังภาระได้ในปีหน้า 27.62 บาท/ลิตร

ขณะที่นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ ทั้งค่าเงินบาทแข็งค่า ดอกเบี้ยต่ำ ราคาน้ำมันสูง การเมืองภายในยังไม่มั่นคง มีผลกระทบต่อธุรกิจ โดยทำให้ยอดขายลดลง 16.9% ต้นทุนเพิ่มขึ้น 12.3% ค่าใช้จ่ายดำเนินการ เพิ่มขึ้น 11.3% หนี้สิน เพิ่มขึ้น 14.5% การปลดคนงาน เพิ่มขึ้น 5% ความสามารถในการชำระหนี้ ลดลง 16.3% กำไรลดลง 11.7% จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เพิ่มขึ้น 4.1% จำนวนนักท่องเที่ยวไทย เพิ่มขึ้น 12.5% และยอดจองทัวร์ เพิ่มขึ้น 6.6%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us