Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2531
อีบีซีไอวันนี้ได้เกิดและได้ใหญ่             
 


   
search resources

Consultants and Professional Services
เอ็กซ์เซลเล้นท์ บิสเนท คอร์ปอเรชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล, บจก.




ธุรกิจที่ปรึกษามักถูกประเมินว่า เป็นธุรกิจที่ตั้งอยู่ได้ยากและขยายได้จำกัด เพราะการขาย "คำปรึกษา" และบริการต่าง ๆ เช่น ทำชิปปิ้ง ปรึกษาด้านกฎหมายธุรกิจ ฯลฯ เป็นเพียงงานเสี้ยวเล็ก ๆ ไม่ได้นำได้เนื้อมากนัก และคู่แข่งก็มีทั้งที่เป็นพวกสำนักงานเอกชนเล็ก จนถึงบริการของแบงก์ใหญ่

"ผู้จัดการ" เคยจับตาธุรกิจทำนองนี้มาแล้ว โดยดูบริษัทเอ็กซ์เซลเล้นท์ บิสเนส คอร์ปอร์เรชั่น (อีบีซีไอ) ของสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์เป็นตัวอย่างตั้งแต่เมื่อครั้งบริษัทนี้เปิดตัวเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2529

จนถึงวันนี้เกือบ 3 ปีแล้ว จากออฟฟิศขนาดย่อม ๆ ที่ตึกเอ็กซ์เซล มาเป็นที่โอ่โถง ณ ตึกยูเอ็มดับบลิว ชั้น 6 และจากสินทรัพย์แค่ 1 แสนบาท วันนี้ 4 แสนบาทแล้ว

ข้อเท็จจริงประดานี้ทำให้อีบีซีไอขึ้น "รายงานผู้จัดการ" อีกครั้งหนึ่ง ด้วยข้อประเมินที่ลงรายละเอียดมากยิ่งขึ้น

อีบีซีไอได้เกิดเพราะอาศัย "ช่องว่างทางตลาด" อันเนื่องจากการปรับตัวของระบบราชการไม่ทันกับกระแสการส่งออกที่บูมนับแต่ปี 2529 ซึ่งสภาพัฒน์ออกแผน 6 เน้นการส่งออก และถึงขีดสุดที่คาดว่าปีนี้มูลค่าการส่งออกจะเหยียบ 380,000 ล้านบาท

"นโยบายของพลเอกเปรมต้องชมไว้ตรงนี้ว่า วางแผน 6 ไว้ดีเน้นการส่งออก แต่ยังลืมสิ่งที่จะ SUPPORT การส่งออกในเรื่องกำลังคน ถ้าไปดูที่กรมศุลในฝ่ายที่เกี่ยวกับการชดเชยภาษี เช่นมุมน้ำเงินพวก 19 ทวิ เอกสารนี้เป็นตั้ง ๆ เจ้าหน้าที่เซ็นไม่ทัน ตรวจสอบไม่ทัน เพราะการขอคืนมันเยอะมาก แล้วกำลังคนที่ให้คือ 2%" แหล่งข่าวเล่าสภาพให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

นอกจากนี้ขั้นตอนของหน่วยราชการซับซ้อนมาก เช่น ถ้านักธุรกิจรายหนึ่งต้องการได้สิทธิประโยชน์จากพิธีการศุลกากร ซึ่งมีหลากหลายแบบ อาทิ การคืนอากร ม.19 ทวิ การชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร (มุมน้ำเงิน) การจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้าและสิทธิประโยชน์จากบีโอไอ

เขาต้องติดต่อถึง 5 หน่วยงาน ผ่านโต๊ะทำงานนับเป็นสิบ ๆ ตัวกว่าจะรับรู้ในระดับหลักการ มิพักต้องพูดถึงการปฏิบัติ ซึ่งซับซ้อนซิกแซกกว่ามาก เวลาที่เสียไปคิดเป็นมูลค่ามากมาย

แต่ถ้ามาหาอีบีซีไอเพียงหน่วยงานเดียว เรื่องราวซับซ้อนเหล่านี้ก็จะกระจ่างชัดในเวลาอันสั้น แน่นอนว่านักธุรกิจย่อมเลือกใช้บริการที่นี่

งานของอีบีซีไอที่เข้าไปลดความน่าปวดหัวจากความซับซ้อนของระบบราชการนี้ให้นัยสำคัญอย่างน้อย 2 ประการคือ หนึ่ง - นี่เป็นธุรกิจที่ปรึกษาของคนไทยที่ฝรั่งทำไม่ได้และเป็นคู่แข่งก็ไม่ได้ เพราะรู้ไม่ซึ้งและตามไม่ทันกลไกภายในของระบบราชการ

สอง - ถ้าธุรกิจที่ปรึกษาใดรวบรวมงานบริการไว้ได้อย่างหลากหลาย และครอบคลุม ทุกปริมณฑลก็จะเป็นธุรกิจที่ "ได้ใหญ่" เหนือกว่าคู่แข่ง

อีบีซีไอทำได้ถึงขั้นนี้จึง "ได้ใหญ่" ในวงการจะมีคู่แข่งก็เฉพาะงาน แต่ยังไม่มีบริษัทใดให้บริการได้ครอบคลุมเท่า

อีบีซีไอมีข่ายการให้บริการ 4 หมวดสำคัญคือ หนึ่ง - ด้านพิธีการศุลกากรซึ่งแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ การนำเข้าส่งออก (โดยเฉพาะชิปปิ้ง) และการได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรเพื่อการส่งออกเช่น 19 ทวิ มุมน้ำเงิน มุมเหลือง การชดเชยภาษี เป็นต้น

สอง - ด้านการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอรับพิจารณาโครงการเพื่อหาความเป็นไปได้ให้ได้รับการส่งเสริม

สาม - ด้านการค้าระหว่างประเทศ ให้บริการประสานงานระหว่างผู้ส่งออกในประเทศกับผู้นำเข้าในต่างประเทศ

สี่ - ด้านการจัดสัมมนาอบรม ให้ความเข้าใจและข้อมูลสำคัญด้านการส่งออก

ในประดางานเหล่านี้ งานพิธีการศุลกากรด้านการขอรับสิทธิประโยชน์เป็นงานที่เข้าบริษัทมากที่สุด และเป็นรายได้สำคัญที่สุด นอกจากนี้ยังขยายตัวไปอย่างมากตามความต้องการของผู้ส่งออก ทั้งนี้ก็เพราะเป็นเงินทองที่ผู้ส่งออกจะได้มาลดต้นทุนการผลิต

งานที่บูมและขยายตัวรองลงมาก็คือ การขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากต่างประเทศ-คลื่นที่ถาโถมมายังไทยเป็นระลอก

ส่วนงานการค้าระหว่างประเทศ ก็มีเป็นกระแสเช่น นำผู้ส่งออกไปดูนิทรรศการอาหารที่ฝรั่งเศส เยี่ยมชมโรงงาน และพบผู้นำเข้า และงานด้านสัมมนาก็จัดขึ้นอย่างมากตามความต้องการเพื่อสร้างภาพพจน์ และความเข้าใจต่อบริษัท

ลูกค้าของอีบีซีไอทุกวันนี้นับเป็นบริษัทรายใหญ่ ๆ ทั้งสิ้น อาทิ บริษัทเอสโซ่ให้ช่วยขอคืนอากร ม.19 ทวิ บริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ให้ทำชิปปิ้งนำเข้าเม็ดพลาสติก บริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติให้ทำชิปปิ้งนำเข้าคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้

ส่วนค่าบริการที่คิดตามลักษณะงานโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินที่ได้คืนจากกรณีเงินชดเชยภาษี การคืนภาษี เป็นต้น ในกรณีของบีโอไปก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุนตลอดจนการเก็บข้อมูลให้ เปอร์เซ็นต์ของค่าบริการนั้นอยู่ในระหว่าง 0.5-10% ยกตัวอย่างว่า ถ้าได้คืนภาษี 5-10 ล้านบาท บริษัทได้ 5 % ก็คิดเป็นเงิน 250,000-500,000 บาท

ประสบการณ์เช่นนี้ทำให้เห็นจริงเห็นจังได้ว่า ธุรกิจที่ปรึกษาเพื่อการส่งออกอย่างอีบีซีไอจะต้องทะยานไปข้างหน้า ใหญ่โตขึ้นท่ามกลางการแสวงหาตลาดและการผลิตเพื่อการส่งออกของพ่อค้าและนักอุตสาหกรรมล

เห็นตัวอย่างแบบนี้ ใครจะลองเล่นบ้างก็โดดลงมาเลย!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us