Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์17 ตุลาคม 2553
ยูนิลีเวอร์ขยับรุกดิจิตอลมีเดีย             
 


   
search resources

ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง, บจก.
Advertising and Public Relations
Consumer Products




กลยุทธ์ใหม่บนโลกออนไลน์ของกลุ่มสินค้าคอนซูเมอร์ หลังผู้ผลิตยักษ์ใหญ่คอนซูเมอร์ ยูนิลีเวอร์ วางแผนที่จะใช้เงินผ่านสื่อออนไลน์อย่างจริงจังในปีหน้า

ยูนิลีเวอร์ คาดว่าจะใช้งบประมาณ 15% ของงบประมาณทั้งหมด ซึ่งแต่ละปียูนิลีเวอร์จะเน้นการทุ่มงบประมาณด้านสื่อไปกับสื่อหลักแมสมีเดีย (ทีวี วิทยุ หนังสือ ภาพยนตร์ เอาต์ดอร์) กว่า 5,000 ล้านบาท

การขยับตัวของยูนิลีเวอร์ครั้งนี้ ส่งผลให้บรรดามีเดีย เอเยนซี ในเมืองไทยเห็นการเปลี่ยนแปลงบนแพลตฟอร์มใหม่ในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้า และยังเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจด้านสื่อออนไลน์ในเมืองไทย

การส่งสัญญาณการปรับกลยุทธ์ด้านสื่อของยูนิลีเวอร์ หากเป็นไปตามการคาดการณ์ของมีเดีย เอเยนซี ซึ่งระบุว่า เป็นนโยบายใหม่ที่จะดำเนินการในปีหน้า เชื่อว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของวงการสื่ออย่างแน่นอน การใช้งบ 15% ให้กับสื่อออนไลน์ของยูนิลีเวอร์ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้สินค้าได้เข้ามาเป็นประชากรบนโลกออนไลน์มากพอจนไม่สามารถละเลยผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้อีกต่อไป จากตัวเลขผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 15 ล้านคนในประเทศไทยขณะนี้ พบว่ามีจำนวนสมาชิกคนไทยบนเฟซบุ๊กที่มีอยู่กว่า 4.8 ล้านคน อยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี 37% และ 25-34 ปี 34%

โดยมีสถิติที่น่าสนใจในอัตราการเข้าใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กของคนไทยพบว่า คนไทยเข้าไปใช้งานเฟซบุ๊ก 1.8 ล้านคน, ยูทูบ 1.15 ล้านคน และทวิตเตอร์ 90,000 คนต่อวัน

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ยูนิลีเวอร์ เป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของโลกและในเมืองไทย มีรายได้ปีละเกือบ 40,000 ล้านบาท และเป็นบริษัทที่ใช้งบประมาณด้านสื่อสูงสุดปีละเกือบ 5,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่ใช้งบผ่านสื่อแมสมีเดียอย่างทีวีเป็นหลัก

การเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณด้านสื่อบนออนไลน์มากขึ้นนั้น แสดงถึงสัญญาณการตลาดแนวใหม่บนออนไลน์ กำลังจะเกิดขึ้นอย่างคึกคักนับจากนี้ไป

“สัดส่วนของการใช้กลยุทธ์ดิจิตอลมาร์เกตติ้งทั่วโลก ทำให้นักการตลาดต้องหันกลับมาเพื่อศึกษาการทำการตลาดบนออนไลน์อย่างเข้มข้น” อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธอมัสไอเดีย จำกัด กล่าว

ในปีที่ผ่านมา นักการตลาดไทยส่วนใหญ่รู้จักดิจิตอลมาร์เกตติ้ง แต่ยังไม่ได้ศึกษาลงลึกว่ากลไกหรือการลงทุนสามารถตอบโจทย์ที่ต้องการได้มากน้อยอย่างไร จึงอยู่ในช่วงรอดูผลของคนที่เริ่มก่อน และเป็นการทดลองในระดับเริ่มต้นเพื่อศึกษา ซึ่งต่างจากปีนี้

หลังจากที่ได้เห็นปรากฏการณ์ของกลุ่มผู้บริโภคผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กในช่วงวิกฤตการเมืองแล้ว จึงแน่ใจในปริมาณและพฤติกรรมของผู้บริโภคมากขึ้น และใช้ช่องทางนี้ในการสร้างกลยุทธ์ดิจิตอลมาร์เกตติ้งในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น ถ้าเทียบกับปีที่แล้ว สัดส่วนดิจิตอลมาร์เกตติ้งน่าจะเป็นไปตามที่คาดไว้ คือ มีส่วนแบ่งจากงบประมาณการตลาดทั้งหมดที่ 2-5%

ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธอมัส ไอเดีย กล่าวต่อว่า ขณะนี้ได้เห็นแอปพลิเคชั่นผ่านเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มใหม่ๆ มากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งแอปพลิเคชั่นบนไอแพด หรือสมาร์ทโฟนรุ่นต่างๆ ที่อยู่ติดตัวผู้บริโภคมากขึ้น

คาดว่ากระแสความแรงของออนไลน์ที่จะเห็นเป็นรูปธรรมผ่านกลยุทธ์แนวใหม่ ดิจิตอลมาร์เกตติ้ง อย่างเต็มรูปแบบ จะเริ่มขึ้นนับจากนี้เป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูการขายในช่วงก่อนเข้าสู่ไตรมาสสุดท้าย ทั้งแคมเปญออนไลน์ ที่เน้นการสร้างยอดขายมาสร้างสีสันในวงการสื่ออินเตอร์แอกทีฟในช่วงไตรมาสสุดท้าย

อุไรพร อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์และทิศทางดิจิตอลมาร์เกตติ้งที่นักการตลาดอาจนำมาใช้ในช่วงปลายปี ได้แก่

1.เชื่อมสัมพันธ์ด้วย Social Network เป็นเครื่องมือใหม่ที่นักการตลาดนิยมใช้ สามารถติดต่อกับกลุ่มเป้าหมายแจ้งข่าวโปรโมชั่นได้รวดเร็ว และเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายขยายต่อไปอีก ทั้งยังเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง ทำให้ได้รับข้อมูลตรงจากลูกค้าตัวจริง รวมถึงเพิ่มการรับรู้และสร้างชื่อเสียงที่ดีผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นการเพิ่มยอดขายทางอ้อม

2.สร้าง Brand Engagement ผ่านรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าและแบรนด์ได้ เช่น เกม แคมเปญออนไลน์ กิจกรรมอินเตอร์แอกทีฟ ซึ่งหัวข้อที่เหมาะสำหรับการส่งต่อความรู้สึกดีๆ ในช่วงเทศกาลส่งความสุขวันปีใหม่ จะเป็นประเด็นที่นักการตลาดทั้งหลายต้องระดมความคิดสร้างสรรค์แข่งกันสุดความสามารถ ไม่แพ้ช่วงเทศกาลบอลโลกที่ผ่านมาแน่นอน

3.การบริหาร CRM ออนไลน์ สำหรับผู้ประกอบการที่ลงทุนด้านดิจิตอลมาร์เกตติ้งอย่างเป็นระบบ จะได้เปรียบกว่าคู่แข่งในเรื่องการประมวลข้อมูลที่เกิดจากกิจกรรมอินเตอร์แอกทีฟทั้งหลาย มาพัฒนาเพื่อยกระดับการบริหาร CRM ออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อยอดไปสู่การทำการตลาดแบบ One-on-One เพื่อกระตุ้นยอดขายจากกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากกว่าสื่ออื่นๆ

4.เข้าใจและเลือกใช้ Technology Platform เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารพัฒนาสู่ยุคดิจิตอล การเชื่อมโยงและถ่ายทอดได้ครบรูปแบบมากขึ้น ทั้งเสียง ภาพ และวิดีโอ ช่วยให้มีสีสันต่อการสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่เสริมให้การตลาดอยู่ใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายมากกว่าเดิม อาทิ AR เทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลแบรนด์ผ่านประสบการณ์แปลกใหม่ไม่คาดคิด หรือ Foursquare โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มสำหรับการทำตลาดหรือโปรโมชั่นที่เป็น Location-based ซึ่งวันนี้มีผู้ลงทะเบียนใช้งานแล้วกว่า 3 ล้านคนทั่วโลก

“กลยุทธ์ดิจิตอลมาร์เกตติ้งสำหรับนักการตลาดไทยในวันนี้ ถือว่ามีความสำคัญและช่วยกระตุ้นยอดขายได้ อีกทั้งข้อมูลจากการสื่อสารแบบอินเตอร์แอกทีฟที่ได้จากผู้บริโภคตัวจริง ก็ช่วยวิเคราะห์ วางแผนการตลาดได้ทันท่วงที ดังนั้น คนที่พร้อมและปรับใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมาร์เกตติ้งได้เต็มประสิทธิภาพจริงๆ ก่อน คือผู้ที่ได้เปรียบในระยะยาว” อุไรพร กล่าวสรุป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us