Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์17 ตุลาคม 2553
เครื่องสำอางแดนโสมบูม ‘ดร.จาร์ท’ บุกเวชสำอางไทย             
 


   
search resources

Cosmetics




ตลาดเวชสำอางครึกครื้นรับดีมานด์สาวอยากสวย ค่ายแปซิฟิก คอสเมติก เข็น “ดร.จาร์ท” บุกชิงพื้นที่ผิวหน้าสาวไทย ทุ่ม 2.5 ล้านบาท เปิดแฟลกชิปสโตร์แห่งแรกที่เซ็นทรัลเวิลด์อย่างเป็นทางการ หลังสะดุดห้างปิดเมื่อต้นปี โดยหันไปผนึกวัตสันเป็นช่องทางกระจายสินค้าแทน พร้อมรุกเข้ม Call Center หลังพบเป็นช่องทางที่มีศักยภาพ สร้างยอดขายใกล้เคียงวัตสัน วางงบตลาด 6 ล้านบาท อัดโปรโมชั่นแรงทุก 3 เดือน การเข้าปักธงในเวชสำอางเมืองไทยครั้งนี้ ดร.จาร์ทหวังแชร์ส่วนแบ่งจากยูเซอริน, วิชชี่ ในปีแรกเพียง 30 ล้านบาท

อุณหภูมิการแข่งขันในตลาดเครื่องสำอางบ้านเรา เรียกได้ว่าระอุในทุกตารางนิ้ว เพราะไล่ไปตั้งแต่แบรนด์ระดับแมสไปถึงระดับพรีเมียม ก็ไม่มีแบรนด์ใดจะยอมลดราวาศอกแม้แต่น้อย และดูเหมือนว่าจะยิ่งทุ่มสรรพกำลังเข้ามาสาดใส่กันอย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแม้แต่มุมการแข่งขันในตลาดเวชสำอาง ที่เหมือนจะมีผู้เล่นหลักๆ เพียงไม่กี่ราย ทว่า เป็นอีกเซกเมนต์หนึ่งที่ถูกจัดเป็นเกมรบร้อนๆ ในชั่วโมงนี้

ปัจจุบัน ตลาดเวชสำอางในเมืองไทยที่จำหน่ายในช่องทางแมสอย่างร้านสุขภาพและความงามมีมูลค่าประมาณ 1,800 ล้านบาท โดยแบรนด์ยูเซอริน คือผู้นำที่ครองพื้นที่กว่า 70% ทิ้งห่างคู่แข่งแบบขาดลอย แต่เมื่อรวมเวชสำอางระดับเคาน์เตอร์แบรนด์ด้วย เค้กก้อนนี้จะมีมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาท และนี่คือ อีกหนึ่งความเย้ายวนชวนให้มีผู้เล่นโดดเข้ามาเป็นจำนวนมาก

“ดร.จาร์ท” (Dr.Jart+) อินเตอร์แบรนด์สัญชาติเกาหลี คือ ผู้เล่นรายล่าสุดที่เข้ามาปักธงในตลาดเวชสำอางบ้านเรา โดยมีค่ายแปซิฟิก คอสเมติกเป็นผู้ได้รับสิทธิ์นำเข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา และเลือกเปิดตัวในรูปแบบชอปที่เซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้เงินลงทุนกว่า 2.5 ล้านบาท พร้อมกำหนดเป็นแฟลกชิปสโตร์แห่งแรกในเมืองไทย แต่ด้วยผลกระทบจากเหตุการณ์ปิดห้าง ทำให้แบรนด์น้องใหม่นี้ต้องเบรกแผนรุกตลาดในครั้งแรก และหันมาใช้แผนสองในการลุยตลาดแทน

ด้วยการหันมาจับมือกับวัตสัน เพื่อนำแบรนด์ ดร.จาร์ทเข้าไปจำหน่าย โดย ปณิตา พัฒนาหิรัญ กรรมการ บริษัท แปซิฟิก คอสเมติก จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่ายสินค้าแบรนด์ “ดร.จาร์ท” บอกว่า ทางบริษัทแม่ของ ดร.จาร์ทได้แนะนำให้นำสินค้าเข้าไปจำหน่ายในช่องทางวัตสัน เหมือนการทำตลาดในเกาหลี ที่ไม่เพียงแต่จะเน้นช่องทางออนไลน์ แต่ยังเน้นกระจายผ่านร้านวัตสันเช่นกันด้วย ทั้งนี้เพื่อสร้างการรับรู้กับผู้บริโภคในวงกว้างหลังไม่สามารถเปิดแฟลกชิปสโตร์ได้ตามกำหนด

ทว่า เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคสับสนกับโพซิชันนิ่งของแบรนด์ ดร.จาร์ท ที่เป็นเวชสำอาง ระดับพรีเมียม มีราคาตั้งแต่ 1,500-5,000 บาท ผู้บริหารค่ายแปซิฟิกจึงรุกขยายสู่ช่องทางออนไลน์เพื่อสร้างการรับรู้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ถือเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของแบรนด์ และจากความได้เปรียบในการเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงของ หนิง-ปณิตา ในบทบาทนักแสดง ที่วันนี้เป็นหนึ่งในกรรมการของบริษัท แปซิฟิก ควบคู่กับการทำหน้าที่เป็นแบรนด์แอมบาสซาเดอร์ (ขณะที่พรีเซนเตอร์จะใช้คนเกาหลีเหมือนกันทั่วโลก) ทำให้เฟซบุ๊กกลายเป็นช่องทางสื่อสารที่นับว่ามีประสิทธิภาพ ทั้งในการสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ การแนะนำสินค้าที่มีให้เลือกหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มเบสิก สกินแคร์, ไบรท์เทนนิ่ง, AGE-X สำหรับการลดเลือนริ้วรอย , ACNE-X สำหรับผู้มีปัญหาสิว, Pore-X กลุ่มกระชับรูขุมขน ซึ่งจะมีการนำสินค้าใหม่เข้ามาเฉลี่ยทุก 4 เดือน ที่สำคัญยังเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง ทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

ไม่เพียงเท่านี้ ตลาดในเคเบิลถือเป็นอีกช่องทางที่น้องใหม่รายนี้ให้ความสนใจ เพราะนอกจากเป็นช่องทางที่ไม่ต้องใช้ต้นทุนสูงเหมือนการนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายในห้างแล้ว จะเห็นว่าผลตอบรับทั้งด้านการรับรู้แบรนด์และยอดขายก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจด้วย

“บริษัทนำ ดร.จาร์ทเข้าไปในลักษณะไทอินกับรายการ และร่วมกับคอลเซ็นเตอร์ 1577 ในการสั่งซื้อสินค้า ซึ่งพบว่าเป็นช่องทางที่ทำยอดขายได้ใกล้เคียงกับการจำหน่ายในร้านวัตสัน โดยเดือนแรกที่ขายในวัตสันเรามียอดขายประมาณ 1 ล้านบาท แต่หลังจากประชาสัมพันธ์มากขึ้น พบว่าในเดือนต่อๆ มาก็มียอดขายเพิ่มเป็นเท่าตัว”

อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างและสะท้อนภาพลักษณ์แบรนด์ที่เป็นเวชสำอางระดับพรีเมียมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้บริหารรายนี้จึงยังให้น้ำหนักความสำคัญกับแฟลกชิปสโตร์ ที่ล่าสุดสามารถเปิดให้บริการได้แล้วเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา และคาดว่าจะทำแกรนด์โอเพนนิ่งในเร็วๆ นี้ ผู้บริหารแบรนด์ ดร.จาร์ท อธิบายว่า แม้ในเกาหลี แบรนด์นี้จะเน้นจำหน่ายบนออนไลน์ ซึ่งเป็นไปตามไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค แต่ ดร.จาร์ทก็ถือเป็นพรีเมียมแบรนด์ โดยในไทยอาจยังไม่คุ้นเคยกับการจำหน่ายผ่านออนไลน์มากนักเมื่อเทียบกับคนเกาหลี ดังนั้น เราจึงต้องมีแฟลกชิปสโตร์เพื่อสะท้อนโพซิชันนิ่งแบรนด์ให้ชัดเจน และคาดว่ากลางปีหน้าก็จะขยายเพิ่มในต่างจังหวัด เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ ส่วนการขยายไปสู่ร้านขายยา หรือเชนสโตร์ คาดว่าจะเริ่มได้ประมาณกลางปีหน้า หลังหมดสัญญาเป็นสินค้าเอ็กซ์คลูซีฟในร้านวัตสัน

ขณะเดียวกัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทดลองใช้ได้ง่ายขึ้น ค่ายแปซิฟิกฯ จึงอัดฉีดงบกว่า 10 ล้านบาท สำหรับการทำตลาดในช่วง 6 เดือน เพื่อจัดโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม เต็มที่เฉลี่ย 3 เดือนครั้ง โดยโปรโมชั่นล่าสุด คือ การให้ส่วนลด 10% สำหรับการซื้อสินค้าชิ้นแรก พร้อมรับส่วนลด 30% สำหรับการซื้อชิ้นที่ 2 ทันที และหลังจากหมดโปรโมชั่นดังกล่าวในช่วงสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้แล้ว ผู้บริหารค่ายนี้ก็เตรียมจัดสินค้าแบบกิฟต์เซตในราคาพิเศษ ต้อนรับเทศกาลในช่วงส่งท้ายปีด้วย

แม้ตอนนี้ ดร.จาร์ท อาจไม่ใช่คู่ชกตรงตัวกับ ยูเซอริน แต่ด้วยระดับราคาที่ใกล้เคียงกัน โดยค่ายแปซิฟิกฯ จัดราคาขาย ดร.จาร์ทในไทยเริ่มที่ 1,500-5,000 บาท ต่างจากเกาหลีไม่เกิน 20% พร้อมชูแผนปีหน้าเตรียมรุกช่องทางร้านขายยา ร้านเชนสโตร์ และร้านเพื่อสุขภาพความงามอื่นๆ กอปรกับการขอแชร์ส่วนแบ่งปีแรก (มี.ค.53-มี.ค.54) ที่ 30 ล้านบาทจากตลาดเวชสำอาง เชื่อว่าเราคงได้เห็นการต้อนรับน้องใหม่จากผู้นำ เร็วๆ นี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us