Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์17 ตุลาคม 2553
ประตูน้ำ ปั้นยอดแสนล้าน เขย่าสตรีตแฟชั่น ฮ่องกง สิงคโปร์             
 


   
search resources

Wholesale
Garment, Textile and Fashion




สมรภูมิค้าส่งประตูน้ำที่มีมูลค่ากว่า 70,000 ล้านบาท ปะทุอีกครั้งหลังทุนการเมืองตระกูล “พร้อมพัฒน์” ทุ่มงบ 4,000 ล้านบาท ผุดโครงการ วอเตอร์เกต พาวิลเลียน มูลค่ากว่า 5.5 พันล้านบาท คาดหลังเปิดให้บริการจะมีส่วนกระตุ้นธุรกิจค้าส่งย่านประตูน้ำ ทำให้มีเงินสะพัดกว่าปีละแสนล้านบาท ยกระดับสู่สตรีตแฟชั่น เทียบชั้นย่านนาธานที่ฮ่องกง และ ออร์ชาร์ดโรดที่สิงคโปร์

โอเวอร์ซี คอนสตรัคชั่น ภายใต้บังเหียนของ พัฒนา พร้อมพัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บุตรชายของ สันติ พร้อมพัฒน์ นักการเมืองสังกัดพรรคเพื่อไทย ทุ่มงบ 4,000 ล้านบาท ผุดโครงการ วอเตอร์เกต พาวิลเลียน ศูนย์ค้าส่งเสื้อผ้าแห่งใหม่ใจกลางเมืองย่านประตูน้ำ บนพื้นที่กว่า 10 ไร่ โดยแบ่งเป็น 2 เฟส เฟสแรก ประกอบด้วย อาคารสูง 20 ชั้น มีพื้นที่โดยรวมกว่า 60,000 ตารางเมตร เป็นศูนย์การค้า 5 ชั้น และชั้นใต้ดิน 1 ชั้น รวมร้านค้ากว่า 1,000 ร้านค้า แบ่งเป็นพื้นที่เฉลี่ยห้องละ 10 ตารางเมตร

ทั้งนี้ จะเป็นการขายขาดทุกยูนิต โดยมีราคาเฉลี่ย 4-6 แสนบาทต่อตารางเมตร ห้องที่แพงที่สุดคือชั้น 1 ราคาขายห้องละ 6 ล้านบาท สำหรับพื้นที่ชัน 5 จะพัฒนาเป็นศูนย์อาหารรองรับลูกค้ากว่า 1,000 ราย ขณะที่ชั้น 9-20 จะเป็นโรงแรม 4 ดาว 300 ห้อง ส่วนที่เหลือเป็นลานจอดรถ

ขณะที่เฟส 2 ซึ่งมีการก่อสร้างควบคู่ไปกับเฟส 1 มีพื้นที่ประมาณ 25,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยร้านค้ากว่า 900 ร้าน โดยหลังจากโครงการศูนย์ค้าส่งแฟชั่น ทั้ง 2 เฟส เสร็จสิ้น บริษัทก็จะเริ่มก่อสร้างโรงแรมต่อไป

“ประตูน้ำเป็นทำเลที่มีศักยภาพเทียบเท่าฮ่องกงและสิงคโปร์ ซึ่งเราเชื่อว่าหลังจากโครงการวอเตอร์เกต พาวิลเลียน แล้วเสร็จในปลายปีหน้า ก็จะมีส่วนผลักดันให้ประตูน้ำมีเงินสะพัดเพิ่มเป็นแสนล้านบาทต่อปี นอกจากนี้เรายังคาดหวังว่าจะมีลูกค้ามาที่ศูนย์ฯวันละ 100,000 ราย แต่อาจจะต้องใช้เวลาสักระยะ” พัฒนา พร้อมพัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ โอเวอร์ซี คอนสตรัคชั่น กล่าว

แหล่งข่าวซึ่งเป็นผู้ประกอบการร้านค้าในย่านประตูน้ำกล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์” ว่า ผู้ประกอบการที่มาจับจองพื้นที่ในโครงการ วอเตอร์เกต พาวิลเลียน ส่วนใหญ่เป็นผู้ค้าหน้าเดิมๆในย่านประตูน้ำ ซึ่งทุกครั้งที่มีพื้นที่ว่างคือโอกาสใหม่ทางธุรกิจ ที่สำคัญ ในย่านประตูน้ำมีไม่กี่โครงการที่ขายขาด เช่น ซิตี้ คอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นโครงการเก่า โครงการขายหมดไปนานแล้ว ส่วนแพลทินัมก็มีการขายขาดพื้นที่ที่ชั้น 1-2 และชั้นใต้ดิต ส่วนโครงการที่เหลือเป็นเพียงการเซ้งหรือเช่าเท่านั้น

ในช่วงกลางปีที่ผ่านมาประตูน้ำก็มีความคึกคักในระดับหนึ่งเมื่อ กลุ่ม ชัยวรดิศ ผุดโครงการ “ชิบูญ่า 19” ซึ่งมีมูลค่าโครงการกว่า 2,000 ล้านบาท ตั้งอยู่ปากซอยเพชรบุรี 19 รวบรวมร้านค้ากว่า 500 ร้าน โดยชูแนวคิดผู้ผลิตถึงผู้บริโภคเพื่อให้ได้ราคาขายที่ถูก พร้อมด้วยโรงแรม 4 ดาว 160 ห้อง ซึ่งทั้งหมด ตั้งอยู่บนอาคารสูง 21 ชั้น พื้นที่รวมกว่า 29,800 ตารางเมตร โดยพื้นที่ขายสินค้าแฟชั่นจะตั้งอยู่บนชั้น 1-5 ซึ่งนอกจากร้านเสื้อผ้าแล้ว ยังมีร้านค้าอื่น เช่น สตาร์บัคส์ และ แม็คโดนัลด์ ที่จะช่วยดึงดูดลูกค้าขาจร หรือผู้บริโภคทั่วไปให้เข้ามาเดินในศูนย์ฯ

ส่วนชั้น 6 เป็นศูนย์อาหาร มี 400 ที่นั่ง และ ชั้น 7-21 เป็นโรงแรม ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะให้บริการได้ในเดือนตุลาคมปีหน้า โดยคิดอัตราคืนละ 2,xxx บาท ในขณะที่พื้นที่ค้าส่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนมิถุนายนปีหน้า ทั้งนี้ทางศูนย์ฯจะมีพื้นที่จอดรถในชั้นใต้ดิน 5 ชั้น รองรับรถ 300-400 คัน

นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมทุ่มงบกว่า 150 ล้านบาท เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการให้เป็นที่รู้จัก โดยคาดว่าจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 4 ปี ทั้งนี้บริษัทจะชูจุดเด่นของโครงการด้วยการทำสัญญากับผู้เช่าระยะยาว 30 ปี และเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 8.00-20.00 น ซึ่งยาวนานกว่าศูนย์ค้าส่งทั่วไปในย่านประตูน้ำที่มักเปิดให้บริการในช่วงเวลา 10.00-18.00 น.

“ตลาดค้าส่งสินค้าแฟชั่นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น และต้องการสินค้าที่มีความหลากหลายกว่าที่มีในปัจจุบัน เราจึงตัดสินใจลงทุนในโครงการนี้” กวีณา วงศ์วิจิตรกุล ประธานกรรมการ ชัยวรดิศ เจ้าของโครงการ “ชิบูญ่า 19” กล่าว

แพลทินัม รุกเฟส 2
ผุดท่าเรือ ดึงดูดลูกค้า

ในขณะที่ผู้นำตลาดอย่าง เดอะ แพลทินัม แฟชั่นมอลล์ ซึ่งป็นผู้เล่นที่สร้างปรากฏการณ์ทำให้ประตูน้ำเป็นที่จับตามากขึ้น ซึ่งเดิมที แพลทินัม วางโพซิชันนิ่งเป็นศูนย์ค้าส่งเสื้อผ้า แต่กลับได้ลูกค้าที่เป็นเด็กนักเรียน วัยรุ่น มาซื้อเสื้อผ้า เครื่องประดับ ราคาปลีกมากเกินคาด ส่งผลให้วันนี้แพลทินัม มีสัดส่วนการขายปลีกและขายส่งพอๆกันคือ 50:50 ในขณะที่แผนเดิมตั้งเป้าสัดส่วนการขายส่งไว้สูงถึง 70% ส่วนการขายปลีกตั้งสัดส่วนไว้เพียง 30% เท่านั้น

เดอะ แพลทินัม เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2549 มีทั้งหมด 6 ชั้น คิดเป็นพื้นที่รวม 110,000 ตารางเมตร เป็นมูลค่าโครงการกว่า 5,000 ล้านบาท โดยมีร้านค้ากว่า 1,600 ร้านค้า มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการในวันธรรมดามากถึง 30,000 คน และมากถึง 50,000 คนในวันหยุด โดยกลุ่มลูกค้าของ แพลทินัม มีทั้งลูกค้าชาวไทย และชาวต่างชาติ แต่เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองส่งผลให้ลูกค้าต่างชาติของแพลทินัมซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 30% ของจำนวนลูกค้าทั้งหมดหดหายไปไม่น้อย ทั้งมิดเดิลอีสต์ และยุโรป แต่เชื่อว่าปีหน้าลูกค้าต่างชาติจะกลับมา

ล่าสุดแพลทินัมทุ่มงบลงทุนกว่า 2,500 ล้านบาท ในการขยายต่อยอดพื้นที่อีกกว่า 40,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น 10,000 ตารางเมตรสำหรับพื้นที่พลาซา จำนวน5 ชั้น รวมกว่า 400 ร้านค้า โดยขณะนี้สามารถขายพื้นที่ไปแล้วกว่า70-80% ในลักษณะของสัญญาเช่าระยะยาว 10 ปี ในราคาประมาณ2 ล้านบาทต่อตารางเมตร และที่เหลือเป็นโรงแรมเชนโนโวเทล ระดับ4 ดาว จำนวน 289 ห้อง ซึ่งในส่วนของพลาซาคาดว่าเปิดได้ในช่วงปลายเดือน ธันวาคมนี้ หรือไม่ก็เป็นต้นเดือนมกราคม 2554 ในส่วนของโรงแรมนั้นจะเปิดให้บริการในปี 2555 ตามแผนเดิมที่วางไว้ โดยคาดว่าจะใช้เวลา 15 ปีในการคืนทุน

ศูนย์การค้าแพลทินัม ยังได้จัดสรรงบประมาณกว่า 50 ล้านบาทในการทำการตลาดกระตุ้นกำลังซื้อให้กลับคืนมาในช่วงครึ่งปีหลังนี้ด้วยสำหรับรายได้ของทางแพลทินัม จะมาจาก 2 ส่วนหลัก คือ ศูนย์อาหารและค่าเช่าพื้นที่บางส่วน ต่อปีมีรายได้อยู่ที่ 300-400 ล้านบาท

นอกจากนี้ ทางกลุ่มผู้ดำเนินธุรกิจย่านประตูน้ำ ซึ่งรวมตัวกันในชื่อ “ประชาคมชาวประตูน้ำ” ยังได้มีการพูดคุยกันที่จะส่งเสริมการโปรโมตย่านการค้าแห่งนี้ภายใต้คำว่าประตูน้ำ เชื่อว่าจะส่งผลให้ธุรกิจย่านนี้เติบโตได้ดียิ่งขึ้น บวกกับแผนการจัดทำการคมนาคมให้สะดวกขึ้น ทั้งการก่อสร้างท่าเรือคลองแสนแสบใหม่ โดยย้ายจากท่าเรือประตูน้ำมาอยู่หลังศูนย์เดอะแพลทินัม แฟชั่นมอลล์ ซึ่งทางแพลทินัมสนับสนุนงบการก่อสร้างกว่า 30 ล้านบาท และการเปลี่ยนโรงผสมปูนของทางซีแพคมาเป็นสวนสาธารณะ รวมถึงการเปิดให้บริการแอร์พอร์ตลิงก์ มั่นใจว่าจะทำให้การค้าส่งเสื้อผ้าในย่านประตูน้ำกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยแผนทั้งหมดนี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2554

“ย่านประตูน้ำถือเป็นย่านการค้าส่งเสื้อผ้าใหญ่ที่สุดในประเทศไทยซึ่งปัจจุบันหลายๆ ศูนย์การค้ากำลังรวมตัวกันในการที่จะมีแผนโครงการจัดทำสกายวอล์กในการเชื่อมต่อระหว่างตึก เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นการดึงลูกค้าให้เข้าศูนย์ฯในย่านนั้น โดยในส่วนของแพลทินัมนั้นได้ลงทุนสร้างไปแล้ว 25 ล้านบาท หากศูนย์ฯใดต้องการก็สามารถทำได้ โดยให้ทางกทม.เป็นผู้ดูแลเรื่องการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม จะพบว่าในย่านนี้กำลังมีศูนย์การค้าส่งแห่งใหม่เกิดขึ้น มองว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะช่วยกันทำให้ย่านค้าส่งเสื้อผ้าแห่งนี้ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จัก รวมถึงกลายเป็นเดสติเนชันของความเป็นศูนย์ค้าส่งเสื้อผ้าแฟชั่นต่อไป” สุรชัย โชติจุฬางกูร ประธานกรรมการบริหารกลุ่ม เดอะแพลทินัม แฟชั่นมอลล์ กล่าว

ความยิ่งใหญ่ของแพลทินัม กำลังจะถูก วอเตอร์เกต พาวิลเลียน ท้าทาย ด้วยขนาดโครงการ จำนวนยูนิต และโรงแรม ที่ใกล้เคียงกัน จะสร้างความคึกคักและดึงดูดกำลังซื้อจากต่างชาติให้เข้าสู่สตรีตแฟชั่นที่ชื่อประตูน้ำได้มากขึ้น และหากประตูน้ำสามารถสร้างมูลค่าได้แสนล้านบาท ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่ประตูน้ำจะเทียบชั้นสตรีตแฟชั่นอย่างนาธานและแคนตั้นในฮ่องกง หรือ ออร์ชาร์ดโรดในสิงคโปร์

เจ้าถิ่นแห่ปรับตัว
รับน้องใหม่

ในขณะที่ประตูน้ำเซ็นเตอร์ ซึ่งลงเสาเข็มตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง ก่อนยุคฟองสบู่แตก แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ปัญหาหนึ่งอาจเกิดจากการเช่าพื้นที่เพื่อหวังเก็งกำไร แต่เมื่ไม่สามารถหาผู้เช่าช่วงมาเช่าต่อได้ ผู้เช่ารายแรกก็ทิ้งร้าน ส่งผลให้ประตูน้ำเซ็นเตอร์ในช่วงแรกต้องเปิดมาด้วยความเงียบเหงา เพราะมีพื้นที่มากแต่กลับมีร้านค้าเปิดขายจริงๆไม่กี่ราย ทำให้ต้องมีการแก้ปัญหาเพื่อดึงดูดทราฟฟิกให้เข้ามาในศูนย์ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรม การเปิดพื้นที่ภายนอกให้เช่าเพื่อสร้างบรรยากาศภายนอกให้ดึงดูดคนเดินข้ามฝั่งจากย่านตลาดประตูน้ำเก่ามาสู่ประตูน้ำเซ็นเตอร์

ประตูน้ำเซ็นเตอร์ มีการเปิดโซนใหม่เมื่อ 3 ปีที่แล้วคือโซน “เดอะ แกรนด์ ซิลเวอร์ จิวเวลรี่” โดยหวังให้เป็นโครงการนำร่องเพื่อแก้ปัญหาความซบเซาในประตูน้ำเซ็นเตอร์ที่มีมายาวนาน โดยมีการทุ่มงบกว่า 700 ล้านบาท พัฒนาพื้นที่ 9,000 ตารางเมตร หรือคิดเป็นร้านค้า 465 ห้อง เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ค้าส่ง 80% และผู้ค้าปลีกอีก 20% โดยหันมาโฟกัสชาวต่างชาติมากขึ้นโดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นที่มีกำลังซื้อสูง

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนมือบริหาร ซึ่งทำให้มีร้านค้ามาลงที่ประตูน้ำเซ็นเตอร์มากกว่าในอดีต ทว่ายังมีห้องค้าอีกหลายห้องที่ยังปิดอยู่ทำให้ประตูน้ำเซ็นเตอร์ไม่คึกคักเหมือนศูนย์ค้าส่งเสื้อผ้าอื่นๆในย่านนี้

นอกจากนี้ยังมี กรุงทอง พลาซ่า ซึ่งวางโพซิชันนิ่งตัวเองให้เป็นศูนย์ค้าส่งเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายขนาดกลาง ที่ประสบความสำเร็จทำให้มีการขยายสาขาที่ 2 ในย่านประตูน้ำ โดยมีการทุ่มงบ 300 ล้านบาท พัฒนาพื้นที่ 6,000 ตารางเมตร สร้างเป็นอาคารสูง 5 ชั้น แบ่งเป็นห้องค้าได้ 161 ห้อง โดยอัตราค่าเช่าของ กรุงทอง พลาซ่า เริ่มที่ 6,000 บาทต่อห้อง ไปถึง 23,000 บาทต่อห้อง ซึ่งมีพื้นที่เฉลี่ย 7-8 ตารางเมตร โดยเป็นสัญญาแบบปีต่อปี

ในขณะที่สินค้าส่วนใหญ่จะเหมือนกรุงทองพลาซ่าสาขาแรกเพื่อให้ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าสะดวกในการเลือกสาขาที่ใกล้ที่สุดเนื่องจากย่านดังกล่าวมีการจราจรที่คับคั่ง นอกจากนี้กรุงทองฯยังหันมาเน้นลูกค้าต่างชาติมากขึ้น หลังจากสาขาแรกที่เน้นลูกค้าชาวไทย แต่กลับได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติด้วย ดังนั้นบริษัทจึงคาดหวังที่จะขยายฐานลูกค้าต่างชาติเพิ่มขึ้น 20% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวฟิลิปปินส์ และอินเดีย

อย่างไรก็ดี กรุงทอง พลาซ่า มีการวางคอนเซ็ปต์ของร้านค้าไม่ต่างจากศูนย์ค้าส่งอื่นในย่านประตูน้ำ คือผู้ค้าควรเป็นโรงงานการ์เมนต์เพื่อที่จะได้นำเสนอสินค้าในราคาส่งที่ดึงดูดลูกค้า ทั้งนิ้ กรุงทอง พลาซ่า ตั้งเป้าว่าทั้ง 2 สาขาควรมีอัตรการเติบโตในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 20%

ส่วนศูนย์ค้าส่งเก่าแก่อย่างใบหยกทาวเวอร์แม้จะไม่มีความเคลื่อนไหวใหม่ๆให้เห็นแต่ก็สามารถผลักดันธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการจับจองพื้นที่เป็นรายแรกๆในยุคเริ่มต้นของประตูน้ำทำให้เป็นที่รู้จักมานาน ขณะที่ผู้ค้าก็ยืนหยัดอยู่ในที่มั่น และขยายห้องค้าไปตามพื้นที่ใหม่ๆที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับซิตี้ คอมเพล็กซ์ ก็มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารโดยการถ่ายโอนกิจการมาสู่รุ่นลูก ก็มีการรีโนเวตศูนย์ค้าส่ง ซิตี้ คอมเพล็กซ์ โดยพัฒนาศูนย์อาหารที่ตั้งอยู่บนชั้น 5 ให้มีความทันสมัย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีการปรับศูนย์ฯในแต่ละชั้นให้ดูใหม่ขึ้น หลังจากเปิดให้บริการมานาน โดยชั้นใต้ดินจะเป็นเครื่องหนัง ชั้น 1 เป็นโซนเสื้อผ้าและยีนส์ ชั้น 2-3 เป็นแฟชั่นเจาะกลุ่มคนบันเทิง และคนทำงานกลางคืน ส่วนชั้น 4 เป็นศูนย์แฟชั่น เครื่องประดับ เจาะตลาดคนรุ่นใหม่ในราคาขายส่ง

ซิตี้ คอมเพล็กซ์ ใช้งบ 100 ล้านบาท พัฒนาศูนย์อาหาร ซิตี้ ฟู้ดเซ็นเตอร์ โดยใช้รูปแบบในการแบ่งเปอร์เซ็นต์กับร้านค้าด้วยสัดส่วน 25:75 โดยไม่เก็บค่าเช่า เพื่อดึงดูดให้ร้านอาหารมาลงมากๆจะได้ดึงดูดให้ผู้บริโภคมาใช้บริการมากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ชั้น 5 เป็นชั้นที่ไม่ค่อยมีลูกค้าขึ้นมาใช้บริการสักเท่าไร ทั้งนี้ภายหลังการปรับปรุงทุกอย่าง คาดว่าจะมีลูกค้ามาใช้บริการในศูนย์ฯมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้มีลูกค้าเข้าศูนย์ฯซิตี้คอมเพล็กซ์เฉลี่ยวันละ 10,000 ราย

นอกจากนี้ ซิตี้ คอมเพล็กซ์ ยังมีแผนขยายสาขาใหม่ นอกประตูน้ำอีก 2 โครงการ คือที่ แอร์พอร์ตลิงก์ และ ปิ่นเกล้า โดยซิตี้ คอมเพล็กซ์ สาขา 2 ในแอร์พอร์ตลิงก์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1 ไร่ ติดกับโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมเข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิ เชื่อมต่อกับซอยเพชรบุรี 15 มีมูลค่าโครงการกว่า 2,000 ล้านบาท โดยชั้น 1-4 ของโครงการจะเป็นศูนย์ค้าส่งค้าปลีกสินค้าแฟชั่น 150 ห้อง ชั้น 5-6 เป็นโรงแรม เมดิคอล สปา ขนาด 50-60 ห้อง ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ

ทั้งนี้ หลังเสร็จสิ้นโครงการ 2 แล้ว ซิตี้ คอมเพล็กซ์ จะเดินหน้าก่อสร้างสาขา 3 ในย่านปิ่นเกล้า ซึ่งจะมีทั้งศูนย์การค้า คอนโดมิเนียม และอาคารสำนักงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในย่านฝั่งธนฯ และกรุงเทพฯตะวันตกให้สามารถเดินทางมาซื้อสินค้าได้สะดวก ไม่ต้องเดินทางเข้าเมือง เนื่องจากย่านประตูน้ำมีสภาาพการจราจรที่ติดขัดแทบจะทุกวัน

ความคึกคักของสตรีตแฟชั่นย่านประตูน้ำ เย้ายวนใจให้ แกรนด์ ไดมอนด์ คอนโดมิเนียม กระโดดเข้าสู่สมรภูมิแฟชั่นในย่านดังกล่าวด้วยเช่นกัน โดยวางโพซิชันนิ่งให้เป็น The Leader of Export Fashion Center ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างพื้นที่ส่วนล่าง โดยชั้นบนยังคงเป็นโครงการที่พักอาศัยเช่นเดิม

เส้นทางสู่สตรีตแฟชั่น

ตลาดประตูน้ำเริ่มต้นจากตลาดเฉลิมลาภที่รับสินค้าจากโบ๊เบ๊มาขายแบบปลีกให้กับผู้ซื้อโดยตรง เพียงแต่รูปแบบของสินค้าจะมีความเป็นแฟชั่นมากกว่า ทั้งเสื้อผู้หญิง กางเกงผู้ชาย การที่ตลาดเฉลิมลาภ บริเวณประตูน้ำขายสินค้าแฟชั่นและเน้นขายปลีกเป็นเพราะในบริเวณนั้นมีห้างสรรพสินค้าทั้งไทยไดมารู และโรงแรมอินทรา ซึ่งทั้ง 2 แห่งในขณะนั้นถือได้ว่าเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกของไทย โดยโรงแรมอินทรามีร้านเสื้อผ้านำเข้า รองเท้ากีฬาจากต่างประเทศ หรือร้านกางเกงยีนส์รุ่นที่หายาก ต่อมาภายหลังมีการแบ่งพื้นที่บางส่วนแบ่งให้ห้างพาต้าเช่า

จากการวางตำแหน่งดังกล่าวทำให้เพียงเวลาไม่นานย่านประตูน้ำจึงกลายเป็นแหล่งรวมเสื้อผ้าแฟชั่นยอดนิยมของนักชอป และผู้ค้า โดยเฉพาะเมื่อ 20 ปีที่แล้ว มีแบรนด์แฟชั่นที่เกิดจากตลาดประตูน้ำมากมายและเป็นที่ยอมรับของตลาดค่อนข้างมาก ต่อมารูปแบบการค้าของที่ประตูน้ำก็กลายเป็นค้าส่งเช่นเดียวกับโบ๊เบ๊

เหตุผลที่ทำให้วันนี้ย่านประตูน้ำกลายเป็นแหล่งแฟชั่นที่ดูคักคักกว่าย่านโบ๊เบ๊ เป็นเพราะแถบนี้มีห้างสรรพสินค้า โรงแรม เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ขณะที่พื้นที่โบ๊เบ๊ส่วนใหญ่เป็นของราชการ ประกอบกับเป็นพื้นที่คลอง ทำให้ไม่สามารถพัฒนาได้เต็มที่เหมือนกับประตูน้ำที่เป็นที่ดินของเอกชน สามารถพัฒนาขึ้นตึกขนาดใหญ่ได้มากมายและรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากการเกิดขึ้นของศูนย์ค้าส่งแฟชั่นใหม่อย่างต่อเนื่อง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us