Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์17 ตุลาคม 2553
เตือนรัฐอย่าใช้ยาแรงสกัดบาทแข็ง หวั่นซ้ำรอยวิกฤติปี 40 เศรษฐกิจพัง             
 


   
search resources

Economics




กรณ์ จาติกวณิช - ประสาร ไตรรัตนวรกุล

มาตรการเก็บภาษี 15% เงินต่างชาติในพันธบัตร สกัดบาทแข็งไม่อยู่ นักบริหารเงินแนะรัฐ-คลัง-แบงก์ชาติ อย่าหักลำเงินบาทแข็ง ชี้เป็นทั้งโลก ย้ำดูปี 2540 เป็นตัวอย่าง ทำได้แค่ประคองสถานการณ์ วอนกลุ่มผู้ส่งออกทำใจปรับตัวรับสภาพ ชี้หาทางสร้างความสมดุลย์ระหว่างกลุ่มนำเข้า-ส่งออก

รัฐบาลออกมาตรการในการเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย อัตรา 15% จากเงินได้ดอกเบี้ยและกำไรจากการขายพันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจและพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยของนักลงทุนต่างประเทศ มีผล 13 ตุลาคม 2553 นับเป็นมาตรการล่าสุดที่กระทรวงการคลังนำมาใช้เพื่อการชะลอการแข็งค่าของเงินบาท หลังจากที่แข็งค่าจากต้นปีกว่า 11% ส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกของไทย

มาตรการดังกล่าวทุกคนรู้ดีว่าไม่สามารถทัดทานการแข็งค่าของเงินบาทได้ เพียงแต่เป็นการชะลอการไหลข้าวของเงินตราต่างชาติระยะหนึ่งเท่านั้น หรือแม้กระทั่งผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 20 ตุลาคมจะมีมติให้ตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ 1.75% ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งหนทางที่ช่วยลดผลตอบแทนจากเงินทุนไหลเข้า แต่ในภาพใหญ่แล้วค่าเงินบาทก็ยังคงมีทิศทางแข็งค่าต่อไป

ยึดปี 40 เป็นบทเรียน

นักบริหารเงินรายหนึ่งมองว่า ประเทศไทยยังคงใช้มาตรการที่ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะเราไม่สามารถไปฝืนกระแสหลักของทิศทางค่าเงินได้ อีกทั้งการแข็งค่าของเงินสกุลในแถบเอเชียถือว่าเป็นกันทุกประเทศ อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจในสหรัฐที่ยังไม่อยู่ในสภาวะฟื้นตัว การสร้างความสมดุลระหว่างค่าเงินกับภาคการส่งออกจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ธุรกิจส่งออกก็ต้องทำใจรับสภาพว่าหลังจากที่ปล่อยเงินบาทลอยตัวเมื่อปี 2540 อัตราแลกเปลี่ยนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของธุรกิจประเภทนี้ เมื่อเงินบาทแข็งค่าก็ต้องหาทางบริหารจัดการค่าเงิน

หากจะให้ทางการหันมาดูแลทุ่มกำลังทั้งหมดเพื่อปกป้องค่าเงินบาทเหมือนในอดีตนั้น ท้ายที่สุดก็จะเจ็บตัวกันทั้งประเทศ จะเห็นได้ว่าเกือบทุกประเภทในเอเชียใช้วิธีการประคอง หรือลดโอกาสและผลตอบแทนของเงินทุนต่างชาติทั้งนั้น ไม่มีใครกล้าที่จะออกมาตรการแรง ๆ ออกมาสกัดหรือปล่อยให้แบงก์ชาติออกไปต่อสู้กับเงินทุนไหลเข้าเพียงลำพัง

ที่ผ่านมาเรายังไม่ประสบความสำเร็จในเปิดให้ทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในต่างประเทศด้วย เห็นได้จากเมื่อผลตอบแทนพันธบัตรเกาหลีลดลง กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศก็เสนอขายน้อยลง ทำให้เงินบาทไม่มีทางระบายมากนัก

จากนี้ไปภาครัฐควรเพิ่มช่องทางใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มช่องทางให้เงินบาทไหลออกในช่วงที่เกิดวิกฤติได้มากขึ้น โดยลองหันมาเพิ่มในภาคบุคคลให้มากขึ้น เช่น กลุ่มนักเรียนไทยที่เดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ กลุ่มท่องเที่ยวที่ค่าเงินบาทที่แข็งทำให้มีคนไทยนิยมเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้น

นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็ง ทั้งกลุ่มนำเข้าหรือบริษัทน้ำมัน ภาครัฐควรเกลี่ยประโยชน์ที่ได้มาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ เช่น การผุดโครงการขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าหรือเมกะโปรเจคอื่น ๆ เพื่อนำเอาความได้เปรียบในเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งนำเข้าสินค้าและอุปกรณ์เหล่านี้เข้ามาสร้างงานในประเทศให้มากขึ้น

แนะหาเครื่องมือบริหารจัดการ

จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในปี 2540 และปี 2553 นักลงทุนต่างชาติยังคงสามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้ทั้ง 2 ช่วงเวลา การโจมตีค่าเงินบาทในปี 2540 ที่พุ่งเป้ามายังประเทศไทยโดยตรง เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในขณะนั้นใช้ระบบคงที่ 25 บาทต่อดอลลาร์ และภาวะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่สูงในขณะนั้นทำให้เป็นช่องโจมตีของทุนต่างชาติได้เป็นอย่างดี ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องออกมาปกป้องค่าเงินจนทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศหายไปจำนวนมากและระบบการเงินของไทยจึงต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่

มาในครั้งนี้เศรษฐกิจของไทยอยู่ในสถานะมั่นคง ขณะที่ยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาทางการเงินเหมือนกับประเทศไทยในปี 2540 แต่ความสามารถทางด้านการบริหารจัดการลงทุนก็ยังสามารถสร้างผลตอบแทนจากค่าเงินได้อัตราแลกเปลี่ยนได้จำนวนไม่น้อยเช่นกัน แตกต่างจากประเทศไทยที่ไม่ว่าจะเกิดวิกฤติด้านอัตราแลกเปลี่ยนครั้งใด เรายังไม่สามารถสร้างหรือผลตอบแทนได้คล่องตัวเหมือนกับเงินทุนจากต่างประเทศ

ถึงเวลานี้น่าจะมีการวางแผนในระดับชาติถึงมาตรการในการรับมือกับวิกฤติที่เกิดขึ้นในแต่ละกรณีว่า ควรจะมีทางออกอย่างไรบ้างหรือควรจะมีเครื่องมือในการผ่อนคลายหรือบรรเทาผลกระทบจากโลกการเงินในยุคปัจจุบันให้มากขึ้น ทั้งการสร้างขึ้นใหม่หรือปรับปรุงของเดิมให้ดีขึ้น

งานนี้จะเป็นบทพิสูจน์ถึงความสามารถในการบริหารจัดการท่ามกลางวิกฤติด้านอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างกรณ์ จาติกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ ว่าจะสามารถประคองสถานการณ์ให้ผ่านพ้นช่วงเงินดอลลาร์อ่อนได้อย่างไร โดยที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบน้อยที่สุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us