Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์17 ตุลาคม 2553
สภาอุตฯชี้ปี 54 อุต”อาหาร-เครื่องใช้ไฟฟ้า”อ่วม บาทแข็งฉุดกำลังซื้อในประเทศลด-ส่งออกยากขึ้น             
 


   
search resources

Food and Beverage
Automotive
Electric




อุตสาหกรรมไทยปีหน้าอ่วม ค่าเงินบาทแข็งฉุดยอดส่งออก “เครื่องใช้ไฟฟ้า-อาหาร”ลดฮวบ ระบุเกษตรกรเริ่มได้รับผลกระทบ โรงงานกดราคาผลผลิต ทำให้กำลังซื้อภายในประเทศลดฮวบ ขณะที่ศักยภาพการส่งออกลดลง หวั่นรุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ ด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ฉลุย คาดยอดผลิตปีหน้าทะลุ 1.8 ล้านคัน ขึ้นแท่นผู้ผลิตยักษ์ใหญ่อันดับ 8 ของโลก

พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมไทยในปีหน้า จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการทั้ง 39 กลุ่มอุตสาหกรรม มีผู้ประกอบการ 43.7% เห็นว่ายอดขายจะดีขึ้น รองลงมา 33.1% เห็นว่าชะลอตัวลง และอีก 23.2% เห็นว่าแย่ลง

โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ตอบว่าดีขึ้นจะมีอยู่ 20 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมรองเท้า เหล้ก หลังคาและอุปกรณ์ แก้วและกระจก ชิ้นส่วนรถยนต์และอะไหล่ เครื่องจักรกลการเกษตร รถยนต์ ไฟฟ้าและอิเล้กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ อาหาร ยา สมุนไพร โรงกลั่นและปิโตรเลียม ผู้ผลิตไฟฟ้า ปิโตรเคมี เคมี ผลิตภัณฑ์ยาง การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ หัตถอุตสาหกรรม และซอฟต์แวร์

กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะชะลอตัวมีอยู่ 14 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ หนังและผลิตภัณฑ์ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ โรงเลื่อยและโรงอบไม้ ไม้อัดและวัสดุแผ่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักรกลและโลหะการ น้ำตาล ก๊าซ พลังงานทดแทน กระดาษ การจัดการของเสีย และเทคโนโลยีชีวภาพ ส่วนอุตสาหกรรมที่แย่ลงมี 5 กลุ่มได้แก่ ได้แก่ ปูนซิ๊เมนต์ แกรนิตและหินอ่อน เซรามิก พลาสติก และอลูมิเนียม

ทั้งนี้ ปัจจัยบวกในปีหน้าจะมาจากการขยายตัวด้านการลงทุนที่จะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้จะมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ คำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มของเศรษฐกิจภายในประเทศ และเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะดีขึ้น ขณะที่ปัจจัยลบที่จะกระทบต่ออุตสาหกรรมไทย จะมาจากอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ราคาน้ำมัน สถานการณ์การเมืองภายในประเทศ และปัญหาภาวะเศรษฐกิจของยุโรป

ปี 54 รถยนต์ไทย
ขึ้นอันดับ 8 ของโลก

ด้าน ศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กล่าวถึงสถานการณ์ณ์การผลิตรถยนต์ในปีนี้ และคาดการในปีหน้าว่า ในรอบ 6 เดือนแรกที่ผ่านมายอดการผลิตรถยนต์ของไทยสูงขึ้นมาอยู่ในระดับ 12 ของโลก และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะขึนมาอยู่ในอันดับที่ 10 มียอดการผลิตทั้งสิ้น 1.6 ล้านคัน เป็นรถยนต์ที่ขายในประเทศ 700,000 คัน และส่งออกอีก 900,000 คัน โดยในรอบ 8เดือน ยอดขายตลาดภายในประเทศส่วนใหญ่ 49% จะเป็นรถปิคอัพ รองลงมา 43% เป็นรถยนต์นั่ง และรถยนต์ชนิดอื่นๆอีก 8% มียอดรวมทั้งสิ้น 488,088 ส่วนตลาดส่งออก ส่วนใหญ่จะเป็นรถปิคอัพ 77% รองลงมาเป็นรถยนต์นั่ง 23% มียอดรวม 583,533 คัน มีมูลค่าส่งออกประมาณ 2.7 แสนล้านบาท ซึ่งในอุตสาหกรรมรถยนต์นี้มีการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศเฉลี่ยสูง โดยในรถปิคอัพใช้ชิ้นส่วนในประเทศมากถึง 90% ส่วนในรถยนต์นั่งเฉลี่ยใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศประมาณ 60% ทำให้มีการส่งออกมากกว่านำเข้าถึง 2.14 แสนล้านบาท

ส่วนในปีหน้าคาดว่าอัตราการเติบโตยังคงขยายอย่างต่อเนื่อง มียอดการผลิตประมาณ 1.8 ล้านคัน แบ่งเป็นการส่งออก 1.02 ล้านคัน และขายในประเทศประมาณ 8-8.5 แสนคัน และจะยกอันดับการผลิตของไทยขึ้นไปอยู่อันดับ 8 ของโลก นอกจากนี้หากยอดการผลิตอีโคคาร์ออกมาตามที่คาดการไว้ 5 แสนคันต่อปี ภายในปี 2015 ไทยจะก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตชั้นนำ 1 ใน 5 ของโลก และอีโคคาร์ก็จะเป็นอีกเสาหลักหนึ่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยควบคู่ไปกับรถปิคอัพ ซึ่งตลาดรถยนต์ของไทยส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่เอเชียแปซิฟิกมากที่สุด โดยเพาะอย่างยิ่งประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอาฟต้า ในขณะที่ปัญหาเงินบาทแข็งค่าก็ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญในการส่งออกรถยนต์ เพราะส่งนประกอบส่วนใหญ่ผลิตภายในประเทศ ซึ่งในส่วนของโตโยต้า ก็แก้ไขโดยการใช้เงินสกุลท้องถิ่นซื้อขายระหว่างกัน เช่นการซื้อขายรถยนต์ของไทยกับอินโดนีเซียจะใช้เงินบาท และเงินอินโดนีเซียในการซื้อขาย เพื่อลดความผันผวนของค่าเงิน ส่วนคู่แข่งที่น่ากลัวของไทยจะเป็นรถยนต์จากเกาหลีใต้ เพราะมีคูณภาพการผลิตดีขึ้นเรื่อยๆแต่ราคาถูกกว่ารถยนต์ของญี่ปุ่น

อุตฯไฟฟ้าอ่วม
บาทแข็งฉุดกำลังซื้อในประเทศหด

ด้าน ศุภชัย สุทธิพงษ์ชัย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล้กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ยอดขายในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล้กทรอนิกสฺในรอบครึ่งปีที่ผ่านมาตลาดภายในประเทศมีอัตราการขยายตัวสูงถึง 15% โดยได้รับผลบวกจากภาวะอากาศที่ร้อนอบอ้าว ทำให้ยอดขายเครื่องปรับอากาศ ตูเย็น พัดลมสูงขึ้นมาก ส่วนการส่งออกขยายตัวสูงถึง 34% เนื่องจากยอดส่งออกในปี 52 ลดลงมาก ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 51 จะโตขึ้นไม่มาก ส่วนการส่งออกในครึ่งปีหลังคาดว่าจะโตต่อเนื่องแต่ไม่น่าจะเกิน 16% ทำให้ยอดรวมทั้งปีขยายตัว 25% มีมูลค่าประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท

ในขณะที่ภาวะการค้าในปี 54 นั้น คาดว่ายอดการส่งออกในอุตสาหกรรมนี้ จะขยายตัวประมาณ 5% ในขณะที่ตลาดในประเทศจะขยายตัวเพียง 2-3% โดยเห็นได้จากตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมายอดการขายในประเทศค่อยๆลดลง โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัดที่ตกต่ำมาก เนื่องจากเลยช่วงหน้าร้อน ประกอบกับค่าเงินบาทที่เข็งค่า ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง เพราะโรงงานต่างๆต้องกดราคารับซื้อเพื่อมาชดเชยการขาดทุนจากค่าเงินบาท ทำให้กำลังซื้อของคนในต่างจังหวัดลดลง และคาดว่าจะอยู่ในสภาพนี้ไปจนถึงครึ่งปีหน้า

นอกจากนี้การที่บาทแข็งตัวมากยิ่งทำให้สินค้านำเข้าจากจีนมีราคาถูกลงมากขึ้นจากเดิมที่ราคาต่ำกว่าสินค้าไทยอยู่แล้วทำให้เข้ามาแย่งตลาดจากสินค้าไทยไปพอสมควร ทำให้คาดว่ายอดการขายของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล้กทรอนิกส์ในปีหน้าจะย่ำแย่พอสมควร รวมทั้งยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงานอีกนับแสนคนเข้ามาซ้ำเติมอีก รวมทั้งตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในประเทศเริ่งอิ่มตัว เครื่องใช้ไฟฟ้าพื้นฐานมีแล้วเกือบทุกครัวเรือน ทำให้ขายได้ยาก มีเพียงเครื่องซักผ้าที่ตลาดยังไม่อิ่มตัว ในช่วงครึ่งปีแรกโตถึง 20%

อุตฯอาหารส่งออกชะงัก
กดราคาเกษตรกร

วิศิษฎ์ ลิ้มประนะ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับ 7 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 8 แสนล้านบาท และยังเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเกือบ 100% ทำให้เม็ดเงินกระจายไปสู่ประชาชนมากที่สุด อย่างไรก็ตามจากปัญหาค่าเงินบาทแข็ง ทำให้ผู้ประกอบการเสนอราคากับผู้ซื้อยากขึ้น ล่าสุดมีผู้ประกอบการ 20-30% หยุดรับออเดอร์จากต่างประเทศ เพราะค่าเงินบาทผันผวนเร็วมาก แต่ทั้งนี้แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งก็ไม่กระทบกับเป้าหมายการส่งออก เพราะประเทศคู่แข่งหลายรายมีปัญหาภัยธรรมชาติ ผลผลิตลดลง และสินค้าไทยผ่านมาตรฐานที่เข้มงวดของผู้นำเข้าเหนือกว่าคู่แข่งประเทศอื่น รวมทั้งในอุตสาหกรรมอาหารบางกลุ่มก็กำไรมาก บางกลุ่มก็กำไรน้องเฉลี่ยกันไป

โดยในกลุ่มที่น่าเป็นห่วงจะเป็นกลุ่มอาหารกระป๋อง เพราะมีกำไรเพียง 3-4% หากค่าเงินแข็งจะขาดทุนได้ง่าย ซึ่งขณะนี้ผู้ผลิตพยายามส่งออกตามที่ลูกค้าต้องการเพื่อรักษาตลาไม่ให้คู่แข่งเข้ามาแย่ง และลดราคารับซื้อจากเกษตรกร เพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอดได้ ซึ่งหากรัฐบาลไม่เร่งแก้ไขก็อาจรุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจได้ เพราะกำลังซื้อในประเทศลดลงเพราะเกษตรกรถูกกดราคา และส่งออกสินค้ายากขึ้น เพราะค่าเงินแข็งกว่าประเทศคู่แข่ง ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถพึงพาได้ทั้งตลาดต่างประเทศและในประเทศ ซึ่งคาดว่าหากสถานการณ์ณ์ค่าเงินบาทยังไม่ได้รับการแก้ไข ในปีหน้าอาจจะเป็นครั้งแรกที่อุตสาหกรรมอาหารของไทยขยายตัวต่ำกว่า 10%

“ในปีนี้ไทยยังมีโชคเพราะประเทศคู่แข่งประสบกับภัยธรรมชาติ ประเทศอินเดียงดงางออกข้าว รัสเซียลดการส่งออกข้าวสาลี เป็นต้น ซึ่งหากในปีหน้าประเทศคู่แข่งของไทยไม่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ การส่งออกอาหารของไทยได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us