|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โอกาสทองแบรนด์ดิ้งประเทศไทยอีกครั้ง ผ่านเวทีบิ๊กอีเว้นต์ระดับโลก”เซียงไฮ้ เวิล์ด เอ็กซ์โปร 2010 ” ด้วยกลยุทธ์สื่อสารการตลาดแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นคนจีนและชาวโลกให้รู้จักเมืองไทยมากขึ้น งานนี้จากการสำรวจสถิติผู้เข้าพาวิลเลี่ยนไทย ล่าสุดยอดทะลุ 5.7 ล้านคนใกล้ตัวเลขเป้าหมาย 7 ล้านคนแล้ว อินเด็กซ์ อีเว้นต์ฯแม่งาน เผยกุญแจความสำเร็จตอบโจทย์บิ๊กอีเว้นต์โดนใจคนจีน เน้นมิติภาพรวม สื่อสารสั้นๆเข้าใจง่ายและเน้นสนุกเปื้อนรอยยิ้ม
5ด.ทะลุ 5.7 คน! ทุบสถิติ
คนจีนแห่ดูพาวิลเลี่ยนไทยเพียบ
ล่าสุด ค่ายอินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเยนซี่ อันดับ 8 ของ บริษัทอีเว้นท์ระดับโลก จากการจัดอันดับ 50 Top Event Companies ใน World Class Ranking 2010 โดยนิตยสาร Special Event Magazine นิตยสารอีเว้นท์ชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา โดย ประธานกรรมการของบริษัทฯ เกรียงไกร กาญจนะโภคิน ระบุถึง ยอดนักท่องเที่ยวจีนและต่างชาติเข้าเยี่ยมชมไทยแลนพาวิลเลี่ยน ( สำรวจถึงวันที่ 7 ตุลาคม)จำนวน 5.7 ล้านคนจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 7 ล้านคนหรือ10 เปอร์เซ็นต์ของยอดผู้ชมเข้างานที่จีนได้กำหนดไว้ 70 ล้านคนตลอดการจัดงาน 6 เดือน "เราเชื่อว่าจนถึงสิ้นเดือนตุลาคมนี้ยอดผู้เข้าชมไทยแลนด์พาวิลเลี่ยนทะลุยอด 7 ล้านคนอย่างแน่นอน"บิ๊กบอสอินเด็กซ์ อีเว้นต์ฯบอกอย่างมั่นใจ
เมื่อถามถึงกุญแจความสำเร็จของการแบรนด์ดิ้งประเทศไทยผ่านบิ๊กอีเว้นต์ระดับโลกอย่างWorld Expoนี้ เกรียงไกร เปิดเผยว่า มาจากปัจจัย ข้อแรก-เปลี่ยนแฟรทฟอร์มการคิดไทยแลนด์ พาวิลเลี่ยนใหม่ ไปเป็น Nation Brandingหรือการแบรนด์ดิ้งประเทศไทยอย่างจริงจัง โดยมีการทำความเข้าใจกับกระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์หรือพม.ก่อนว่าเป็นNation Branding ทำให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมได้หมด ข้อสอง-ใช้กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ คนจีนเป็นที่ตั้ง โดยมีการสำรวจความคิดเห็นหรือทำโฟกัส กรุ๊ปกับคนจีนว่าคิดอย่างไรบ้างกับประเทศไทย สนใจอะไรในประเทศไทยเป็นหลัก
"ทั้งสอง 2 ข้อดังกล่าว ทำให้เป้าหมายชัดเจนว่าเป็นการทำเนชั่นแบรนด์ดิ้ง หรือการแบรนด์ดิ้งประเทศไทย
ซึ่งมันมีผลว่าไม่ใช่เรื่องของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งและที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จเพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ใช่หน่วยงานทำมาร์เก็ตติ้งประเทศ อาทิ กระทรวงต่างประเทศ ททท.หรือกรมส่งเสริมการส่งออก แต่หลักๆเป็น
หน่วยงานที่ไม่ค่อยเกี่ยวข้องและยังมีมุมมองว่าเป็นงานของหน่วยงานตัวเอง ส่งผลให้คอนเท้นต์ไม่ใช่ของประเทศไทย"
ไทยแลนด์ พาวิลเลี่ยนในเวิล์ด เอ็กซ์โปร์ครั้งนี้ สามารถสื่อสารประเทศไทยได้หลายมิติ อาทิ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน จัดเป็นการสื่อสารประเทศไทยไปยังต่างประเทศในภาพรวมของแท้จริง
ที่สำคัญ คือ คิดเป็นอีเว้นต์ มาร์เกตติง (Event Marketing ) เนื่องจากพฤติกรรมผู้ชมของงานส่วนใหญ่ต้องเข้าชมหลายพาวิลเลี่ยนในแต่ละวัน ดังนั้นข้อความที่สื่อสาร (Massages Communication )ต้องเป็นข้อความประเภท Single Massages หรือข้อความที่นำเสนอประเด็นไม่มาก 1-2 ประเทศเพื่อเข้าใจทันทีและนำเสนอให้เกิดความประทับใจประเทศให้มากที่สุดในระยะเวลาไม่นานนักประมาณ15-20นาทีต่อครั้ง ส่งผลให้ที่สุดผู้เข้าชมเกิดความสนใจและค้นหาต่อไป
เผยเทคนิคออกแบบให้โดนใจ
ยอดผู้รอเข้าชมแต่ละวันของพาวิลเลี่ยนไทยนั้น มีการระบุไว้ว่าประมาณ.. คนต่อวัน ซึ่งนับว่าเป็นสถิติที่อยู่ในอันดับต้นๆของพาวิลเลี่ยนในโซนเอเชียที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ เทคนิคออกแบบให้โดนใจผู้ชมนั้น บอสใหญ่อินเด็กซ์คน
เดิมบอกว่า ได้มีการวิเคราะห์พฤติกรรมคนจีนต่อการรู้จักไทย จัดว่ามีตัวเลขที่ยังน้อยอยู่โดยเฉพาะคนจีนนอกเมือง บางคนยังถามเด็กไทยที่เรียนหนังสือเมืองจีนว่าเมืองไทยใช้รถหรือเปล่า หรือ คนไทยเป็นกะเหรี่ยงคนยาวใช่มั้ย
"อาจเป็นไปได้ว่า เนื่องจากประชากรจีนมีนับพันล้านคน ความสนใจและพื้นฐานความรู้ก็แตกต่างกันมาก ดังนั้นการคิดตีโจทย์ทำอีเว้นต์จึงต้องคิดแบบแมสหรือเพื่อคนจำนวนมาก และการออกแบบสร้างสรรค์เนื้อหาไม่จำเป็นต้องลงลึกมากในนำเสนอภาพรวมของประเทศ มุ่งเน้นในมิติ ศิลปะวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนและคำว่าดินแดนแห่งรอยยิ้ม (Land of Smiles ) เพราะคนไทยมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่ว่าเป็นใครมาก็ตามเป็นวัฒนธรรมแบบพี่น้องคล้ายกับคนจีน จึงทำให้โดนใจคนดู"
นอกจากนี้วิธีการนำเสนอ ยังเน้นแบบเข้าใจง่าย สั้นกระชับและสนุก ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจความสำเร็จอีกด้านหนึ่ง เพราะผู้เข้าชมพาวิลเลี่ยนที่รอเข้าชมในแต่ละวันมีจำนวนมากหลายหมื่นคน ทำให้ต้องใช้เวลารอเข้าชมนานเช่นกัน ดังนั้นเมื่อเข้าชมพาวิลเลี่ยนจะต้องให้ผู้ชมประทับใจ ตระการตา มีรอยยิ้มและความสุขจริงๆ
เขาให้ความเห็นด้วยว่า การจัดเวิล์ดเอ็กซ์โปร์ของจีนครั้งนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จในการแบรนด์ดิ้งประเทศไทย ซึ่งเป็นการตอกย้ำอีกครั้ง หลังจากที่จีนได้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬ่าโลก"โอลิมปิกที่ปักกิ่ง"เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมามีคนร่วมงาน 7 ล้านคนในช่วง 1 เดือน ซึ่งครั้งนั้นเป็นการสื่อสารให้ชาวโลกรู้ว่าจีนสามารถทำให้สิ่งที่ชาวโลกไม่คาดคิดว่าทำได้เช่นกัน
โดยเฉพาะความเป็นระเบียบ ความสมัครสมานสามัคคีใช้คนจำนวนมาก อันแสดงศักยภาพของคนที่โชว์ได้ทุกอย่าง โดยเป้าหมายยอดผู้เข้าร่วมชมงานเซี่ยงไฮ้ เวิล์ดเอ็กซ์โปร์ครั้งนี้วางเป้าหมายไว้ 70 ล้านคนภายใน 6 เดือน ซึ่งอีเว้นต์เอ็กซ์โปร์ยุ่งยากและซับซ้อนกว่า เพราะมีตัวแทนหลายประเทศเข้าร่วมงานที่ต้องประสานงานกับหลายชาติในโลกให้ทำพาวิลเลี่ยนเสร็จทันตามกำหนด รวมทั้งมีจำนวนผู้เข้าร่วมงานมากกว่า แตกต่างจากโอลิกปิกที่มีนักกีฬาหลายชาติหลักหมื่นคน งานนี้จีนสามารถตอบโจทย์บริหารจัดการงานบิ๊กอีเว้นต์ได้ดีไม่แพ้กัน
“กระแสบอกต่อ”กลยุทธ์สร้างชื่อ
Thailand ให้ดัง บนเวที World Expo
ในข้อสรุปผลสำรวจของNielsen ประเทศจีน เพื่อวัดผลงาน Thailand Pavillion หรือศาลาไทย เมื่อเดือนสิงหาคมทีผ่านมา ระบุว่า จัดว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการสร้างความประทับใจจนเกิดกระแสการบอกต่อ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างการรู้จัก และดึงดูดให้ผู้คนเยี่ยมชมศาลาไทย นอกจากนี้ตัวสถาปัตยกรรมที่แปลกและสวยงาม และการนำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์
ในเชิงการประชาสัมพันธ์สำหรับศาลาไทย พบว่าผู้เข้าชมส่วนใหญ่ตั้งใจหรือวางแผนที่จะมาเข้าชมศาลาไทยอยู่ก่อนแล้ว นับว่าเป็นพาวิลเลียนที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้เข้าชมงาน World Expo ซึ่งส่วนใหญ่จะรู้จักผ่านทางโทรทัศน์และการบอกต่อจากผู้ที่เคยเข้าชมแล้วเกิดความประทับใจ ซึ่งการบอกต่อมีผลมากในการดึงดูดให้คนมาแวะชมศาลาไทยนอกจากนี้ สถาปัตยกรรมสไตล์คลาสสิกที่สวยงามก็มีบทบาทที่สำคัญในการจูงใจให้คนเข้าชมศาลาไทย
อีกทั้ง ยังคงการสร้างความประทับใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดการแนะนำ/บอกต่อไปยังผู้อื่นที่ยังไม่ได้เข้าชมต่อไป เช่น มีเจ้าหน้าที่คอยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าชม คอยช่วยเหลือ ให้ข้อมูลหรือให้ความบันเทิง หรืออาจมีกิจกรรมเสริมอื่นๆ เช่น แจกของที่ระลึก และการประชาสัมพันธ์เน้นทางโทรทัศน์เป็นสื่อหลักโดยสื่อถึงสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ความตื่นตาตื่นใจจากความประทับใจของผู้เข้าชม
ขณะเดียวกัน ยังสามารถสร้างความประทับใจให้ผู้เข้าชมด้วยองค์ประกอบที่พิถีพิถัน ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม เนื้อหา การผสมผสานเทคโนโลยีและการแสดง และการสื่อถึงความเป็นมิตร ขณะเดียวกันมีการสื่อสารถ่ายทอดความเป็นไทยออกมาได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ได้ชมการแสดงด้านหน้า รวมทั้งทำให้ผู้เข้าชมอยากมาเที่ยวเมืองไทย
|
|
|
|
|