|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ความฝันประการหนึ่งที่รัฐบาลไทยพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น ด้วยความมุ่งหวังว่าเป็นเข็มทิศขับเคลื่อนประเทศไทย เนื่องจากเห็นศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของเอกชน และความเป็นไปได้ในการแข่งขันก็คือ การเป็นฮับในธุรกิจแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฮับด้านแฟชั่น ฮับด้านการรักษาพยายาล และฮับเรื่องอาหารการกิน ที่พยายามวางตำแหน่งให้ไทยเป็นครัวของโลก
การวางโพสิชั่นนิ่งเพื่อการแข่งขันเป็นเรื่องหนึ่ง แต่การเตรียมคนเพื่อรองรับให้เป็น “ฮับ” ดังที่ใจหวังเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลไม่มีการวางยุทธศาสตร์เรื่อง “คน” โดยเฉพาะเรื่องของ “การศึกษา” อย่างเป็นระบบ และเป็นเรื่องเป็นราวเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว
เมื่อหวังพึ่งรัฐบาลไม่ได้ เอกชนจึงต้องพึ่งตนเองเป็นหลัก เข้าทำนอง “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนั้นแล”
การขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจให้เติบโตไปในอนาคตต้องอาศัยหลายปัจจัยเกื้อหนุน ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน หรือเทคโนโลยี แต่เหนือสิ่งอื่นใด “คน” ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการก้าวสู่เป้าหมายสูงสุดขององค์กร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ จึงเร่งเดินหน้าสรรหาและพัฒนาบุคลากรให้ทันต่อการเติบโตสู่ครัวของโลก
ปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริหารทรัพยากรบุคคลซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด รวดเร็ว และมีกลยุทธ์ธุรกิจในการขยายตัวสู่ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น กลยุทธ์ของงานด้านทรัพยากรบุคคลก็ต้องสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับธุรกิจ
“การขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ เราจะรับคนของประเทศนั้นๆเข้าร่วมงานกับบริษัท เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนในประเทศนั้น เนื่องจากธุรกิจของบริษัทต้องทำประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชนและตัวบริษัท ขณะเดียวกัน จะต้องมีผู้บริหารคนไทยที่หมุนเวียนไปทำงานในต่างประเทศด้วย บริษัทจึงต้องหาสรรหาบุคลากรใหม่ๆ เข้ามาเสริมและพัฒนบุคคลากรเหล่านั้นขึ้นมาเป็นผู้นำในอนาคต เติบโตหมุนเวียนกันต่อไป โดยในแต่ละปีจะรับพนักงานใหม่หลายร้อยตำแหน่ง มีหลักคัดเลือก “คน” ที่องค์กรต้องการเพียง 2 คำ สั้นๆ คือ “เก่งและดี”
การสรรหาคนเก่งและคนดีของซีพพีเอฟเริ่มต้นจากการพิจารณานักศึกษาจบใหม่ด้วย GPA หรือ เกรดเฉลี่ย ซึ่งบ่งบอกความรับผิดชอบของนักศึกษาได้ในระดับหนึ่ง รวมทั้งใช้วิธีดูแววของนักศึกษา จากมุมมองต่างๆในการตอบคำถาม ตลอดจนบุคลิกภาพโดยรวม แล้วค่อยนำเข้ามาพัฒนาหล่อหลอมให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่เรียกว่า CPF Way ซึ่งมีหัวข้อ “ตอบแทนคุณแผ่นดิน” ที่สะท้อนความเป็นคนดีให้ติดตัวพนักงานต่อไป
สำหรับ CPF Way ประกอบด้วยหลัก 6 ประการ 1.ยอมรับการเปลี่ยนแปลง เพราะโลกของเราอยู่ในกระแสที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง จึงต้องสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 2. เป็นคนที่ใฝ่รู้ และเรียนรู้ เพื่อนำความรู้มาแบ่งปันกัน ทั้งจากให้ผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่ามาถ่ายทอดสิ่งที่ประสบความสำเร็จ และสิ่งที่ล้มเหลว 3. ต้องสร้างความคิดสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในทุกส่วน ตั้งแต่กี่วิจัยพัฒนา การผลิต และการตลาด เพื่อรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 4.เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ขยัน ซื่อสัตย์ และอดทน 5.มุ่งมั่น ทุ่มเทให้เกิดความสำเร็จ และ6.รู้จักบุญคุณทดแทนแผ่นดิน ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงประเทศไทยเท่านั้น แต่ในทุกประเทศที่ซีพีเอฟเข้าไปลงทุน
ปัจจุบันการพัฒนาบุคลากรและเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคลของซีพีเอฟมีการวางแผนและวางกลยุทธ์หลายส่วน เช่น ในส่วนของผู้บริหารระดับสูงจะมีนโยบาย Successor ซึ่งจะเป็นการกำหนดตัวผู้ที่จะสามารถขึ้นดำรงตำแหน่งแทนผู้บริหารที่จะเกษียณไป โดยฝ่ายทรัพยากรบุคคลกับโอเปอเรชั่นจะร่วมกันคัดเลือก แต่บางตำแหน่งที่สร้าง Successor ได้ไม่ทัน ก็จะใช้วิธีรรหามืออาชีพเข้ามา หลังจากกำหนดได้แล้ว บริษัทจะวางแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล (Individual Program) ขณะที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ อายุไม่เกิน 30 ปีที่มีความสามารถโดดเด่น หรือที่เรียกกันว่า Talent ก็จะมีโปรแกรม Future leader เพื่อเตรียมพัฒนาในอีกรูปแบบหนึ่งเป็นพิเศษ
“ท่านประธาน (ธนินทร์ เจียรวนนท์) ให้ความสำคัญในด้านบุคลากรเป็นอย่างมาก นอกเหนือไปจากจะร่วมประชุมกับผู้บริหารและพนักงานเป็นประจำทุกเดือนแล้ว ยังเชิญ Talent ให้ได้ออกมาแสดงความคิดเห็น ทั้งยังเชิญ ดร.โนเอล ริชชี่ ผู้ทำหลักสูตรพัฒนาบุคลากรให้กับโบอิ้งและจีอีเข้ามาทำหลักสูตรและให้ความรู้แก่ผู้บริหารของบริษัทด้วย”
ในส่วนของการรับสมัครพนักงานใหม่บริษัทเปิดรับใน 2 ส่วน ได้แก่ กลุ่มผู้มีประสบการณ์การทำงาน และกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ ในกลุ่มหลังบริษัทได้สร้างกิจกรรม CPF Future Career ขึ้นในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ตามหัวเมืองต่างๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เชียงใหม่ และสงขลานครินทร์ ที่นอกจากจะเป็นการเปิดรับสมัครนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เพื่อคัดเลือกเข้าเป็นพนักงานของบริษัทแล้ว ยังเป็นกิจกรรมให้ความรู้แก่นักศึกษาในการเตรียมพร้อมที่จะก้าวสู่ชีวิตการทำงานในอนาคต โดยผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจะบรรยายให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน การเติบโตในสายอาชีพ รวมถึงการดูแลและการพัฒนาบุคคลากรของบริษัท ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา ในการนำไปพิจารณาตัดสินใจเข้าร่วมงานกับบริษัทหรือตลาดแรงงานอื่นๆ
“กิจกรรมนี้เพิ่งเริ่มดำเนินการเป็นปีแรก จากปกติจะทำเพียง Campus Recruitment โดยไปวางใบสมัครตามคณะต่างๆ แล้วนัดวันมาสัมภาษณ์ ขณะที่บางคณะบางมหาวิทยาลัยจะจัดปัจฉิมนิเทศและเชิญบริษัทเข้าไปร่วมเสวนา เราจึงผนวก Campus Recruitment และ ปัจฉิมนิเทศเข้าด้วยกันเป็น CPF Future Career โดยจัดกิจกรรมในระยะเวลา 2 วัน วันแรกเป็นการให้ความรู้ วันที่สองเป็นการสัมภาษณ์งาน” ปริโสทัต กล่าว
ขณะที่ ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) กล่าวว่า ที่มอ. มีนักศึกษาที่เรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานของซีพีเอฟอยู่หลายคณะ ไม่ว่าจะเป็น สายงานเกษตร ทั้งด้านการผลิตและด้านแปรรูปอาหาร เช่น สัตวบาล นักวิชาการประมง Food Science Food Technology เป็นต้น
รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล กล่าวว่า มีคนถามอยู่เสมอว่าซีพีเอฟสรรหาคนด้วยวิธีดูโหวงเฮ้งหรือไม่ แม้ว่าโหวงเฮ้งถือเป็นบุคลิกภาพของคนได้ส่วนหนึ่ง แต่ที่บริษัทไม่ได้ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการพิจารณารับสมัครพนักงาน เฉกเช่นเดียว กับการพิจารณา GPA ก็ยังไม่ถึงขั้นระบุเกรดขั้นต่ำแต่อย่างใด ขณะที่การสรรหาบุคลากรรุ่นใหม่เข้ามาร่วมงาน ย่อมหมายถึงคนเจนวาย ซึ่งบริษัทต้องเรียนรู้ความต้องการของคนรุ่นใหม่นี้ ว่าให้ความสำคัญกับสิ่งใด ขณะเดียวกัน ก็ต้องดูแลคนรุ่นเก่าหรือเจนเอกซ์ด้วย
การปรับตัวของทั้งบริษัทและบุคลากรก็ต้องเกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการผสานความต่างของคนเจนเอกซ์ และเจนวายให้เข้าด้วยกันให้ได้อย่างกลมกลืน เช่น ประเด็นของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ควรจะลงตัวกับการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ มีการจัดงานให้เหมาะสม ส่งเสริมวิธีบริหารจัดการที่มีเวทีให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงออก รวมถึงการสร้างความเข้าใจกับคนเจนเอกซ์ที่เริ่มเป็นผู้บริหารแล้ว ให้ยอมรับความต่าง ทำให้คนทั้ง 2 รุ่น ปรับตัวเข้าหากัน เพราะที่สุดแล้วองค์กรไม่สามารถอยู่ได้ด้วยคนเพียงเจนเดียว
“ปัญหาความเข้าใจระหว่างคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ก็มีอยู่บ้าง ไม่แตกต่างจากองค์กรขนาดใหญ่อื่นๆ ซึ่งก็ต้องศึกษาว่าจะใช้กลยุทธ์อย่างไร แต่นับว่ายังโชคดีที่บริษัทมีประธานธนินท์เป็นต้นแบบ และมี CPF Way เป็นวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งจะช่วยหล่อหลอมความเชื่อ ความคิด และพฤติกรรมที่แสดงออกของคน 2 เจน ให้รวมกันได้” ปริโสทัต กล่าว
|
|
|
|
|