|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ปตท.รุกธุรกิจไฟฟ้าเจรจาร่วมทุน กฟผ.ทำโครงการโรงไฟฟ้าในต่างประเทศที่ขายไฟเข้าไทย หลังประเมินแนวโน้มโรงไฟฟ้าใหม่ในประเทศเกิดยาก ยันไม่ต้องการถือหุ้นใหญ่แต่ไม่น้อยกว่า 25% วางแผนลงทุนต่างประเทศ 5 ปี เทงบ 6 หมื่นล้านบาท ส่วนแผนควบรวมกิจการ 4 บริษัทลูก ได้ศึกษาจับคู่ใหม่ เมินจับคู่ PTTAR-IRPC หลังบอร์ดหวั่นปัญหาฟ้องร้อง
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามแผนการลงทุน 5 ปีข้างหน้า (2553-2557) ปตท.จัดสรรงบลงทุน 6 หมื่นล้านบาท ในการลงทุนต่างประเทศผ่าน บริษัท ปตท.อินเตอร์แนชั่นแนล จำกัด จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้น ทำให้ ปตท.พยายามเร่งรัดการลงทุนในต่างประเทศเร็วขึ้น แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเจรจาได้ข้อสรุปมากน้อยแค่ไหน ซึ่งวงเงินลงทุนมีความยืดหยุ่นและจะทบทวนแผนลงทุนใหม่ในเดือนธันวาคมนี้
ทั้งนี้ ปตท.สนใจลงทุนในธุรกิจถ่านหิน โรงไฟฟ้า และพลังงานทดแทน โดยธุรกิจโรงไฟฟ้าจะร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อไปลงทุนโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ รวมทั้งเปิดโอกาสที่จะร่วมทุนกับโครงการโรงไฟฟ้าของภาคเอกชนรายอื่นๆ ที่จะขายไฟเข้าไทย หลังจากแนวโน้มการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในประเทศไทยทำได้ยาก
เพราะถูกต่อต้านอย่างหนักแม้กระทั่งโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงก็ตาม ซึ่ง ปตท.เข้าไปถือหุ้นในโรงไฟฟ้าจะทำให้โครงการมีความเข้มแข็ง จัดหาเงินกู้ได้ง่ายขึ้น
นายเทวินทร์ กล่าวว่า การเข้าไปถือหุ้นในโรงไฟฟ้านี้ ปตท.ไม่ต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เนื่องจากไม่มีความชำนาญ แต่จะถือหุ้นไม่น้อยกว่า 25% เพื่อให้รับรู้รายได้เข้า ปตท.ส่วนความคืบหน้าการควบรวมกิจการ 4 บริษัทในเครือ ปตท.ว่า ขณะนี้ ปตท.ได้มีการศึกษาการจับคู่ใหม่ หลังจากได้มีการศึกษารายละเอียดเชิงลึกแผนเดิมในการควบรวมกิจการคู่แรก พบว่า มี 1 ใน 4 บริษัทติดปัญหาด้านกฎหมาย ทำให้คณะกรรมการบริษัทมีความกังวลว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจไม่อนุมัติ และหากมีการควบรวมแล้วจะมีประเด็นฟ้องร้องตามมา ดังนั้น จึงมีการศึกษารายละเอียดบริษัทแทน ซึ่งต้องใช้เวลา คาดว่าไม่ได้ข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้
“การควบรวมกิจการยังคงเป็น 4 บริษัทเดิม แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าจะควบรวมบริษัทใดก่อน ขณะเดียวกันก็ต้องเปลี่ยนแนวคิดว่าควบรวมเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด คงต้องดูความสามารถและความเป็นไปได้ทางกฎหมายในการควบรวมด้วย” นายเทวินทร์ กล่าว
ทั้งนี้ ปตท.มีแผนจะดำเนินการควบรวมกิจการ 4 บริษัทย่อย ประกอบด้วย บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) บมจ.ปตท.เคมิคอล (PTTCH) บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) และ บมจ.ไทยออยล์ (TOP) ซึ่งคู่แรกที่มีการพิจารณาแผนควบรวมในระดับคณะกรรมการบริษัท คือ ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น กับไออาร์พีซี แต่เนื่องจากไออาร์พีซีมีความฟ้องร้องจำนวนมาก และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลความผิดอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ทำให้บอร์ด ปตท.กังวลปัญหาฟ้องร้องจะเกิดขึ้นหากยังเดินหน้าควบรวมกิจการต่อไป จึงมีความเป็นไปได้ปตท.พิจารณาความเป็นไปได้ในการควบรวม ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น กับ ปตท.เคมิคอลแทน
นายเทวินทร์ กล่าวต่อไปว่า บริษัทจะออกหุ้นกู้ 1 หมื่นล้านบาท ในเดือน ต.ค.นี้ เพื่อคืนหุ้นกู้ที่ครบอายุวงเงิน 2-3 พันล้านบาท และที่เหลือจะจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นกู้เดิมของ ปตท.และอีก 20% จะจัดสรรให้ประชาชนทั่วไป โดยอายุหุ้นกู้แบ่ง 4 ปี และ 7 ปี
|
|
|
|
|