Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544
ชีวิตมีแต่เรื่องบังเอิญ             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

ทริส ได้เวลาพิสูจน์ตัวเอง

   
search resources

ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส, บจก. - TRIS
วรภัทร โตธนะเกษม




เด็กหนุ่มที่เติบโตจากต่างจังหวัด บุคลิกไม่เปลี่ยนแปลง เป็นนักวิชาการใจดี ใส่แว่นตาหนาเตอะ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารองค์กรที่มีความสำคัญต่อตลาดทุน นอกจากฝีมือล้วนๆ โชคต้องเข้าข้างด้วย ดร.วรภัทร โตธนะเกษม กรรมการผู้จัดการบริษัทไทยเรตติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส หรือทริส

ดร.วรภัทร เกิดเมื่อ 30 พฤษภาคม 2492 ที่ตำบล บ้านบุ่ง จ.พิจิตร ที่ไม่มีน้ำประปา ไม่มีไฟฟ้า จึงต้องอาศัยน้ำจากแม่น้ำน่านเป็นทั้งน้ำดื่มและน้ำใช้ในเวลาเดียวกัน เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนสี่คนของเกียงู่-วิง แซ่โตว บิดาเป็นชาวไหหลำเดินทางมาตั้งรกรากที่เมือง ชาละวัน ส่วนมารดาเป็นชาวพิจิตร

ดร.วรภัทร เติบโตและเรียนระดับชั้นประถมที่โรงเรียนบ้านวังกลม จนถึงชั้นประถม 4 ต้องเดินทางไกลเป็นครั้งแรกในชีวิต เมื่อพี่สาวแต่งงานกับคนอยุธยาจึงย้ายตามมาด้วย และเข้าเรียนต่อชั้นประถม 5 ที่โรงเรียนสุนทรวิทยา

เรียนต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ด้วยนิสัยที่เคร่งขรึม ไม่พูดไม่จาส่งผลให้การเรียนอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่ไม่เก่งเลย และชีวิตของเขาจุดประกายเมื่อเรียนอยู่มัธยม 5 บังเอิญ ครูไพรัช คล้ายมุข ที่จบจากอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มาสอนที่นี่ ชีวิตของดร.วรภัทรจึงเริ่มสดใส เมื่อชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษ ครูคนนี้ได้ตั้งคำถาม และชี้ไปที่เด็กชายวรภัทรให้ลุกขึ้นตอบ บังเอิญ เขาตอบคำถามถูกจึงได้รับคำชมจากครู ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่านั่นคือ การเดา จากคำชมวันนั้นเป็นต้นมา ดร.วรภัทรมีกำลังใจและมุ่งมั่นอ่านภาษาอังกฤษ เปิดดิกชันนารี เขียนไดอารี่เป็นภาษาอังกฤษ

บังเอิญ ในปีเดียวกัน ซีดริค แซมป์สัน อาสาสมัครชาวอเมริกันมาสอนที่โรงเรียน เขาจึงมีโอกาสฝึกฝนภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษา จนกระทั่งสามารถสอบได้ที่ 1 ในโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน AFS ระหว่างเรียนอยู่มัธยม 6 เมื่อสอบติดต้องมาสอบสัมภาษณ์ที่สถาบันเอยูเอ เป็นการเข้าเมืองกรุงครั้งแรกและเขาสอบสัมภาษณ์ผ่าน

ถึงแม้ว่าจะเรียนไม่เก่ง แต่ ดร.วรภัทร สามารถสอบเอ็นทรานซ์เข้าคณะบัญชี ธรรมศาสตร์ได้ นับเป็นการใช้ชีวิตในเมืองกรุงอย่างเป็นกิจจะลักษณะครั้งแรกด้วย นั่งเรียนได้ 2 เดือน ก็เดินทางไปอเมริกา 2 เดือน ตามโครงการ AFS ใน ปี 2509

หลังกลับจากอเมริกาก็กลับเข้าเรียนต่อในคณะบัญชี แต่ครั้งนี้เริ่มเบื่อการเรียนและรู้สึกว้าเหว่ จึงตัดสินใจวางแผนชีวิตตัวเองใหม่ เขาคิดและถามตัวเองว่าอนาคตอยากเป็นอะไร และจากการเป็นคนที่มีมุมมองกว้างและยาวไกล มีปรัชญาในชีวิต จึงมี 2 ทางเลือก คือ นักกฎหมายและ นักเศรษฐศาสตร์

ดร.วรภัทรตัดสินใจเดินไปคณะนิติศาสตร์ บังเอิญ ที่นั่งเรียนเต็ม จึงต้องเข้าเรียนเศรษฐศาสตร์ สมัยนั้น ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์เป็นคณบดี และเขาก็เรียนจบที่นี่

ช่วงที่เรียนอยู่ปีสุดท้าย ธนาคารกสิกรไทยประกาศสอบชิงทุน แต่เขาไม่คิดจะสอบเพราะรู้สึกว่าค่าสมัครสอบแพงมาก (100 บาท) จึงเดินทางกลับไปเยี่ยมพี่สาวที่อยุธยา

เขาเล่าให้พี่สาวฟัง พี่สาวจึงให้เงิน 100 บาทแล้วบังคับให้มาสอบ และเขาก็สอบได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้อ่านหนังสือแม้แต่หน้าเดียวเพราะช่วงนั้นหัวคิดของ ดร.วรภัทรมีแต่การเมืองและประชาธิปไตย

หลังจากสอบข้อเขียนผ่าน ด่านต่อไป คือ สอบสัมภาษณ์ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ โดยมีคุณหญิงสุภาพ วิเศษสุรการ, ศ.ดร.ประชุม โฉมฉาย, บัญชา ล่ำซำ และผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศอีก 3 คนเป็นคณะกรรมการสอบ

"ในอนาคตอยากเป็นอะไร" คุณหญิงสุภาพถาม

"ผมอยากเป็นนักการเมืองที่ดี"

"อยากเป็นนักการเมืองแล้วมาขอทุนแบงก์ทำไม" คุณหญิงสุภาพสงสัย

"ผมอยากทำงานเพื่อสังคม อยากให้คนไทยมีชีวิต ที่ดีขึ้น หากปล่อยไว้เช่นนี้แล้วใครจะลงไปช่วย และการสัมภาษณ์วันนี้คิดว่าผมไม่ได้ทุนหรอก" ดร.วรภัทรตอบ จากปรัชญาแนวคิดของตน

ครึ่งชั่วโมงผ่านไป บัญชา ล่ำซำไม่ถามสักคำถาม ปล่อยให้คุณหญิงสุภาพถามคนเดียว แต่ก่อนที่จะลุกจากเก้าอี้บัญชาเอ่ยปากถามว่า "แล้วคิดหรือไม่ว่าเป็นนายแบงก์นี่ก็ช่วยเหลือสังคมได้"

"ได้แน่นอนครับ แต่ไม่มากนัก" ดร.วรภัทรตอบคำถาม

หลังจากสอบสัมภาษณ์เสร็จสิ้น เขามั่นใจว่าไม่ได้แน่นอน แต่แล้วบ่ายวันนั้นผลประกาศออกมาเขาสอบได้ ซึ่งตนเองก็ยังงงๆ กับผลการสอบ

เมื่อจบปริญญาตรีที่ธรรมศาสตร์ ปี 2514 เขากลับไปอเมริกาอีกครั้งเพื่อศึกษาต่อด้วยทุนกสิกรไทย โดยเลือกศึกษาที่มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น

เอ็มบีเอ (การเงินและการบริหารอุตสาหกรรม) เป็นหลักสูตรที่เลือกเรียน แต่ไม่รู้ว่าเอ็มบีเอคืออะไร และไม่รู้จะลงเรียนวิชาอะไร พูดง่ายๆ เขาให้ทุนไปก็ไป ความรู้สึกผิดหวังในตัวเองจึงเกิดขึ้นถึงขนาดจะกลับบ้าน แต่ก็เกิดขึ้น ชั่วครู่เท่านั้น จึงทนเรียนจนจบปริญญาโทในปี 2516

ดร.วรภัทรเข้าฝึกงานที่ธนาคารคอนติเนนทัลเป็นเวลา 1 ปี และปี 2517 กลับเมืองไทยก็ทำงานใช้ทุนที่ธนาคารกสิกรไทยในตำแหน่งพนักงานชั้นกลางฝ่ายต่างประเทศ โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล และณรงค์ ศรีสอ้าน เป็นผู้บังคับบัญชา เพียงแค่หนึ่งปีก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าส่วนประจำสำนักบริหาร

นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษ ที่คณะพาณิชย-ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามคำเชิญของอาจารย์สังเวียน อินทรวิชัย นอกจากจะเป็นแบงเกอร์และอาจารย์แล้วยังได้เป็นลูกศิษย์ในคณะนิติศาสตร์ ภาคค่ำที่ธรรมศาสตร์ด้วย

ทำงานที่ธนาคารกสิกรไทยได้ 6 ปีก็ได้รับโปรโมตให้เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย ถึงตรงนี้ ดร.วรภัทรไม่ต้องการอะไรในชีวิตอีกแล้ว จึงตัดสินใจบินกลับไปอเมริกาเพื่อศึกษาระดับปริญญาเอกในปี 2523

เขาใช้เวลาเพียง 2 ปี 8 เดือนก็จบระดับปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ พร้อมกับปริญญาโทด้านอุตสาหกรรมองค์กรอีกด้วย เดินทางกลับเมืองไทยอีกครั้ง ดำเนินชีวิตเหมือนเดิมทั้งเป็นแบงเกอร์ และอาจารย์ และในปี 2535 ก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ดูแลสายงานสินเชื่อบุคคล

ด้วยบุคลิกที่เป็นนักวิชาการที่มีความเชื่อมั่นตลอดเวลา จึงเกิดความรู้สึกว่างานที่ธนาคารกสิกรไทยเริ่มย่ำอยู่กับที่ จึงตัดสินใจลาออกในปี 2539 ไปเป็นนักวิชาการเต็มตัว พร้อมกับรับเป็นประธานให้กับองค์กรต่างๆ อาทิ ประธานกรรมการบริหารโครงการปริญญาโทบริหารธุรกิจ ธรรมศาสตร์, ที่ปรึกษาบริษัทในกลุ่มบางปะกงอินดัสเตรียล พาร์ค หรือประธานกรรมการบริหารด้านหลักทรัพย์ บงล. ซิทก้า

ทำงานเป็นวิชาการอิสระไม่ทันไรก็เกิดวิกฤติเศรษฐกิจพร้อมกับความรู้สึกเดิมๆ กลับมาอีกครั้ง จนกระทั่งได้พบกับ ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ ทริส ซึ่งกำลังจะรีไทร์ตนเองจึงขอให้ ดร.วรภัทรมาช่วย งานแทน กุมภาพันธ์ 2541 เข้ารับช่วงแทน ดร.วุฒิพงษ์ และเป็นช่วงที่ทริสกำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤติ แต่เขาก็ ประคับประคององค์กรให้อยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้

ในความรู้สึกของ ดร.วรภัทร บรรยากาศ และรูปแบบการทำงานของทริสมีความลงตัวที่สุด เพราะอยู่ตรงกลางระหว่างปรัชญา วิชาการ และโลกธุรกิจ เขาพอใจและมีความสุข และจะมีมากขึ้นหากทริสก้าวไปด้วยความมั่นคงมากกว่าทุกวันนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us