Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2527
ไดมารู-อาคารสีลม ทางเลือกเพื่อความอยู่รอด             
 


   
search resources

ไทยไดมารู
Shopping Centers and Department store




ไดมารู เป็นห้างสรรพสินค้าเก่าแก่และได้รับฉายาว่า "ยักษ์ใหญ่ราชดำริ"

แต่เมื่อย่านราชดำริให้กำเนิดห้างสรรพสินค้าใหม่ๆ อย่างเช่น เดอะมอลล์ โรบินสัน และกำลังจะมีอมรินทร์พลาซ่า พันธ์ทิพย์พลาซ่า หรือแม้กระทั่งศูนย์การค้าโลกที่วังเพชรบูรณ์ขึ้นมา ความ "เก๋า" ของไดมารูก็คงไม่ได้ช่วยให้รักษาฉายา "ยักษ์ใหญ่ราชดำริ" ไว้ได้สืบไปเป็นแน่

นอกเสียจากว่า ไดมารูจะต้องลงมือขยับขยายกิจการเพื่อมิให้เป็นรองบรรดาคู่แข่งทั้งหลายเท่านั้น

การขยับขยายครั้งนี้ ว่ากันว่าก็มีอยู่ 2 ทางคือ ทางแรกลงมือขยับขยายตรงจุดที่ตั้งเดิมซึ่งก็หมายถึงที่ราชดำริอาเขตนั่นแหละ ส่วนอีกทางหนึ่งก็คือพยายามค้นหาย่านใหม่ๆ ที่ธุรกิจห้างสรรพสินค้ามีลู่ทางทำมาค้าขึ้น

สำหรับไดมารู ทางออกแรกคงเป็นเรื่องทำได้ยาก เพราะถ้าเป็นการทุบโครงสร้างเก่าเพื่อสร้างศูนย์การค้าใหม่แล้วก็คงต้องลงทุนมาก เนื่องจากตัวศูนย์การค้าขณะนี้ก็ยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ ทางออกนี้จึงน่าจะเป็นทางเลือกในอนาคต หาใช่ทางเลือกในปัจจุบัน

เพราะฉะนั้นไดมารูจึงเหลือเพียงทางที่สอง ซึ่งได้เริ่มต้นไปบ้างแล้วที่ไดมารูพระโขนง

และขณะนี้ก็กำลังมองหาย่านการค้าอื่นๆ เพิ่มเติม

ในจำนวนย่านการค้าหลายๆ ย่านของกรุงเทพฯ นั้นดูเหมือนไดมารูจะให้ความสนใจถนนสีลมมากที่สุด เนื่องจากสีลมเป็นแหล่งรวมธุรกิจหนาแน่นกว่าทุกย่าน มีผู้คนพลุกพล่านและยังไม่มีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่มากแห่ง แม้จะมีข้อเสียตรงราคาที่ดินแพงเอามากๆ ก็เถอะ

แต่การหาที่ลงของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ในย่านนี้ก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เหมือนกัน ยิ่งไดมารูต้องการทำเลดี ๆ ติดถนนใหญ่และมีที่จอดรถกว้างขวางด้วยแล้วก็ยิ่งต้องยากขึ้นไปอีกเป็นธรรมดา

อย่างไรก็ตาม จะเป็นเพราะโชคช่วยหรือด้วยอะไรก็สุดที่จะทราบได้ ในที่สุดไดมารูก็ยกทีมบริหารเข้าพบเจ้าของอาคารสีลมซึ่งอยู่แถวๆ หัวมุมถนนสีลมถัดจากอาคารบริษัทไอบีเอ็มไปไม่กี่ช่วงตึก ครั้นแล้วการเจรจาก็เริ่มขึ้น

อาคารสีลมอาจจะเรียกได้ว่าเป็นอาคารให้เช่ารุ่นแรกๆ ก่อนที่ถนนสีลมจะกลายสภาพเป็นย่านธุรกิจสำคัญในปัจจุบันแต่เดิมนั้นลูกค้าใหญ่ก็คือบริษัท "ซัมมิท" ของ นายจรูญ หวังบุญสัมฤทธิ์ หรือ ซีเจ ฮวง

แต่ภายหลังที่ "ซัมมิท" ถูกถอนสัมปทานโรงกลั่นบางจากและบริษัทค้าน้ำมัน-ซัมมิทออยล์ขายกิจการให้บริษัทคาลเท็กซ์ไปแล้ว อาคารหลังนี้ก็เปลี่ยนมือไปสู่ผู้เช่านับสิบบริษัทในขณะนี้

อาคารสีลมมีตัวอาคารแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนหน้านั้นสร้างเมื่อปี 2507 และส่วนหลังสร้างเมื่อปี 2514 เนื้อที่ปลูกสร้างอาคารและลานจอดรถเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนถึง 9 ไร่ ซึ่งหาได้ยากยิ่ง

"เนื้อที่ของตึกเก่ามีอยู่ประมาณ 607 ตารางเมตร ส่วนตึกใหม่ก็ประมาณ 639 ตารางเมตร ค่าเช่าจะอยู่ระหว่างตารางเมตรละ 200-250 บาท ขณะนี้มีผู้เช่าราวๆ 90 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่" แหล่งข่าวในวงการเรียลเอสเตทรายหนึ่งแจกแจงรายละเอียดของอาคารสีลมให้ฟัง

นับแต่มีการลงทุนสร้างอาคารแห่งนี้ขึ้นมาจนถึงปัจจุบันอาคารสีลมมีบริษัทสีลมอาคารและบริการเป็นเจ้าของและผู้บริหาร โดยบริษัทดังกล่าวมีทุนจดทะเบียน 6 ล้านบาท แบ่งเป็น 60,000 หุ้น สมาชิกในตระกูล จิรกิติ (เป็นนามสกุลพระราชทาน นามสกุลเดิมคือ วงษ์โกวิท) ถืออยู่ 41,600 หุ้น หรือประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ถือโดยสมาชิกในตระกูล สายาลักษณ์ ซึ่งทั้ง 2 ตระกูลได้ชื่อว่าเป็นตระกูลเจ้าที่ดินใหญ่ด้วยกันทั้งคู่

"ที่จริงในช่วงแรกๆ จนถึงปี 2522 มีพวกนามสกุล ช่วงสุวณิช ถือหุ้นด้วย แต่ตอนหลังขายหุ้นให้กับพวกจิรกิติหมด" คนที่รู้เรื่องดีช่วยเสริม

ในการเจรจาระหว่างไดมารูกับเจ้าของอาคารสีลมสามารถบรรลุข้อตกลงในชั้นแรกไปได้ คือ เจ้าของอาคารสีลมยินดีอย่างยิ่งหากไดมารูต้องการจะเข้ามา แต่ในเรื่องรูปแบบของการเข้ามายังอยู่ในขั้นเจรจาเรื่องรายละเอียด

เจ้าของอาคารสีลมได้ให้ข้อเสนอไป 3 ทาง ได้แก่ ตกลงซื้อขายกันไปเลยหรือให้เช่าหรือไม่เช่นนั้นก็ร่วมลงทุนด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย

สำหรับทางแรกคือหากไดมารู ต้องการซื้ออาคารและที่ดินจำนวนทั้งหมด 9 ไร่ไปเป็นกรรมสิทธิ์เลย ทางเจ้าของยินดีขายให้ในราคา 800 ล้านบาทจะทุบอาคารเก่าเพื่อสร้างใหม่หรือจะทำอย่างไรก็ให้ว่าไปตามสะดวก

ส่วนทางที่สอง คือ ขอเข้ามาในฐานะผู้เช่า ไม่ทุบอาคารเก่าทิ้งนั้นเจ้าของอาคารสีลมขอค่าเช่าเดือนละ 9 ล้านบาท บวกกับค่าเซ้งอีกจำนวนหนึ่งซึ่งก็คงเป็นเงินอีกหลายร้อยล้าน

และทางที่สาม ก็คือ ทุบอาคารเก่าทิ้ง แล้วบริษัทสีลมอาคารและบริการจะร่วมทุนกับไดมารูสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ โดยส่วนหนึ่งจะเป็นห้างสรรพสินค้าและอีกส่วนเป็นเนื้อที่ให้เช่า ข้อเสนอนี้กำลังศึกษากันอยู่ว่าจะต้องลงทุนอีกมากน้อยเท่าไรและใครจะต้องควักเท่าไหร่

จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่นอนว่า ไดมารูจะเลือกหนทางสายไหนกันแน่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us