Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544
ทริส ได้เวลาพิสูจน์ตัวเอง             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

ชีวิตมีแต่เรื่องบังเอิญ
so far so good

   
search resources

ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส, บจก. - TRIS
วรภัทร โตธนะเกษม
Investment




ได้เวลาพิสูจน์ตัวเอง slow but sure" คำคำนี้ใช้ไม่ได้กับบริษัท ไทยเรตติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด หรือทริส เพราะนับตั้งแต่เปิดดำเนินงานมาเมื่อเดือนเมษายน 2536 การเติบโตยังลุ่มๆ ดอนๆ ถึงแม้ว่าองค์กรนี้จะถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาตลาดทุนไทยให้มีมาตรฐานสากล ก็ตาม

ผลการดำเนินงานของทริสสองปีแรกของการก่อตั้งมียอด ขาดทุนสูงมาก โดยเฉลี่ยขาดทุนเดือนละ 2 ล้านบาท ส่งผลให้ทริส จำเป็นต้องเพิ่มทุนจาก 50 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท ในปี 2537 ยอดขาดทุนของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือแห่งนี้จะเปลี่ยนไป เป็นกำไรก็ต่อเมื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 โดยในปีที่ 4-6 จะเป็นการสร้างรายได้ เพื่อลดยอดขาดทุนสะสมเป็นหลัก และเป็นที่รับรู้กันดีว่าผู้ถือหุ้นแต่ละ แห่งได้เตรียมใจรับกับสภาพธุรกิจนี้

เป้าหมายของทริสในขณะนั้น คือ ต้องการก้าวขึ้นเป็นสถาบัน จัดอันดับขนาดกลาง เพราะจะสะท้อนความน่าเชื่อถือและชื่อเสียง ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากไปถามพนักงานของทริสในเวลานั้น หากทริสประสบ ความสำเร็จพวกเขาจะมีความรู้สึกว่าเหมือนทำข้อสอบผ่าน เวลาไปคุยกับใครก็จะยืด ขึ้นมาได้อีก โดยกฎเกณฑ์ที่จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงสถานภาพดังกล่าว ก็คือ ทริสจะต้องจัด อันดับเกิน 100 รายขึ้นไป ซึ่งจะเหมือนกับว่าได้ข้ามผ่านการเป็นสถาบันจัดอันดับขนาดเล็กไป สู่ขนาดกลาง อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นการประเมินตามสภาพเศรษฐกิจช่วงปกติ แต่ปลายปี 2539 ประเทศไทยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ส่งผลให้ทริสได้รับผลกระทบไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

"ลูกค้าทุกประเภทรวมกันของทริสสูงที่สุดอยู่ในช่วงที่ไทยมีเศรษฐกิจบูมสุดๆ ในปี 2539จำนวน 85 ราย แต่หลังจากประกาศลดค่าเงินบาท ลูกค้าของเราลดลงเหลือเพียง 12 ราย" ดร.วรภัทร โตธนะเกษม กรรมการผู้จัดการของทริสกล่าว จำนวนลูกค้าลดลงอย่างฮวบฮาบเช่นนี้ ไม่สามารถทำให้ทริส อยู่ได้ เหตุการณ์ดังกล่าว ถือเป็นภาระอันหนักหน่วงของดร.วรภัทร เพราะเป็นช่วงที่เข้ามารับตำแหน่งแทน ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2541

"วันที่ผมมาถึงงานจัดอันดับเครดิตไม่มีเลย และถึงแม้จะมี ลูกค้า แต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้ทริสอยู่เป็นองค์กรได้เลย รู้สึกหวาดเสียว มาก" ดร.วรภัทรบอก เหตุผลที่ทำให้ทริสอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ ไม่ใช่การจัดอันดับเครดิต ความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของการจัดตั้งองค์กร แต่ เป็นการเป็นที่ปรึกษา การประเมินผลการดำเนินงาน รัฐวิสาหกิจ (Per-formance Evaluation Advisory of State Enterprises) ทริสได้รับมอบหมายจากกรม บัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ให้เข้าไปจัดอันดับผลการดำเนินงาน (Performance Rating) รัฐวิสาหกิจเมื่อประมาณปลายปี 2538 และเป็น จุดเปลี่ยนของบริษัทดังคำพูดที่ว่า รูปแบบของทริสจะเริ่มเปลี่ยนไป เป็น Rating Agency มากกว่า Credit Rating Agency ที่จะดำเนินงาน ครอบคลุมทั้งการจัดอันดับเครดิตขององค์กรเอกชน และตราสารหนี้ และการประเมินผลการดำเนินงาน การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ทริสจะได้รับ การต่อสัญญาทุกๆ ปีในช่วงของปีงบประมาณจากกระทรวงการคลัง "ผมเข้ามาเดือนกุมภาพันธ์ยังไม่มีสัญญาณใดๆ จากกระทรวงการ คลังเลยว่า จะให้เราเข้าไปทำงานในรัฐวิสาหกิจ แม้จะเลยปีงบประมาณ มาแล้ว 5 เดือน" นอกจากความกังวลในเรื่องดังกล่าวแล้ว ตลอดช่วงปี 2541 แทบ จะพูดได้เลยว่าทริสไม่มีงานการจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้ จนกระ- ทั่งไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 ทริสจึงเริ่มหายใจคล่องมากขึ้น ดังนั้น ช่วงปี 2541 จึงเป็นช่วงที่ทริสทบทวนบทบาทของตนเอง ถึงอนาคตและโอกาสในการดำเนินธุรกิจ เพราะในด้านธุรกิจการจัด อันดับเครดิตตราสารหนี้ไม่สามารถอยู่ได้

"โชคดีเมื่อต้นเดือนมีนาคม ปี 2541 กระทรวงการคลังเซ็น สัญญาลงนามการทำงานร่วมกับเรา ซึ่งอย่างน้อยผมก็ยังมีงานทำ" ดร.วรภัทรชี้ "และรายได้จากตรงนี้ทำให้ทริสอยู่ได้มาจนถึงทุกวันนี้ คือ จากรายได้เสริมเปลี่ยนมาเป็นรายได้หลัก" นอกจากการหารายได้จากการเข้าไปประเมินผลการดำเนินงาน รัฐวิสาหกิจแล้ว ทริสได้พยายามผลักดันให้มีโครงการจัดอันดับการ ศึกษา และการจัดอันดับธุรกิจประกันภัยด้วย แต่ความคิดดังกล่าวได้ ถูกคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ยับยั้ง ก.ล.ต. อธิบายว่า เนื่องจากไม่ได้เป็นงานในหน้าที่ของทริส โดยตรงตามปรัชญาการจัดตั้ง และเกรงว่างานจะล้นมือหากโครงการ ทั้งสองเกิดขึ้น อีกทั้งสถานการณ์เมื่อปี 2540 อยู่ในภาวะผันผวน ทริสน่าจะ เอาเวลามาดูแลสถาบันการเงินทั้งที่มีปัญหาและไม่มีปัญหาและอาจจะมีปัญหาในอนาคต ซึ่งหากเป็นไปตามเป้าหมาย ทริสเองมองว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น และเมื่อไม่เป็นไปตามคาดทำให้ต้องลดตัวเลขประมาณการกำไรในปีนั้นที่ตั้งไว้ 20 ล้านบาทเหลือ 10 ล้านบาท ส่งผลให้ทุกวันนี้ทริสมีธุรกิจเพียงแค่การจัดอันดับเครดิตตรา สารหนี้และการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ แต่นั่นก็เพียงพอ แล้วที่ ดร.วรภัทรเชื่อมั่นถึงความอยู่รอดของทริส "เราเริ่มแข็งแกร่งมาก ขึ้นอย่างต่อเนื่องจากตลาดตราสารหนี้และรัฐวิสาหกิจที่เริ่มฟื้นตัว" ตลาดตราสารหนี้ไทยเริ่มฟื้นตัวมานับตั้งแต่ช่วงปี 2542 แต่การ เติบโตของธุรกรรมดังกล่าว เป็นตราสารหนี้ที่ออกมาในรูปแบบขาย เฉพาะเจาะจง (private placement) กรณีการออกตราสารแบบขายเฉพาะเจาะจง ก.ล.ต.ไม่ได้ บังคับให้ผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวต้องให้ทริสจัดอันดับเหมือนการออก ตราสารหนี้ที่ขายให้กับประชาชนทั่วไป (public offering) แต่การเติบโต ของตราสารหนี้แบบขายเฉพาะเจาะจงเติบโตสูงสุดในประวัติศาสตร์ เมื่อปี 2542 ด้วยมูลค่า 289,000 ล้านบาท ส่งผลให้ทางการเริ่มมีความ เป็นห่วงถึงความเสี่ยง จึงออกกฎบังคับให้ตราสารเหล่านี้ต้องจัดอันดับ เครดิต นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2543 เป็นต้นไป

"ปัจจุบันมีลูกค้ามาหาเราอย่างสม่ำเสมอ ถ้าตลาดตราสารหนี้ เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทริสจะมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน" ดร.วร-ภัทรมั่นใจ เมื่อทริสมองแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ว่าจะเติบโตขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง สิ่งที่ดร.วรภัทรกำลังให้ความสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับความ ต้องการของตลาด คือ การพัฒนาบริการจัดอันดับเครดิตใหม่ๆ ในอดีตตลาดมีความต้องการเฉพาะตราสารหนี้ธรรมดา (plain vanilla debentures) แต่ปัจจุบันเริ่มมีความต้องการตราสารหนี้ที่มีความ ซับซ้อนมากขึ้นซึ่งเป็นตราสารที่มีการจัดโครงสร้างทางการเงิน (struc-tured finance) อาทิ ตราสารหนี้ประเภท project finance ซึ่งที่ผ่านมา ทริสได้จัดอันดับให้แก่หุ้นกู้โรงไฟฟ้าขนอม และหุ้นกู้ของบมจ.วีนิไทย นอกจากนี้ยังมีตราสารหนี้ประเภท asset-backed debentures ซึ่งทริสจัดอันดับให้บริษัทซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ และบริษัทแอล เอส พี วีและตราสารหนี้ประเภทที่แปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ (securitiza-tion) ได้แก่ automobile receivable และ parent-guaranteed deben-tures ซึ่งทริสกำลังรอลูกค้าเข้ามาใช้บริการ นอกจากนี้ ทริสยังให้บริการสำหรับบริษัทต่างประเทศที่เข้ามา เปิดกิจการในประเทศ และต้องการออกหุ้นกู้เป็นสกุลเงินบาท โดย ที่บริษัทแม่ในต่างประเทศจะนำอันดับเครดิตของตนเองมาค้ำประกัน บริษัทลูก "กรณีนี้ทริสสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องหาคำตอบที่มีเหตุผล ในการดำเนินการ" ดร.วรภัทรชี้ "ไม่ใช่เราคุยโว เพราะหน้าที่เรา คือ การประเมินความเสี่ยงและเราสามารถพิจารณาถึงความเสี่ยง จากนั้น ก็จะไปหาวิธีประเมินความเสี่ยงเหล่านั้น" มีคำถามเกิดขึ้นว่าหากทริสมีงานเพิ่มมากขึ้น ศักยภาพการ สนองตอบลูกค้าจะลดลงมากน้อยเพียงใด เนื่องจากที่ผ่านมามีหลาย กรณีที่ทริสมักได้รับเสียงสะท้อนกลับในข้อสงสัยถึงประสิทธิภาพ เพราะในอดีต ขนาดคนของทริสเองยังเอ่ยปากว่า "อาจจะดูเหมือนซาดิสม์" เพราะงาน หรือไอเดียที่ออกมามักจะได้รับผลสะท้อนกลับมาที่แรงพอ สมควร ล่าสุด การจัดอันดับหุ้นกู้ของเดอะโคเจเนอเรชั่น ที่ต้องอาศัย ระยะเวลาพิจารณาไม่น้อย ความล่าช้าส่งผลให้ความเคลื่อนไหวในด้าน หุ้นกู้ลดลงอย่างมาก ทำให้เดอะโคเจเนอเรชั่นและที่ปรึกษาทางการเงิน ต้องประชุมพบปะกับเจ้าหน้าที่ของทริส เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับลักษณะกิจการของบริษัทเพื่อให้เกิดความถูกต้อง อย่างไรก็ดี ดร.วรภัทรชี้แจงว่าตลอดระยะเวลาของการทำงาน "หากวัดจากความสามารถในการส่งงานเราทำได้ตามมาตรฐานสากล โดยสามารถส่งมอบได้ในเวลา 6-8 สัปดาห์" จากการสำรวจล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาของ Asian Bankers Association พบว่าบริษัทจัดอันดับในเอเชีย 13 แห่งรวมทริสด้วย ใช้เวลาจัดอันดับให้ลูกค้าเสร็จสมบูรณ์เฉลี่ย 8-13 สัปดาห์

"เราสบายใจที่ทำงานได้ตามมาตรฐาน แต่ความรู้สึกของคน ที่ว่า เราช้านั้นมีแน่นอน" กระนั้นก็ตาม การใช้ระยะเวลานานบ่งบอกถึงขีดความสามารถ อาจรวมไปถึงเรื่องจำนวนพนักงานของหน่วยงานจัดอันดับความน่า เชื่อถือของไทย ผู้ที่เกี่ยวข้องบางรายระบุว่าการจัดอันดับความน่าเชื่อ ถือ ไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับการประเมินในด้านต่างๆ อย่างกระจ่างชัด เหมือนหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศเท่ากับว่าบริษัท ที่เกี่ยวข้องกับทริสควรจะเข้าไปพูดคุยเพื่อให้เกิดกระบวนการศึกษา เรียนรู้สองทาง ในการจัดอันดับความเชื่อถือในแต่ละประเด็น ทั้งนี้ แม้ทริสจะดำเนินกิจการมาหลายปีแล้ว แต่ข้อกำหนดของ รัฐบาลที่ให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ได้เพิ่มภารกิจให้กับ ทริสอย่างมาก และคงต้องใช้เวลาในการทำให้ภารกิจลงตัวคู่ไปกับ ความรวดเร็วและประสิทธิภาพ มีผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับตลาดตราสารหนี้ของไทยรายหนึ่ง กล่าวว่า ยังมีคำถามอยู่ว่าข้อกำหนดในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ นี้จะส่งผลดีกับตลาดจริงหรือไม่ เพราะด้านหนึ่งนั้นมีความหวั่นเกรง กันในช่วงต้นปีว่า นักลงทุนในประเทศกำลังซื้อหุ้นกู้กันอย่างเป็นล่ำเป็น สัน พวกเขากระโดดเข้าหาตลาดพันธบัตรโดยที่ไม่รู้ชัดเจนว่าตนกำลัง ซื้ออะไร อีกด้านหนึ่งก็คือ การมีข้อกำหนดใหม่นี้ทำให้การออกพันธบัตร ใหม่ในประเทศลดลงอย่างมาก ส่วนตลาดสินเชื่อแบบ syndicated loan ก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ถ้าหากต้องรอถึงสามหรือสี่เดือนกว่าจะเข้าตลาดได้แล้วก็จะเป็นสิ่งที่ไม่ดีเลยสำหรับตลาดเอง

"บางครั้งเราใช้เวลานานอยู่บ้าง โดยทั่วไปมักเป็นในลักษณะลูกค้า มีข้อมูลไม่พร้อม บางรายบ่นว่าเราขอข้อมูลมาก ซึ่งมันหลีกเลี่ยง ไม่ได้ เพราะเราไม่สามารถนั่งจินตนาการแล้วจัดอันดับความน่าเชื่อถือ" ดร.วรภัทรกล่าว "ถ้าพวกเขาเข้าใจเราจะทำให้การคาดหวังหรือการวาง แผน ออกตราสารหนี้กับการจัดอันดับไปด้วยกันอย่างสอดคล้อง" นอกจากนี้ เรื่องความเป็นกลางยังเป็นข้อสงสัยที่มีต่อองค์กร แห่งนี้ว่า ทริสยึดมั่นในหลักการของความเป็นอิสระและเป็นกลางหรือ ไม่ "เรากล้าบอกได้ว่าเรามีความเป็นกลาง และไม่มีใครมาบอกให้ทำ ตามได้ เราเชื่ออย่างนั้นและสามารถปกป้องนักลงทุน" จุดเริ่มต้นของข้อสงสัยนี้ ก็คือ ลูกค้าส่วนใหญ่จะมองตัวเองค่อน ข้างดี หลายรายเมื่อถูกทริสจัดอันดับแล้วไม่พอใจ ซึ่งทริสเองก็เปิด โอกาสให้ยื่นคำอุทธรณ์เพื่อขอจัดอันดับใหม่ได้ และโดยส่วนใหญ่แล้ว อันดับความน่าเชื่อถือมักจะไม่ขยับ เพราะเป็นที่รับรู้กันว่าข้อมูลที่ดีๆ ลูกค้ามักจะส่งให้ทริสมาตั้งแต่ต้น

"ทุกอย่างที่เกี่ยวกับการจัดอันดับ เราอธิบายได้ถึงเหตุผลและที่มา ของอันดับเครดิตนั้นๆ" ดร.วรภัทรกล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us