ความพยายามของบริษัทสุขุมวิทคอนโดมิเนียมเป็นจริงขึ้นมาเมื่อสัญญา 3 ฝ่ายระห่างบริษัทเงินทุนสินวัฒนา
ธนาคารสยาม และธนาคารกรุงไทย ถูกร่างและลงรายมือชื่อร่วมกันโครงการฟื้นฟู
"ตึกทอง" เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2532 ที่ผ่านมา
โครงการอาคารชุดขนาด 27 ชั้นบนถนนสุขุมวิทที่เรียกว่า "ตึกทอง"
นี้ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2526 โดยบริษัทสุขุมวิทคอนโดมิเนียม ซึ่งมีกลุ่ม ธวัชชัย
ถาวรธวัช กับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
เงินสนับสนุนโครงการส่วนหนึ่งได้มาจากบริษัทเงินทุนแหลมทอง บริษัทเงินทุนของกลุ่มธวัชชัย
ซึ่งต่อมาถูกทางการยึดเป็นทรัสต์ในโครงการ 4 เมษาและเปลี่ยนชื่อบริษัทเงินทุนสินวัฒนา
อีกส่วนหนึ่งกู้มาจาก (CHINA METALLURGICAL CONSTRUCTION CORPORATION) หรือ
MCC จากประเทศจีนแดง ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวฝากไว้กับทรัสต์ในเครือของธนาคารเอเชียทรัสต์และต่อมาถูกทางการเข้ายึดเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารสยามในเวลาต่อมา
เมื่อปี 2527 การดำเนินโครงการมีปัญหาอันเนื่องมาจากเกิดวิกฤตการสถาบันการเงินซึ่งกระทบโดยตรงแก่บริษัทเงินทุนแหลมทองและธนาคารเอเชียทรัสต์ด้วย
จนทางกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยเช้าไปควบคุมกิจการและให้เงินช่วยเหลือในรูปเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือที่เรียกว่าซอร์ฟโลน
พร้อมกับเปลี่ยนชื่อสถาบันการเงินและธนาคารทั้งสองแห่งดังกล่าวเสียใหม่
การก่อสร้างโครงการหยุดชงักลงตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2528 ในขณะที่ขายโครงการไปได้ประมาณ
15% รัฐบาลจีนแดงทวงเงินที่เขาให้กู้คืนให้แก่ MCC จำนวน 90 ล้านบาท แต่ไม่ทราบว่าเงินที่ฝากไว้กับทรัสต์ในเครือของธนาคารสยามนั้นหายไปไหนรัฐบาล
โดยกระทรวงการคลังสั่งให้ธนาคารสยามจ่ายเงินคืนให้แก่ MCC ไป โดยโอนหนี้ของบริษัทสุขุมวิทคอนโดมิเนียมมาเป็นของธนาคารสยามตังแต่บัดนั้น
รวมหนี้ของโครงการ "ตึกทอง" ที่มีต่อบริษัทเงินทุนสินวัฒนาและธนาคารสยามจำนวน
276 ล้านบาท และค้างจำระค่าก่อสร้างตามที่บริษัทวิศรุตก่อสร้างกล่าวอ้างอีกจำนวน
25 ล้านบาทที่เหลือเป็นหนี้บรรดาผู้จองโครงการที่ได้จำระเงินจองและผ่อนจำระไปแล้วบางส่วนอีกจำนวนหนึ่ง
รวมหนี้ทั้งหมด 300 ล้านบาท
เมื่อทางการเข้ามาควบคุมกิจการทรัสต์ในโครงการ 4 เมษาก็มีแนวความคิดที่จะฟื้นฟูโครงการตึกทองขึ้นมาใหม่
โดยมีการตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูตึกทองขึ้นมาเป็นการเฉพาะชุดหนึ่งซึ่งมี นิพัทธิ์
พุกณสุต รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังเป็นประธาน
และกรรมการประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากธนาคารแห่งประเทศไทย
"การฟื้นฟูตึกทองซึ่งเป็นลูกหนี้ของบริษัทเงินทุนสินวัฒนาก็เป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูกิจการของสินวัฒนาเอง"
เจ้าหน้าที่จากธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวให้เหตุผลถึงการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาฟื้นฟูตึกทอง
อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาเกือบ 5 ปีของโครงการฟื้นฟูทรัสต์ในโครงการ 4
เมษาทางการก็ไม่สามารถที่จะฟื้นฟูตึกทองได้สำเร็จ แม้สมัยเริงชัย มะระกานนท์
ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบันมานั่งในตำแหน่งรองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย
ก็มีแนวความคิดที่จะให้ธนาคารกรุงไทยเข้าไปฟื้นฟูตึกทองให้ได้
"เมื่อธนาคารกรุงไทยรับโอนทรัสต์ในโครงการ 4 เมษา ไปดูแล คุณเริงชัยก็คิดที่จะให้กรุงไทยฟื้นฟูตึกทอง
โดยมีแผนการที่จะให้การช่วยเหลือทางการเงินและซื้อพื้นที่ของอาหารส่วนหนึ่งใช้เป็นที่ทำการของธนาคารด้วย
ซึ่งเป็นการลดภาระความเสี่ยงของโครงการลงไปได้อย่างมาก โครงการฟื้นฟูมีความเป็นไปได้สูงและต่างฝ่ายต่างก็มีความเสี่ยงน้อยลง
ทั้งเจ้าของโครงการ บรรดาเข้าหนี้เดิมและกรุงไทยที่จะปล่อยเม็ดเงินกู้ใหม่ลงไปอีกประมาณ
300 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าเจ้าของโครงการไม่สามารถเจรจากับบรรดาเข้าหนี้ทั้งหลายได้สำเร็จตามเงื่อนไขที่ทางกรุงไทยตั้งไว้
คุณเริงขัยกลับไปแบงก์ชาติโครงการฟื้นฟูก็เลยหยุดชงักลงไปอีก" เจ้าหน้าที่ระดับบริหารในกรุงไทยเล่าให้
"ผู้จัดการ" ฟังถึงอุปสรรคในการฟื้นฟูตึกทองในคราวที่ผ่าน ๆ มา
ปัญหาหลัก ๆ ที่ไม่สามารถที่จะฟื้นฟูตึกทองได้ในขณะนั้นมีอยู่ 2 ปัญหาคือ
หนึ่ง การเจรจากับเจ้าหนี้เดิมคือ ธนาคารสยามและผู้รับเหมาก่อสร้างในเรื่องมูลหนี้ที่เจ้าของโครงการจอให้ลดส่วนลง
ซึ่งขณะนั้นธนาคารสยามยังไม่รวมกับธนาคารกรุงไทยอย่างเช่นปัจจุบัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหนี้ค่าก่อสร้างมีการไม่ยอมรับกันในมูลหนี้ที่อีกฝ่ายหนึ่งว่ายังค้างชำระอยู่
สอง ปัญหาระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกันเองในเรื่องที่จะทำการเพิ่มทุนตามเงื่อนไขที่เริงชัยกำหนด
โดยไม่มีการยอมรับการในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปในโครงการ จึงไม่มีใครยินยอมที่จะช่วยเพิ่มทุนหากผู้บริหารคือกลุ่มถาวรธวัชไม่เคลียร์เรื่องรายรับรายจ่ายให้เป็นที่กระจ่างเสียก่อน
ในขณะที่รอเจรจาอยู่นั้นเริงชัยก็กลับเข้าไปรับตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเสียก่อน
โครงการฟื้นฟูจึงถูกเก็บไว้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และธนาคารสยามในฐานะเข้าหนี้
บุริมสิทธิลำดับที่สองซึ่งเสียเปรียบในด้านการเฉลี่ยทรัพย์สินอยู่แล้วก็เตรียมที่จะยื่นฟ้องล้มละลายตึกทองไว้เรียบร้อยแล้ว
แต่มีการเปลี่ยนแผ่นดินใหม่จากรัฐบาลชุดพลอกเปรม ติณสูลานนท์ มาสู่พลเอกชาติชาย
ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการขอร้องเรื่องนี้กันเอ็นการภายในว่าให้ธนาคารสยามระงับเรื่องที่จะฟ้องไว้ก่อน
ณัชชัย ถาวรธวัช ลูกชายของธวัชชัยเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทสุขุมวิทคอนโดมิเนียมแทนผู้เป็นพ่อ
มีการซื้อหุ้นในส่วนของกลุ่มศรีเฟื่องฟุ้งเข้ามาอยู่ในนามของ คุณหญิงบุญเรือน
ชุณหะวัณ ภริยาของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน, หม่อมราชวงศ์พัฒนไชย ไชย -ยันต์,
พันกรอง หงศ์ลดารมภ์ และนาวาโททินกร พันธุ์กระวีกับกลุ่มนักลงทุนจากฮ่องกงอีกจำนวนหนึ่ง
แหล่งข่าวทางศรีเฟื่องฟุ้งปิดเผยว่า เขาขายหุ้นออกไปในราคาที่ไม่เสียเปรียบมากนัก
เพราะทางกลุ่มไม่ได้ร่วมบริหารโครงการด้วยแล้วจะให้มารับการขาดทุนกับรายจ่ายซึ่งพวกเขาเองก็ยังสงสัยอยู่ว่าเท็จจริงเป็นอย่างนั้นมันก็ไม่เป็นธรรม
ณัชชัยเป็นคนเดิมเกมรุกอีกครั้งโดยทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อกระทรวงการคลังเพื่อให้พิจารณาให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูตึกทองอีกครั้งหนึ่ง
โดยมีสาระสำคัญ 2 ประการคือ หนึ่ง ขอให้ช่วยเจรจาลดหนี้ที่ค้างอยู่กับบริษัทเงินทุนสินวัฒนา
ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทในเครือของธนาคารกรุงไทยกับธนาคารสยาม ซึ่งทรัพย์สินส่วนหนึ่งได้นำไปรวมกับธนาคารกรุงไทยแล้ว
และธนาคารสยามเองก็ยังมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่ธนาคารกรุงไทยอยู่
สถาบันการเงินและธนาคารทั้งสองแห่งมีความเกี่ยวพันกับรัฐบาลหรือกระทรวงการคลังโดยตรง
หรือจะเรียกว่ารัฐบาลเป็นเจ้าของก็ได้
หนังสือร้องเรียนที่ถูกยื่นเข้าไปที่สำนักงานเศรษฐกิจและการคลังถูกส่งขึ้นไปห้องผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลังอย่างรวดเร็ว
มีการพิจารณากันในระดับสูงว่าจะต้องให้ความช่วยเหลือก่อนที่จะส่งลงมาให้เข้าหนี้ที่ระดับล่างสรุปแนวทางอีกครั้งหนึ่ง
สำนักงานเศรษฐกิจและการคลังเสนอว่าเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องของคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟู
และพัฒนาสถาบันการเงินเป็นผู้ดำเนินการ เพราะกองทุนเป็นเจ้าหนี้สถาบันการเงินทั้งสองอยู่ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่นงเยาว์
ชัยเสรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเข้าเป็นกรรมการกองทุน
แนวทางในการให้ความช่วยเหลือบริษัทสุขุมวิทคอนโดมิเนียมเพื่อการฟื้นฟู้ตึกทองออกมาว่า
ให้บริษัทเงินทุนสินวัฒนาลดส่วนหนี้ลงจากเดิม 105 ล้านบาทคงเหลือ 76 ล้านบาทพร้อมกับถอนบริมสิทธิจำนองออก
โดยให้ธนาคารสยามซื้อหนี้จำนวน 76 ล้านบาท ขยับขึ้นมาเป็นเจ้าหนี้จำนองลำดับที่หนึ่งรวมกับหนี้เดิมเป็น
340 ล้านบาท
"บริษัทเงินทุนสินวัฒนาได้เงินสด ๆ ไปจากที่ลดลงแล้วจำนวน 76 ล้านบาท
ส่วนธนาคารสยามนั้นเพิ่มวงเงินจำนองขึ้นอีกจากเดิม 176 ล้านบาทอีก 88 ล้านบาท
และเมื่อรวมกับที่ซื้อมาจากสินวัฒนาอีกก็เป็นมูลหนี้ที่จดจำนองใหม่ทั้งสิน
340 ล้านบาท" แหล่งข่าวกล่าว
วงเงินจำนอง 340 ล้านบาทนั้นให้ธนาคารสยามหยุดคิดดอกเบี้ยจนกว่าจะสำเร็จโดยมีเงื่อนเวลาประมาณ
6 ปี
พร้อมกันนี้ก็ให้ธนาคารกรุงไทยปล่อยเงินกู้ก้อนใหม่ให้แก่บริษัทสุขุมวิทคอนโดมิเนียมจำนวน
220 ล้านบาท โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ระยะเวลาในการชำระคืน 3 ปี
"การช่วยเหลือครั้งนี้ทำขึ้นเป็นสัญญาสามฝ่าย คือ บริษัทเงินทุนสินวัฒนา
ธนาคารสยาม และธนาคารกรุงไทย โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกว่าเมื่อขายพื้นที่ได้แล้วให้ส่งจำระหนี้แก่กรุงไทยก่อนโดยกำหนดกันว่าโครงการจะแล้วเสร็จภายใน
3 ปี เพราะฉะนั้นสำหรับธนาคารสยามจะได้รับชำระหนี้ก็ต่อเมื่อกรุงไทยได้รับจนหมดแล้ว"
แหล่งข่าวจากธนาคารกรุงไทยกล่าว
เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ายังมีเจ้าหนี้อีกรายหนึ่งซึ่งไม่ได้ถูกดึงเข้ามาร่วมในสัญญาครั้งนี้ด้วย
คือบริษัทวิศรุตก่อสร้าง เจ้าหนี้ค่าก่อสร้างจำนวน 25 ล้านบาท จึงได้ให้ธนาคารกรุงไทยให้วงเงินกู้เผื่อไว้ในกรณีที่อาจถูกฟ้องร้องจากผู้รับเหมาะก่อสร้างรายดังกล่าวอีกจำนวน
30 ล้านบาท แยกออกต่างหากจากเงินกู้สนับสนุนโครงการ 220 ล้านบาท
ในการปล่อยเงินกู้อกไปคราวนี้เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงในธนาคากรุงไทยกล่าวว่า
ธนาคารจะร่วมกับธนาคารสยามไปควบคุมดูแลการดำเนินงานของบริษัทสุขุมวิทคอนโดมีเนียมอย่างใกล้ชิด
เพื่อดูแลทั้งรายจ่ายที่ธนาคารจะต้องจ่ายออกไปเป็นงวด ๆ และรายรับที่ธนาคารจะต้องให้นำมาขำระหนี้แก่ธนาคาร
"นอกจากระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการแล้วทางผู้ใหญ่ก็จะมีคณะกรรมการอีกชุดหนึ่งที่จะติดตามโครงการนี้อย่างใกล้ชิด
ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกองทุน กรรมการผู้จัดการใหญ่จากรุงไทย และกรรมการผู้จัดการจากสยาม"
แหล่งข่าวจากธนาคารกรุงไทยเปิดเผยถึงการเข้าไปควบคุมสินเชื่อรายนี้อย่างใกล้ชิด
ในความเป็นไปได้ของโครงการนั้นดูจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะความต้องการพื้นที่ทำมาค้าขายและสำนักงานบนถนนสุขุมวิทยังมีอยู่สูง
ถ้าคำนวณตามประมาณการเดิมที่เสนอไว้ในหนังสือขอความเป็นธรรมที่เสนอเมื่อต้นปี
2532 ราคาโดยเฉลี่ยตารางเมตรละ 30,000 บาท จากพื้นที่ตึกทองที่เหลืออยู่ขณะนี้ประมาณ
21,600 ตารางเมตร (หักส่วนที่ขายออกไปแล้วตอนขึ้นโครงการครั้งแรก 5,400 ตารางเมตร)
เพราะฉะนั้นถ้าขายพื้นที่ที่เหลือเมื่อสร้างเสร็จสิ้นตามโครงการฟื้นฟูใหม่นี้ก็จะได้เงินอยู่ประมาณ
648 ล้านบาท ซึ่งแหล่งข่าวที่พิจารณาเรื่องนี้กล่าวว่าถ้าเทียบราคาโดยเฉลี่ยของอาคารสำนักงานบริเวณถนนสุขุมวิทย่านเดียวกันขณะนี้จะตกประมาณตารางเมตรละ
45,000 - 50,000 บาท ซึ่งก็จะได้เงินถึงประมาณ 1,000 ล้านบาททีเดียว
ดูอนาคตของตึกทองน่าจะสดใส ถ้าหากไม่พบกับปัญหาความขัดแย้งที่รอวันระเบิดอยู่ในขณะนี้
สิ่งที่จะส่งผลกระทบถึงความเป็นไปได้ของโครงการโดยตรงนั้นคือ บริษัทวิศรุตก่อสร้าง
เจ้าหนี้ค่าก่อสร้างจำนวน 25 ล้านบาทที่ทางฝ่ายบริษัทสุขุมวิทคอนโดมิเนียมไม่ยอมรับว่ามีหนี้จำนวนนี้อยู่
และเจรจากันไม่ได้ติดต่อกันมาเป็นเวลายาวถึง 4 ปี 6 เดือน
บริษัทวิศรุตก่อสร้าง โดย สังกาศ ทัฬหิกรณ์และ อรทัย จันทราภรณ์ กับบริษัทสุขุมวิทคอนโดมิเนียม
โดยธวิชชัย ภาวระธวัช และณัชชัย ถาวะธวัช นั้นเป็นที่ทราบกันดีในวงการว่าห้ำหั่นกันมายาวนาน
และไม่มีทางที่จะตกลงกันได้เลยถึงขนาดฝ่ายณัชชัยวิ่งเข้าไปแจ้งความกับกองปราบเพื่อให้มีการจับกุมสังกาศกับอรทัยในขณะที่ประเด็นแจ้งความเท็จ
แต่สุดท้ายมีการตกลงให้มีการดำเนินการทางแพ่งกันเอง ทั้งสองฝ่ายจึงได้แยกย้ายกันกลับบ้าน
จนล่าสุดเมื่อทราบว่าทางกรุงไทยปล่อยเงินกู้ออกมาให้บริษัทสุขุมวิทคอนโดมิเนียมฟื้นฟูตึกทองเป็นที่แน่นอนแล้ว
และก็ได้ส่งคนงานเข้าไปเคลียร์พื้นที่ เพื่อทำการก่อสร้างต่อไปตามแผนการฟื้นฟู
บริษัทวิศรุตก่อสร้างก็ได้ยื่นฟ้งเรียกชำระหนี้ทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าเสียหายรวมกันจำนวนสูงถึง
84 ล้านบาท ในทันทีเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2533 ที่ผ่านมา
ผู้ที่อยู่เบื้องหลังและให้การสนับสนุนบริษัทวิศรุตก่อสร้างในการยื่นฟ้องครั้งนี้ก็คือ
ธนาคารกรุงเทพซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของเขานั่นเอง
ก่อนหน้านั่นเพียงเล็กน้อยบริษัทสุขุมวิทคอนโดมิเนียมก็ได้ยื่นฟ้องบริษัทวิศรุตก่อสร้างกล่าวหาว่าผิดสัญญาละเมิด
เรียกค่าเสียหายและค่าปรับรวมกันทั้งสิ้นจำนวน 52 ล้านบาท เมื่อวันที่ 26
กุมภาพันธ์ 2533 ที่ผ่านมา
แม้ประเด็นการถกเถียงกันจะมีเพียงว่าฝ่ายหนึ่งกล่าวหาว่าอีกฝ่ายหนึ่งค้าขำระค่าก่อสร้างทำให้เกิดความเสียหาย
แต่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างว่าที่ไม่จ่ายเพราะผู้ก่อสร้างทำงานล่าช้า ทำให้ได้รับความเสียหาย
"แต่ผลที่จะเกิดขึ้นแก่โครงการนั้นมีมากมายคามเชื่อถือและความเชื่อมั่นในความสำเร็จของโครงการนั้นคงจะลงลงในทันที
แม้เจ้าของโครงการได้เปลี่ยนชื่อใหม่จาก "ตึกทอง" เป็น "ซีทีสแควร์"
และขึ้นป้ายหน้าอาคารว่า "สนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย" ก็ใช่ว่าจะเรียกร้องความเชื่อมั่นคืนมาได้ทั้งหมด
โดยเฉพาะโครงการที่เน่าและมาเป็นเวลายาวนานถึง 5 ปีแล้วเช่นนี้" ผู้เชี่ยวชาญด้านคอนโดมิเนียมกล่าวกับ
"ผู้จัดการ"
เพราะคงไม่มีใครมั่นใจได้แน่นอนว่าผลของคดีจะออกมาอย่างไร ยิ่งคดีนี้ยืดเยื้อออกไปมากเท่าใด
การตัดสินใจของผู้ลงทุนที่จะเข้ามาซื้อโครงการก็จะชะลุออกไปนานเท่านั้น
แม้ว่าขณะนี้ธนาคารกรุงไทยยังยืนยันกับ "ผู้จัดการ" ว่าธนาคารยังให้การสนับสนุนด้วยดีแม้จะมีการฟ้องร้องกันขึ้นมาแล้วก็ตาม
โดยอ้างว่าเป็นคนละส่วนกัน และเข้าของโครงการได้นำหลักทรัพย์ค้ำประกันของวงเงินกู้ในกรณีจะถูกฟ้องนี้แล้วนี้
แต่ไม่เป็นที่เปิดเผยว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวนั้นคืออะไร
"ในเฉพาะหน้านี้เชื่อว่าจะมีการขอวิธีการคุ้มครองก่อนมีคำพิพากษาอายัดหรือห้ามทำกิจการใด
ๆ ลงในตัวตึกทองโดยฝ่ายบริษัทผู้รับเหมา ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริง แทนที่โครงการนี้จะดำเนินการไปได้ด้วยดีก็อาจหยุดชงักลงไปอีก"
คนในวงการกล่าว
นั่นก็หมายความว่าจะไม่มีประโยชน์อะไรกับเงิน 220 ล้านที่ธนาคารทุ่มลงไปให้ความช่วยเหลือครั้งใหม่นี้
แหล่งข่าวคนเดียวกันกล่าวว่าการทำโครงการอาคารสูงเพื่อขายพื้นที่เช่นนี้
ความเชื่อถือต่อโครงการเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะฉะนั้นการป้องกันความเสียหายไม่ใช่วิธีการให้เจ้าของโครงการหาหลักทรัพย์มาวางประกันการฟ้องร้อง
แต่ควรจะคัดปัญหาให้มีการฟ้องร้องกันเลยดีที่สุดและถูกต้องที่สุด
สำหรับธนาคารแม้ว่าจะคุ้มที่ได้ทั้งสิทธิจำนองและเพิ่มวงเงินขึ้นอีกถึง
88 ล้านบาท แต่ก็ต้องรออีกอย่างน้อย 4 ปี จึงจะเริ่มได้รับชำระปัญหาก็มีทำนองเดียวกันอีกว่าถ้าขายทอดตลาดในวันนี้หนี้
170 กว่าล้านคาดว่ายังเหลือพอที่จะได้เงินคืน
แหล่งข่าวจากพรรครัฐบาลคนเดียวกันกล่าวว่าโครงการฟื้นฟูนี้มีรูปแบบที่แปลกประหลาด
ไม่มีมาตรการอะไรที่จะให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนและการควบคุมกิจการของบริษัทเพราะเหตุว่าคนที่เข้าไปควบคุมก็เป็นคณะกรรมการลอยอยู่ข้างนอก
ไม่อาจจะเช้าไปรับรู้เรื่องราวภายในบริษัทได้ทั้งหมด หรือหากเกิดการพิพาทอะไรกันขึ้นมาก็แก้ไขลำบาก
เว้นแต่จะไปฟ้องร้องเอากันที่ศาลอีกเช่นเคย
"ถ้าเขามีความสุจริตใจที่จะฟื้นฟูกันจริง ๆ ทำไมเขาปล่อยให้บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างรายก่อนตามมาฟ้องเอาแบบนี้
ทำไมไม่เคลียร์กันเสียก่อนให้เรียบร้อย และการไปควบคุมกิจการของบริษัทนั้นทำไม่ให้เขาโอนหุ้นส่วนหนึ่งมาให้เข้าหนี้เพื่อเป็นหลักประกันให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายกันง่าย
ๆ เมื่อชำระหนี้หมดก็คืนหุ้นเขาไปอย่างเช่นธนาคารอื่น ๆ เขาทำกัน" แหล่งข่าวสายการเมืองกล่าวถึงจุดที่พวกเขาจะพุ่งเข้าโจมตี
แรงกดดันที่จะตามมาอีกอย่างหนึ่งหลังจากที่ได้มีการยื่นฟ้องกันทั้งสองฝ่ายแล้วนี้คือข้อมูลคงต้องมีการขุดคุ้ยถึงอดีตอีกยาวไกล
ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้อีกหลายคน
"เป้าหมายนี้เป็นของฝ้ายบริษัทผู้รับเหมาซึ่งจะต้องมีการแฉกันกลางศาลแน่
ๆ ว่าผู้ใหญ่คนไหนเกี่ยวข้องอย่างไรกันบ้าง นับตั้งแต่การให้กู้ครั้งแรกของบริษัทเงินทุนแหลมทองต่อบริษัทในเครือคือบริษัทสุขุมวิทคอนโดมิเนียม
มาจนถึงกรณีที่รัฐบาลบังคับให้ธนาคารสยามจ่ายหนี้ให้แก่จีนแดงแทนบริษัทสุขุมวิทถึง
90 ล้านบาท โดยไม่มีใครรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ธนาคารสยาม และกรณีที่มีการบีบบังคับให้บริษัทเงินทุนสินวัฒนาลดหนี้และให้ธนาคารกรุงไทยปล่อยเงินกู้ออกไป
220 กว่าล้านโดยมี่หลักทรัพย์ค้ำประกัน" ผู้ที่ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดในธนาคารกรุงไทยกล่าวกับ
"ผู้จัดการ"
โดยเฉพาะผู้บริหารธนาคารกรุงไทยอุปมาก็เหมือนคนที่กำลังยืนอยู่ปลายปากกระบอกปืนของมหาโจรอำมหิตทีเดียว
การฟื้นฟูตึกทองดูจะไม่สดใสเสียแล้ว