|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ทำแฟรนไชส์อะไรดี เป็นคำถามที่ยอดฮิตอันดับหนึ่ง คนจำนวนมากเมื่อคิดจะทำธุรกิจ ก็มักคิดถึงการซื้อแฟรนไชส์ แต่ก็ไม่มั่นใจว่าเป็นความคิดที่ดีหรือไม่ และลงทุนไปแล้วจะขาดทุนไหม บางคนมีกุนซือให้ข้อแนะนำโน่น นี่ นั่น แต่ก็ยังไม่เห็นคำตอบอยู่ดี
ส่วนมากแล้ว คนถามมักต้องการให้ฟันธง ไปเลยว่าทำกิจการยี่ห้ออะไรดี ซึ่งยากไปที่จะระบุได้ เพราะทุกกิจการมีทั้งคนทำได้กำไร และเจ๊งทั้งนั้น ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ เช่น ร้านอาหารมีทั้งคนทำรวยทำเจ๊ง ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง แต่ที่สำคัญมากที่สุด ก็คือความสามารถของเจ้าของกิจการ ที่ทนทานต่อปัญหา และแก้ไขอุปสรรคในเรื่องต่างๆได้ ก็มีแววที่จะเป็นผู้ประสบความสำเร็จได้ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไรก็ตาม
แต่ก็มีข้อแนะนำดังต่อไปนี้ ที่ผู้อ่านพอใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจได้
1.เลือกธุรกิจที่อยู่ในความสนใจก่อน โดยมากแล้วคนที่คิดจะทำอะไรซักอย่าง ต้องคิดไว้แล้วในใจบ้างแล้ว เช่น บางคนบอกว่า อยากทำร้านอาหาร บางคนอยากทำกาแฟ บางคนก็สนใจกิจการซื้อมา-ขายไป เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่จะทำอะไร คุณก็ต้องโฟกัส ที่ตัวเอง คนเราเหมือนฟ้าลิขิตให้เกิดมาให้มีความถนัดเฉพาะ บางคนเก่งเลข บางคนรักเด็ก บางคนชอบพูดคุยพบปะกับคนอื่น บางคนรักงานช่าง ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ พบว่าจะมีใจรักที่ทำ จึงทนกับปัญหาที่เกิดขึ้นและมองเห็นช่องทางแก้ไขได้เสมอ
2.เลือกธุรกิจที่โอกาสอำนวย อย่างเช่นบางคนมีอพาร์ทเม้นท์ อาจจะต้องการเครื่องซักผ้า หรือตู้หยอดเหรียญมาบริการผู้เช่า หรือบางคนบ้านอยู่ในตลาดต้องการอาหารที่เหมาะกับคนในตลาด แต่ยังไม่มีใครมาขาย หรือบางคนอยู่ในแวดวงลูกค้าต่างชาติ ก็เลือกธุรกิจมารองรับพวกเขา อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเท่ากับว่าเลือกธุรกิจมีตลาดในมืออยู่แล้วนั่นเอง
3.เหมาะกับกำลังเงินในกระเป๋า ค เมื่อเราเลือกประเภทได้แล้ว ก็ดูกำลังเงินในกระเป๋า ตัดกิจการที่เกินกำลังของคุณออกไป แต่สมัยนี้ก็ดีขึ้นมาก มีสถาบันการเงิน ไม่ว่าเป็นกสิกร เอสเอ็มอีแบงค์ หรือสถาบันการเงินอื่นๆ ต่างก็ให้ความสำคัญกับผู้เริ่มต้นธุรกิจ และมีเงื่อนไขการกู้ที่ผ่อนปรนมากกว่าแต่ก่อนมาก เพียงมีเงินบางส่วน ที่เหลือหาจากแหล่งต่างๆ เช่น เงินยืมพ่อแม่(แบบไม่ต้องคืน) หรือกู้ธนาคารที่ต้องคืนพร้อมดอกเบี้ย เป็นต้น
3.หาข้อมูล เมื่อเราได้กลุ่มธุรกิจที่สนใจแล้ว ก็คัดให้เหมาะกับวงเงินลงทุนของเรา เช่น สมมุติว่า เราสนใจเปิดร้านกาแฟ ขนาดการลงทุนซัก 2 แสนบาท เราก็ต้องหาข้อมูล กิจการที่เข้าสเป็กนี้มาไว้ในมือ เช่นหาจากอินเตอร์เน็ท หรือหาจากหนังสือไดเร็กทอรี่ ที่มีการรวบรวบข้อมูลในด้านนี้เอาไว้ หรือสอบถามจากผู้รู้ในวงการเป็นต้น
4.รวบรวมข้อมูล เมื่อมีรายชื่อเป้าหมาย ที่นี้ก็ง่ายแล้ว หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องยากที่จะหาคำตอบว่า ลงทุนธุรกิจนั้นดีไหม แต่ที่จริงแล้วไม่ยากเลย สมมุติว่าคุณสนใจแฟรไชส์กาแฟแบรนด์หนึ่ง ชื่อว่า A คุณก็ต้องมีการทำการบ้าน โดยนิสัยของคนไทยแล้ว เวลาทำธุรกิจ ส่วนใหญ่ไม่หาข้อมูลใดๆ มักจะเชื่อลมปากของผู้ขาย หรือก็เชื่อตัวเอง แต่ที่เห็นมากที่สุด คือ จะเชื่อหมอดู
5.ทำวิจัย เมื่อปีก่อน มีคนออสเตรเลีย ต้องการมาเปิดตลาดแฟรนไชส์เติมหมึกในไทย ก็มาพบเราสอบถาม ข้อมูลไปมากมายอย่างละเอียดยิบ และขอรายชื่อของกิจการเติมหมึกเกือบทั้งหมดไป ซึ่งเขาเอาไปทำวิจัยอย่างเข้มข้นต่อ ในที่สุดเขาเห็นว่าโอกาสต้องพับกลับบ้านมีสูงเขาก็ไม่มาทำ นี่เป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นว่า ก่อนที่จะมีการลงทุนใดๆ เราควรสร้างนิสัยใหม่ คือ ต้องทำวิจัยด้วยเราเอง การวิจัยนี้ ไม่ได้หมายความว่า จะต้องลงทุนทำเป็นเรื่องเป็นราว ใหญ่โต แต่หมายถึงว่าเราต้องลงสนามหาข้อมูลให้เพียงพอ ให้แน่ใจก่อนตัดสินใจตัวอย่างเช่น ร้านกาแฟ แบรนด์ A ที่เรากำลังสนใจอยู่ ผู้ขายโม้ให้ฟังว่า เมื่อลงทุนแล้วจะได้กำไรคืนมาภายในไม่กี่เดือน ทำแล้วรวยแน่ๆ คุณต้องค้นหาความจริงด้วยการการไปเยี่ยมชมร้านที่เปิดอยู่ให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ หาก พบว่า 80% เวิร์ค ก็แปลว่าโอเค โอกาสเสี่ยงน้อยหน่อย แต่ถ้า 60% ดี ก็ถือว่าพอใช้ แต่ถ้าร้านส่วนใหญ่ไม่ดี นั่นก็คือความเสี่ยงของตัวคุณเอง
หากคุณได้ลงสนาม คุณจะรู้ข้อมูลได้ด้วยตัวคุณเองเลยว่า แฟรนไชส์ที่สนใจอยู่ดีจริงหรือไม่อย่างไร ที่แม่นยิ่งกว่าหมอดู
|
|
|
|
|