|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นักวิชาการแฉ แผนควบรวมปตท. หวังหมกเม็ดใช้ แอลพีจี ราคาถูก ลดต้นทุนการผลิตปิโตรเคมี ผูกขาดอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพราะไม่ต้องแจงปริมาณการกลั่นแอลพีจีให้รับทราบ ทำให้ปริมาณแอลพีจี หายไปจากระบบ ต้องนำเข้าเพิ่ม รัฐต้องสูญเงินอุดหนุนกว่าหมื่นล้านบาทต่อปี เผย รถยนต์ไทยใช้ เอ็นจีวีสกปรกที่สุดในโลก ปตท.อัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผสมถึง 18% ขณะที่มาตรฐานโลกไม่เกิน 3% โกยกำไรเข้ากระเป๋ามหาศาล
จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ทำให้ยอดขายของน้ำมันลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมน้ำมันต่างประเทศปรับโครงสร้าง หันไปลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้นทดแทนรายได้ที่ลดลงจากการขายน้ำมัน โดยในส่วนของประเทศไทย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ก็ได้พยายามปรับตัวในแนวทางดังกล่าว และมีแผนปรับโครงสร้างเพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยเฉพาะในกลุ่มของปิโตรเคมี ที่จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ที่สำคัญในอนาคต อย่างไรก็ตามการควบรวมบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน: PTTAR) กับ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน: PTTCH) แทนการรวบรวมระหว่างPTTAR กับ บริษัทไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน:IRPC) ครั้งนี้ก็มีหลายประเด็นที่สร้างความกังขาให้กับสังคม
ควบรวมปตท.หมกเม็ดกินรวบแอลพีจี
แหล่งข่าวในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กล่าวว่า แผนการควบรวมบริษัทในกลุ่มของปตท. ที่กำลังดำเนินการในขณะนี้ มีแนวโน้มสูงที่จะเกิดการควบรวมระหว่าง PTTARกับ PTTCH ภายหลังจากที่แผนการควบรวมPTTARกับ IRPC ต้องประสบปัญหาจากความไม่พร้อมของ IRPC ที่ยังมีคดีความฟ้องร้องอยู่หลายเรื่อง
แต่ไม่ว่าการควบรวมบริษัทลูกของ ปตท. จะออกมาในรูปแบบใด ก็จะมีเพียงแต่กลุ่ม ปตท. เท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์ ขณะที่ประชาชนและประเทศชาติอาจต้องสูญเสียประโยชน์ เพราะเป้าหมายของการควบรวมครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อเพื่มศักยภาพการผลิตของปตท.เพียงอย่างเดียว แต่เป้าหมายหลักอยู่ที่การนำก๊าซแอลพีจีราคาถูกที่ผลิตได้ในประเทศนำมาใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้อย่างเต็มที่โดยที่ภาครัฐไม่สามารถตรวจสอบได้ ทำให้ปริมาณแอลพีจีที่ผลิตในประเทศจะหายไปจากระบบจำนวนหนึ่ง ต้องนำเข้ามากขึ้น
ทั้งนี้เนื่องจาก PTTARมีทั้งธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน และปิโตรเคมีขั้นต้น โดยแอลพีจี ก็เป็นผลที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขณะที่ยังไม่มีการควบรวมกิจการPTTAR จะต้องรายงานปริมาณ แอลพีจีที่ผลิตได้ว่ามีจำนวนเท่าไร และบริษัทลูก เช่น PTTCH จะต้องซื้อแอลพีจีที่ผลิตได้ไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นผลประโยชน์ส่วนที่ 1 ที่เกิดจากการควบรวมทั้ง 2 บริษัทเข้าด้วยกัน คือสามารถนำแอลพีจีไปใช้ผลิตเป็นเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องต่างๆในราคาถูกมากขึ้น และไม่จำเป็นต้องแยกบัญชีการผลิต แอลพีจีให้รัฐบาลรับทราบ และตรวจสอบได้ยาก เพราะเป็นบริษัทเดียวกัน
ปิโตรเคมีดันยอดLPGพุ่งรัฐสูญหมื่นล./ปี?
นอกจากนี้ ประโยชน์ในส่วนที่ 2 ปตท. สามารถนำแอลพีจีไปผลิตสินค้าได้ในราคาที่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งมาก เพราะขณะนี้รัฐบาลได้นำเงินจากกองทุนน้ำมันมาอุดหนุนราคา แอลพีจี ไว้ที่ 330 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในขณะที่ราคาตลาดโลกอยู่ระหว่าง 600 - 900 ล้านเหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งประชาชนผู้ใช้น้ำมันจะต้องเสียเงินชดเชยถึงปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไม่ต้องจ่ายอะไร รับแต่ผลประโยชน์ฝ่ายเดียว
โดยปริมาณการใช้แอลพีจีของไทยในปี 2552 มีจำนวนการใช้เฉลี่ย 13 ล้านกิโลกรัมต่อวัน แบ่งเป็นการใช้ในครัวเรือน อุตสาหกรรม รถยนต์ มีปริมาณการใช้ 9.5 ล้านกิโลกรัมต่อวัน และใช้ในภาคปิโตรเคมี 3.5 ล้านกิโลกรัมต่อวัน หรือคิดเป็นปริมาณที่มากถึง 1 ใน 3 ของการใช้แอลพีจีทั้งหมด และมีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นโดยตลอดโดยในปี 51-52 ปริมาณการใช้ในปิโตรเคมีเพิ่มสูงถึง 4.7 แสนตัน ขณะที่การใช้ในภาคขนส่งลดลงถึง 1.1 แสนตัน ซึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้แอลพีจีที่ผลิตในประเทศไม่พอใช้ ต้องนำเข้าในปี 2552 ถึง 7 แสนตัน ทั้งนี้หากแยกแอลพีจีที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ประเทศชาติก็แทบจะไม่ต้องนำเข้าแอลพีจีให้ประชาชนต้องแบกภาระจ่ายค่าชดเชยอีกเลย ซึ่งการที่ ปตท. นำทรัพยากรของคนทั้งประเทศไปผลิตเป็นสินค้าก่อให้เกิดกำไรให้กับพนักงาน และผู้ถือหุ้นไม่กี่คน เห็นได้จากจำนวนการจ้างงานและผู้ได้รับผลประโยชน์จากปตท.มีไม่ถึง 1% แต่สร้างจีดีพีให้กับประเทศสูงถึง 10% แสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์กระจุกตัวกับคนเพียงกลุ่มเล็กๆ ในขณะที่ประชาชนทั้งประเทศไม่ได้ประโยชน์อย่างไรเลย
นอกจากนี้ การควบรวมทำให้บริษัทลูกของ ปตท. มีขนาดใหญ่ขึ้น ก่อให้เกิดการผูกขาดทางการค้า ซึ่งขัดกับภารกิจของรัฐวิสาหกิจของรัฐ ซึ่งการแปรรูปจะต้องก่อให้เกิดการแข่งขันไม่ใช่การผูกขาด เพราะการที่ปตท.อยู่ในฐานะรัฐวิสาหกิจ ทำให้ได้รับสิทธิพิเศษมากมายในการดำเนินธุรกิจ และในขณะนี้ธุรกิจโรงกลั่นเหลือทั้งหมดก็อยู่ภายใต้การควบคุมของ ปตท.อยู่แล้ว และจะยิ่งทำให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจปิโตรเคมีมากขึ้นไปอีก ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม
แฉรถยนต์ไทยใช้เอ็นจีวีสกปรกที่สุดในโลก
ทั้งนี้ไม่เพียงแต่กรณีของแอลพีจีเท่านั้นที่ ปตท. ได้ประโยชน์อย่างมหาศาล แต่ยังมีกรณีที่ ปตท. เติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปใน เอ็นจีวี 18% ซึ่งสวนทางกับนานาประเทศที่มีมาตรฐานก๊าซเอ็นจีวีที่ใช้ในรถยนต์จะต้องมีก๊าซมีเทนเป็นส่วนประกอบไม่ต่ำกว่า 95% และมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 0-3% แล้วแต่มาตรฐานของประเทศ ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานของไทยมาก ซึ่งถือได้ว่ารถยนต์ในไทยใช้เอ็นจีวีที่สกปรกที่สุดในโลก
โดยสาเหตุเกิดจากก๊าซเอ็นจีวีที่ปตท.นำมาเติมรถยนต์จะขุดขึ้นมาจากบ่อแล้วขายให้กับสถานีบริการเลย แต่งต่างกว่าในประเทศอื่นๆที่ต้องนำมาผ่านการผลิตให้มีก๊าซมีเทนไม่ต่ำกว่า 95% และมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 3% ในขณะที่เอ็นจีวีที่ขายทั่วไปในไทยส่วนใหญ่จะมาจ่างแหล่งในอ่าวไทยที่มีสัดส่วนมีเทนไม่ถึง 70% ที่เหลือเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ 18% และก๊าซอื่นๆที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเครื่องยนต์อีก 12% แต่ก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้ในภาคอีสานเป็นก๊าซที่มีคุณภาพดีมาก มีสัดส่วนมีเทนสูงถึง 95% ทำให้ที่ผ่านมารถยนต์ที่เติบเอ็นจีวีในภาคอีสานจะมีอัตราเร่งที่ดีกว่า ดังนั้น ปตท. จึงปรับให้มีมาตรฐานเท่ากันทั้งประเทศ จึงนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปขายให้กับสถานีบริการในภาคอีสานกิโลกรัมละ 5 บาท และสถานีบริการก็ขายเอ็นจีวีในกิโลกรัมละ 8.50 บาท ทำให้ทั้งสถานีบริการ และปตท. ต่างก็ได้ประโยชน์ทั่วหน้า ทั้งๆที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซที่เหลือทิ้งจากโรงกลั่นปิโตรเลียมที่จะต้องใช้เงินในการกำจัด แต่ปตท.ไม่ต้องนำไปกำจัด แล้วยังนำไปขายได้เงินอีกด้วย
ยันควบรวมเพิ่มความแข็งแกร่งของกลุ่มปตท.
ด้าน ชายน้อย เผื่อนโกสุม อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความคืบหน้าของการควบรวมบริษัทลูกของ ปตท. ขณะนี้ชะลอโครงการออกไป รอดูผลสรุปความพร้อมของ บริษัทไออาร์พีซีก่อน ยังไม่ได้ตัดสินใจรูปแบบว่าจะควบรวมอย่างไร จะต้องพิจารณาว่ารูปแบบใดเกิดประโยชน์สูงสุด เกิดการเสริมสร้างระหว่างกัน และเกิดประสิทธิผลมากที่สุด ทั้งนี้การควบรวมจะทำให้ธุรกิจของ ปตท. ในภาพรวมมีความเข้มแข็งมากขึ้น มีศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกสูงขึ้น ซึ่งถ้าไม่ควบรวมความเข็มแข็งก็จะกระจุกตัวอยู่เพียงในกลุ่มอะโรเมติกส์
ส่วนผลกระทบจากการควบรวมกิจการที่มีต่อก๊าซแอลพีจีหรือไม่นั้น ชายน้อย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวยังไม่สามารถชี้ชัดถึงผลกระทบที่จะตามมาได้ เพราะขณะนี้เรื่องการควบรวมกิจการในกลุ่ม ปตท. ก็ยังไม่มีความชัดเจน จึงยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าบริษัทใดจะรวมกับบริษัทใด ทำให้ไม่สามารถตอบรายละเอียดในส่วนนี้ได้
|
|
|
|
|