|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
สถาบันยานยนต์มองข้ามช็อต! ยอดการผลิตรถในไทยพุ่งสู่ 3 ล้านคัน เมินตัวเลข 2 ล้านคันถือเป็นของตาย เตรียมนำโครงการสนามทดสอบมาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง ขณะที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถ ยาง และแบตเตอรี่ในไทย แห่ทุ่มลงทุนหลายหมื่นล้านบาท สร้างและขยายโรงงานใหม่ พัฒนาเทคโนโลยี และเพิ่มประสิทธิภาพาการผลิต รองรับฐานการผลิตรถในไทยที่ขยายตัวแบบสุดๆ
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยว่า แม้จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา แต่การผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้ยั่งยืน ตามแผนยุทธศาสตร์ยานยนต์ของไทยระยะ 2 ช่วงเวลาปี 2550-2554 เป็นไปตามแผนทุกอย่าง โดยมีบริษัทรถขอรับส่งเสริมการลงทุนอีโคคาร์ 5 ราย โครงการผลิตรถคอมแพ็กต์คาร์ของฟอร์ด และยังมีรถซับคอมแพ็กต์ของมาสด้าและฟอร์ดอีก รวมยอดการผลิตโครงการใหม่เหล่านี้ร่วม 9 แสนคัน
“ปีนี้คาดว่ายอดการผลิตจะอยู่ที่ประมาณ 1.6 ล้านคัน และปีหน้า 1.8 ล้านคัน เมื่อรวมกับยอดผลิตตามแผนของโครงการใหม่อีก 9 แสนคัน ที่จะเดินกำลังการผลิตเต็มที่ในช่วง 5-7 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยมีกำลังการผลิต 2.5-3 ล้านคันต่อปี หากไม่เกิดวิกฤตร้ายแรงมาส่งผลกระทบอีก ทำให้ตอนนี้เรามองข้ามตัวเลขการผลิตรถ 2 ล้านคัน ที่ไทยต้องการผลักดันให้สำเร็จไปได้เลย”
ส่วนสิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป นายวัลลภกล่าวว่า เป็นศูนย์ทดสอบรถยนต์ครบวงจร ซึ่งมาเลเซียมีการผลิตแค่ปีละ 4 แสนคันต่อปี แต่มีศูนย์ทดสอบรถครบวงจรไปแล้ว ขณะที่ในไทยแม้จะพูดเรื่องนี้มาหลายปี ยังไม่สามารถผลักดันให้เกิดได้ ซึ่งเรื่องนี้ล่าสุดได้ผ่านคณะกรรมการอุตสาหกรรมแห่งชาติแล้ว และในการประชุมที่ทำเนียบรัฐบาลกลางเดือนนี้ จะมี 2 โครงการที่เสนอไป คือ เรื่องพัฒนาบุคคลากร และศูนย์ทดสอบ วงเงินเฟสแรกไม่นับสนามทดสอบประมาณ 1,500-1,800 ล้านบาท ซึ่งตามแผนจะใช้วิธีขยายศูนย์ทดสอบที่บางปูออกไปอีก ส่วนสนามทดสอบยังติดปัญหาเรื่องรัฐหรือเอกชนจะเป็นฝ่ายลงทุนอยู่เช่นเดิม
**ชิ้นส่วนรถลงทุน-เพิ่มประสิทธิภาพผลิต**
ขณะที่ทางผู้ผลิตชิ้นส่วนมีรายงานจาก บริษัท ซัมมิท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด (SAB) บริษัทในเครือซัมมิท กรุ๊ป กลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของไทยระบุว่า ยอดการผลิตรถของไทยในปี 2555 จะมีไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคัน เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น และบริษัทยังมีการผลิตรถยนต์โมเดลใหม่ๆ ครอบคลุมทุกเซกเม้นท์หลักตลาดรถ ทำให้ซัมมิทฯ เตรียมงบลงทุนในการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ พัฒนาเทคโนโลยี และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อรองรับในช่วงระยะเวลา 2 ปีนี้ อยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท
นายสมพงษ์ ผลิตโชค กรรมการผู้จัดการใหม่ บริษัท ไทยรุ่งยูเนียนคาร์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เตรียมงบลงทุนในช่วงปี 2553-2554 ไว้ที่ประมาณ 600 ล้านบาท สำหรับใช้ในการขยายโรงงานผลิตชิ้นส่วนที่จังหวัดระยอง เป็นจำนวนเงิน 400 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก 60-70% และอีกประมาณ 100-200 ล้านบาท ใช้ในการขยายห้องพ่นสี และผลิตแม่พิมพ์ เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในอนาคต
นอกจากนี้ยังมีรายงานจากสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนในไทยว่า ปัจจุบันมีแรงงานบางส่วนประมาณ 15% จากที่ถูกปลดออกไป 40% ในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2551 ยังไม่กลับเข้ามาทำงานเหมือนเดิม ขณะที่ตลาดรถมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาขาดแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ สมาชิกบางส่วนจึงแก้ไขด้วยการนำเข้าเครื่องจักร หรือโรบอตมาทดแทนแรงงานคนที่หายไป และจากการแลกเปลี่ยนข้อมูล ขณะนี้มีการจัดซื้อเครื่องจักรไม่ต่ำกว่า 400-500 ชุด และคาดว่าปีนี้จะมีการลงทุนของสมาชิกไม่น้อยกว่า 5,000 - 10,000 ล้านบาท
**ยาง-แบตเตอรี่แห่ลงทุนรับอุตฯรถเติบโต
ทั้งนี้มีรายงานข่าวจากบริษัท บริดจสโตน คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้ประกาศแผนเพิ่มการลงทุนโรงงานในประเทศไทย ที่โรงงานบริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี มูลค่าลงทุน 2.13 หมื่นล้านเยน หรือประมาณ 7,900 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตยางเรเดียล สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ปิกอัพ และรถตู้ เพิ่มขึ้นอีกเป็นวันละ 1.35 หมื่นเส้น ซึ่งจะทำให้เมื่อถึงปลายปี 2557 ที่การผลิตทำได้เต็มที่ จะมีการผลิตจากโรงงานหนองแค รวมวันละ 5 หมื่นเส้น ซึ่งจะเป็นฐานการผลิตเรเดียลรถยนต์นั่งที่สุดที่สุดในกลุ่มบริดจสโตน
เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการประกาศลงทุนอย่างคึกคัก โดยค่ายแบตเตอรี่รายใหญ่ “ยีเอส”(GS) ได้ประกาศลงทุน 450 ล้านบาท ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ เพื่อรองรับการขยายตัวของรถยนต์นั่งขนาดเล็ก รวมถึงพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดใหม่สำหรับอีโคคาร์ และผลจากการลงทุนครั้งนี้จะผลักดันให้ยีเอสแบตเตอรี่ในไทยมีกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 6 ล้านลูกต่อปี เมื่อเริ่มการผลิตเต็มที่ในปี 2554 ซึ่งจะเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนของกลุ่มยีเอสแบเตอรี่
ทางด้านค่ายแบตเตอรี่ยี่ห้อ “เอฟบี”(FB) ได้เปิดเผยว่า เตรียมแผนธุรกิจในอนาคต ด้วยการลงทุนประมาณ 80-90 ล้านบาท เพื่อเปิดไลน์รถยนต์เพิ่มอีก 1 ไลน์ ภายใน 2-3 ปีจากนี้ เนื่องจากตลาดรถยนต์นั่งกลุ่มซับคอมแพ็กต์กำลังโตอย่างมาก
ส่วนผู้ผลิตแบตเตอรี่สัญชาติไทย “3K แบตเตอรี่” ได้มีการทุ่มงบก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่มูลค่า 600 ล้านบาท ด้วยการนำเข้าเครื่องจักรมาจากประเทศอิตาลี่ เพื่อผลิตแบตเตอรี่รุ่น 3K V-SERIES แบตเตอรี่ชนิด Sealed Maintenance Free (SMF) ซึ่งเป็นแบบฝาที่ปิดสนิท 100% ไม่มีช่องให้เติมน้ำกลั่น
|
|
 |
|
|