Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2533
เมื่อดาราเหนือถูกปิดล้อมทางตลาด             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 

   
related stories

จาก "แหม่มน๊อดท์" ผู้ให้กำเนิด สู่ "รูดี้" ผู้สานต่อฝันที่เป็นจริง

   
search resources

Food and Beverage
Marketing
ดาราเหนือ, บมจ.
วีระพงษ์ โพธิภักติ




ย้อนหลังไปเมื่อ 30 ปีก่อนที่วีระพงษ์ โพธิภักติ จะเข้าบริษัทดาราเหนือเป็นบริษัที่นับว่ายิ่งใหญ่ใอดีตที่รวมเอหุ้นส่วนคนไทยที่มีชาติตระกูลและฐานะดีอาทิเช่น ดร.รักษ์ ปันยารชุน ซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรางต่างประเทศสมัยจอมพล ป พิลบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี , หม่อม กอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา, ร้อยเอกเฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวาซึ่งเคยเป็นเจ้าของบ้านพิษณุโลก, พันตรีอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์, เทวมิตร กุญชร ฯลฯ

บริษัทนี้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2499 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกถึง 500,000 บาท โดยมีธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้เป็นสถาบันการเงินหลักที่บริษัทได้เปิด LETTER OF CREDIT ไว้เพื่อสั่งซื้ออุปกรณ์เครื่องจักรและวัตถุเคมีผลิตน้ำดื่ม "POLARIS" เป็นแห่งแรกที่โรงงานนนทบุรีซึ่งมีเนื้อที่ 13 ไร่

กรรมการผู้จัดการคนแรกไม่ใช่คนไทย แต่เป็นผู้หญิงชาวอเมริกันวัย 37 ปี ที่ชื่อว่า "MRS.MAXINE WOODFIELD ORTH" หรือที่เรียกสั่นๆว่า "แหม่มน๊อดท์" ความสำคัญของแหม่มน๊อดอยู่ที่เธอเป็นผู้ก่อตั้งและวางรากฐานการบริหารกิจการได้มั่นคงและเติบโตอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลา 30 ปีโดยเธอวางแผนด้านการตลาดขยายสาขาไปสู่เชียงใหม่ในปี 2510 และอีก 4 ปีต่อมาบริษัทดารเหนือก็ขยายไปสู่สาขาพัทยาซึ่งมีเนื้อที่ 12 ไร่ ขณะนี้เธอเหลือหุ้นอยู่ในดาราเหนือเล็กน้อยและดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมการที่ไม่ได้ยุ่งกับงานบริหารใดๆ

ผู้บริหารระดับสูงคนสำคัญอีกคนหนึ่งที่มีบทบาทมากก็คือ ดร.รักษ์ ปันยารชุน ประธานกรรมการบริษัท ซึ่งเป็นคหบดีที่มีชาติตระกูลและการศึกษาดีจบจาฝรั่งเศส เป็นบุตรคนที่สอบอขงพระปรีชานุศาสตร์และมี กุศะ ปันยารชุน เป็นพี่ชาย (กุศะ ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทเวิร์ลแทรเวล เซอร์วิส) เมื่อจอมพลป. พิบูลสงครามซึ่งเป็นพ่อตาของดร.รักษ์ได้ถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชน์ ปฏิวัตินั้น ดร.รักษ์ ขณะนั้นยังทำงานในฐานะ PRESIDENT OF THE GENERAL ASSEMBLY อยู่ที่องค์การสหประชาชาติที่นิวยอร์คอยู่ และเมื่อต้องพ้นจากตำแหน่งทางการเมือง ดร.รักษ์ก็ได้เข้ามาเป็นประธานกรรมการบริษัทแทนบิดาสองแห่งคือ บริษัทแก๊สบริสุทธิ์และบริษัทดาราเหนือ

"ดร.รักษ์เป็นคนหนุ่มไฟแรงที่มีความสามารถมากเขาได้สร้างความแข็งแกร่ง และให้คำปรึกษาอย่างฉลาดสำหรับการกำหนดนโยบายบริษัทมากทำให้เราสามารถฝ่ามรสุมและชนะอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ได้" แหม่มน๊อดท์ย้อนเล่าอดีตให้ฟัง

ประวัติศาสตร์ยาวนานนับสามทศวรรษของดาราเหนือขึ้นอยู่กับคนสองคนนี้มาก และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปตลาดน้ำดื่มเต็มไปด้วยผู้ผลิตกว่า 200 ยี่ห้อกระจายไปทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด แต่ถึงกระนั้นก็ตามพฤติกรรมผู้บริโภคไทยให้การยอมรับน้ำดื่ม "POLARIS" จนกระทั่งได้กลายเป็นชื่อเรียกกันทั่วไปสำหรับน้ำดื่มทุกยี่ห้อ (GENERIC NAME) ความเป็นผู้นำตลาด (MARKET LEADER) นี้ก็ต้องตกเป็นของ "POLARIS" ซึ่งขณะนี้ครองส่วนแบ่งตลาดถึง 55% ของตลาดน้ำดื่ม มูลค่า 359 ล้านบาท โดยมีคู่แข่งคือ FUJI - M ของบริษัทกรุงเทพบริการน้ำกลั่นของกลุ่มศรีกรุงครอง 15% และ "ตราสิงห์" ของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่และยี่ห้ออื่น ๆ ครองส่วนที่เหลือ (ดูตารางส่วนแบ่งการตลาดน้ำดื่ม)

บริษัทดาราเหนือเกิดการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารกลุ่มใหม่ขึ้นราวปี 2528 - 29 แหม่มน๊อดท์และดร.รักษ์ เริ่มวางมือให้คนหนุ่มอย่างวีรพงษ์ โพธิภักติ ข้ามาถือหุ้นใหญ่โดยผ่านสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับแหม่มน๊อดท์ซึ่งรู้จักกันโดยส่วนตัวกันมานานนับ 10 ปี

"โดยสไตล์ของวีรพงษ์เขามักจะทำงานคนเดียว และมีการตัดสินใจเร็วและเด็ดขาด เขาเป็นคนมีความสามารถเข้าหาผู้ใหญ่เก่งมาก เขาเชิญพลเอกพิจิตร กุลวณิชย์ มาเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของบริษัทดาราเหนือด้วย" แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดเล่าให้ฟัง

วีรพงษ์ปัจจุบันอายุ 46 ปี เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2487 บิดาชื่อประพนธ์และมารดาชื่อจินตนา แต่งงานแล้วกับพิมพ์ใจซึ่งเป็นบุตรสาวเศรษฐีเจ้าของทัวร์รอแยลคือ ประพักตร์ สกุลรัตนะ และพล.ต.ท.อำรุง สกุลรัตนะ ปัจจุบัน วีรพงษ์มีบุตรชายชื่อ ทักษพงษ์ และบุตรสาวชื่อสุดาพิมพ์ เขาถือโชคเกี่ยวกับไฝใต้คางซึ่งเขาไม่ยอมตัดเส้นขนที่ยาวถือเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของเขา ปัจจุบันเขาจะนั่งประจำอยู่ที่อาคารวานิชซึ่งเป็นสำนักงานบริษัทดาราดล

วีรพงษ์ได้เข้ามา เขาไม่ได้มาคนเดียวแต่ได้นำทีมบริหารใหม่ซึ่งเป็นเพื่อนเข้ามาด้วยคือ ฤธี อารีสรณ์ ซึ่งรับตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทดาราเหนือและธงชัย ดาวเรือง เป็นกรรมการผู้จัดการร่วม ซึ่งทำหน้าที่ลงนามในเอกสารบริษัทต่าง ๆ ด้วย

ธงชัย ดาวเรือง เป็นเพื่อนโรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพ รุ่นเดียวกับวีรพงษ์ จบปริญญาตรีบริหารจาก WESTERM AUSTRALIA UNIVERSITY เคยทำงานเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่บริษัท COOPER & LYBRAND ปัจจุบันมีกิจการส่วนตัวคือบริษัทธงชัยแอนด์เอสโซซิเอทอยู่ที่อาคารวานิช

สิ่งที่แรกที่ทีมผู้บริหารชุดใหม่เปลี่ยนแปลงก็คือ การถือหุ้นใหญ่บริษัทดาราเหนือได้เปลี่ยนจากรายบุคคลเป็นในรูปของบริษัทดาราดล (เดิมชื่อบริษัท NS & TC) ซึ่งเป็นบริษัทโฮดิ้งที่ตั้งขึ้นในปี 2527 ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท และเพิ่มทุนเป็น 40 ล้านบาทในเดือนกันยายนปี 2532 บริษัทนี้ดร.รักษ์และแหม่มน๊อดท์เหลือหุ้นกิตติมศักดิ์เพียง 500 หุ้นเท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นของตระกูล "สกุลรัตนะ" ซึ่งเป็นญาติฝ่ายพิมพ์ใจ ภรรยาของวีรพงษ์

ทางด้านการบริหารงานบริษัท วีรพงษ์และธงชัยไม่ได้เข้ามาบริหารวันต่อวันที่ดาราเหนือคงมีแต่ฤธี อารีสรณ์ผู้เดียวที่ดูแล ในฐานะนักบริหารบัญชีเก่าและเป็นมืออาชีพผ่าตัดองค์กร ฤธีได้เห็นโอกาสที่บริษัทจะเติบโตด้านยอดขายได้มากกว่านี้เพราะเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวในปี 2530 เป็นต้นมา เขาวางแผนการผลิตให้เพิ่มขึ้นเป็น 24 ชั่วโมง ซึ่งเปลี่ยนจากยุคเดิมที่แหม่มน๊อดท์บริหารอยู่คือ คนงานจะทำงานเฉพาะช่วงเช้าถึงเย็นก็กลับบ้านไปพักผ่อน

หากด้านการตลาด ฤธีได้รุกเพิ่มสาขาที่หาดใหญ่ในปี 2530 และขยายขนาดสินค้าให้มากขึ้นจนครบ 6 ขนาด ขณะนี้คือขนาดแกลลอนหรือ 15 ลิตร, ขนาด 950 ซีซี บรรจุในขวดแก้วและขวดพลาสติก, ขนาด 500 ซีซี ทั้งขวดแก้วและขวดพลาสติกแบบวันเวย์ (ใช้แล้วทิ้ง) และขนาด 1,500 ซีซี วันเวย์ด้วย

นโยบายทางด้านราคาที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ 5 - 15% ต่อปี ได้กำหนดให้น้ำดื่ม "POLARIS" เป็นสินค้าระดับสูง โดยน้ำดื่มสำหรับขนาดแกลลอนหรือ 15 ลิตร ซึ่งมีตลาดลูกค้าหลัก ๆ คือ สำนักงานและหมู่บ้านถึง 90% ของลูกค้าทั้งหมด 40,000 ราย ได้กำหนดราคาสูงกว่าคู่แข่งทั่วไปซึ่งผลิตน้ำและขวดบรรจุไม่มีคุณภาพ ที่เรียกกันว่าขวดขาว ราคามัดจำต่อขวดของ "POLARIS" 300 บาทต่อขวด และขายส่งให้แก่ผู้ที่มารับที่โรงงาน 12 บาทต่อการสั่งครั้งละไม่ต่ำกว่า 10 ขวด ขณะที่ราคาขายปลีกจะตกประมาณขวดละ 18 บาท ซึ่งแพงกว่าขวดขาวที่ขายปีกแค่ถังละ 7 - 8 บาทเท่านั้น นอกจากนี้ขวดขนาด 950 ซีซีต้องจ่ายค่ามัดจำขวด 200 บทและราคาขายส่งค่าน้ำ 18 บาทต่อหนึ่งลังหรือ 12 ขวด ส่วนขวดพลาสติกขนาด 500 ซีซี จะขายส่งโหลละ 30 บาท

นอกจากนี้รายได้อื่น ๆ จากการขยายตลาดการขายภาชนะ POLYCARBONATE บรรจุขนาด 5 แกลลอนให้กับประเทศฮ่องกง อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย โดยในปีที่แล้วทำยอดขายได้ 14 ล้านบาท โดยในปีนี้จากงบการเงินคาดว่าจะได้ 30 ล้านบาท

ปรากฏว่าเพียงปีเดียวที่ฤธีบริหารผลการดำเนินงานบริษัทปี 2530 มียอดขาย 98.2 ล้านบาทเพิ่ม 24 ล้านจากปีก่อนซึ่งทำได้ 74.3 ล้านและในปีที่แล้ว พุ่งสูงถึง 182 ล้านบาทโดยมีกำไรเพิ่มขึ้นกว่าปี 31 ถึง 418% (ดูตารางผลการดำเนินและแนวโน้ม)

นี่คือก้าวกระโดดของยอดขายน้ำดื่ม POLARIS ที่สะท้อนให้เห็นถึงสมรรถนะการบริหารงานของทีมคนหนุ่มไฟแรงที่ประกอบด้วย วีรพงษ์ โพธิภักติ กรรมการบริหารบริษัท, ฤธี อารีสรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท, ธงไชย ดาวเรือง กรรมการบริหาร นอกจากนี้ฤธีได้ปรับโครงสร้างการตลาดและขายใหม่เมื่อต้นปี 2533 นี้เองโดยให้อัศวิน วิภาตะศิลปิน เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการขายคนแรก โดยประสบการณ์อัศวิน ได้ทำงานกับกลุ่มบริษัทดาราดลของวีรพงษ์ 5 - 6 ปี ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท CELADON MARKETING AND SALES ซึ่งเคยเป็นกิจการของแหม่มน๊อดท์และต่อมาได้กลายเป็นบริษัทดาราดล

"ผมไม่เคยมีประสบการณ์การทำตลาดคอนซูเมอร์มาก่อน ทำให้รู้สึกว่ามีการบ้นที่ต้องทำมาก แต่ก็มั่นใจในชื่อโพลาริสที่ตลาดยอมรับกันมานานและเราก็ส่งเสริมซาปั้วยี่ปั้วรายใหม่มาก" อัศวินเล่าให้ฟังในช่วงแรก ๆ ที่โซดาเพิ่งวางตลาด

แต่อัศวินก็ยังไม่ทันพิสูจน์ผลงานบริหารงานการตลาดที่นี่ได้นาน ในราวกลางเดือนมิถุนายนนี้เขาได้ลาออกด้วยเหตุผลที่ ธงไชย ดาวเรือง กรรมการบริหารเล่าให้ฟังว่า เป็นเหตุผลส่วนตัวที่คุณพ่อของเขาป่วยเป็นมะเร็ง

"ตอนนี้รูดี้ซึ่งมีประสบการณ์ที่เป็นมืออาชีพที่ปรึกษาด้านการบริหารก็ได้เช้ามารับผิดชอบดูแลด้านการตลาดนี้ไปพลาง ๆ ก่อนที่จะหามืออาชีพทางการตลาดซึ่งเราก็ดูไว้หลายคน" ธงไชยเล่าให้ฟัง

เบื้องลึกของการลาออกของอัศวิน นอกจากปัญหามรสุมชีวิตส่วนตัวที่บิดาป่วย กล่าวกันว่าการดำเนินงานตามแผนการตลาดที่อัศวินวางไว้ไม่ราบรื่นเท่าที่ควร เพราะทีมงานใหม่ ไม่ได้รับความร่วมมือเพราะขาดการยอมรับและการประสานงานที่ดีจากลูกหม้อเก่า ซึ่งอัศวินต้องเข้ามาดูแลด้วยหลังจากที่สุรศักดิ์ ทัศนสันต์ ลูกหม้อเก่าที่เป็นผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติ (บริการลูกค้า) ได้ลาป่วยด้วยโรคหัวใจเกือบทั้งเดือนพฤษภาคม สุรศักดิ์ทำงานกับบริษัทมานาน 30 ปีโดยไต่เต้ามาจากพนักงานขายน้ำและในอดีต สุรศักดิ์เคยเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดและขายก่อนที่อัศวินจะเข้ามา

"ในระบบงานก็ต้องมีการคานกันระหว่างคนเก่าและคนใหม่เป็นธรรมดา การที่เราบุกตลาด ก็ทำให้เราต้องสร้างทีมการตลาดและการขายขึ้นมาใหม่ ในขณะที่ฝ่ายบริการลูกค้าที่คุณสุรศักดิ์ดูแลอยู่ ก็มีลูกค้าจำนวนมาก แต่ทางการตลาดคุณอัศวินก็เพิ่งเริ่มต้นและเข้าหาลูกค้าใหม่ ๆ ได้พอสมควรแล้ว คิดว่าไม่มีผลกระทบอะไรเพราะรูดี้อยู่ดูและอยู่" ธงไชยกรรมการบริหารเล่าให้ฟัง

เมื่อเกิดกรณีปัญหาความขัดแย้งเช่นนี้ ฤธีได้นำเอาสวัสดิ์ ทรัพย์อำนวย ซึ่งเป็นมืออาชีพด้านการฝึกอบรมการบริหารการจัดการ เข้ามาช่วยทำงานในฝ่ายการตลาดนี้ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ทางด้านการพัฒนาบุคลากรให้ดีขึ้นด้วย

ขณะนี้ศึกในบ้านยังครุกรุ่นอยู่ ศึกภายนอกจากบริษัทคู่แข่ง บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ก็มีข่าวว่าจะมีการออกน้ำดื่มเพิ่มอีก 2 ขนาดเพื่อแย่งตลาดน้ำดื่มที่มีอัตราเติบโต 25% นี้จากผู้นำตลาดคือ บริษัทดาราเหนือ

สงครามการตลาดของน้ำดื่มจึงรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ เป็นสงครามชั่วพริบตาที่จะตัดสินใจช้าไม่ได้ เพราะยักษ์ใหญ่ในวงการน้ำดื่มน้ำเมาทุกยี่ห้อ ก็มีสิทธิ์เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวได้ทุกเมื่อ เช่นบริษัทไทยน้ำทิพย์ออกน้ำดื่ม "ยี่ห้อน้ำทิพย์" เพราะน้ำอัดลม "โค้ก" ถูกเก็บภาษีน้ำอัดลมเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ขึ้นราคาขายปลีก ยอดขายตกและเครื่องจักรว่างจึงผลิต "น้ำทิพย์" ออกมาแต่ในปี 2531 ทางโค้กก็เลิกทำเพราะไม่มีเวลาดูแล และตลาดน้ำอัดลมกำไรดีกว่าคือ 1 ลังได้สูงถึง 70 บาท ขณะที่น้ำดื่ม 1 ลังกำไรแค่ 20 บาทเท่านั้น

ในอดีตผู้บริหารของดาราเหนือเคยต้องพลาดมาแล้วครั้งหนึ่ง แล้วเมื่อตัดสินใจช้าเกินไปกับการออกน้ำดื่มขวดขนาด 500 ซีซี ครั้งนั้นแหม่มน๊อดท์เล่าให้ฟังว่า แผนการที่จะออกน้ำดื่มในขนาดใหม่นี้เตรียมไว้แล้วอย่างน้อย 2 ปี มีการออกแบบขวดให้พอดีกับการผลิตและได้ว่าจ้างให้บริษัทบางกอกกลาสทำ แต่บังเอิญที่ช่วงนั้นแผนการออกแบบขวดขนาดแกลลอนต้องใช้เงินทุนมาก ทำให้เกิดความล่าช้าในการออกขวดขนาด 500 ซีซีไป

งานนี้บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ชิงตัดหน้าทำน้ำดื่ม "ตราสิงห์" ขนาด 500 ซีซี ออกมาในปี 2526 ด้วยเหตุผลจากการถูกสถานการณ์บีบ จากการที่รัฐบาลขึ้นภาษีโซดาจากเดิมอีกประมาณ 300% ส่งผลให้ราคาขายของโซดาสูงขึ้นมากและทำให้ผู้ดื่มสุราลดการบริโภคโซดาลงโดยหันไปใช้น้ำผสมโซดาแทน ทำให้ยอดขายตกลงมาก ทางด้านสันติ ภิรมย์ภักดี ซึ่งเป็นผู้บริหารการตลาดอยู่ จึงคิดหาสินค้าตัวใหม่ออกมาเพื่อใช้เครื่องจักรและคนงานที่ว่างอยู่นี้ แล้วก็พบว่าน้ำดื่มเป็นสินค้าที่มีโอกาสทำสินค้าได้ดีมาก เพราะคู่แข่งมีน้อยรายและ "POLARIS" ซึ่งเป็นผู้นำตลาด ก็ไม่ทำการตลาดจริงจัง ดังนั้นความภักดีต่อตรายี่ห้อของน้ำดื่มโดยทั่วไปจึงมีน้อยและมีโอกาสที่ "ตราสิงค์" จะทำตลาดชักชวนให้ผู้บริโภคหันมาดื่มน้ำสิงห์ได้สูง

ในอดีต "ตราสิงห์" เป็นผู้รุกล้ำเข้ามากินแดนส่วนแบ่งตลาดน้ำดื่ม ขณะที่ปัจจุบัน "POLARIS" อยู่ในฐานะผู้เข้ามาใหม่ในตลาดโซดา มูลค่า 1,200 ล้านนี้เช่นกัน เนื่องจากมีคู่แข่งน้อยราย คือบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ที่ผลิตโซดา "ตราสิงห์" และบริษัทยูเนี่ยนโซดา ผู้ผลิตโซดา "เฟรเซอร์" (ดูตารางส่วนแบ่งตลาด) เพียงแต่ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ขึ้นอยู่กับจุดแข็งจุดอ่อนของทั้งสองแตกต่างกัน

จุดแข็งของบริษัทดาราเหนืออยู่ที่มีผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคยอมรับมากอยู่แล้วคือ น้ำดื่ม "POLARIS" รวมทั้งมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่ง ด้านแผนกขายปลีกและขายตรง ระบบคูปองสำหรับกลุ่มผู้ค้าประเภทบ้านและสำนักงาน 40,000 ราย ขณะเดียวกันจุดอ่อนของบริษัทดาราเหนือไม่เคยขายโซดามาก่อน เมื่อเทียบกับคู่แข่งจึงไม่มีประสบการณ์ด้านการผลิตและจำหน่าย และไม่มีระบบเอเยนต์ที่แข็งเหมือนบริษัทคู่แข่ง ที่สำคัญก็คือชื่อเสียงที่มีมานาน 57 ปีแล้วของ "ตราสิงห์" จึงทำให้มีแขนขาการจำหน่ายกว้างกว่าและยังพบว่าผู้บริโภคนิยมโซดา ตราสิงห์มากที่สุด

แต่เมื่อประเมินกำลังกับคู่แข่งในทุกด้านแล้วโอกาสจะได้มีมากกว่าเสีย เพราะสถิติแบงก์ชาติบ่งบอกอนาคตตลาด มิกซ์เซอร์ยังสดใส เมื่อปริมาณบริโภคโซดาได้เพิ่มสูงขึ้น จาก 251.16 ล้านลิตร ในปี 2528 เป็น 385.32 ล้านลิตรในปีที่แล้ว ทางผู้บริหารบริษัทดาราเหนือจึงวางแผนเจาะตลาดส่วนแบ่ง 10 ขีด 17% ของมูลค่ารวม 1,200 ล้านบาท แต่อุปสรรคในการเข้าตลาดน้ำโซดาก็เกิดขึ้น เนื่องจากขั้นตอนการขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ล่าช้ามาก

"จริง ๆ แล้วเราตั้งว่า วันออกโซดาของเราคือวันที่ 25 ธันวาคม ปีที่แล้ว แต่เราไม่สามารถออกได้เพราะใบอนุญาตยังค้างอยู่ที่อย.และเอกสารบางอย่างก็ต้องรอจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เราต้องเลื่อนออต้นเดือนกุมภาพันธ์" แหล่งข่าวเปิดเผย

เพียงก้าวแรก ก็พลาดเสียแล้ว แผนการตลาดผิดพลาดไปจากกำหนด โซดา "POLARIS" ต้องออกวางขายในตลาดครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2533 นี้เอง

อย่างไรก็ตาม แผนการตลาดในระยะแรกที่ต้องการเผยแพร่สินค้าไปสู่ตลาดผู้ดื่มสุรา ซึ่งจากสถิติของแบงก์ชาติพบว่าในปี 2529 ปริมาณดื่มสุรา 390.62 ล้านลิตรและเพิ่มขึ้นสูงถึง 528.68 ล้านลิตร ในอีก 2 ปีต่อมาโดยใช้ PRODUCT STRATEGY เจาะตลาดด้วยขนาด 440 ซีซี ซึ่งมากกว่าโซดาสิงห์ขนาด 400 ซีซี ส่วนการผลิตเน้นรสชาติให้ซ่านาน

นอกจากนี้ทางผู้บริหารบริษัทดาราเหนือจะออกโซดามาอีก 2 ขนาดก็ยังอยู่ในแผน "เขาต้องการเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวและผู้ที่ไม่ต้องการรับภาระ แลกเปลี่ยนขวดเพียงแต่ขณะนี้กำลังรอดูตลาดอยู่ว่าไปได้ดีแค่ไหน?" แหล่งข่าว

เรื่องนี้เอเยนต์ของบุญรอดบริวเวอรี่แห่งหนึ่งได้เล่าถึงภาวะตลาดโซดาวันเวย์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นการซื้อขวดโดยไม่มีการคืนขวดไว้ว่า "สินค้าโซดาวันเวย์ที่เป็นขวดแก้วไม่ค่อยมีคนนิยมและมันแพงกว่า แต่เราต้องทำเป้ายอดขายโซดาวันเวย์ให้ได้ตามที่เขาตั้งไว้ให้เอเยนต์คนละ 100 - 200 ถาด (ถาดละ 20 ขวด) ซึ่งเราซื้อมาถาด 60 - 65 บาท วิธีที่เราทำเป้าตอนนี้ก็คือยอมขาดทุนโดยแถมโซดาวันเวย์หนึ่งถาดให้กับลูกค้า"

การตั้งราคาขายส่งโซดา "POLARIS" 100 ลัง (ลังละ 24 ขวด) ในราคาลังละ 50 บาท ซึ่งเป็นราคาทั่วไปหน้าโรงงานของโซดาตราสิงห์และเฟรเซอร์ และมาตัดราคาขายส่งกันที่ซาปั้วในราคาลังละ 65 บาท ขณะที่โซดาตราสิงห์ซาปั้วขายหน้าร้านค้าปลีก 72 บาท ในระยะแรกที่เข้าสู่ตลาด บริษัทดาราเหนือคิดค่ามัดจำขวด ต่ำกว่าคูแข่งเพื่อจูงใจให้ร้านค้าช่วยขายโซดาคือลังละ 150 บาท ขณะที่ซาปั้ว ของโซดาสิงห์จะเรียกค่ามัดจำขวดลังละ 250 บาท

แต่ช่องทางการจัดจำหน่ายการตลาดของโซดา "POLARIS" เหล่ยร่ได่ถูกยักษ์ใหญ่บีบให้เหลือทางรอดน้อยที่สุด ด้วยวิธีการที่ชมรมผู้ค้าเบียร์สิงห์ซึ่งเกิดจากรวมตัวของเอเยนต์ต่าง ๆ ของบริษัทยุญรอดบริวเวอรี่ได้สกัดกั้นการเกิดของโซดา "POLARIS" อย่างหนัก ด้วยการที่มีข้อแม้ว่าห้ามยี่ปั้ว, ซาปั้วหรือแม้กระทั่งร้านค้าปลีกโดยทั่วไปที่รับผลิตภัณฑ์ตราสิงห์ทั้งหมด ห้ามรับโซดา "POLARIS" มาจำหน่าย มิฉะนั้นเอเยนต์จะงดการส่งสินค้าให้โดยเด็ดขาด

"ในตอนแรก เขามาให้ทดลองขายโซดา "POLARIS" โดยวางไว้ร้านละ 2 ลัง เราก็เสียค่ามัดจำลังและขวดรวมแล้วประมาณ 400 บาท โดยทางโพลาริสสไม่คิดน้ำ ก็ขายได้ดีนะมีคนชอบ แต่พอเอเยนต์และผู้ตรวจสอบของบริษัทมาเห็นเขาบอกว่าให้รีบคืนไปเร็ว ๆ ไม่งั้นจะไม่ส่งเบียร์กับซดาให้เราก็เลยต้องเลิกชยทั้ง ๆ ที่กำไรดีกว่าเพราะโซดาสิงห์ส่งลักละ 72 บาทแต่ทาง โพลาริสส่งลักละ 65 บาทเท่านั้น" เถ้าแก่ร้านโชวห่วยแห่งหนึ่งเล่าให้ฟัง

ดังนั้นทางแก้ก็คือผู้บริหารบริษัทดาราเหนือจึงเน้นการใช้ระบบขายตรงของทุกสาขาทั่วประเทศโดยรถขายตรง 122 คันประมาณ 80% และจัดตั้งเยนต์กรุงเทพและต่างจังหวัดที่เป็นตัวแทนจำหน่ายจำนวน 50 - 60 รายเป็นหัวหอกวางตลาดประมาณ 20%

เอเยนต์ที่มาแรงของบริษัทดาราเหนือก็คือ บริษัทน้ำทิพย์ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในเขตจังหวัดภาคอีสาน 17 จังหวัดโดยมีนงลักษณ์ พฤาษพนาเวศเป็นผู้จัดการทั่วไป ตั้งแต่เปิดตลาดในเดือนธันวาคมปี่ที่แล้วที่นครราชสีมาเป็นจังหวัดแรกละขยายไปขอนแก่น อุบลราชธานี และ 17 จังหวัด ปรากฏว่าเอเยนต์รายนี้ได้ใช้ระบบขายตรงกวาดลูกค้าไปแล้วกว่า 2 พันรายแม้จะมีคู่แข่งในท้องถิ่น 4 ราย

"ตอนนี้เรากำลังปรับตัวด้านช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ โดยจะสร้างเอเยนต์ประจำเขตต่าง ๆ ในกรุงเทพ 42 จุด แต่ละจุดจะประกอบด้วยยี่ปั้ว ซาปั้วและร้านค้าย่อยที่ไม่ได้ขายผลิตภัณฑ์ตราสิงห์ และยังตังหน่วยบริหารร้านค้าปลีกด้วยแต่เรายังไม่ได้กำหนดเงื่อนไจการตั้งเอเยนต์ขณะนี้ เพียงแต่มีค่ามัดจำขวดและลังตามปกติ ไม่ต้องมีวงเงินค้ำประกันและบางรายเราก็ให้เครดิตหนึ่งเดือนแต่ส่วนมากจะเป็นเงินสด" แหล่งข่าวในบริษัทดาราเหนือเล่าให้ฟัง

"นอกจากนี้ตามโรงแรมหรือภัตตาคารร้านอาหาร ทางบริษัทจะจัดส่งพนักงานขายไปติดต่อหรือชักชวนให้ลูกค้าทดลอง ส่วนด้านต่างจังหวัดก็จะเจาะตลาดภาคกลางก่อนเช่น ที่ราชบุรี สระบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี ชัยนาท อยุธยา นครราชสีมา ชัยภูมิ ร้อยเอ็ดและพิษณุโลก ส่วนที่เชียงใหม่และหาดใหญ่รวมทั้งพัทยาเราก็ส่งเสริมการขายมาก"

นอกจากนี้ผู้บริหารดาราเหนือได้ใช้กลยุทธ์ผลักดันยอดขายกับเอเยนต์โดยทำการส่งเสริมการขาย (TRADE PROMOTION) คือให้ราคามัดจำขวดถูกกว่าคู่แข่งมากและให้ผลกำไรมากกว่าคู่แข่งด้วยการซื้อ 10 แถม 1

"ขณะนี้เราทำแคมเปญกับร้านอาหารและภัตตาคารเช่น คำหนักไท จิตรโภชนที่เอาสาวเสิร์ฟโซดา "POLARIS" ไปแนะนำสินค้าให้ลูกค้าทดลองดื่มโดยมีการแจกตัวอย่างและเราจะเน้นการเจาะกลุ่มงานเลี้ยงสถานที่ต่าง ๆ โดยให้ราคาโซดาในราคาพรีเมียมไม่แพง" ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการตลาดเล่าให้ฟัง

กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดซึ่งบริษัทได้ตั้งงบโฆษณาและส่งเสริมการขายไว้ 9 - 15 ล้านบาทในปีนี้ การทำโฆษณาได้จ้างบริษัท NEXT ของต่อสันติศิริ อดีตครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ของบริษัทสปาแอดเวอร์ไทซิ่ง

"ในระยะแรกของออกโซดาโพลาริไม่จำเป็นต้องทำอะไรมากเพราะคนรู้จักยี่ห้อนี้ดีอยู่แล้วเพราะถ้าหากโฆษณาไปแล้วสินค้าถึงมือผู้บริโภคก็ไม่เป็นผลดี" อัจจิมาเศรษฐบุตรซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัท โคคา - โคลา เอ็กซ์ปอร์ตกล่าว

แนวโฆษณาในช่วงออกโซดา "POLARIS" จะเน้นความซ่านานของฟองโซดา และทำกลยุทธ์ประจาสัมพันธ์โดยการส่งเสริมการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เช่นงานบอลประเพณี และยังทำของแจกตัวแทนของบริษัทด้วย เช่นร่มกันแดดด้วย

แต่ผลจากการถูกสกัดกั้นอย่างรุนแรงเด็ดขากจากคู่แข่ง ปรากฏว่าตั้งแต่โซดา "POLARIS" ออกมาขายตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคมยอดขายได้วันละ 4,000 โหล!

"คิดแล้วยังต่ำกว่าเป้าหมายที่เขาต้องการส่วนแบ่งตลาดอย่างน้อย 10 - 17% อยู่เพราะถ้าเขาจะให้ได้ตามเป้าต้องมียอดขายไม่ต่ำกว่าวันละ 6,000 - 12,000 บัง แต่คิดว่าช่วงนี้เชาเพิ่งออกในช่วงทดสอบตลาดจึงอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร และการตลาดของค่ายสิงค์ก็แข็งมากทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัดจึงทำให้ดูว่าอีกฝ่ายอ่อนไป" แหล่งข่าวที่เป็นนักวิเคราะห์หุ้นอุตสาหกรรมน้ำดื่มเล่าให้ฟัง

ในขณะที่สงครมตลาดน้ำโซดารุนแรงและเชือดเฉือนกันกับยักษ์ใหญ่ บริษัทดาราเหนือก็มีแผนที่จะเตรียมออกน้ำแร่ซึ่งจะผลิตที่โรงงานจังหวัดนครราชสีมาซึ่งจะลงทุน 40 - 50 ล้านบาทและเมื่อโครงการนี้เดินหน้า ก็จะไปลงทุนสร้างโรงงานที่ขอนแก่น พิษณุโลก ซึ่งมีเนื้อที่แห่งละ 150 ไร่

"80% ของน้ำแร่จะนำไปใช้ในการผลิตซอฟท์ดริ้งและโซดาและบริษัทจะผลิตเพื่อส่งออกน้ำแร่ไปยังไต้หวัน ฮ่องกงและสิงคโปร์ด้วยขณะที่ในประเทศราคาขายของเราจะต่ำกว่ายี่ห้ออื่น ๆ ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ" ฤธี อารีสรณ์ กรรมการผู้จัการกล่าว

ปัจจุบัน มูลค่าน้ำแร่ประมาณ 100 - 120 ล้านบาท โดยมีน้ำแร่ที่มาจากต่างประเทศ อาทิเช่น เปอร์ริเอร์ วอลวิค สปา สฟริง และเอเวียง ซึ่งเป็นน้ำแร่สเปรย์ฉีดผิว

ส่วนโครงการน้ำผลไม้ผสมน้ำแร่บริษัทดารเหนือจะซื้อแฟรนไชส์ SUNKIST ของบริษัท CADBURY SCHWEPPES ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับสามในอุตสาหกรรมซอฟท์ดริ้งของโลก มียอดขายทั่วโลกปีที่แล้วถึง 2,800 ล้านเหรียญสหรัฐและมีกำไรปี่ที่แล้ว 133 ล้านเหรียญสหรัฐ

การเจรจากับบริษัท CADBURY SCHWEPPES เพื่อขอซื้อแฟรไชนส์หรือสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้ามาผลิตในไทยยังไม่สรุปผล แต่คาดว่าเสร็จสิ้น ในสิ้นเดือนนี้

"การขอซื้อแฟรนไชนส์ครั้งนี้ ทางบริษัทจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสองส่วนคือค่าหัวน้ำเชื้อที่เราซื้อโดยตรงจากสหรัฐและหักเปอร์เซ็นต์จากยอดขายให้ต่างหากอีกด้วย ทั้งนี้บริษัทที่ขายแฟรน -ไชนส์ ให้จะมีการช่วยในการส่งเสริมการขายฝ่ายละ 50% แต่ไม่ได้เข้ามาถือหุ้น" ฤธีกล่าว

ถ้าหากการเจรจาสรุปผลเสร็จสิ้น การผลิตก็จะเกิดขึ้นในปี 2534 ที่โรงงานแห่งใหม่ที่จังหวัดปทุมธานีซึ่งมีเนื้อที่ 61 ไร่ 3 งาน 49 ตารางวา ซึ่งขายให้บริษัทดาราเหนือไร่ละ 1.8 ล้านบาท รมเป็นเงินที่ต้องลงทุนที่ดิน 111.37 ล้านบาท โดยได้มีการวางเงินมัดจะไปแล้ว 41 ล้านบาท

ขณะที่การหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อแผนการเติบโตของบริษัทดาราเหนือในโครงการน้ำผลไม้เพิ่งเริ่มต้น ทางปิยะ ภิรมย์ภักดี ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ก็เริ่มเดินเครื่องโครงการลงทุนผลิตน้ำผลไม้เพื่อส่งออกในรูปบริษัท บี.บี.กรุ๊ฟซึ่งมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท โดยมีโรงงานที่เชียงรายที่มีกำลังผลิตน้ำส้มเข้มข้น 1,050 ตันต่อปี น้ำแพชั่นฟรุ้ต 740 ตันต่อปี น้ำมะนาวเข้มข้นชนิดละ 300 ตันต่อปี น้ำผิวมะนาว 4 ตันต่อปีและน้ำมันผิวส้มอีก 25 ตันต่อปี

ตลาดน้ำผลไม้ในอนาคตมูลค่าไม่ต่ำกว่า 500 ล้านจึงหอมหว่าน!!

โครงการลงทุนใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างปี 2533 - 34 ทางผู้บริหารดาราเหนืออย่าง วีรพงษ์หรือฤธี อารีสรณ์ ได้ระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตังแต่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2533 นี้ และหุ้น NSTAR นี้ได้รับความนิยมสูงสุด

กล่าวกันว่าถ้าคิดมูลค่าทุนในตลาดขณะนี้ของบริษัทดาราเหนือไม่ต่ำกว่า 2,500 ล้านขึ้นไป เพราะราคาหุ้น NSTAR ซึ่งไม่ได้ไต่ขึ้นสูงถึง 638 บาท (ราคาปิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2533) นับจากวันแรกที่เข้ามาซื้อขายด้วยราคาปิด 314 บาท เมื่อ 19 มกราคมที่ผ่านมา ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ กรรมการผู้จัดการบริษัท BEARING RESEARCH กล่าวว่ามันเป็นราคาที่เพี้ยนไปมากเพราะปริมาณหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดมีน้อยมากเกินไป

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงิน (CAPITAL RESTRUCTURE) ซึ่งฤธี อารีสรณ์ ได้วางแผนให้บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศด้วยการจำหน่ายหุ้นจากทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 40 ล้าน ทำให้บริษัทนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพทางการเงินที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดกำไรสูงสุดได้ เพราะทุกวันนี้ธุรกิจน้ำดื่มก็เป็นธุรกิจลงทุนต่ำแต่ให้ผลกำไรสูง บริษัทดาราเหนือได้แสดงตัวเลข GROSS PROFIT MARGIN ในปีที่แล้ว 55.5% และในปี 2533 จะได้ 60% และปี 2534 คาดจะได้ 63%

แต่ถ้าหกาแผนการทางการตลาดไม่สะดุดด้วยอุปสรรคขวากหนามการตลาดจากคู่แข่ง CASH FLOW ที่คาดการณ์ไว้ว่าในปีนี้จะมีรายได้ก่อนหักภาษี 67 ล้านบาท การใช้จ่ายเงินทุนเอโครงการลงทุนเพื่ออนาคต 110 ล้านบาท จะทำให้เงินปันผลปีนี้จะลดลงเหลือแค่ 6 ล้านบาท ในขณะที่ปีที่แล้ว 10 ล้านบาท

แต่การลงทุนเพื่ออนาคตนี้จะไปสร้างผลกำไรและเงินปันผลในอนาคตหลังปี 2535 เป็นต้นไป

ทั้งหมดนี้ เป็นสุดยอดของแผนการตกแต่งโฉมหน้าใหม่ของบริษัทดาราเหนือ ที่กำลังเป็นหุ้นโฉมงามที่สุดที่นักลงทุนจับตาว่าไม่เกินสิ้นปีนี้จะมีกาเพิ่มทุนอีกและเมื่อถึงเวลานั้นราคาหุ้น NSTAR อาจะไต่เส้นราคาไปถึงพันบาท เมื่อดาราเหนือสามารถฝ่าแนวการถูกปิดล้อมตลาดจากค่ายตราสิงห์ไปได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us