Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2533
กรณีศึกษา : ซิงเกอร์ TURN AROUND ใต้ร่มธงกสิกรไทย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ซิงเกอร์ (ประเทศไทย)
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ซิงเกอร์ ประเทศไทย, บมจ.
Electronic Components




จุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ธุรกิจไทยเกิดขึ้นเมื่อมีการตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปี 2518 เพราะตลาดหลักทรัพย์ได้แสดงบทบาทเป็นแหล่งระดมทุนที่มีต้นทุนราคาถูก แทนที่ธนาคารและแหล่งเงินกู้นอกระบบที่ต้องเสียดอกเบี้ยและมีความเสี่ยงสูง

เมื่อสามชัยตัดสินใจเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เหตุผลสำคัญมีประการเดียวคือ การระดมทุน และนั่นก็เป็นเหตุผลเดียวกับซิงเกอร์ที่เข้าไปจดทะเบียนนำหุ้นออกขายต่อประชาชนในปี 2527

ซิงเกอร์ ประเทศไทย เป็นบริษัทที่มีประวัติความเป็นมาในไทยยาวนานถึง 100 ปีเต็ม โดยเริ่มด้วยการขายจักรเย็บผ้าและอุปกรณ์การตัดเย็บ หลังปี 2500 เรื่อยมา มีการขยายไปสู่สินค้าอื่น ๆ จำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า เริ่มด้วยตู้เย็น วิทยุ โทรทัศน์ เตาแก็ส เครื่องซักผ้า วีดีโอ

กลยุทธ์พิเศษที่ซิงเกอร์ริเริ่มและใช้ตลอดมาคือบริการแบบเช่าซื้อ มีการเปิดร้านซิงเกอร์ขึ้นทั่วทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด นับจนถึงปี 2532 ซิงเกอร์มีร้านสาขาอยู่ 256 แห่งทั่วประเทศ มีระบบการบริหารงานที่รัดกุมมีประสิทธิภาพ ในวงการรู้กันว่า ซิงเกอร์เป็น "ผู้นำในระบบเช่าซื้อ"

สุรศักดิ์ ศรีรัตนวิบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อและเรียกเก็บเงินเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า "ก่อนที่พนักงานทุกคนจะออกไปปฏิบัติงาน เราจะมีการอบรมฝึกสอนในเรื่องการขาย การแนะนำสินค้า จูงใจลูกค้า เรามีลูกค้าที่มีบัญชีหมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันทั่วประเทศ 340,000 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ มีลูกค้าค้างชำระเพียง 28,000 รายเท่านั้น เป็นสัดส่วนที่เราพอใจมาก"

ในแง่ของการบริหารการขายนั้น ซิงเกอร์แบ่งการดูแลออกเป็น 10 เขตในทั่วประเทศ มีผู้จัดการเขตดูแลในท้องถิ่นนั้นเสมือนเป็นผู้จัดการขาย และมีอำนาจการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อด้วย ระบบรองลงมามีผู้จัดภาคที่คอยดูให้คำแนะนำผู้จัดการร้าน และคนที่ใกล้ชิดชาวบ้านหรือลูกค้ามากที่สุดคือ ระดับผู้จัดการร้าน

นอกจากนี้ซิงเกอร์ก็มีพนักงานอีกชุดหนึ่งทำหน้าที่คล้ายผู้ตรวจสอบ โดยมีกระจายอยู่ในท้องถิ่นทั่วประเทศประมาณ 150 คน คนเหล่านี้จะออกเยี่ยมเยียนลูกค้าเป็นประจำ

ระบบที่ซิงเกอร์ใช้ควบคุมการกระจายอำนาจเหล่านี้คือ การมีประชุมผู้จัดการเขตทุกเดือนที่กรุงเทพ ทั้งเป็นการรายงานผลการดำเนินงานและการรับนโยบายจากศูนย์กลางลงไปปฏิบัติในทั่วประเทศ

ระบบงานและการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ซิงเกอร์มีผลการดำเนินงานทำกำไรได้ทุกปี

ประเด็นคือซิงเกอร์ไม่เคยประสบปัญหาการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การลดค่าเงินบาท ซึ่งจัดเป็นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงปี 2527 ที่ซิงเกอร์ขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์บ้างเลยหรือ

อาจกล่าวได้ว่าหากไม่มีการปรับปรุงการบริหารในตลอดระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมา คงไม่มีซิงเกอร์อยู่ในเหมือนทุกวันนี้!

เมื่อแรกที่ซิงเกอร์เข้ามาเปิดดำเนินงานในประเทศไทยนั้น มุ่งขายสินค้าเพียงตัวเดียวคือจักรเย็บผ้า ซึ่งซิงเกอร์สามารถภาคภูมิใจได้ว่าเป็นผู้นำเครื่องจักรประเภทนี้เข้ามาให้คนไทยได้รู้จักและใช้งาน รวมถึงบริการผ่อนชำระที่ซิงเกอร์อ้างว่าริเริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2468

ในระยะแรกที่ไม่มีคู่แข่ง จักรเย็บผ้าซิงเกอร์ย่อมขายดีเป็นธรรมดา แต่ในเวลาต่อมาความต้องการของผู้บริโภคในตลาดได้ผลักดันให้ซิงเกอร์ต้องเพิ่มประเภทสินค้า และนั่นคือก้าวที่ซิงเกอร์ต้องลงมาคลุกคลีในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยในทศวรรษ 60

ซิงเกอร์มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ เมื่อครั้งที่ขอเข้าตลาดหลักทรัพย์โดยจำเป็นที่จะต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นของ SINGER SEWING MACHINE CO., ซึ่งเป็นบริษัทแม่ในสหรัฐร่วมกับบริษัทในเครือลงเหลือเพียง 49% และดึงเอาผู้ร่วมทุนฝ่ายไทยเข้ามาอีก 20% ส่วนอีก 30% กระจายสู่ประชาชนทั่วไป ตามระเบียบของตลาดหลักทรัพย์

ผู้ร่วมทุนไทยที่เข้ามาถือหุ้นรายใหญ่ผู้หนึ่งในจำนวน 9% กว่า ตั้งแต่ปี 2527 ที่เข้าตลาดหลักทรัพย์จวบจนปัจจุบัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือธนาคารกสิกรไทย และในเวลาต่อมา บริษัทในเครือของธนาคารแห่งนี้ก็เข้ามาร่วมถือหุ้นด้วยคือ บงล.ภัทรนกิจ และบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต

การเข้ามาถือหุ้นของกสิกรไทยมีความสำคัญต่อโฉมหน้าของซิงเกอร์อย่างมาก สุรศักดิ์กล่าวปฏิเสธว่าผู้บริหารของกสิกรฯ ที่เข้ามาร่วมเป็นกรรมการ ไม่ว่าจะเป็นบัญชา ล่ำซำ ซึ่งมาเป็นประธานกรรมการบริษัท และอัจฉรีย์ วิเศษศิริ ที่เข้ามาเป็นกรรมการต่างไม่ได้เข้ามาแทรกแซงการบริหารงานของซิงเกอร์แม้แต่น้อย

อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงในเวลาต่อมาบ่งชี้ว่า ซิงเกอร์มีการขยายงานไปในทางที่มาจากความร่วมมือกับกสิกรฯ และบริษัทในเครืออย่างมาก ๆ

อัจฉรีย์ วิเศษศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของกสิกรฯ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ทางกสิกรฯ ก็มีการให้ความช่วยเหลือซิงเกอร์อยู่อย่างเมื่อปี 2527 เราก็ช่วยจัดหาเงินกู้ร่วมเป็นวงเงิน 500 ล้านบาท ให้ซิงเกอร์เพื่อเอาไปใช้เป็นทุนหมุนเวียน ส่วนในด้านของนโยบายนั้น เราก็มีการเสนอแนะความเห็นในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเรื่องการซื้อที่ดินที่อำเภอเสนา อยุธยา เพื่อย้ายไปตั้งโรงงานใหม่ เป็นต้น"

การที่ซิงเกอร์ขยายธุรกิจไปทำกิจการนายหน้าประกันชีวิตก็ด้วยความร่วมมือของเมืองไทยประกันชีวิต อัจฉรีย์กล่าวว่า "ที่คิดอันนี้ขึ้นมาก็เพราะซิงเกอร์มี OUTLET อยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการง่ายมากที่จะขายบริการประเภทนี้"

แนวทางที่ซิงเกอร์ขยายมาอีกทางหนึ่งคือ การตั้ง ซิงเกอร์เทรดดิ้ง จุดมุ่งหมายเพื่อให้เป็นผู้รับผิดชอบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งซิงเกอร์จะทำการผลิตเองหรือหาสินค้าส่งออกป้อนตลาดต่างประเทศโดยอาศัยเงื่อนไข ที่มีบริษัทซิงเกอร์อยู่ในประเทศทั้งแถบตะวันออกกลาง เอเชีย

โครงการล่าสุดที่ซิงเกอร์ริเริ่มไปบ้างแล้ว คือการย้ายโรงงานของบริษัทอุตสาหกรรมซิงเกอร์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นโรงงานผลิตของซิงเกอร์จากถนนสุนทรโกษา ไปไว้ที่ที่ดินเพิ่งซื้อมา แล้วเนรมิตอาคารสำนักงานขึ้นบนที่ดินเดิม โดยจะรวมบรรดาสำนักงานของบริษัทในเครือทั้งหลายมาไว้ที่นี่ ขณะเดียวกัน ก็มีที่ว่างให้บรรดาบริษัทนำเข้า - ส่งออก และบริษัทเดินเรือทั้งหลาย เช่าทำสำนักงาน

อาคารที่ว่าคือ SINGER TOWER ในอนาคตนั่นเอง!

หากจะกล่าวว่าซิงเกอร์ประสบความสำเร็จจากการปรับเปลี่ยนโฉมมาตลอดเวลา นับแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่ผิดนัก ประเด็นอยู่ที่คณะผู้บริหารและผู้ถือหุ้นของซิงเกอร์ที่มีบทบาทให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด

ขณะที่ย้อนมามองสามชัยแล้ว 37 กว่าปีที่ผ่านมา เสมือนหนึ่งจะต้องมาเริ่มต้นกันใหม่ ก็ขึ้นอยู่กับธนสยามที่จะเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของสามชัยเหมือนกับที่ครั้งหนึ่งกสิกรฯ เคยทำที่ซิงเกอร์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us